วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1 ปี ราชประสงค์

ผมนั้งรถเมล์ออกจากตึกเนชั่นในช่วงห้าโมงเย็น เพื่อมุ่งหน้าไป BTS อ่อนนุชเพื่อไปยังแยกราชประสงค์ที่ที่นปช.ชุมนุมครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุม 19 พฤษภาคม 2554 ระหว่างทางรถติดมากเลยทีเดียว มีฝนตกพำๆตลอดทาง จนถึง BTS อ่อนนุชฝนจึงหยุดตก อากาศหลังฝนตกเย็นสบาย มีกลิ่นอายของฝนที่เพิ่งตกซึ่งมาพร้อมสายลมอันแผ่วเบา ผมนั้งรถไฟฟ้า BTS จากสถานีอ่อนนุช ไปจนถึง สถานีสยามพอถึงก็ 6 โมงเย็นพอดี พบว่าถนนเริ่มปิดตั้งแต่บริเวณนั้น

แม้ว่าผู้ประกอบการค้าย่านราชประสงค์จะขึ้นป้ายเปิดบริการตามปกติ แต่ห้างสรรพสินค้าในบริเวณสี่แยกราชประสงค์ก็ยังคงปิดให้บริการโดยหน้าห้างมีกลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักฟังการปราศรัยเช่นเดียวกัน สำหรับห้างสรรพค้าย่านสยามยังเปิดบริการตามปกติ

วัดปทุมวนาราม สถานที่หลบภัยของผู้ชุมนุมเมื่อเหตุการณ์ปีที่แล้ว และมีคนตาย 6 ศพ ยังคงมาผู้ชุมนุมบางตา เดินลึกเข้าไปเรื่อยๆจะเห็นผู้ชุมชุนที่ปักหลักฟังการปราศรัยอยู่บนสกายวอล์คเป็นระยะๆ


นี่เป็นภาพของผู้หญิงคนหนึ่งเดินชูป้ายหาเสียงของนางสาวยิงลักษณ์ ชินวัตร
ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาตี้ลิสลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย พร้อมตะโกนคำว่า ”ท่านนายกมาแล้ว ท่านนายกมาแล้ว” โดยได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก

ผู้ชายคนนี้แต่ตัวออกมาเรียกร้องให้อย่าลืม 91 ชีวิตที่เสียไปจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว


ผมเดินลงจากสกายวอล์คตรงหน้าโรมแรมแห่งหนี่งใกล้ๆสี่แยกราชประสงค์(จำชื่อโรงแรมไม่ได้) แล้วเดินฝ่าฝูงชนคนเสื้อแดงเพื่อเข้าไปให้ใกล้เวทีปราศรัยให้ได้มากที่สุด ระหว่างทางก็พบป้ายที่เขียนว่าที่นี่มีคนตาย ติดอยู่ตามผนัง เสาไฟฟ้า ต่างๆเป็นจำนวนมาก
การชุมนุมครบรอบ 1 ปี ราชประสงค์ครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติด้วยเช่นเดียวกัน


เนื้อหาของการปราศรัยบนเวทีเป็นการย้อนรอยเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และมีการนำผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มาย้อนเล่าเหตุการณ์และพูดคุยถึงความรู้สึกในวันนั้น ทั้งนี้ผู้ปราศรัยบนเวทีบอกด้วยว่าพร้อมจะออกมารวมตัวกันอีกหากไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม การชุมนุมในครั้งนี้ไฮไลท์สำคัญคือ VTR  ที่ย้อนเหตุการณ์การชุมนุมตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชุมนุมเป็นอย่างมากและเป็นที่น่าสังเกตว่า ทันทีที่ภาพของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือบุคคลฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มนปช. ผู้ชุมนุมจะโห่ร้องขับไล่อย่างเสียงดังอึกทึกด้วยความโกรธแค้นเป็นอย่างมาก ผู้ปราศรัยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือนายวีระกานต์ มุกสิกพงษ์  (นายวีระ มุกสิกพงษ์)อดีตประธานนปช. โดยในครั้งนี้ไม่มีผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยขึ้นเวทีแต่อย่างใด โดยมาในฐานะผู้ชุมนุมเท่านั้น ทั้งนี้เกรงว่าอาจจะผิดกม.เลือกตั้ง
1 ปีผ่านไปสำหรับเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ คนเสื้อแดงยังคงจดจำทุกอย่างได้เป็นอย่างดี ความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามก็ยังคงมีอยู่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยของเราในยุดนี้แตกแยก ยากจะปรองดอง เสื้อแดงยังคงมีพลังอยู่ เสื้อเหลืองก็เช่นกัน นี่ยังไม่นับรวมสีอื่นๆอีก Thailand Only จริงๆครับ ยิ่งช่วงนี้กำลังจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ 2 ขั้วการเมืองกำลังแข่งกันอย่างดุเดือด งานนี้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าบ้านเมืองเราจะเดินไปในทิศทางใดต่อจากนี้ และที่เป็นห่วงคือถ้าทั้งแดงทั้งเหลืองยังอยู่ (การเมืองข้างถนน) เรื่องคงไม่จบแน่น ทางที่ดีการเมืองในสภาเป็นกลไกที่ดีที่สุด ถ้าคนที่อยู่ในสภามีจริยธรรมทำงานเพื่อบ้านเมืองจริงๆ อันนี้จบแน่น แต่อย่างไรก็ตามช่วงนี้เพื่อไทยเค้ามาแรงจริงๆคร๊าบ หุหุหุ
คอลัมนิสเฉพาะกิจ
ภาพที่เหลือ

บริเวณหน้าห้าเซ็นทรัลเวิล์ด

ตลาดนัดเสื้อแดง ณ แยกราชประสงค์

เวทีกลางสี่แยกราชประสงค์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เสียงของชาวบ้านกับแนวทางแก้ไขน้ำท่วม

น้ำท่วมท่าเรือ
ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ที่ชาวชุมชนท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยาต้องประสบมาแทบทุกปี สร้างความเดือดร้อนเสียหายมากน้อยต่างกันไปตามแต่ระดับน้ำที่ท่วมให้แต่ละปี คำถามที่ชาวบ้านมีคือเพราะอะไร ทำไมน้ำจึงท่วมท่าเรือแทบทุกปี ชาวบ้านบางคนบอกว่าท่าเรือเป็นที่ผันน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามชาวบ้านยังคงคิดหาวิธีทางแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำอีก

นายอดิศัย วัฒนาวณิช ชาวชุมชนท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

นายอดิศัย วัฒนาวณิช ชาวชุมชนท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ของตนอยู่แทบทุกปีได้เสนอถึงวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมว่า ควรมีการขุดลอกแม่น้ำลำคลองต่างๆให้มีความลึกมากขึ้น โดยเปรียบเทียบกับโอ่งน้ำ ถ้าโอ่งน้ำมีขนาดใหญ่ก็จะสามารถบรรจุน้ำได้ในปริมาณมาก แต่ถ้าโอ่งน้ำขนาดเล็กก็บรรจุน้ำได้ในปริมาณน้ำที่น้อย เช่นเดียวกับแม่น้ำถ้าลึกก็สามารถรับน้ำได้มาก นี่เป็นความคิดของชาวบ้านซึ่งอาจไม่มีฐานความรู้ด้านวิศวะมากนัก นอกจากการขุดลอกคลองแล้วนายอดิศัย แนะต่ออีกว่าควรบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้ดีกว่านี้ ส่วนในพื้นที่เองควรมีการจัดการระบบระบายน้ำอย่างเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น น้ำมักจะมาตามท่อ ทำให้น้ำเอ่อท่วมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างและในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นควรมีประตูเปิด-ปิดที่ปากท่อระบายน้ำเพื่อเป็นยืดเวลาให้น้ำเอ่อท่วมช้าลงหรือไม่ท่วมเลย 
สุดท้ายนายอดิสัยเสนอว่าควรมีการออกข้อกำหนดให้เกษตรกรผู้มีพื้นที่ทำกิน  10 ไร่ขึ้นไปจัดสรรพื้นที่เพื่อรองรับน้ำ นอกจากจะรับน้ำในช่วงหน้าน้ำได้แล้ว ยังสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้อีกด้วย
นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการโครงการประเทศไทย IUCN
สำหรับกรณีวิธีการขุดลอกแม่น้ำลำคลองถ้ามองอย่างรอบด้านก็มีผลกระทบเช่นกัน นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการโครงการประเทศไทย IUCN- องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ บอกว่าการขุดลอกคลองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำลำคลองอย่างถาวร เพราะการขุดเอาดิน หิน ทราย ต้นไม้ ตามพื้นคลองขึ้นมาจะทำให้น้ำไหลแรงและเร็วขึ้น ทำให้เกิดตลิ่งคลองพังทะ ลายหนัก และสูญเสียที่ดินปีละมากๆ การเก็บกักน้ำตามธรรมชาติจะมีน้อยเพราะไหลลงสู่ทะเลหมด และเป็นการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำและพืชน้ำหมดไปหรือหายากมากขึ้น ในคลองที่มีการขุดลอกจะไม่พบการทำมาหากินในลำคลองของชุมชน เช่น การจับปลาด้วยวิธีการต่างๆ การเก็บหาพืชน้ำเพื่อเป็นอาหาร เป็นต้น เกิดน้ำทะเลหนุนได้ไกลกว่าเก่า ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มและน้ำเค็มรุกราน นอกจากนั้นการขุดลอกจะทำลายต้นไม้ตามตลิ่งคลอง เช่น มีการนำดินและหินตามพื้นคลองมาถมทับไว้ที่สองตลิ่ง หรืออาจจะมีกา รขุดและทำลายสองตลิ่งไปด้วย และในการนี้จะทำให้เกิดการพังทะลายและกัดเซาะสองฝั่งคลองมากขึ้นกว่าเดิม ในปัจจุบันนี้ มีหลายๆ คลองเกิดปัญหาสองตลิ่งพังถูกกัดเซาะอย่างหนักและต้องสูญเสียที่ดินปีละมากๆ ทำให้ยากอย่างยิ่งต่อการป้องกันและการฟื้นฟูให้ดีดั่งเดิมได้

ความยากลำบากในการใช้ชีวิตช่วงน้ำท่วม
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคงจะต้องมีการถกเถียง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุด และบางทีเสียงของชาวบ้านอาจดังไม่มากพอที่จะทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้ยิน และลงมาแก้ไขปัญหา แต่เสียงของชาวบ้าน ผู้ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้น น่าจะรู้ต้นสายปลายเหตุ และรู้จักวิธีการแก้ไขได้ดีที่สุด ซึ่งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองควรลงมารับฟังเสียงจากชาวบ้านด้วยเช่นกัน ภาครัฐควรมีนโยบายแก้ไขที่ต้นเหตุในระยะยาว ไม่ควรแก้ไขที่ปลายเหตุโดยการแจกเงินให้กับผู้ประสบภัย เพราะนั่นไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน และเยียวยาได้ในระยะสั้นเท่านั้น

ภาพบรรยากาศน้ำท่วม






///////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ติวเตอร์ทั้งหลายโปรดฟังทางนี้ คนดีสำคัญที่สุด


ในช่วงชีวิต ม.ปลายที่อยู่ในรั่วของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร โรงเรียนนี้จัดติวบ่อยมากครับ การติวแต่ละครั้ง ก็จะเชิญติวเตอร์ที่เรียกได้ว่ามืออาชีพและมีชื่อเสียง จากการสังเกตุพบว่าส่วนหนึ่งของกลวิธีในการติว คือการที่ติวเตอร์จะต้องปลุกเร้าและให้กำลังใจแก่นักเรียนไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงประโยชน์จากการที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีดีได้ ที่สำคัญคือการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลที่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้และบุคคลที่ไม่สามารถเข้ามหาวิทยาที่มีชื่อเสียงได้ เรื่อยไปจนกระทั่งเอาเรื่องของความเหลือมหล้ำทางสังคมมาพูด ยกตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบอาชีพที่ได้เงินเดือนน้อยและลำบากอย่างคนขับรถแท็กซี่ สาวโรงงาน หรือเกษตรกร เป็นต้น กับอาชีพที่ได้เงินเดือนมากอย่าง แพทย์ วิศวกร CEO NGO ต่างๆ ซึ่งการเปรียบการดังกล่าวเป็นการไม่เหมาะสม เราควรที่จะเคารพในอาชีพทุกอาชีพ เพราะทุกอาชีพต่างก็สร้างประโยชน์กับประเทศด้วยกันทั้งนั้น เช่นถ้าประเทศเรามีแต่แพทย์แต่ไม่มีเกษตรกรเราจะรับประทานข้าวจากที่ไหน และในทางกลับกันถ้าประเทศเรามีแต่เกษตรกรแต่ขาดแคลนแพทย์ เจ็บป่วยขึ้นมาจะรักษากับใคร ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในสังคมจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ทุกส่วนต่างต้องเกื้อกูลอาศัยกัน ทุกอาชีพต่างมีบทบาทและความสำคัญเท่าๆกัน




ผมเคยมีโอกาสเข้าไปฟังการเสวนาวิชาการ ThaiPBS Forum ที่เสวนากันในเรื่องการปฏิรูปประเทศ ความเหลือมล้ำทางสังคมเป็นประเด็นหนึ่งที่่ถูกพูดถึง และเป็นประเด็นที่นำไปสู่ปัญหาโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประเด็นนี้ผมว่าแก้ได้ง่ายๆเพียงแค่เราทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน เห็นคุณค่าของตัวเราเอง และคนในสังคม ไม่เปรียบเทียบความแตกต่างซึ่งกันและกัน และเราจะก้าวผ่านความเหลือมหล้ำทางสังคมไปได้ เราควรให้ความสำคัญในเรื่องด้านคุณธรรมมากกว่าการจะมองเพียงแค่ด้านการเงินของแต่ละบุคคล ผมขอเน้นย้ำว่าไม่ว่าอาชีพใดใดล้วนมีคุณค่า ขอเพียงแค่เราทำอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และรู้จักมีน้ำใจต่อกัน ผมว่าสังคมของเราจะน่าอยู่ขึ้นมากกว่าการที่เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างซึ่งกันและกัน เราต้องทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลบางทีมีโอกาสไม่เท่าเทียมกัน แต่เราเลือกที่จะเป็นคนดีได้ คนดีสำคัญที่สุด...