วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

เตาถ่านทำกับข้าวอร่อยกว่าเตาแก็ส: บุกบ้านคนทำเตาถ่าน

เตาถ่านทำกับข้าวอร่อยกว่าเตาแก็ส: บุกบ้านคนทำเตาถ่าน



เคยได้ยินมั้ยครับว่า “เตาถ่านทำกับข้าวอร่อยกว่าเตาแก็ส” ไม่นานนี้ผมมีโอกาสไปเยี่ยมบ้านคนทำเตาถ่านขายครับ พวกเขายืนยันว่าเตาถ่านทำกับข้าวได้อร่อยกว่าเตาแก็สจริง โดยให้เหตุผลว่าจะมีความหอมจากฟืนมากกว่า และไฟที่เกิดจากการการเผาไม้จากไม้ยอมมีความเป็นธรรมชาติ มากกว่าการเผาไหม้ที่เกิดจากแก็สอยู่แล้ว การใช้เต่าถ่านทำกับข้าว ก็เท่ากับมีว่าความละเมียดละมัยในการทำกับข้าวด้วยเช่นเดียวกัน

นี่อาจเป็นเหตุผลแบบสวยๆที่เต่าถ่านยังคงขายออก ท่ามกลางเทคโนโลยีที่รุดหน้า มีทั้งเตาไฟฟ้า เตาแก็สที่ทันสมัย
ตารุน วัย 78 ปี กับยายบัว วัย 74 ปี ชาวบ้านท่าเจ้าสนุก อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยายังคงเป็นผู้ประกอบการรายย่อยในการผลิตเตาถ่านส่งขาย ผมมีโอกาสได้ไปเยี่ยมไปเยียนโดยบังเอิญ ใครเลยจะคิดว่าบ้านไม้เก่าๆ 2 ชั้นอยู่ริมแม่น้ำป่าสักเก๋ๆ จะเป็นที่ผลิตเตาถ่านที่ใครๆในย่านนั้นก็รู้จัก


ที่นี่ไม่มีลูกจ้าง ไม่มีเตาเผาใหญ่ๆ ไม่ใช่โรงงานอะไร แต่เป็นบ้านของสองตายายที่ทำเตาถ่านขาย ตั้งแต่ร่วมแต่งงานกันมาราวๆ 40 กว่าปี จริงๆแล้วตายายคู่นี้ก็มีลูกหลาน แต่ว่าที่งานลำบากๆอย่างนี้ ลูกหลานคงไม่ทำ และหันหน้าเข้ากรุงเทพเป็นมนุษย์เงินเดือน จะดีกว่า
การทำเต่าถ่านตารุนกับยายที่มากไปกว่าการหารายได้เล็กๆน้อยๆ แก้เหงาตามประสาคนแก่ก็คือทำเพราะใจรัก

ตารุนบอกวิธีการทำเตาถ่านว่า นำดินเหนียวที่หาได้ตามท้องนามาแช่น้ำไว้ 1 คืน ก่อนจะนำมาผสมกับขี้เถ้า เพราะจะทำให้เกิดความเหนียวเป็นพิเศษ หลังจากนั้นก็จะนำมาปั้นเป็นรูปเตา และตากแดดนานถึง 3 วัน จึงจะนำมาเข้าไปเผาด้วยกองฟืน และสุดท้ายจะนำมาอัดใส่เปลือกสังกะสี

ขณะที่ตารุนทำเตา ยายบัวจะทำรังผึ้งหรือที่วางถ่านในเตา มีลักษณะเป็นแผ่นวงกลมพอดีกับเตา และมีรูกลมๆหลายรู คล้ายรังผึ้ง วิธีการทำก็คล้ายกัน คือนำดินเหนียวผสมขี้เถ้า ผสมน้ำแล้วทำมาใส่แม่พิมพ์แห้งก็แคะออก และนำมาเผากับฟืน

แม้วิธีการทำเตาถ่านของสองตายายจะง่ายๆ และไม่ใช่วิธีการผลิตในโรงงานใหญ่ แต่การเผาเตาแบบสุ่มฟืนเผานี้ ตารุนกับยายบัวก็การันตีว่าเตาถ่านของแกทนทาน และสวยกว่าเตาจากโรงงานจริงๆ

ตารุนเผยชีวิตเบื้องหลังครั้งยังหนุ่มว่า เคยทำงานในโรงงานผลิตเตาถ่านของคนจีนยานสำเหร่ กรุงเทพฯ ตารุนแอบครูพักลักจำวิธีการทำเตาถ่าน ที่ชาวจีนเรียกว่า เตาอั้งโล่มาโดยตลอด

เป็นเวลากว่า 10 ปีที่คลุกคลีอยู่กับการปั้นเตาที่โรงงานแห่งนี้ ก่อนจะพบรักกับยายบัว จึงตัดสินใจออกจากการเป็นลูกจ้างที่โรงงานนั้น มาตั้งเนื้อตั้งตัวฉันสามีภรรยา กับยายบัวริมแม่น้ำป่าสัก บ้านท่าเจ้าสนุก และด้วยวิชาทำเตาที่ติดตัวมาก็สามารถหาเลี้ยงชีพได้จนชราแก่เฒ่า

การทำเตาที่อาศัยภูมิปัญญาชาวบ้านจริงๆ ไม่อิงเครืองจักร และเครื่องทุ่นแรง ตารุนถึงกับอวดว่าเคยมีเจ้าหน้าที่กรมศิลปากรมาศึกษารายละเอียดการทำเต่าถ่านโบราณแบบนี้เอาไว้อย่างละเอียดด้วย

ทุกวันนี้แม้อายุของทั้ง 2 จะเกือบ 80 ปีแล้วแต่ยังมีสุขภาพแข็งแรง เคลื่อนไหวคล่องแคล้ว ทำต๊อกๆแต็กๆไปเรื่อยๆ แต่รายได้จากการส่งเตาขายต่อเดือนเฉียดหมื่นบาทเลยทีเดียว โดยจะมีหลายๆเจ้ามารับไปขายต่อ ราคาเตาต่อใบก็ตามขนาด ตั้งแต่ราคา 100  200 300 บาท


อย่างไรก็ตามเตาถ่าน หรือเตาอั้งโล่มีแนวโน้มความนิยมใช้ที่ต่ำลงเรื่อยๆ เพราะเด็กรุ่นใหม่คงไม่อดทนมากนัก ที่จะก่อฟืนทำกับข้าวด้วยเตาถ่าน วิถีชีวิตดังเดิมแบบบ้านๆ ที่มีถ่านเตาเป็นพระเอกในการทำกับข้าว อาจจะเลือนหายไปไม่ช้า ก็เป็นไปตามกาลเวลา ตารุนกับยายบัวไม่ได้คิดอะไรมาก กับความเปลี่ยนแปลง เพราะอาจไม่นานก็คงตายจากกัน

อนิจจัง !

วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

พาเด็กไปม็อบ ทำลายหรือสร้างสรรค์ ?

พาเด็กไปม็อบ ทำลายหรือสร้างสรรค์ ?


พ่อแม่หลายคนพาลูกมาร่วมการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.โดยคาดหวังว่าเด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในครั้งนี้ แต่จิตแพทย์มองว่าเด็กยังเล็กเกินกว่าจะเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อน ขณะที่สิ่งแวดล้อมในที่ชุมนุมก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กเลยทั้งการใช้ภาษาในการปราศัย อารมณ์ความรู้สึกของผู้คน รวมถึงเสียงจากลำโพง และนกหวีดที่ดังจนอาจเป็นอันตรายได้


 “คุณปู่พรุ่งนี้หนูหยุดพาหนูมาชุมนุมหน่อย หลานอยากมาผมก็เลยพามา” ลุงบุญเสริม วงศ์ร่วมพิบูลย์ วัย 67 ปีพาหลานสาว 2 คน คนหนึ่งอายุ 5 ขวบอีกคนอายุ 9 ขวบมาร่วมชุมนุมกับกลุ่มกปปส.ที่แยกราชประสงค์ตามคำรบเร้าของหลานๆ ลุงบุญเสริม ยอมรับว่าการพาหลานมาร่วมชุมนุมมีความเสี่ยงอยู่บ้าง จึงเลือกพามาตอนกลางวัน และถ้าหากตอนเย็นมีคนเยอะมากขึ้นก็จะพากลับบ้านเพื่อความปลอดภัย

แม้จะไม่ได้คาดหวังอะไรจากการพาหลานมาร่วมชุมนุมเพราะหลานยังเด็ก แต่ลุงบุญเสริมเชื่อว่าเด็กจะสามารถซึมซับบรรยาการศการชุมนุมของมวลมหาประชาชนที่ออกมาต่อต้านคนโกงได้ เมื่อโตขึ้นเด็กๆจะได้เข้าใจว่าคนที่โกงชาติบ้านเมืองจะมีผู้ออกมาต่อต้านเป็นจำนวนมากอย่างนี้

“บนเวทีมีการปราศัยที่ใช้คำรุนแรงและล้อแหลมหยาบคายบ้าง แต่ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้หลานฟัง เลือกพาหลานมาตอนกลางวันส่วนหนึ่งเชื่อว่าการปราศัยบนเวทีจะไม่มีคำพูดที่รุนแรงเหมือนตอนดึกๆ เพราะส่วนใหญ่เป็นการขับร้องเล่นดนตรี” ชายวัย 67 ปีที่พาหลานมาด้วยกล่าว

เช่นเดียวกับนางพัชรวรรณ ปัดภัยที่พาลูกชายวัย 5 ขวบมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.ที่แยกปทุมวัน เธอบอกว่าเลือกพาลูกมาในช่วงกลางวันที่มีคนน้อย ในตอนกลางคืนอาจจะมีคนเลิกงานมากันเยอะ ทำให้เธอดูแลลูกลำบากมากขึ้น

การชุมนุมปิดกรุงเทพของกลุ่ม กปปส. ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณเริ่มขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม มีการปิดถนนและแยกการจราจรที่สำคัญทั้ง 7 จุด และยังมีทีท่าว่าจะดำเนินต่อไปเพื่อกดดันนส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ลาออกจากต่ำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี และมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง โดยการตั้งสภาประชาชน ที่ส่วนหนึ่งมาจากการคัดเลือกของกลุ่มกปปส.เอง

 “ อย่างน้อยเราก็ได้เป็นส่วนหนึ่งทีออกมาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ อยากให้เขาเห็นว่าคนที่ทำไม่ถูกต้องก็จะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ” มุมมองง่ายๆที่นายกรัฐมนตรีไม่ซื้อสัตย์ อันนี้เด็ก 5 ขวบก็เข้าใจ” พัชวรรณบอกอีกว่าวันนี้ลูกขอร้องให้ชวนมาร่วมการชุมนุมด้วยตนเอง  และเมื่อถามเด็กชายรวิกร ปัดภัย วัยทำไมถึงอยากร่วมการชุมนุมเด็กชาย 5 ขวบว่าตอบว่า “อยากมาช่วยถือธงกับมาเป่านกหวีด”

การเข้าใจของเด็กในเรื่องที่ซับซ้อน

สอดคล้องกับพญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตบอกว่าเด็กอนุบาล (1-6 ปี) โดยวัยแล้ว การเข้าใจในเรื่องเหตุผล เนื้อหา จะเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน การที่เด็กไปร่วมชุมนุมก็ได้แค่เพียงเห็นบรรยากาศ แต่ไม่เข้าใจเนื้อหา แต่สำหรับเด็กประถม (7 – 12 ปี ) อาจเริ่มเข้าใจในเหตุผลง่ายๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ยกตัวอย่างการอธิบายเรื่องการเมืองให้ลูกฟังอย่างง่ายๆว่า เช่นเดียวกับเวลาที่หนูอยู่ที่โรงเรียนแล้วมีการเลือกหัวหน้าห้อง การเลือกตั้งก็เหมือนการเลือกหัวหน้าห้อง หัวหน้าห้องก็มีหน้าที่ดูแลสมาชิกในห้อง แต่ถ้าเขาทำหน้าไม่เหมาะสม เราควรมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีที่ไม่รุ่นแรง อันนี้เป็นตัวอย่างว่าเด็กจะเข้าใจมากขึ้น



“การยกตัวอย่างที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก สามารถเทียบเคียงกับเรื่องประการณ์โดยตรงของเด็ก จะทำให้เด็กสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ อย่างง่ายๆ ดีกว่าปล่อยให้เขาฟังไปเรื่อยๆ เพราะเด็กไม่สามารถสร้างวิธีการคิดแบบซับซ้อนได้” พญ.พรรณพิมลกล่าว

คำหยาบคายบนเวทีปราศัย

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกอีกว่าผู้ปกครองมีความตั้งใจที่จะให้ลูกได้เรียนรู้ อยากให้เด็กได้เห็นสิ่งดีดีในที่ชุมนุม แต่ก็ต้องระวังเรื่องการเลียนแบบพฤติกรรม เพราะเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กเล็กและประถม ที่เห็นแล้วจะทำตามทันที เขาจะเข้าใจไปว่าอันนี้เป็นสิ่งที่แสดงออกได้ เพราะเขาเห็นคนอื่นทำ เช่นเรื่องการใช้คำพูดอาจจะหยิบเอาคำบางคำมาพูดเลย โดยไม่เข้าใจว่าคำพูดแบบนี้ควรใช้หรือไม่ควรใช้ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม พ่อแม่ก็ต้องอธิบายว่าในชีวิตประจำวันของเราจะไม่ใช้คำหยาบคาย แม้กระทั่งในครอบครัวเราก็จะไม่ใช้กัน

“แต่ถ้าคำบางคำมันยากกว่านั้นสำหรับเด็ก เช่นคำที่ไปละเมิดผู้อื่นที่มันซับซ้อนกว่านั้น ก็ต้องกลับไปที่ตัวอย่างเดิมว่าเราไม่ชอบหัวหน้าห้องคนนี้ เราก็ไปด่าว่าเขาแรงๆ อันนี้ไม่แน่จะใช่วิธีการที่จะสอนลูกของเรา สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือเรื่องการเลียนแบบ ความรุนแรง จากภาษา” พญ.พรรณพิมลกล่าว

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตย้ำว่าจริงๆแล้วเด็กควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับวัยของเขา เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในที่ชุมนุมไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กยิ่งไม่ควรเลย 

“หมอเข้าใจว่าตอนนี้การชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนเมือง ก็ต้องเอาลูกไปชุมนุมด้วย ดังนั้นพ่อแม่ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะเอาลูกอยู่ในที่ชุมนุมนานสักเท่าไหร่ นอกจากการไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอาจจะต้องตัดสินใจว่า เรายังคงต้องให้การดูแลลูก เราอาจจะต้องออกจากการชุมนุมเป็นช่วงๆ บ้าง ให้เด็กได้เล่นแบบเด็กๆ คุณต้องรักษาส่วนนี้ไว้ด้วย แต่ถ้าบริหารให้ดีให้ลูกอยู่บ้านมีคนดูแลเหมาะกับเขามากว่าค่ะ”



สุขอนามัยและเรื่องเสียงดังในที่ชุมนุม

อีกเรื่องที่พญ.พรรณพิมล เตือนคือระดับความดังของเสียงมาตรฐานอยู่ที่ 50 เดซิเบล ถ้าดังกว่านั้น การอยู่บริเวณนั้นนานๆ อาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินได้ อย่างเด็กเล็กความสามารถของเขาในการที่จะทนกับเสียงดังได้นานไม่เท่ากับผู้ใหญ่

“ใช้ตัวเราแบบง่ายๆก็ได้ ถ้าเรารู้สึกว่าเสียงดังจนเราไม่ไหว เพราะฉะนั้นลูกก็ไม่ไหวแน่นอน ลูกเนี่ยไปก่อนเรา ต้องออกจากพื้นที่เป็นระยะๆ อย่าอยู่จนไม่ไหว บางทีเราอยู่หน้าเวที จนอาจลืมว่ามีลูกเล็กๆอยู่ข้างๆเรา”

นอกจากการนี้พญ.พรรณพิมลยังเตือนเรื่องสุขอนามัยในที่ชุมนุม ความสะอาดของอาหารสำหรับเด็กเล็ก และในภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงช่วงนี้ผู้ใหญ่เองยังเป็นหวัด ที่ศูนย์เด็กเล็กเองก็มีเด็กติดหวัดกันงอมแงม ดังนั้นระวังเรื่องสุขภาพสำหรับเด็กด้วย ในที่ที่มีคนเยอะเราไม่รู้ว่าใครเป็นอะไรบ้าง

_____________________


BANGKOK SHUTDOWN

'Keep children out of protests'

Tanpisit Lerdbumrungchai
The Sunday Nation January 19, 2014 1:00 am
Children hold placards with protest messages at an anti-government rally site. Such image of adults bringing their kids to join the ongoing protest has become quite common but expert warn of negative impact.
Children hold placards with protest messages at an anti-government rally site. Such image of adults bringing their kids to join the ongoing protest has become quite common but expert warn of negative impact.

Experts warn the high noise levels, overcrowded conditions and bad language can have negative impact

Some parents have brought their children to join the anti-government protests in the hope that they might learn about democracy and be part of the historic events, but experts warn the experience could have a negative effect on children's mental and physical health due to the exposure to loud noise and over-crowded conditions. Children might also end up copying the bad behaviour of some protesters, they said.

"Grandpa, tomorrow is my day off, please take us with you to the protests," 67-year-old Boonserm Wong-ruampaiboon quoted his two granddaughters, aged 5 and 9, as saying. It was his reason for taking them to the rally site at Bangkok's Ratchaprasong intersection, he said. However, he added that as a precaution, he only took them during daytime and would return home before evening when the crowd began to get much larger.

Images of parents protesting or sitting with their children in front of the protest stages - listening to passionate speeches through booming speakers - is not uncommon.

Boonserm believes his granddaughters - although still very young - were able to absorb the atmosphere and understand that the protests were against corruption.

While he admitted that some of the speeches were coarse, he said that daytime speeches tended to be milder and there was a lot more musical entertainment. If rude remarks were made, Boonserm said he would try to distract his granddaughters' attention away from the rude remarks.

Another demonstrator, Patcharawan Padpai, who brought her five-year-old son to join the Pathumwan intersection rally, said she came during the daytime when there were not too many people. She said she would leave quickly if the situation began to deteriorate into violence.

She said she believed children should participate in the rally so that they could see the process of positive change, and so that they would learn that wrongdoers could not stand in the way of a peaceful society. Her son had also asked to join the rally, she added. Asked why he wanted to join the rally, the boy said he wanted to wave a flag and blow his whistle.

Dr Panpimol Wipulakorn, deputy director of the Department of Mental Health, said children aged 1-6 could only understand simple matters and that those who attended the rally with their parents would only be able to absorb the atmosphere. However, children aged 7-12 might understand more through simple explanations and parental guidance, she said.

Panpimol cited as an example a child's experience in choosing a fellow classmate to be "leader of the classroom". Children, she said, would be able to understand that the purpose of having a student as the leader was to take care of fellow classmates, but if that leader did something wrong, then that might lead to changes which could be peacefully adopted through discussion.

An explanation of this kind, which was relevant to the direct experience of a child, could help them to understand the protest situation more clearly, she said.

Panpimol also warned that children might pick up rude words and behaviour, and it was therefore important for parents to explain that some of the remarks made at the rallies were inappropriate in daily life.

She also urged parents to leave the rally sites from time to time, so that their children could take time off to relax and play. However, she added that taking very young children to the rallies was inappropriate, and that they should be left at home with a babysitter.

She also warned that prolonged exposure to loud noises beyond the safety level of 50 decibels might affect their hearing, while overcrowded conditions amid changing weather conditions could lead to them catching flu.

//////////////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI / THE NATION

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ธุรกิจรับจ้างจัด “อีเว้นท์สวดภาณยักษ์” : สะดวก หรือ เสื่อม ?

ธุรกิจรับจ้างจัด “อีเว้นท์สวดภาณยักษ์” : สะดวก หรือ เสื่อม ?


แรกๆก็เข้าใจว่าทางวัดที่บ้านจัดสวดภาณยักษ์เอง แต่สังเกตุรอบๆคนที่มาขายของทั้งวัตถุมงคล ทั้งเครื่องบูชาไม่ใช่คนในพื้นที่เลยเข้าไปถามว่ามาจากไหน พวกเขากลับมาพิรุจไม่ยอมตอบ อ้ำๆอึ้งๆ เลยไม่ถามแต่จากการสังเกตุลักษณะแบบมารับจัดงานอีเว้น “สวดภาณยักษ์” ให้กับวัดเป็นจ็อบๆ

ถามคนที่ขายเครื่องบูชาพระราหูในงานคนหนึ่งก็หลุดปากบอกมาว่า “เจ้าอาวาสเป็นคนโทรไปบอกหัวหน้า รีบๆซื้อของไหว้นะจ้ะน้อง พรุ่งนี้พี่ไม่อยู่แล้ว จะย้ายไปจัดที่วัดแถวๆปทุมธานี ว่างๆก็ไปนะ” ผมได้ยินแล้วเกิดอาการเงิบอย่างบอกไม่ถูก ที่ได้ฟังมานี่จะตีความเป็นอื่นไม่ได้เลย ถ้าไม่ใช่ธุรกิจ ตอกย้ำด้วยภาพรถบรรทุกข้าวของวัตถุมงคลที่จอดอยู่ข้างโบถส์อย่างภาพนี้



กลุ่มรับจัดงานอีเว้นท์สวดภาณยักษ์ จะมีคอนแทคกับลูกค้าก็คือเจ้าอาวาสวัดต่างๆ แล้วก็คงมีเซลมาแนะนำก่อนว่าถ้าจัดอีเว้นนี้รายได้จะแบ่งกับวัดเท่าได้ แล้วเขาจะขอเท่าไหร่ โดยมีการบริการแบบวันสต๊อปเซอร์วิช ตั้งแต่อุปกรณ์ เครื่องเซ็นไหว้ธูปเทียน คนทรงเจ้า จนกระทั้งวัตถุมงคล วัดอาจจะร่วมแจมแค่ส่งพระสงฆ์มาเป็นพร็อบสวดนั่นโน่นนี่ก็พอ

ลักษณะการจัดงาน “อีเว้นท์สวดภาณยักษ์” ผมถือว่าพวกเขาจัดได้อย่างมืออาชีพ นึกง่ายๆเวลาคุณไปงานนิทรรศการอะไรสักอย่างหนึ่งที่จะมีเวทีกลางเป็นไฮไลท์มีการแสดงหลักที่คนสนใจ รอบๆข้างก็มีเวทีย่อยที่การแสดงเล็กๆน้อยๆ ถัดมาก็เป็นบูธกิจกรรม และสุดท้ายที่ขาดไม่ได้การร้านขายของที่ระลึก

พอๆกันกับ “อีเว้นท์สวดภาณยักษ์” เวทีหลักก็คือการสวดภาณยักษ์ยิ่งใหญ่อลังการ เวทีย่อยก็คือมีคนทรงเจ้ามีหมอดูมีคนแสดงอิทธิฤทธิ์ แล้วก็มีไทยมุง ถัดมาบูธกิจกรรมก็ประเภทซื้อธูปเทียนไหว้ศาลเพียงตา ซื้อเครื่องบูชาพระราหู บริจาคโลงศพ สุดท้ายร้ายขายของที่ระลึกก็คือขายจำพวกกุมาร ลักยม น้ำมันพราย 

คิดง่ายๆ แค่คุณเดินเข้างานนี้ด่านแรกคุณต้องเสียเงินซื้อธูปเทียนไหว้ศาลเพียงตา 20 บาทค่าครูอีก เท่าไหร่ไม่ทราบครับเพราะผมไม่ได้ร่วมกิจกรรม และค่าเครื่องบูชาพระราหู 40 บาท ซื้อก็เป็นของเซ่นแบบเวียนเทียน เอาเป็นว่าอย่างต่ำประหยัดสุดคุณมาเสียเงินอย่างน้อย 60 บาท ไม่นับรวมว่าถ้ามีการหยอดเหรียญ หยอดตู้บริจาคนั่นนี่อีก ซึ่งดูทรงแล้วตรวจสอบยากว่าเอาเงินบริจาคเราไปทำประโยนช์จริงหรือไม่ นอกจากเอาไปกินกันเอง


ทำมาหากินบนความเชื่อความงมงาย ไม่ต่างอะไรจากพวกต้มตุ๋น 18 มงกุฎ ถือเป็นกิจกรรมที่ทำไม่ได้เพิ่มสติปัญญาได้เลยแม้แต่น้อย และที่เศร้าก็คือ “สวดภาณยักษ์” ที่แท้จริงไม่ใช่เรื่องงมงาย หากศึกษาประวัติและวัตถุประสงค์การการสวด ก็จะเป็นปริศนาธรรมคือเมื่อสวดประจำย่อมสามารถขับไล่ “ยักษ์ภายใน” คือโลภ โกรธ หลง ออกจากใจได้แน่นอน


การสวดภาณยักษ์

การสวดภาณยักษ์หรือการสวดพระอาฏานาฏิยปริตร มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลโดยมีความเชื่อกันว่าผู้แต่งบทสวดนี้ขึ้นมาคือยักษ์อาศัยอยู่ชั้นจาตุมหาราชิกาซึ่งสูงกว่ามนุษย์เพียงชั้นเดียว ในการเข้าพิธีสวดนี้ผู้เข้าพิธีต้องมีขันหรือที่เรียกกันว่า ขันครู ข้างในจะประกอบไปด้วยของหลักๆคือผ้ายันต์และด้ายสายสิญจ์และข้าวสาร เมล็ดถั่วเขียวต่างๆเพื่อนำไปโปรยไว้ตามบ้านหรือใส่ในกระถางธูปเพื่อเป็นสิริมงคลหลังจากเสร็จพิธี

ในขณะประกอบพิธีบางคนก็มีอาการประหลาดต่างๆเกิดขึ้น เช่น กระโดดโลดเต้น ชักดิ้นชักงอ คล้ายกับคนโดนของเพราะเชื่อว่าเป็นการสวดขับไล่สิ่งไม่ดีให้ออกไปจากตัวรวมทั้งเสริมบารมีไปในตัวด้วยเช่นกันหากในตัวผู้ใดมีการสักยันต์หรือโดนคุณโดนของก็จะมีอาการออกมาอย่างนั้น เช่น สักหนุมานก็จะกระโดดโลดเต้นเป็นลิง เป็นต้น

ทำนองการสวดจะแปลกกว่าพระคาถาที่ได้ยินอยู่ทั่วไปคือเสียงสวดจะฟังดูแล้วน่ากลัวโหยหวนผสมกับกระแทกกระทั้นดุดันสลับเสียงไปมาในบรรดาพระสงฆ์เจ้าพิธีซึ่งมีอยู่4รูป ระหว่างทำพิธีก็จะมีพระมาคอยประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลต่อผู้เข้าร่วมพิธี


อุปทานหมู่

นายแพทย์ท่านหนึ่งได้ให้สัมภาษณ์และวิจารณ์ว่า เสียงสวดที่มีความโหยหวนกระแทกกระทั้นและมีเสียงสูงต่ำ ยิ่งมีการจุดประทัดด้วย จะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้เกิดมีอาการชักได้ง่าย

“การสวดนี้จะเป็นการ กระตุ้นทางกายและใจ คนที่ใจอ่อนอยู่แล้ว จะชักได้ง่าย ยิ่งคนที่ชัก คิดว่ามีผีอยู่ในตัว ก็จะยิ่งมีแนวโน้มจะชักมากขึ้น ความรุนแรงของการดิ้นหรือชักจะ แตกต่างกันไปตั้งแต่พนมมือและสั่น ( ไม่ได้รวมไว้กับอาการดิ้นหรือชัก) ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก อาการรุนแรงอื่นๆได้แก่ ลุกขึ้นชัก กระตุกไม่รู้สึกตัว จนกระทั่งแรงมาก โดย มีการชกต่อยเกิดขึ้น หรือทำร้ายตัวเอง และหกคะเมนตีลังกา”

ในทรรศนะของจิตเวชแผนปัจจุบัน อธิบายว่า ได้เกิดมีอาการแตกแยกของจิตใจไปชั่วขณะหนึ่ง ลักษณะต่างๆและพฤติกรรมที่มองเห็น เช่น การกระตุก การสั่น การชักดิ้น เช่นนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราว พร้อมกับส่งเสียงร้องกรี๊ดอย่างน่ากลัว ทำให้บุคคลที่ใจอ่อนอยู่แล้ว เกิดมีอาการเอาอย่างขึ้น กับกลุ่มชนที่อยู่ร่วมกันในระหว่างพิธี จะเห็นมีข่าวบ่อย ครั้งที่นักเรียนทั้งโรงเรียนมีอาการคล้ายผีเข้าทั้งโรงเรียน

เขาก็เรียกว่าเป็นอุปทานหมู่ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ในการเข้าพิธี สวดภาณยักษ์ ถือว่าเป็นสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ซึ่งสิงอยู่ในร่างกายเช่น ถูกของ ผีเข้า ผีสิง ฯลฯ กำลังจะออกจากตัว แต่การชักเพราะจิตประสาทนี้ อาจจะทำให้สุขภาพจิต ดีขึ้น ไม่มีผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด


ธุรกิจสวดภาณยักษ์

เนื่องจากมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันการสวดภาณยักษ์หลายแห่ง ได้กลายเป็นพุทธพาณิชย์เชิงธุรกิจไปแล้ว โดยมีนายหน้ามาขอเช่าสถานที่ของวัด จัดพิธี สวดฯ กันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีหน้าม้า ค้าวัตถุมงคล ผ้ายันต์ สารพัด

ซึ่งเป็นธุรกิจที่หากินกับความศรัทธาของชาวพุทธ ที่ยังไม่เข้าใจถึงพระธรรมคำสอน ของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแท้จริง การเข้าร่วมพิธี จึงต้องดูให้ดีด้วย ว่าผู้ จัดเป็นใคร เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน

---------------------------

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ทำอย่างไรเมื่อต้องเรียนกับม็อบ ?

ทำอย่างไรเมื่อต้องเรียนกับม็อบ ?


 

เป็นเวลากว่าสองเดือนแล้วครับที่นางสาววนัสนันท์ เรืองเดช นักเรียนชั้นม.5/11 โรงเรียนสตรีวิทยาต้องลงจากรถโดยสารก่อนถึงหน้าโรงเรียน และต้องเดินฝ่ากลุ่มผู้ชุมนุมเพื่อเข้าไปเรียนหนังสือ เธอบอกว่าต้องเผื่อเวลามาโรงเรียนให้เร็วขึ้น และในจังหวะที่สถานการณ์การชุมชนสุ่มเสียงที่จะเกิดการเผชิญหน้าหรือมีการปิดเส้นทางในหลายจุด โรงเรียนจะพิจารณาประกาศหยุดเรียนทันที โดยประกาศทางเว็บไซต์และเพื่อนๆช่วยบอกกล่าวผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ค

โรงเรียนสตรีวิทยา เป็นโรงเรียนหญิงล้วน ตั้งอยู่ห่างจากพื้นที่ชุมนุมของกลุ่มกปปส. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพียง 2 – 3 วา และนั่นก็ทำให้โรงเรียนแห่งนี้ได้รับผลกระทบจากการชุมชนทางการเมืองมาโดยตลอด ทั้งในเรื่องของเสียงและการสัญจรเข้า-ออก



“หนูยอมรับว่าการชุมนุมข้างๆโรงเรียนมีผลกระทบก็จริง แต่หนูทนได้ เขาก็เรียกร้องของเขาไป เขาชุมนุมนอกโรงเรียนไม่ได้บุกเข้ามาทำอะไรที่โรงเรียนของหนู” นางสาววนัสนันท์กล่าว
นักเรียนหญิงชั้นม.5 คนเดิมบอกอีกว่าอาจารย์จะให้งานก่อนที่โรงเรียนจะปิด มีการส่งสไลด์ผ่านอีเมล์ให้นักเรียนและให้แบบฝึกหัดกลับไปทำที่บ้าน พอโรงเรียนเปิดก็เปิดก็นำงานมาส่งอาจารย์ พ่อของเธอบอกว่าเวลาโรงเรียนหยุดก็ให้อ่านหนังสือเตรียมสอบ สำหรับข้อสอบกลางภาคที่ผ่านมาอาจารย์มีการแนะแนวข้อสอบให้นักเรียน และบางวิชาก็ปรับให้ง่ายขึ้น แต่ก็ไม่ง่ายมากจนเกินไป


อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการที่โรงเรียนประกาศหยุดเรียนอันเนื่องมาจากเหตุชุมนุมก็ทำให้แผนการเรียนการสอนที่คุณครูได้วางก่อนหน้า ไม่เป็นไปตามแผนเพราะเวลาเรียนเหลือน้อยลง

ร่นคาบแก้ไขปัญหาเวลาเรียน

นางเบญญาภา คงรอด ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา บอกว่าวิธีการแก้ไขปัญหาของโรงเรียนสตรีวิทยาก็คือร่นคาบเรียนให้เหลือคาบเรียนละ 40 นาทีจากเดิมคาบละ 50 นาที และเพิ่มคาบเรียนจากเดิม 8 คาบเป็น 10 คาบนอกจากนี้ยังยกเลิกการกิจกรรมเข้าแถวเคารพธงชาติ 8:00 น. โดยให้นักเรียนเข้าชั้นเรียนได้ทันทีเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ทั้งนี้จะทำการเรียนการสอนไปจนถึง14:30 น. ก็จะปล่อยนักเรียนกลับบ้าน โดยทางโรงเรียนได้ขอความร่วมมือจากนักเรียนให้ออกจากโรงเรียนให้หมดก่อนเวลา 16:30 น.


“สิ่งที่กระทบคือการเดินทางของผู้ปกครองกับนักเรียน เนื่องจากมีการชุมนุมปิดถนน การหยุดโรงเรียนของเราก็จะมีการวิเคราะห์สถานการณ์วันต่อวัน เราก็จะดูว่าในแต่ละวันสถานการณ์สมควรที่จะมีการหยุดหรือไม่ มีการคณะกรรมการวิเคราะห์วันนี้วันพรุ่งนี้จะมีเหตุการณ์อะไรอย่างไร เราจะคำนึงถึงความปลอยภัยของนักเรียนเป็นหลัก”

ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยากล่าวอีกว่าต้องรักษาสิทธิของเด็ก เพราะเด็กส่วนใหญ่ต้องการเรียน ครูก็อยากสอน การหยุดเรียนจะทำให้นักเรียนเสียประโยชน์ ยิ่งภาคเรียนที่ 2 มีกิจกรรมเยอะ และมีการสอบโอเน็ต เอเน็ต แกท แพท อีกด้วย เรื่องการสอบ นักเรียนต้องดูแลตัวเองด้วย เชื่อว่าเด็กของเรามีความรับผิดชอบอยู่แล้ว เขารู้ว่าเขาต้องดูแลตัวเอง วางแผนกับการเตรียมตัวของตัวเองในการสอบอย่างไร เป็นไปได้โรงเรียนจะประกาศหยุดเรียนให้น้อยที่สุด

และเนื่องจากโรงเรียนสตรีวิทยาอยู่ใกล้กับเวทีหลักของกลุ่มผู้ชุมนุมมากที่สุด ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงตั้งให้เป็นประธานศูนย์เฝ้าระวังเหตุการณ์โดยมีบทบาทในการติดตามโรงเรียนที่อยู่รอบๆ 19 โรงเรียน รายงานเหตุการณ์ปัจจุบัน วันนี้เกิดอะไร เหตุการณ์สถานการณ์เป็นอย่างไร นักเรียนหรือทางโรงเรียนต้องการความช่วยเหลืออะไรหรือไม่ ทั้งนี้รายงานต่อเขตพื้นที่เป็นรายวัน

เด็กกรุงชินม็อบมาทุกปี

ด้านนายพุฒิพงศ์ พิสิษฐ์บรรณกร นักเรียนชั้นม.6/1 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เล่าให้ฟังว่าตั้งแต่เรียนโรงเรียนนี้มามีตอนม.1 เท่านั้นที่ไม่มีม็อบ หลังจากนั้นเจอม็อบทุกปีจนกลายเป็นความเคยชิน


สอดคล้องกับนายชลอ เขียวฉลัว ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรที่อธิบายว่าด้วยสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญทางการเมืองอย่างทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภาทำให้โรงเรียนต้องติดตามข่าวการเมืองอย่างใกล้ชิด โรงเรียนนี้จึงต้องเปิดเรียนก่อนโรงเรียนอื่นๆ1-2 สัปดาห์เพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นในย่านนี้อยู่เป็นประจำ

โชคดีที่นายพุฒิพงษ์พงศ์ สอบตรงเข้ามหาวิทยาราชภัฏสวนสุนันทาได้แล้ว จึงไม่ต้องดิ้นรนหาที่เรียนท่ามกลางสถานการณ์การเมืองบนท้องถนนที่มีอุปสรรค์คือการเดินทาง

แต่สำหรับนายศิวะ ภาควินาม นักเรียนชั้นม.6/2 โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ที่วางแผนจะสอบเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือยังคงต้องฝ่าอุปสรรค์ด้านการเดินทางไปสอบ และต้องติดตามตรวจสอบวันเวลาที่จะสอบอย่างเคร่งครัดว่ามีเลือนเป็นวันไหนอีกหรือไม่

นายศิวะรู้สึกเคยชินกับการเมืองไทยที่วนไปวนมา เมื่ออีกฝ่ายเป็นรัฐบาล อีกฝ่ายก็จะยกม็อบมาต่อต้านไม่จบไม่สิ้น คนที่ได้รับผลกระทบก็คือคนในพื้นที่


“ผมคิดว่าสำหรับม.6 ได้หยุดเรียนเพราะม็อบเป็นเรื่องดีได้ใช้เวลาอ่านหนังสือเฉพาะรายวิชาที่จะเอาไปสอบตรง แต่สำหรับรุ่นน้องคงลำบากเพราะต้องอัดวิชาให้แน่นตั้งแต่ม.4 ม.5 เนื่องจากจำเป็นมากในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย” นายศิวะกล่าว


ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตรอนุญาติให้อาจารย์สื่อสารกับนักเรียนผ่านเฟสบุ๊คในการสั่งการบ้านได้ สำหรับการประกาศหยุดเรียน ถ้าวันเรียนปกติโรงเรียนจะทำหนังสือชี้แจงผู้ปกครองและลงทางเว็บไซต์  ถ้าเป็นวันหยุดจะเน้นการสื่อสารผ่านทางเว็บไซต์ ตอนนี้ก็จะมีไลน์ ทำให้สะดวกขึ้น

ประกาศปิดเรียนอยู่ที่ ผอ.แต่ละโรงเรียน

ขณะเดียวกันนางแสงระวี วาจาวุทธผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตก็ยอมรับว่าการชุมนุมกระทบเรื่องการเดินทางมาโรงเรียน ผู้ปกครองเด็กอยากให้ลูกหลานตัวเองมาเรียนเต็มที่ ถ้าจะปิดโรงเรียนต้องแจ้งผู้ปกครองล่วงหน้าให้ทัน เราจะมีเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้บริหารจะมีคณะทำงาน มีชื่อ มีเบอร์โทรศัพท์บุคลากรในโรงเรียน และใช้ไลน์กลุ่มในการติดต่อสื่อสาร ภายใน 2 ชั่วโมงนักเรียนและผู้ปกครองทั้งหมดก็จะทราบว่าโรงเรียนปิด


ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตเปิดเผยว่าที่ประชุมของโรงเรียนได้กำหนดให้คุณทุกกลุ่มสาระจัดทำแบบเรียนสำเร็จรูปให้ทุกระดับชั้น เพื่อให้นักเรียนกลับไปเรียนรู้ที่บ้านเป็นการศึกษาด้วยตนเองในช่วงที่โรงเรียนปิด

“เมื่อโรงเรียนปิดจากเหตุชุมนุม ก็ย่อมกระทบกับเวลาเรียน นางแสงระวีอธิบายวิธีการแก้ไขว่าใน 1คาบเรียนมี 50 นาทีเราจะตัดเวลาออกคาบละ นาที สมมุติวันหนึ่งเรียน วิชา เราก็จะได้เวลา25 นาที เอามาสอนชดเชย ทั้งนี้ การเรียนการสอนเด็กประถมหลักสูตรกำหนดให้ต้องเรียนได้1000 ชั่วโมง ส่วนเด็กมัธยม  1200 ชั่วโมง เมื่อโรงเรียนหยุดเราจึงใช้วิธีการร่นคาบเรียนเพื่อชดเชยเวลาที่หายไป และไม่ต้องมาเรียนวันเสาร์” นางแสงระวีกล่าว 

ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตบอกอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการ (หน่วยเหนือ) ให้เป็นอำนาจผู้บริหารสถานศึกษาที่จะตัดสินใจประกาศหยุดเรียน เมื่อเขามอบหน้าที่ให้โรงเรียนแล้ว โรงเรียนต้องทำหน้าที่โรงเรียนอย่างเต็มที่ ต้องใช้ดุลพินิจ และประเมินเหตุการณ์ ดังนั้นในช่วงปิดกรุงเทพนี้จะประกาศปิดเพียงวันที่ 13 และ 14 เท่านั้นหากจะหยุดเพิ่มค่อยว่ากันอีกที


ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากจุดที่ชุมนุมมีสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในกรุงเทพมหานครได้รับผลกระทบ 208 แห่ง มีครูและนักเรียนได้รับผลกระทบรวมกันประมาณ 2 แสนกว่าคน ซึ่งผลกระทบที่ได้รับจะเป็นเรื่องของความไม่สะดวกในการเดินทาง เรื่องความปลอดภัย

------------ TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI: The Nation -------------

Schools learn to adapt to political rallies

Tanpisit Lerdbamrungchai
The Nation January 13, 2014 1:00 am
A student is about to walk past sandbag barricades, erected by demonstrators, on the road to his Matthayom Wat Benchamabophit School in Bangkok.
A student is about to walk past sandbag barricades, erected by demonstrators, on the road to his Matthayom Wat Benchamabophit School in Bangkok.

Students doing shorter lessons as teachers keep alert

During the past two months, thousands of schoolgirls have seen political demonstrations manifesting almost at their doorstep.

"I walk past demonstrators every morning," said Wanassanan Ruangdej, a Mathayom 5 student of the Satri Witthaya School.

Her girls-only school is just a stone's throw away from the Democracy Monument, where the People's Democratic Reform Committee (PDRC) had camped out for a few months.

The demonstration has affected her life, of course. But she has no complaint.

"They rally outside the school's compound. No one raids in. So, I can live with it," Wanassanan said.

Since the demonstration started, Wanassanan needs to get out of a public bus farther from the school's gate and walk a longer distance to the school.

Her teachers have changed course syllabuses in a bid to put all necessary content into a shorter timeframe too.

The school's director Benyapa Kongrod said she had shortened each class session from 50 minutes to 40 minutes in a bid to ensure that students still had the same number of class sessions.

"We have put 10 sessions per day, instead of eight. We have even cancelled the flag-raising ceremony in the morning to save time for the children's studies," she said about preparations to deal with the political rallies' impacts.

Although the PDRC demonstration is relatively peaceful, schools sometimes have to suspend class out of concerns for their students' safety amid the possibility that violence may erupt.

"We have assessed the situation on a daily basis," Benyapa said.

She is always hoping for the best. If possible, she hoped to minimise class cancellations.

Class cancellations are sometimes ordered at the very last minute. So, her students are advised to stay on alert and keep abreast of announcements that often spread through social media.

Saengrawee Wajawoot, the director of a protest-affected Rajavinit School, revealed that she also took similar steps.

"We have reduced time for each class session by five minutes from 50 to 45 minutes," she said.

She added that her school also used social-media and phone communications in announcing the class suspension, when the need arose.

"Through such communications, the message can be sent across to all concerned in less than two hours," Saengrawee said.

She added that her school opened its cafeteria at 6am to ensure that students who need to come early have the places to dine and rest. Some children, after all, feel they need to leave home early to ensure that they arrive the school in time even in the face of ongoing protest.

This school teaches children from Prathom 1 to Mathayom 3 levels.

"We have taken many steps to deal with the ongoing situation," Benyapa said.

She then was quick to add that the school also expected its students to take good care of themselves in regards to other tasks they have to handle such as the Ordinary National Educational Test (Onet), the General Aptitude Test (Gat) and Professional Aptitude Test (Pat).

The Onet, Gat and Pat scores are among key university-admission criteria.

On her part, for the students' safety, Benyapa has required all class sessions to end by 2.30pm. Out-of-classroom activities that can be suspended like sports events have already been postponed twice.

"And we have asked all students to leave the school by 4.30pm," this school director said.

Just like the Satri Witthaya School and the Rajavinit School, the Matthayom Wat Benchamabophit School has faced some impacts from the political protest. Near the latter school is the protest ground of the Students and People's Network for Thailand’s Reform.

All these three schools are closed today.

Chalor Khiaochalua, director of the Matthayom Wat Benchamabophit School, said he was always closely monitoring the political situation.

"Our school is very close to Government House," he pointed out.

Due to this, the school has seen many political rallies before.

"That's why our school always begins our semester one or two week(s) ahead of our schools. This means we won't have serious impacts if we later on have to suspend classes," Chalor said.

Probably because his school has only male students and because it has been familiar with demonstrations, Chalor has no policy to require students to its compound early.

"Class can run till 5pm," he said.

Puttipong Pisitbannakorn, a Mathayom 6 student, said he had studied here for six years already.

"Of these six years, I have seen protest going on nearby every year except when I was in Mathayom 1," he said.

Another Mathayom 6 student, Siva Pakwinam, said he had no worry about class suspension.

"It's good for me. I have more time to prepare for my university entrance exam," he said.

So far, he has empathy for younger students who needed to focus on class to excel academically. "For them, it may be hard," he said.



400 schools affected 

The Bangkok Shutdown will disrupt the routines of more than 400 schools as well as over 200,000 students and teachers in the capital. 

A total of 12 unIversItIes have already decIded to suspend classes or postpone exam schedules. 

The scheduling of the General Aptitude Test/Professional and Academic Aptitude Test, whose scores are mandatory for most university applications, has also had to be changed. 

The first Gat/Pat of the year will take place from March 8-11 instead of last December 7-10. 

The second Gat/Pat is now postponed to April 26-29 from March 8-11.

Sources: Education Ministry, National Institute of Educational Testing Service. 
 
-------------------------

พนังงานตัวเล็กๆในวันที่กรุงเทพถูกปิด !

พนังงานตัวเล็กๆในวันที่กรุงเทพถูกปิด ! 


ภารโรงหญิงประจำอาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง ย่านแยกอโศกมนตรี วัย 51 ปีเล่าว่าทุกๆเช้าตนจะขึ้นรถเมล์มาจากอ่อนนุช แล้วมาลงที่อโศก เมื่อเช้าที่ผ่านมารถเมล์ยังคงวิ่งมาถึงที่แยกอโศกได้ แต่บ่ายนี้ผู้ชุมนุมเต็มพื้นที่หมดแล้ว ไม่มีรถเมล์วิ่งผ่านมาแล้ว ตนคงต้องเดินเท้าย้อนกลับไปที่พร้อมพงษ์ หรือเดินย้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอรถเมล์

ภารโรงหญิงวัย 51 ปีผู้นี้ปฏิเสธที่จะโดยสารด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส เธอแจกแจงให้ฟังว่าเพราะค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นมีราคาแพงโดย 1 เที่ยวจากอ่อนนุชถึงอโศกจะต้องเสียค่าโดยสาร 30 บาท หากรวมทั้งขาไปและกลับ วันหนึ่งต้องเสียถึง 60 บาท ในขณะที่เธอได้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เงินจำนวนนี้เธอต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าอาหาร และค่าโดยสารรถเมล์ถือว่าถูกที่สุด


"จะหยุดงานไม่ได้ ถ้าหยุดก็ไม่ได้เงิน ให้ลำบากแค่ไหนก็ต้องมา" หญิงวัย 51 ปีกล่าว

ภารโรงหญิงคนเดิมกล่าวต่อว่าหากวันต่อๆไปที่ยังมีการปิดถนนเธอต้องเดิน เดิน และเดินจนว่าจะเจอป้ายที่มีรถเมล์จอด เธออยากวิงวอนกับผู้ที่ดูแลการเดินรถเมล์ว่า อย่าหยุดวิ่ง

เช่นเดียวกับพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำอาคารสำนักงานแห่งหนึ่งย่านแยกอโศกมนตรี กล่าวว่านั้งรถเมล์มาจากพระขโนงเมื่อตอน 7:00 น. ยังคงมีรถเมล์วิ่งอยู่

"ขากลับนี่น่ากลัวจะกลับไม่ได้ สงสัยต้องเดินไปจนกว่าจะเจอรถเมล์" รปภ.วัย 50 ปีกล่าว

หากยังคงมีการชุมนุมปิดถนนต่อไปเรื่อยๆ รปภ.คนเดิมบอกว่าตนไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ ต้องดูวันต่อวัน แต่ที่รู้ๆคือตนต้องมาทำงานทุกวัน

ด้านพนักงานซักรีดชายในโรงแรมแห่งหนึ่งย่านแยกอโศกมนตรี วัย 40 ปีเล่าว่าขี่รถจักรยานยนต์จากบ้านย่านบางนามาทำงานในเวลา 6:00 น. เป็นปกติ เมื่อทราบข่าวว่ามีการปิดแยกอโศกมนตรี เช้านี้จึงออกเดินทางเร็วขึ้นโดยออกจากบ้านตั้งแต่เวลา 5:00 น. พบว่ายังมีผู้ชุมนุมมาปิดถนนไม่มากสามารถผ่านเข้าไปยังที่ทำงานได้ แต่เมื่อช่วงสายๆสังเกตุว่าผู้ชุมนุมเริ่มเยอะขึ้น จนปิดถนนแยกอโศกในที่สุด

"ถ้าคืนนี้ออกไปไม่ได้ก็คงต้องนอนในที่ทำงาน เสื้อผ้าก็ซักเอาที่นี่" พนักงานซักรีดชายวัย 40 ปีกล่าว

สำหรับวันต่อๆไปที่ยังคงมีการปิดแยกอโศกมนตรีอยู่ ชายวัย 40 ปีบอกว่าอย่างไรแล้วก็ต้องหาซอยลัดเลาะมาให้ได้ ถ้าขากลับวันนี้กลับบ้านได้ ก็จะสำรวจเส้นทางไปด้วย เพื่อวางแผนเดินทางมาทำงานในพรุ่งนี้

ขณะที่นางสุเพ็ญ พริ้งกระโทก พนังงานบริษัทแห่งหนึ่งย่านแยกอโศกมนตรีเล่าว่าตนขับรถมาจากบ้านย่านเพชรเกษม เมื่อเช้าออกเดินทางเช้าหน่อยมาตอน 6:00 น.สามารถเอารถมาจอดยังสำนักงานได้ แต่วันอื่นๆไม่แน่ใจ ถ้าการปิดถนนจากแยกอโศกขยายพื้นที่ต่อไปอีก เธอจะเอารถจอดในอาคารหรือห้างที่ใกล้ที่สุดแล้วนั้งมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้ามา หรือเดินเข้ามาทำงาน

อีกด้านหนึ่ง นายเลาเยีย แซ่วื้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้างวินแยกอโศกมนตรี ยอมรับว่ามีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุมที่เข้ามาใช้บริการ เหมารถไปย่านนางเลิ้งเป็นส่วนมาก เขาคิดค่าบริการ 100 บาทต่อเที่ยว

ส่วนพนักงานทำความสะอาดกทม. หญิงวัย 33 ปี เล่าว่าตนขี่จักรยานยนต์ออกจากบ้านย่านคลองเตยเมื่อตอนตี 5 แม้ว่าบ้านจะไม่ได้อยู่ไกล้จากแยกอโศกมากนัก แต่การมีผู้ชุมนุมมากขึ้น ทำให้เธอต้องกวาดถนนวันละหลายๆรอบ

"ปกติจะกวาดวันละ 2 รอบ คือตอน 12:00 น. กับ 15:00 น. แล้วกลับบ้านตอน 17:00 น. ตอนนี้ต้องสังเกตุเอาตามความสกปรกมากน้อย ก็กวาดเก็บเลย เพราะถ้าผู้ใหญ่มาเห็นจะถูกตำหนิ และต้องอยู่เก็บกวาดไปจน 20:00 หรือจนกว่าผู้ชุมนุมจะซาลง" พนักงานทำความสะอาดกทม.กล่าว



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแยกอโศกมนตรีมีผู้ชุมนุมจำนวนมากจับจองพื้นที่กลางสี่แยกทำให้ถนนถูกปิดไปโดยปริยาย รถเมล์มาถึงได้แค่สถานีบีทีเอสพร้อมพงษ์ รถเมล์สาย 38 48 มักวนรถกลับที่บีทีเอสอ่อนนุช ส่วนรถเมล์จากอีกด้านมาถึงได้แค่บีทีเอสนานา ส่วนเวทีของผู้ชุมนุมหันหน้าไปทางมศว. หน้าเวทีมีผู้ชุมนุมหนาแน่น ถนนหลังเวทียังถูกปิดไม่มากนัก ทั้งนี้ผู้ชุมนุมมีการหลีกทางเมื่อมีรถพยายาบาลวิ่งผ่านมาด้วย

///////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI / The Nation



PROTESTS

Skipping work not an option for some

Blockade makes life difficult for many, but some also finding opportunities

Many Commuters in Bangkok are struggling to find their way to work, no matter what protest is going on. 

"I can't skip work. If I don't report to work, I won't get my wages," a 51-year-old office cleaner said yesterday, as she watched the Bangkok shutdown spread into further areas across the capital. 

The woman's workplace was located at Asoke Intersection, but it was full of anti-government demonstrators as of press time. 

The office cleaner learnt that she may not be able to get a bus to and from the intersection, but she had no plans to stop coming to work. 

"No matter how difficult it is to get here, I will definitely come to work," she said. However, she ruled out the option of catching a ride on the BTS Skytrain, saying the service was too expensive for a low-income earner like her. 

She said a BTS ride from On Nut to Asoke could cost her Bt30 each way and she earned just Bt300 a day.

"I can't afford the transport cost of Bt60 a day because I have to save my wages for food and other expenses," she explained. 

The woman planned to stick to bus rides and walking. "I can walk till I find a bus," she said. 

A security guard working in the same area said he could not plan in advance how he would commute while the shutdown was on. "But what I know is I have to come to work every day," the 50-year-old said. 

A 40-year-old worker at a laundry shop looked on as the crowd grew bigger at Asoke. "If I can't go home, I will sleep here," he said. 

A number of office workers paid monthly wages said they would also continue to come to work despite the shutdown.

"I drive to work," Supen Pringkratoke said yesterday.

Asked what she would do now that Asoke was blocked, she said, "I may drive to a nearby location where I can park my car. Then, I can get a motorcycle taxi and walk to my office." 

Meanwhile, motorcycle taxi driver Laoyia sae Weu said he was doing okay as he had got more passengers than normal because many demonstrators wanted a ride. 

Elsewhere, a health official, aged 46, said she was able to get to her workplace in Nonthaburi faster yesterday, as the shutdown eased traffic congestion in many areas because a number of people did not go to work. Speaking on condition of anonymity, this official admitted, "Actually, I did not want to work . But when I saw my friends coming to work, I decided to report to work too." 

She was quick to add that she had no plan to join the protest rather than going to work. "I don't like both sides in the ongoing political conflict. I think it would be better for the country if they could talk together but now they don't," she said.