วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เหมืองทองพิจิตรชุมชนมั่งคั่งหรือล่มสลาย? - ตอนที่ 3 ข้อต่อสู้สุดท้ายของคนข้างเหมือง (จบ)

เหมืองทองพิจิตรชุมชนมั่งคั่งหรือล่มสลาย?

ตอนที่ข้อต่อสู้สุดท้ายของคนข้างเหมือง (จบ)


เหมืองทองคำชาตรีเฟส 2 ถูกสร้างขึ้นในที่สุดท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาวบ้านกลุ่มสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ในพื้นที่ที่บ้านของสื่อกัญญามีเสาปูนสีแดงปักให้เห็นอยู่รอบบ้านซึ่งเสาแดงที่ปักอยู่ตามพื้นที่ต่างๆคือสัญลักษณ์ที่แสดงว่าที่ดินผืนนี้เป็นของเหมืองและจะถูกขุดเจาะเป็นเหมืองแร่ในอนาคต



สื่อกัญญาธีระชาติดำรงเป็นหนึ่งในชาวบ้านกลุ่มสุดท้ายที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ เธอต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนชาวบ้านเดินทางไปร้องเรียนกับหน่วยงานต่างๆมาถึงวันนี้ชาวบ้านเหลือข้อต่อสู้สุดท้ายก็คือทางสาธารณะ 4 เส้นที่อยู่ในใบประทานบัตรของบริษัทฯซึ่งชาวบ้านใช้เป็นทางลัดไปจังหวัดเพชรบูรณ์
เพราะทางสาธารณะเป็นของส่วนรวมบริษัทฯจึงต้องทำประชาคมกับชาวบ้านเดือนกรกฎาคม 2556 บริษัทฯได้ทำเรื่องขออนุญาตระเบิดทางสาธารณะ 4 เส้นนี้กับอบต.เขาเจ็ดลูกและให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมาคัดค้านภายเวลา 30 วันซึ่งชาวบ้านหมู่ที่ 9 ก็ได้คัดค้านการระเบิดทางสาธารณะกับอบต.
แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2556 มติจากสภาสมาชิกอบต.เขาเจ็ดลูกกลับเห็นชอบให้บริษัทฯระเบิดทางสาธารณะเพื่อทำเหมืองได้โดยในวันนั้นมีการไล่ชาวบ้านออกจากที่ประชุมด้วยและในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรก็เซ็นอนุมัติหลังจากนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมาผมพาชาวบ้านเข้าพบกับผู้ว่าราชจังหวัดพิจิตรเพื่อสอบถามความชัดเจนต่อกรณีดังกล่าวได้รับคำตอบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดได้เซ็นอนุมัติจริงเนื่องจากข้อมูลจากหน่วยงานราชการท้องถิ่นทั้งอบต. อำเภอจนมาถึงจังหวัดไม่มีปัญหาขัดข้องแต่อย่างใดผู้ว่าฯได้แนะนำกับชาวบ้านให้ทำหนังสือขออุธรณ์มาที่จังหวัดอีกครั้ง

ทั้งนี้ผู้ว่าฯจังหวัดพิจิตรปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผม

ผมถามสื่อกัญญาว่า “ถึงวันนี้ยอมแพ้หรือยัง” เธอตอบว่า “ยอมแพ้...แต่ถ้าจะให้เราออกไปคนเดียวตอนนี้ไม่ไปคือตรงนี้มันเป็นพื้นที่เส้นยาแดงเลยอยู่ติดขอบบ่อเลยเพราะฉะนั้นถ้ามีคนใดคนหนึ่งยังอยู่ในพื้นที่เขาก็จะต้องตายให้ที่สุดถ้าเราออกจากพื้นที่เราขอไปทั้งหมดจากพื้นที่ตรงแต่ถ้าเราออกไปได้หมดเหมือนก็ต้องหยุด”

ทองอยู่สินดีอายุ 55 ปีเป็นชาวชุมชนเขาหม้อหมู่ที่ 9 ที่บ้านอยู่ติดเหมืองมากกว่าใครๆมีฝื่นเป็นปื้นๆขึ้นตามตัวทองอยู่ใช้ชีวิตเยียงชาวบ้านธรรมดาที่อยู่เฉยๆไม่ได้ร่วมคัดค้านเหมือนกับสื่อกัญญาที่เป็นแกนนำชาวบ้านคนอื่นๆแม้เธอจะได้รับผลกระทบที่หนักกว่าแต่เธอบอกว่ายอมจำนนต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีทางเลือกเพราะเธอไม่มีเงินไม่มีที่ไปก็ต้องอยู่ไปเรื่อยๆ

“บริษัทฯเลือกซื้อที่ของบ้านที่มีเยอะๆคนอื่นเขาขายไปหมดแล้วเขาไม่เห็นมาซื้อของฉันสักทีฉันมีแค่ 3 งานเท่านี้แหละ”

ทองอยู่ไปเซ็นของมาขายเปิดเป็นร้านๆเล็กๆให้พอมีรายได้เลี้ยงหลาน 2 คนที่พ่อกับแม่ต้องเข้าไปทำงานเป็นกรรมกรในกรุงเทพณวันนี้เธอบอกว่าไม่อยากอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้วแต่ชีวิตที่ไม่มีทางเลือกมากนัก เธอทำได้เพียงแค่เฝ้ารอบริษัทฯที่จะมาซื้อทีดินผืนนี้

////////////////////////////////////////////// tanpisit lerdbamrungchai : The Nation

อ่านข้อมูลประกอบ

บริษัทอัครารีซอร์สเซสจำกัด (มหาชน) เดิมชื่อบริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดเป็นบริษัทร่วมทุมระหว่างคนไทยกับออสเตรเลียได้รับอาชญาบัตรสำรวจพื้นที่ทำเหมืองทองทำตั้งแต่ปี 2536 จนกระทั้งมีการก่อสร้างโรงประกอบโลหะกรรมในปี 2543 และดำเนินการประกอบโลหะกรรมผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์โดยใช้วิธีการทำเหมืองแบบเปิดมาตั้งแต่ปี 2544 ภายโครงการชาตรีใต้ (เฟส 1)  ต่อมาปี 2551 ขยายการทำเหมืองภายใต้โครงการชาตรีเหนือ (เฟส 2) ชาวบ้านข้างเหมืองโดยเฉพาะบ้านเขาหม้อหมู่ที่ 9 เริ่มมีอาการแพ้น้ำประปาชาวบ้านจำนวนหนึ่งเริ่มทยอยอบพยย้ายออกปี 2553 ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลระงับการให้ใบประทานบัตรในเฟส 2 ของเหมืองทองชาตรีและปี 2555 ชาวบ้านฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้บริษัทขยายโรงงานและสร้างบ่อกักเก็บกากแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต  ศาลปกครองชั้นต้นก็ได้สั่งให้เหมืองหยุดประกอบกิจการทั้งนี้บริษัทฯได้ยื่นอุธรณ์ทั้ง 2 คดีคดีจึงยังไม่สิ้นสุดเหมืองยังคงประกอบกิจการตามปกติถึงวันนี้ชาวบ้านเหลือข้อสุดสู้สุดท้ายที่หยุดเหมืองคือข้อสังเกตต่อการทำเหมืองใกล้ทางหลวง 1191 ซึ้งอยู่ใกล้ 30 เมตรเกินกว่าพรบ.แร่กำหนดและทางสาธารณะ 4 เส้นที่อยู่ในใบประทานบัตรของบริษัทฯที่เป็นของส่วนรวมจะระเบิดทิ้งทำเหมืองมิได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น