วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟังเสียงคนห้องกรง ในงานประกวดชุดนักโทษ

ฟังเสียงคนห้องกรง ในงานประกวดชุดนักโทษ
แนวคิดเรื่องสิทธินักโทษ อาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าเป็นผู้ที่กระทำความผิด แต่ความจริงแล้วแม้ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่คุกที่ถูกกักบริเวณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิทธิด้านอื่นเช่นสิทธิการรับรู้ข่าวสาร สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิที่จะได้รับการศึกษาจะหมดไปนะครับ  

กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw จึงจัดการประกวดชุดนักโทษ เพื่อสื่อสารไปสู่สังคมในวงกว้าง ให้หันมาสนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ  (ชมคลิป)






นี่คือชุดโทษที่ผู้ถูกคุมขังระหว่างรอการพิจารณาคดี ต้องใส่ขึ้นศาล แม้ต่อมาความจริงสถานะของเขาอาจจะเป็นเพียงผู้บริสุทธิ์ // กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw หยิบยกกรณีนี้มาตั้งคำถามเรื่องสิทธิมนุษชนของนักโทษที่คดียังไม่สิ้นสุด จนนำมาสู่กิจกรรมประกวดชุดนักโทษ ในแนวคิด นักโทษก็เป็นคน

มีผู้ส่งผลงานออกแบบเข้าประกวดทั้งหมด 39 ชิ้น มีชิ้นงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล คือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นชิ้นงานที่ไม่ได้มีการออกแบบชุดนักโทษ แต่ยกเลิกการใส่ชุดนักโทษไปเลย เหลือเพียงกุญแจมือที่ระบุข้อมูลและหมายเลขประจำตัวเท่านั้น  



ส่วนชุดนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศด้วยเหมือนกัน ผู้ออกแบบใช้สีเทาแทนความรู้สึกที่ไม่ได้ตัดสินว่าถูกผิด มีกระเป๋าเสื้อสีฟ้าแสดงถึงความสดใสไม่มัวหมอง ความหวัง ลักษณะเป็นเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น เหมาะสมกับสภาพอากาศในบ้านเรา

การประกวดครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแฟชั่น ด้านศิลปะ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เรื่องที่ต้องการให้แก้ไขเบื้องต้นคือนักโทษที่เดินทางมาศาลไม่ควรต้องใส่ชุดนักโทษ เพราะเขาไม่ใช่นักโทษเนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุด 

การประกวดชุดนักโทษเป็นการเปิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของนักโทษในเรือนจำ รวมไปถึงการทำความเข้าใจระหว่างคนภายนอก และคนภายในห้องกรงด้วยครับ


เราได้พบกับผุ้หญิงคนนี้ เป็นอดีตผู้ต้องขังเรือนจำหญิง เธอเล่าย้อนถึงเรื่องราวชีวิตในเรือนจำที่แสนโหดร้ายให้เราฟังว่า วงรอบของชีวิตวนเวียนอยู่กับกิจวัตรเดิมๆ ที่เป็นปัญหาคือเรื่องอาหารที่เป็นเนื้อติดกระดูก และที่หลับที่นอนที่คับแคบ เธอตั้งข้อสังเกตุว่าในคุกมีแต่คนจน

ขณะที่ชายคนนี้ยอมรับว่าเคยเข้าออกคุกเป็นประจำด้วยข้อหาเสพยาเสพติดอยู่หลายสิบปี จนกระทั่งได้บวชเป็นพระ จึงกลับเนื้อกลับตัว และด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา เขาบอกว่าการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาความรุนแรง ผลที่ได้คือความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเก่า ปัญหาเดิมได้

แม้ว่านักโทษ คือผู้ที่กระทำความผิด คุกจึงมีหน้าที่สร้างเงื่อนไขความยากลำบากและจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักโทษเพื่อเป็นการลงโทษ แต่เจ้าหน้าที่ไอลอว์คนนี้ บอกว่านักโทษยังคงมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้านอื่นๆ ด้วย

สำหรับชุดนักโทษที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในกิจกรรมนี้ ผู้ออกแบบได้รับเงินรางวัล 2000 บาท และหลังจากนี้กลุ่มไอลอว์จะนำแบบชุดนักโทษดังกล่าวนำเสนอต่อกรมราชทัณฑ์ ต่อไป // ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย 

////////////////////////////////////////////////


BURNING ISSUE

Even behind bars, dignity shouldn't be denied

Chularat Saengpassa
Chularat@nationgroup.com May 20, 2014 


Is a prisoner's dark brown clothing a sign of his degraded human dignity?

It is to some activists. But the truth is uniforms are by far the least of a prisoner's problems.

Few people know that when in prison, convicts can wear anything - T-shirts and jeans or pyjamas. Only when they are to go outside, like appearing in court, are they required to wear the inmate uniform.

The official wear now is a short-sleeved shirt and shorts for men. Women have to wear a long sarong. They are of the same colour, with light and dark shades of brown.

A prisoner told me he was okay with the uniform. While in jail, what troubled him most were the living conditions.

For example there is limited space for prisoners to hang wet clothes, which remain damp and smell bad. When it is time for meals, it is especially hard to find a piece of meat; when it comes to sleep, the place is crowded - in some prisons, inmates lie down shoulder to shoulder.

Added to these living conditions, they also feel stressed by social judgements. Some insist they are innocent. Some, charged under lese majeste law, are distressed. Some, in old age, suffer because of the absence of proper healthcare.

In a way, large numbers feel they have been put in a cell for the wrong reasons. Many lawyers and activists agree they have been.

"There is a connection between poverty and jail. It's a correct perception that only the poor go to jail," said an activist at a seminar last weekend.

Some may ask - why should we take care of these people?

Well, the reason is these people belong to our society. People can commit crimes, but they deserve another chance. Second, guilty people should be punished, but not to the extent they have to give up all human dignity.

It is difficult though for the system to obtain better services and conditions.

Today, national prisons hold more than 200,000 people, despite their limited capacity, which explains a lot about the tight space and poor food.

A nursing home is budgeted at about Bt120 for food for the elderly; but the allowance for each prisoner is a lot less.

Those who cannot get bail, or cannot afford bail payments, languish in prison, waiting for their trials to end.

Thailand has a large number of scientists. They should be clever enough to design a technology that facilitates the monitoring of these people, if they are not to be put in jail.

The problem is that once men, usually the poor, get charged, society considers them wrongdoers who deserve punishment. Few - aside from their family members - would wonder or care how much punishment was enough.

The activist, who has been in many prisons, said there are a large number of prisoners who have no visitors throughout their serving time - and who have not a single dime to spend on items like soap or shampoo. She suggested donations as a way to make merit, to living people.

My own experience is that at some prisons there are also a large number of old people. The guards told me most of them had done nothing wrong, but they had volunteered to go to jail to save their children, mostly dealers in drugs.

Prisons are like another world to the people outside, but inside there are living people.

If Thailand must have places to contain wrongdoers, they should be entitled to better treatment, at least with cleaner clothes and better food. Indeed, having their freedom ripped off them is bad enough.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น