วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

เตือนผู้ปกครอง! ระวังลูกแอบเล่นพนันออนไลน์ช่วงปิดเทอม

เตือนผู้ปกครอง! ระวังลูกแอบเล่นพนันออนไลน์ช่วงปิดเทอม

เครือข่ายครอบครัวหวั่นเยาวชนแอบเล่นพนันออนไลน์ช่วงปิดเทอม ด้วยรูปแบบการแข่งขันทาง Social Network และจำนวนเงินในการใช้เล่นการพนันไม่ต้องมาก ทำให้เข้าถึงเยาวชนง่าย แนะครอบครัว ควรดูแลบุตรหลานอย่างไกล้ชิด

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 9 เม.ย 2556  มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์ มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว และมูลนิธิอินเตอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ตั้งวงเสวนา “พนันออนไลน์ ภัยร้ายช่วงปิดเทอม” ที่โรงแรม VIC3 กรุงเทพมหานคร นางศิริพร ยอดกมลศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน กล่าวว่าโครงสร้างพื้นฐานของการพนันออนไลน์ การพนันบอลและการพนันผ่าน SMS ใช้อินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้กลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งมีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆนี้ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง ประกอบกับนโยบายของรัฐไม่มีความชัดเจนในเรื่องการคุ้มครองป้องกันผลกระทบจากการพนันกับเด็กและเยาวชน

พนันออนไลน์มีการแข่งขันกันทาง Social Network ซึ่งเป็นรูปแบบที่นำไปสู่การเล่นการพนันได้อย่างเสรี อย่างเช่น Facebook ที่จะเปิดให้บริการเกมส์ออนไลน์ใหม่ในชื่อ Bingo & Slots Friendzy ซึ่งเป็นเกมส์พนันที่สามารถใช้เงินจริงเล่นได้ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่ให้บริการเกมส์ที่จำลองเสมือนการเล่นไพ่จริงๆ สามารถเชื่อมต่อเข้าไปเล่นในลักษณะที่เหมือนกับการเล่นไพ่ในบ่อน ซึ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการพนันแอบแฝงที่มาในรูปแบบต่างๆแทบทั้งสิ้น รวมทั้งมีการแนะนำและสอนการเล่นพนันในลักษณะของการตั้งกระทู้ถาม หรือพูดคุยกันตามเว็บบอร์ดต่างๆ อย่างเปิดเผย

ด้วยจำนวนเงินเล่นการพนันที่ไม่ต้องมาก ก็สามารถเล่นการพนันได้ ทำให้เด็กและเยาวชนมีการลักลอบเล่นการพนันผ่านอินเตอร์เน็ตมากขึ้น และอายุน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งจากสถิติพบว่าเด็กไทยอายุ 7 ขวบก็เข้าสู่วงจรพนันออนไลน์ได้แล้ว

“รูปแบบการเล่นการพนันที่มักแฝงตัวมาในลักษณะของร้านเกมส์มากขึ้น และส่วนใหญ่มักจะตั้งอยู่ใกล้สถานศึกษา หรือเพียงแค่อยู่ในสถานที่ที่มีสัญญาณ และอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ก็สามารถเล่นพนันออนไลน์ได้ ซึ่งถ้าเยาวชนเริ่มเล่นการพนันตั้งแต่อายุยังน้อย ก็มีสิทธิอยู่ในภาวะติดการพนันได้ในอนาคต” นางศิริพรกล่าว

จิตแพทย์แนะ สังเกตุพฤติกรรมบุตรหลาน
ด้านนายแพทย์ทวิศิลป์ วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กล่าวว่าผู้ปกครองสามารถสังเกตพฤติกรรมของบุตรหลานว่าอยู่ในภาวะติดการพนันหรือไม่ได้ดังนี้ 1. เริ่มพูดโกหก 2. ยืมเงินเพื่อน 3.ขาดเรียนผลการเรียนตกต่ำ 4.มีปัญหาในการใช้เวลา ชอบอยู่คนเดียว 5.เพิ่มปริมาณการใช้เงิน และ 6.มีปากเสียงกับคนในครอบครัว

นอกจากนี้ยังสามารถแสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ และความคิดให้เห็นอย่างเด่นชัด คือ อารมณ์ขึ้นลงเดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย คิดว่าเล่นได้ แล้วจะนำมาหักลบกลบหนี้เก่า เล่นพนันเพื่อหนีปัญหา และคิดว่าจริงๆตนเองจะเลิกเล่นเมือไรก็ได้ แต่จริงๆแล้วเลิกไม่ได้

ส่วนปัจจัยส่งเสริมให้อยู่ในภาวะติดการพนันคือ 1. เป็นเพศชาย จากผลการสำรวจเพศชายเล่นการพนันมากกว่าเพศหญิงหลายเท่า 2. ครอบครัวมีปัญหา ดูแลไม่ทั่วถึง 3. ยุ่งเกี่ยวกับการพนันตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และ 4. กรรมพันธุ์ซึ่งกำลังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
วธ.วอนผู้ประกอบการ-นายทุน มีจิตสำนึก
ขณะที่นางลัดดา ตั้งสุภาชัย ผู้อำนวยการสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ต้องมีเจ้าภาพในการดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง กระทรวงวัฒนธรรมเองก็มีส่วน แต่ทุกครั้งที่ลงไปตรวจร้านเกมส์ หรือวิดีทัศน์ต่างๆ ก็มักถูกผู้ประกอบการ และนายทุนคัดค้าน จึงอยากฝากให้ผู้ประกอบการและนายได้คิดถึงผลกระทบต่อเด็กและเยวชนด้วย อีกอย่างปฏิเสธไม่ได้ว่าตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ซื่อตรงก็มีอยู่

“เคยมีผู้ประกอบรายหนึ่งมาบอกดิฉันว่า ตำรวจเป็นคนสั่งให้เปิดบ่อนเอง แล้วก็ให้ผู้ประกอบการส่งส่วย เพราะแบบนี้ปัญหาจึงยังไม่จบสักที แต่ก็ยอมรับว่าตำรวจดีดีก็มีเยอะ” นางลัดดา กล่าว

สำหรับแนวทางออกของปัญหาเยาวชนเสี่ยงติดการพนันออนไลน์ วงเสวนาเห็นตรงก็ว่าประการแรกสังคมต้องถกเถียงว่าการพนันแบบไหนรับได้ หรือรับไม่ได้ อย่างเช่นสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือแม้กระทั้งการส่งหมายเลขใต้ฝาชาเขียวชิงโชคก็ถือเป็นการพนัน แต่สังคมรับได้ ประการที่ 2 หากิจกรรมทดแทนอาจจะเป็นกีฬา หรือกิจกรรมผาดโผลเช่นการเดินป่า หรือบันจี้จั้มจะช่วยทดแทนกิจกรรมการเล่นการพนันได้ และประการสุดท้าย ครอบครัวต้องเลี้ยงลูกให้มีวุฒิภาวะ หรือเลี้ยงให้โต ช่วยเหลือตัวเองได้ รู้จักค่าของเงิน

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2556

เชียงราย – แม่ฮ่องสอน ฝุ่นละอองวิฤตเสี่ยงมะเร็งปอด

เชียงราย – แม่ฮ่องสอน ฝุ่นละอองวิฤตเสี่ยงมะเร็งปอด

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ NIDA เผยผลวิจัยศึกษาฝุ่นละอองในอากาศ หลังเกิดวิกฤตหมอกควันภาคเหนือ ระบุเชียงราย แม่ฮ่องสอน หนักสุดฝุ่นเพิ่ม 5 เท่า ประชาชนเสี่ยงมะเร็งปอด จี้ภาครัฐสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบจากการเผาป่าพร้อมเพิ่มบทลงโทษ และเข้มงวดในการใช้กฎหมาย

Dr.Siwatt Pongpiachan Associate Professor Director of NIDA Center for Research & Devenlopment of Disaster Prevention & Management กล่าวว่าจากการลงพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบนประกอบไปด้วยจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน เพื่อศึกษาความเข้มข้นของปริมาณฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีขนาดเล็กมาก ทำให้เสี่ยงต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ และพบว่าจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยปริมาณฝุ่นละอองหลังเกิดวิกฤตหมอกควันเพิ่มขึ้นจากก่อนเกิดวิกฤตมากที่สุด คือ จังหวัดเชียงราย และแม่ฮ่องสอน

"เชียงราย และแม่ฮ่องสอนเป็นจังหวัดที่น่าเป็นห่วงต่อสถานการณ์หมอกควันในชั้นบรรยากาศที่มีฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มสูงถึง 5 เท่าจากช่วงก่อนเกิดวิกฤต และเมื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานของ US-EPA ซึ่งกำหนดค่าของฝุ่น PM2.5 ควรมีไม่เกิน 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลับพบว่าทุกจังหวัดในภาคเหนือตอนบน กำลังประสบกับปัญหาฝุ่นละอองจากหมอกควัน อยู่ในขั้นวิกฤต และแน่นอนมันมีผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ” รศ.ดร.ศิวัชกล่าว

เชียงใหม่มีค่าผุ่นละอองน้อยสุด
สำหรับจังหวัดเชียงรายมีปริมาณฝุ่นละอองก่อนเกิดวิกฤต 14.97 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 91.82 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 513% และแม่ฮ่องสอนมีปริมาณฝุ่นละอองก่อนเกิดวิกฤต 34.48 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 209.85 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 509% รองลงมาได้แก่ จังหวัดพะเยา ที่มีปริมาณฝุ่นละออง 17.73 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพิ่มเป็น 99.70 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ขณะที่จังหวัดที่มีปริมาณฝุ่นละอองในช่วงวิกฤตเพิ่มสูงขึ้นในระดับปานกลางได้แก่ ลำพูน นาน และลำปาง โดยมีค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองในอากาศหลังเกิดวิกฤตหมอกควันเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติคิดเป็น 262%, 221% และ172% ตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีปริมาณฝุ่นเพียงเล็กน้อยได้แก่อุตรดิตถ์ แพร่ ที่มีปริมาณฝุ่นเพิ่มขึ้น 100% และ 90% ตามลำดับ ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีปริมาณฝุ่นละอองในช่วงหมอกควันเพิ่มขึ้นในสัดส่วนน้อยที่สุด คือเพิ่มขึ้นเพียง 87% เท่านั้น

พบสารก่อมะเร็งในวิกฤตหมอกควัน
ผู้อำนวยกรศูนย์วิจัย และพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ NIDA กล่าวต่อไปว่า ผลการศึกษาครั้งนี้ ยังได้ตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารก่อมะเร็ง (PAHs) ในฝุ่น PM2.5 ในชั้นบรรยากาศของ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พบว่าค่าเฉลี่ยของสารก่อมะเร็งรวมทั้ง 9 จุด (Total PAHs) มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 613 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยพบว่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีค่า Total PAHs สูงสุดที่ 3,864 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รองลงมาได้แก่ จังหวัดลำพูนมีค่า Total PAHs อยู่ที่ 886 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่จังหวัดแพร่มีค่า Total PAHs ต่ำสุด อยู่ที่ 54 พิโคกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

“ข้อมูล Total PAHs สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในภาคเหนือที่มีเป็นจำนวนมากกว่าภาคอื่นๆ อาจจะไม่ใช่เพราะคนภาคเหนือชอบสูบบุหรี่ แต่ฝุ่นละอองที่มีในอากาศเกินค่ามาตรฐานก็มีส่วน แม้จะนั่งเฉยๆแต่หายใจเอาฝุ่นละอองเหล่านี้เข้าไป เป็นเวลาหนึ่งเดือน ก็เท่ากับสูบบุหรี่ไปถึง 79 มวน” ผู้อำนวยกรศูนย์วิจัย และพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ NIDA กล่าว



นักสังคมศาสตร์จี้ทั้งรัฐและประชาชนต้องร่วมมือ
ด้านดร.จุฑารัตน์ ชมพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ NIDA แนะวิธีการแก้ปัญหาคือการมีส่วนร่วนของภาคประชาชน และหน่วยงานราชการท้องถิ่นที่ต้องรณรงค์และสร้างการมีส่วนร่วม พร้อมออกกฎหมาย ข้อห้าม การเฝ้าระวัง การเพิ่มบทลงโทษ เพื่อหยุดการเผาป่า รวมถึงสร้างความเข้าใจถึงอันตรายจากการสูดดมเอาสารก่อมะเร็งจากการเผาป่าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ได้

ทั้งนี้ หมอกควันในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและมีปริมาณสูงสุดในเดือนมีนาคม สาเหตุหลักเกิดจากไฟป่า ฝุ่นละอองจากถนน การก่อสร้าง และเขม่าจากน้ำมันดีเซล ทำให้คุณภาพอากาศแย่ลง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศซึ่งมีภูเขาล้อมรอบ ทำให้มลพิษต่าง ๆ ถูกกักไว้และแผ่ปกคลุมทั่วเมือง


--------------------------- ข่าวนี้เขียนขึ้นตอนฝึกงานที่เดอะเนชั่น 5/4/2556 ------------------------

ตร.เข้มช่วงสงกรานต์ ห้ามดื่มเหล้าบนรถ ; สอนเด็กเรื่องดื่มแอลกอฮอล์แก้ปัญหาระยะยาว

ตร.เข้มช่วงสงกรานต์ ห้ามดื่มเหล้าบนรถ

ที่ประชุมคณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 หารือถึงประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ.2555 โดยมีข้อสั่งการให้ตำรวจทุกท้องที่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

เมื่อเวลา 9.30 น. วันที่ 3 เมษายน 2556 ที่ห้องประชุม 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะอนุกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ที่ประชุมได้พิจารณาการกำหนดมาตรการดำเนินงานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของกระทรวงสาธารณะและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีพล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม เป็นประธานอนุกรรมการฯ ได้ยกรายละเอียดตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทาง พ.ศ.2555 ที่ระบุห้ามผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางในขณะขับขี่หรือในขณะโดยสารอยู่ในรถหรือ บนรถ

ทุกวันนี้ประชาชนเข้าใจในมาตราการเมาไม่ขับ แต่ยังไม่รู้โดยทั่วกันเพิ่มเติมว่านอกจากนี้ยังห้ามดื่มแอลกอฮอล์บนรถด้วย โดยเราสามารถแยกเป็นประเด็นได้ดังนี้ คนขับเมา มาคนเดียว – คนขับผิดข้อหาเมาแล้วขับ, คนขับเมา ให้คนเมาโดยสาร –  คนขับผิดข้อหาเมาแล้วขับ ส่วนคนโดยสารผิดข้อหาไม่ตักเตือนคนขับ, คนขับเมา ให้คนไม่เมาโดยสาร –  คนขับผิดข้อหาเมาแล้วขับ ส่วนคนโดยสารผิดข้อหาไม่ตักเตือนคนขับ, คนไม่เมาขับ ให้คนเมาโดยสาร – ไม่ผิด, คนไม่เมาขับ คนโดยสารกินเหล้าในรถ – คนโดยสารผิดข้อหากินเหล้าในรถพล.ต.อ.ปานศิริ กล่าว

สธ.เผยคนเมาแล้วขับตายมากกว่าโรคติดต่อ

ด้านนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ) กล่าวว่าขณะนี้ทางสำนักงานส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติ (สสส.) ได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ประเภทสปอตโฆษณาไปบ้างแล้ว และทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะดำเนินการในระดับพื้นที่ด้วย

สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอันดับ 1 มาจากอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับ มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากกว่าโรคติดต่อเสียอีก แต่ทุกครั้งเวลามีข่าวเรื่องการระบาดของโรคติดต่อ อย่างล่าสุดไข้หวัดนก งบประมาณก็จะเทไปทางเรื่องนั้นมากมายทีเดียว อาจจะเพราะการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเมาแล้วขับมีอยู่เป็นปกติ เลยไม่ค่อยใส่ใจมากนัก”  นายแพทย์สมาน กล่าว

สอนเด็กเรื่องดื่มแอลกอฮอล์แก้ปัญหาระยะยาว

ด้านพลเอกวิทวัส รชตะนันทน์ ที่ปรึกษาอนุกรรมการจากกระทรวงกลาโหม แสดงความคิดเห็นในที่ประชุมว่าต้องยอมรับว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเรื่องที่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน คงเป็นเรื่องที่ห้ามกันยากต้องทำใจ ควรจะมีการสอนเสียตั้งแต่ในโรงเรียนว่าดื่มระดับไหนถึงจะพอดี ขอบเขตของการเข้าสังคมอยู่ตรงไหน น่าจะช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ในระยะยาว

ต่างประเทศ เขาดื่มพร้อมกันตอนกินข้าว แล้วเขาก็ไม่ได้ดื่นกะให้เมาอย่างคนไทยพลเอกวิทวัสกล่าว
ขณะที่นายแพทย์สมาน ฟูตระกูล แสดงความเห็นต่างว่าร่างกายคนเรามีระบบการเผาผลาญแอลกอฮอล์ที่ต่างกัน บางคนคอแข็ง บางคออ่อน ตามหลักวิชาการก็ระบุไม่ได้เหมือนกันว่าดื่มระดับไหนจึงจะพอดี แล้วยิ่งมีการสอนเรื่องนี้ในโรงเรียนก็เหมือนสอนให้เด็กดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทางที่ดีสอนว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสิ่งไม่ดีจะเหมาะสมกว่า

ตำรวจมีมาตราการคุมอาชญากรรมเข้มข้ม ช่วงสงกรานต์

สำหรับมาตรการในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ประชุมมีข้อสั่งการในช่วงการเตรียมความพร้อมระหว่างวันที่ 1 – 10 เมษายนนี้ ประสานผู้ว่าราชการจังหวัด บูรณาการตั้งจุดตรวจ วางแผนป้องกันอุบัติเหตุ ส่วนในระดับสถานีตำรวจ ก็ให้สำรวจจุดและบริเวณที่มีการจัดงานรื่นเริงตามประเพณี เพื่อดูแลความปลอดภัยเป็นพิเศษ

และในช่วงการปฏิบัติระหว่างวันที่ 11 – 17 เมษายนนี้ ซึ่งอยู่ในช่วง 7 วันอันตรายให้มีการเข้มงวดในการตั้งจุดตรวจแอลกอฮอล์ กวดขันเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งสถานที่การจำหน่าย ระยะเวลาในการจำหน่าย ห้ามจำหน่ายสุราให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ทำการประชาสัมพันธ์เชิงรุก และร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (สคอ.) และหน่วยงานต่างๆ อย่างไกล้ชิด
ทั้งนี้ยังมีมาตราการคุมเข้มเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 21 เมษายน ทั้งโครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ จัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เพียงพอ ขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ จัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยในพื้นที่จัดงานขนาดใหญ่ และการตรวจตราของสายตรวจด้วย


------------------------ ข่าวนี้เขียนขึ้นตอนฝึกงานที่เดอะเนชั่น 3/4/2556 ------------------------------

เงินไม่ใช่คำตอบ ห้วยคลิตี้ต้องฟื้นฟู

เงินไม่ใช่คำตอบ ห้วยคลิตี้ต้องฟื้นฟู

"กรมควบคุมมลพิษลั่น 3 ปีต้องฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมตลอดลำห้วยคลิตี้ให้กลับมาปกติ ด้านชาวบ้านดีใจ แต่ยังไม่วางใจขอทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบใกล้ชิด ขณะที่กรีนพีชตั้งข้อสังเกต ผู้ประกอบการหายไปไหน"

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 29 มีนาคม 2556 กรมควบคุมมลพิษ ลงพื้นที่ติดตามการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารตะกั่วในห้วยคลิตี้ และจ่ายเงินเยียวยาค่าเสียหายให้กับผู้ฟ้องคดีทั้ง 22 รายที่หมู่บ้านคลิตี้ล่าง ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พร้อมจัดเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหากับชาวบ้าน

นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าวว่า ภายใน 3 ปีจะต้องฟื้นฟูห้วยคลิตี้จากการปนเปื้อนสารตะกั่วให้แล้วเสร็จ โดยจะดำเนินการเก็บตัวอย่างน้ำในลำห้วยคลิตี้ไปตรวจสอบ 4 ครั้งต่อปี ในช่วงเดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยมีดัชชีชี้วัดสำคัญ ได้แก่ น้ำ ตะกอนดินท้องน้ำ สัตว์น้ำ (ปลา กุ้ง หอย) และพืช (พืชสวน และพืชไร่) และจะประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลผลการติดตามตรวจสอบให้ชาวบ้านได้รับทราบที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านคลิตี้ องค์การบริหารส่วนตำบลชะแล และที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ

“นอกจากการขุดนำตะกอนตะกั่วออกจากหลุ่มฝังกลบข้างห้วยคลิตี้ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูฝนแล้ว จะเร่งดำเนินการสร้างฝายชะลอน้ำตามลำห้วยคลิตี้ และต่อจากนี้จะไม่มีคำพูดที่ว่าให้ธรรมชาติฟื้นฟูกันเองอีกแล้ว การฟื้นฟูของกรมควบคุมมลพิษทำดีว่าคำสั่งของศาลเสียอีก” นายวิเชียรกล่าว
ด้านนายยะเสอะ ชาวคลิตี้ล่าง ระบุว่า อยากให้ดำเนินการฟื้นฟูห้วยคลิตี้ล่างให้แล้วเสร็จด้วยเร็วที่สุด และส่งผลกระทบต่อชาวบ้านน้อยที่สุด ปัจจุบันใช้น้ำประปาภูเขา ซึ่งน้ำไม่ค่อยไหล อยากจะกลับไปใช้น้ำจากลำห้วยคลิตี้เหมือนเดิม  ส่วนตัววันนี้รู้สึกดีใจ แต่ยังไม่วางใจกับการแก้ไขปัญหาของกรมควบคุมมลพิษ เกรงว่าจะหายไปอีก และหากกรมควบคุมมลพิษส่งเจ้าหน้าที่ตรวจน้ำ ตนอยากจะขอตามไปดูด้วย เพื่อความแน่ใจ

“ เงินยังไม่ใช่คตอบ ลำห้วยคลิตี้ต้องฟื้นฟู” ยะเสอะกล่าว

ขณะที่นายสุรชัย ตรงงาม  ทนายความคดีปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้ กล่าวว่าในระหว่างนี้การเยียวยาชาวบ้าน หน่วยงานรัฐอื่นๆ ควรมีส่วนเข้ามาช่วยเหลือด้วยย่างเรื่องประปาภูเขา เรื่องสุขอนามัย ก็สามารถทำได้ในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามขอชื่นชมกรมควบคุมมลพิษที่ออกมาขอโทษแทนรัฐ และหวังใจว่าต่อจากนี้ทั้งกรมควบคุมมลพิษกับชาวบ้านจะช่วยกันฟื้นฟูสิ่งห้วยคลิตี้ร่วมกันได้

ส่วนนายพลาย ภิรมย์ สมาชิกกลุ่มกรีนพีซ กล่าวว่าการแก้ไขปัญหาสารปนเปื้อนในลำห้วยคลิตี้ สามารถนำมาเป็น “คลิตี้โมเดล” เป็นตัวอย่างให้กับชุมชนที่ประสบปัญหาคล้ายๆกันได้

“วันนี้เราเห็นการแสงความรับผิดชอบจากรัฐ แต่ผู้ประกอบการเหมืองแร่ซึ่งเป็นต้นเหตุของการปนเปื้อนสารตะกั่วในลำห้วยคลิตี้หายไปไหน เราจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ตระนักและสำนึก” กรีนพีซกล่าว

_________ ข่าวนี้เขียนขึ้นตอนฝึกงานที่เดอะเนชั่น __________


Villagers doubt the sincerity of PCD pledge to clean up Klity Creek



Residents of Kanchanaburi province's Lower Klity Village are sceptical about the Pollution Control Department (PCD)'s vow to clean up a local creek contaminated by lead, saying the department has not made a genuine effort to tackle the problem so far.

In January, the Supreme Administrative Court ordered the PCD to pay Bt3.8 million in compensation to 22 affected villagers living around Klity Creek and also to rehabilitate their local environment. The PCD is also required to draw up a rehabilitation plan for tainted water, soil and plants and to monitor its implementation for a year until lead levels drop to the standard level.

Last Friday, the PCD promised villagers the creek would be rehabilitated within three years, but Ya-Sue Nasuansuwan, one of the villagers to be compensated, is starting to wonder whether it will ever happen. 

"These measures will be forgotten in the coming days," he said.

Previously, the PCD said rehabilitation would be achieved by leaving the creek to recover naturally. Ten years later, however, lead levels remain high. 

"We hope that the creek will return to normal and recover from the lead contamination within three years," PCD director-general Wichian Jungrungreon said during a recent trip to hand over the compensation money. 

Lower Klity Village is located inside the Thung Yai Naresuan Wildlife Sanctuary. An ore-dressing factory once operated near the village, but has since been closed. Wastewater from the factory released into the river caused the lead contamination. 

The company that operated the plant closed it in 1988 but took insufficient steps to avoid pollution, installing a simple check dam made of rocks to keep lead-tainted sediment flowing to the 12-kilometre-long creek, and dredging only a portion of the sediment for underground storage. 

The tainted sediment that was dredged has been stored in eight underground locations along the waterway. Last Friday, the PCD hired Better World Green Company at a cost of Bt7 million to unearth this tainted sediment and haul it away.

Because of a lack of funds, however, as of yesterday the company had removed only 570 cubic metres of sediment from four of the underground sites. 

This first batch of lead-tainted sediment will be transferred to a secure landfill in Saraburi province. About 1,355 cubic metres of lead-tainted sediment are stored in the underground sites.

The dredging effort has not been sufficient to rehabilitate the creek, which continues to show high levels of lead contamination. 

Wichian said his agency would collect samples of water and sediment; aquatic animals such as fish and shrimp; shells; and plants from the creek four times a year - in March, June, September and December - to monitor the creek's lead levels. The results will be announced to villagers via the office of the village headman, the district administration office and the local administration organisation. 

Additionally, the PCD will construct a check dam in the creek to slow the water flow. 

"I hope from now on nobody will say that we left the creek to recover naturally on its own. I think the PCD's measures go beyond the court's order," he said.

Villagers still use water from the creek for many activities in their daily lives, including for farming and washing dishes and clothes.

Surachai Trong-ngarm, director of Environmental Litigation and Advocacy for the Wants (EnLAW), a group providing legal aid for villagers, said that besides the creek-rehabilitation plan, government agencies should provide medical assistance for the affected villagers. They also need piped water for their daily activities as long as the water from the creek remains unsafe.

Ply Pirom, campaign manager at Greenpeace Southeast Asia, said if the PCD can successfully rehabilitate the creek, the process could serve as a model for resolving chronic lead contamination in other villages facing the same problem. He also called on the former owners of the now-shut lead-dressing factory to take responsibility.


_________________________________