ข่าวมาว่า หลังมีนักเรียนมัธยมจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
ทำหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีระเบียบตัดผมสั้นเกรียน กระทบต่อสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิฯจึงได้ดำเนินการเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี 2554 จนล่าสุดคณะรัฐมนตรี
มีหนังสือให้กระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงฉบับใหม่
รายละเอียดของข่าวชิ้นนี้มีเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงปี 2515 ที่นักเรียนหญิงต้องตัดผมสั้นเสมอติ่งหู และนักเรียนชายต้องตัดผมสั้นเกรียนมาโดยตลอด และมีการออกกฎเพิ่มในปี 2518 ให้ยืดหยุ่นได้
โดยนักเรียนหญิงให้ไว้ผมยาวได้ไม่เกินต้นคอ แต่หากเกินต้องรวบผมให้เรียบร้อย ต่อมาในปี
2546 ทางกระทรวงได้มีบันทึกข้อความส่งถึงโรงเรียนทั่วประเทศ
ให้ใช้ดุลยพินิจและความเหมาะสมตามสถานการณ์ ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในทางปฏิบัติ
นางศิริพร กิจเกื้อกูล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บอกว่า ขณะนี้กระทรวงฯ
เตรียมยกร่างกฎกระทรวงใหม่ให้เหลือเพียงฉบับเดียว
และจะแยกหลักปฏิบัติของแต่ระดับชั้นให้ชัดเจน โดยจะมีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
จากข่าวนี้เราจะลองย้อนกับไปดูความเป็นมา ต้นกำเนิดของทรงนักเรียน ตามที่มีปรากฎอยู่ในบทความว่าด้วยเรื่องกฎทรงผม
ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับ 2 พฤศจิกายน 2550
มีคำตอบสรุปความได้ว่า
“ประเทศไทยรับทรงผมทรงนักเรียนทั้งเครื่องแบบต่างๆ
จากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงสงครามนั้นเกิดเหาระบาดมาก
ประชาชนจึงนิยมตัดผมสั้น”
กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง
ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2515) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518)
ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 [1]
ในเรื่องเกี่ยวกับทรงผมที่ ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน กฎกระทรวงฉบับที่ 1
ระบุว่า
1. นักเรียนชายไว้ผมยาว
โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร
และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดหรือเครา
2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ
หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
กฎกระทรวงฉบับที่ 2 แก้ไขเป็น
1. นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผมหรือไว้หนวด
ไว้เครา
2. นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ
หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
ดังนั้นโรงเรียนต่าง
ๆ จึงอาจมีระเบียบในเรื่องทรงผมที่แตกต่างกันได้ในรายละเอียด
แต่ส่วนใหญ่นักเรียนชายมักจะให้ตัดผมสั้นเกรียน
และนักเรียนหญิงมักจะให้ตัดผมสั้นในช่วงติ่งหูถึงปกเสื้อนักเรียน
ทว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก
เพราะสังคมไทยกำหนดให้นักเรียน (ในปัจจุบันอาจจะเหลืออยู่เพียงโรงเรียนของรัฐ)
ที่ต้องไว้ทรงเกรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาอย่างยาวนาน
หากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย
ดังนั้นคงไม่แปลกที่จะมีผู้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลายต่อสถานการณ์ดังกล่าว
นี่เป็นภาพการ์ตูนที่วาดจำลองเหตุการณ์
เมื่อมีการยกเลิกทรงเกรียนของนักเรียนไปแล้ว คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมจากภาพๆนี้
คณะกรรมการพิจารณายกร่างกฎกระทรวง ในเรื่องทรงผมนักเรียน
ที่กำลังจะถูกตั้งขึ้น ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนว่า การมีอยู่ของทรงเกรียน ส่งผลดี
หรือ ผลเสีย ต่อสังคมไทย
_______________________________
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น