วันเสาร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การต่อสู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก

การต่อสู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก 


เป็นเวลากว่า 90 ปี ที่นี่ไม่เคยสิ้นเสียงท่ออาขยาน โรงเรียนวัดไชยนาราษฎร์ ตำบลบางตาเถร อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นโรงเรียนนาดเล็ก ที่ชาวบ้านหวงแหน และรักษาไว้จนถึงวันนี้

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีก่อน โรงเรียนนี้เกือบต้องถูกยุบ เนื่องจากมีนักเรียนเหลือเพียง 27 คน แต่เพราะความผูกพัน และโรงเรียนแห่งนี้เป็นแหล่งบ่อมเพาะวิชาความรู้ของคนที่นี่มาอย่างยาวนาน ทั้งครู และชาวบ้านจึงทำทุกวิถีทาง เพื่อให้โรงเรียนคงอยู่ต่อไป

วิถีชีวิตที่เรียบง่าย ที่ทำนาทำสวนอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ของชาวบ้านที่นี่ ทำให้พวกเขาไม่อยากส่งลูกไปเรียนในเมือง และคัดค้านการยุบโรงเรียนถึงที่สุด ทั้งห้องสมุด ห้องน้ำ โรงอาหาร อาคารเรียน เกิดขึ้นจากเงินทอดผ้าป่าของชาวบ้าน ณ วันนี้โรงเรียนไม่ต้องถูกยุบ แต่มีครูอยู่ 3 คน นักเรียนอีกกว่า 50 คน จึงใช้วิธีการสอนแบบคละชั้น แม้จะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กแต่ชาวบ้านก็วางใจส่งลูกมาเรียนหนังสือที่นี่

ครูสอนดี คือคำตอบของชาวบ้าน และที่สำคัญพวกเธอคือเป็นปัจจัยที่ทำให้โรงเรียนไม่ถูกยุบ “ชำเลือง กลิ่นลำดวล” เป็นครูประจำชั้นป.5 และ ป.6 เธอเป็นคนในพื้นที่ และสอนหนังสืออยู่ที่นี่มา 20 ปีแล้ว เธอเห็นความเปลี่ยนแปลง และอยู่ในช่วงที่โรงเรียนวิกฤตมาโดยตลอด สิ่งที่เธอทำเพื่อกู้วิกฤตครั้งนั้น คือพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

ในที่สุดผลฤทธิ์ทางการศึกษาก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คะแนนเฉลี่ย ONET 8 วิชาของ นร.ป.6 ที่นี่ เกินเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียนขนาดเล็ก สูงกว่าของระดับเขต และระดับประเทศ นอกจากคะแนน ONET แล้วความสามารถของเด็กๆ ยังคว้ารางวัลต่างๆมาเต็มตู้ อย่างที่อย่างเห็น

โรงเรียนขนาดเล็กคือโรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน ปัจจุบันทั่วประเทศมีโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ 1 หมื่น 7 พันแห่ง เมื่อปีที่แล้ว กระทรวงศึกษาธิการเคยมีแนวคิดที่จะยุบโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ด้วยเสียงคัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่  จึงมีกรณียกเว้นไว้ 4 กรณี ดังต่อไปนี้ 1 โรงเรียนนั้นสามารถจัดการการศึกษาที่มีคุณภาพได้ 2 โรงเรียนอยู่ในระยะห่างไกลเดินทางลำบาก 3 โรงเรียนตั้งอยู่พื้นที่พิเศษ เช่นภูเขาสูง ชายแดน และ 4  ชุมชนมีความต้องการที่จะรักษาโรงเรียนไว้

โรงเรียนวัดไชนาราษฏร์ จึงเป็นตัวอย่างการต่อสู้ของครูและชาวบ้าน ที่ไม่ยอมแพ้กับข้อจำกัดต่างๆ  และตัดสินใจเดินหน้าจัดการศึกษาในชุมชนต่อไปได้ อย่างมีคุณภาพ
---------------------------

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เหมืองทองพิจิตรชุมชนมั่งคั่งหรือล่มสลาย? - ตอนที่ 3 ข้อต่อสู้สุดท้ายของคนข้างเหมือง (จบ)

เหมืองทองพิจิตรชุมชนมั่งคั่งหรือล่มสลาย?

ตอนที่ข้อต่อสู้สุดท้ายของคนข้างเหมือง (จบ)


เหมืองทองคำชาตรีเฟส 2 ถูกสร้างขึ้นในที่สุดท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาวบ้านกลุ่มสุดท้ายที่ยังเหลืออยู่ในพื้นที่ที่บ้านของสื่อกัญญามีเสาปูนสีแดงปักให้เห็นอยู่รอบบ้านซึ่งเสาแดงที่ปักอยู่ตามพื้นที่ต่างๆคือสัญลักษณ์ที่แสดงว่าที่ดินผืนนี้เป็นของเหมืองและจะถูกขุดเจาะเป็นเหมืองแร่ในอนาคต



สื่อกัญญาธีระชาติดำรงเป็นหนึ่งในชาวบ้านกลุ่มสุดท้ายที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ เธอต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนชาวบ้านเดินทางไปร้องเรียนกับหน่วยงานต่างๆมาถึงวันนี้ชาวบ้านเหลือข้อต่อสู้สุดท้ายก็คือทางสาธารณะ 4 เส้นที่อยู่ในใบประทานบัตรของบริษัทฯซึ่งชาวบ้านใช้เป็นทางลัดไปจังหวัดเพชรบูรณ์
เพราะทางสาธารณะเป็นของส่วนรวมบริษัทฯจึงต้องทำประชาคมกับชาวบ้านเดือนกรกฎาคม 2556 บริษัทฯได้ทำเรื่องขออนุญาตระเบิดทางสาธารณะ 4 เส้นนี้กับอบต.เขาเจ็ดลูกและให้ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบมาคัดค้านภายเวลา 30 วันซึ่งชาวบ้านหมู่ที่ 9 ก็ได้คัดค้านการระเบิดทางสาธารณะกับอบต.
แต่ต่อมาในเดือนกันยายน 2556 มติจากสภาสมาชิกอบต.เขาเจ็ดลูกกลับเห็นชอบให้บริษัทฯระเบิดทางสาธารณะเพื่อทำเหมืองได้โดยในวันนั้นมีการไล่ชาวบ้านออกจากที่ประชุมด้วยและในที่สุดผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรก็เซ็นอนุมัติหลังจากนั้น

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมาผมพาชาวบ้านเข้าพบกับผู้ว่าราชจังหวัดพิจิตรเพื่อสอบถามความชัดเจนต่อกรณีดังกล่าวได้รับคำตอบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดได้เซ็นอนุมัติจริงเนื่องจากข้อมูลจากหน่วยงานราชการท้องถิ่นทั้งอบต. อำเภอจนมาถึงจังหวัดไม่มีปัญหาขัดข้องแต่อย่างใดผู้ว่าฯได้แนะนำกับชาวบ้านให้ทำหนังสือขออุธรณ์มาที่จังหวัดอีกครั้ง

ทั้งนี้ผู้ว่าฯจังหวัดพิจิตรปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับผม

ผมถามสื่อกัญญาว่า “ถึงวันนี้ยอมแพ้หรือยัง” เธอตอบว่า “ยอมแพ้...แต่ถ้าจะให้เราออกไปคนเดียวตอนนี้ไม่ไปคือตรงนี้มันเป็นพื้นที่เส้นยาแดงเลยอยู่ติดขอบบ่อเลยเพราะฉะนั้นถ้ามีคนใดคนหนึ่งยังอยู่ในพื้นที่เขาก็จะต้องตายให้ที่สุดถ้าเราออกจากพื้นที่เราขอไปทั้งหมดจากพื้นที่ตรงแต่ถ้าเราออกไปได้หมดเหมือนก็ต้องหยุด”

ทองอยู่สินดีอายุ 55 ปีเป็นชาวชุมชนเขาหม้อหมู่ที่ 9 ที่บ้านอยู่ติดเหมืองมากกว่าใครๆมีฝื่นเป็นปื้นๆขึ้นตามตัวทองอยู่ใช้ชีวิตเยียงชาวบ้านธรรมดาที่อยู่เฉยๆไม่ได้ร่วมคัดค้านเหมือนกับสื่อกัญญาที่เป็นแกนนำชาวบ้านคนอื่นๆแม้เธอจะได้รับผลกระทบที่หนักกว่าแต่เธอบอกว่ายอมจำนนต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีทางเลือกเพราะเธอไม่มีเงินไม่มีที่ไปก็ต้องอยู่ไปเรื่อยๆ

“บริษัทฯเลือกซื้อที่ของบ้านที่มีเยอะๆคนอื่นเขาขายไปหมดแล้วเขาไม่เห็นมาซื้อของฉันสักทีฉันมีแค่ 3 งานเท่านี้แหละ”

ทองอยู่ไปเซ็นของมาขายเปิดเป็นร้านๆเล็กๆให้พอมีรายได้เลี้ยงหลาน 2 คนที่พ่อกับแม่ต้องเข้าไปทำงานเป็นกรรมกรในกรุงเทพณวันนี้เธอบอกว่าไม่อยากอยู่ที่นี่อีกต่อไปแล้วแต่ชีวิตที่ไม่มีทางเลือกมากนัก เธอทำได้เพียงแค่เฝ้ารอบริษัทฯที่จะมาซื้อทีดินผืนนี้

////////////////////////////////////////////// tanpisit lerdbamrungchai : The Nation

อ่านข้อมูลประกอบ

บริษัทอัครารีซอร์สเซสจำกัด (มหาชน) เดิมชื่อบริษัทอัคราไมนิ่งจำกัดเป็นบริษัทร่วมทุมระหว่างคนไทยกับออสเตรเลียได้รับอาชญาบัตรสำรวจพื้นที่ทำเหมืองทองทำตั้งแต่ปี 2536 จนกระทั้งมีการก่อสร้างโรงประกอบโลหะกรรมในปี 2543 และดำเนินการประกอบโลหะกรรมผลิตทองคำในเชิงพาณิชย์โดยใช้วิธีการทำเหมืองแบบเปิดมาตั้งแต่ปี 2544 ภายโครงการชาตรีใต้ (เฟส 1)  ต่อมาปี 2551 ขยายการทำเหมืองภายใต้โครงการชาตรีเหนือ (เฟส 2) ชาวบ้านข้างเหมืองโดยเฉพาะบ้านเขาหม้อหมู่ที่ 9 เริ่มมีอาการแพ้น้ำประปาชาวบ้านจำนวนหนึ่งเริ่มทยอยอบพยย้ายออกปี 2553 ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลระงับการให้ใบประทานบัตรในเฟส 2 ของเหมืองทองชาตรีและปี 2555 ชาวบ้านฟ้องเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้บริษัทขยายโรงงานและสร้างบ่อกักเก็บกากแร่โดยไม่ได้รับอนุญาต  ศาลปกครองชั้นต้นก็ได้สั่งให้เหมืองหยุดประกอบกิจการทั้งนี้บริษัทฯได้ยื่นอุธรณ์ทั้ง 2 คดีคดีจึงยังไม่สิ้นสุดเหมืองยังคงประกอบกิจการตามปกติถึงวันนี้ชาวบ้านเหลือข้อสุดสู้สุดท้ายที่หยุดเหมืองคือข้อสังเกตต่อการทำเหมืองใกล้ทางหลวง 1191 ซึ้งอยู่ใกล้ 30 เมตรเกินกว่าพรบ.แร่กำหนดและทางสาธารณะ 4 เส้นที่อยู่ในใบประทานบัตรของบริษัทฯที่เป็นของส่วนรวมจะระเบิดทิ้งทำเหมืองมิได้

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อาคารประหยัดพลังงาน

อาคารประหยัดพลังงาน


สถานการณ์วิกฤตพลังงาน สภาวะโลกร้อน รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ ทำให้บริษัท-องค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมาก มีแนวคิดสร้างอาคารสำนักงานที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแม้ว่าจะใช้ต้นทุนในการก่อสร้างที่สูงมากก็ตาม

วันนี้เราจะพาไปชมอาคารเอสซีจี 100 ปี ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงานแห่งอนาคต ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และได้รับรองมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานระดับสูงสุดLEED Platinum จากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกาด้วย (ชมคลิป)



อาคารรูปทรงพริ้วไหว มีระเบียงเป็นเส้นโค้งโดยรอบสวยงาม เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเฉพาะตัวของอาคาร SCG 100 ปีหลังนี้ ที่ถูกออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดงาน และรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ถึง 7 ริกเตอร์

อาคารนี้ไม่มีหน้าต่าง และกระจกภายในอาคารเป็นกระจกสองชั้น ที่ป้องกันความร้อนจากภายนอก ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก หลอดไฟที่ใช้เป็นหลอดประหยัดพลังงาน T5 และหลอด LED  บนชั้นดาดฟ้ามีแผนโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 99,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี นอกจากนี้ ยังมีระบบจัดการน้ำที่นำน้ำฝนและน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้ว มาชำระล้างสุขภัณฑ์และรดน้ำต้นไม้ ทำให้ลดการใช้น้ำประปาได้ถึง 74%

ที่นี่เราได้พบกับ พี่สาธิษฐ์ หัวหน้างานบุคคลกลางของ SCG ที่พึ่งย้ายจากอาคารสำนักงานเก่า มาอยู่ในอาคารประหยัดพลังงานได้ 2 เดือนแล้ว เขาบอกว่าความแตกต่างที่สัมผัสได้อย่างชัดเจนก็คือเมื่อก่อนโต๊ะทำงานจะใหญ่กว่านี้ แต่ตอนนี้โต๊ะเล็กลง

ต๊ะทำงานเล็กลงเพราะ อุปกรณ์สำนักงาน ที่นี่ทั้งหมดต้องได้รับมาตราฐาน Energy Star ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยรวมของอาคาร ทั้งฟลอมีพนักงานอยู่รวมกันถึง 200 คน มีการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยของสำนักงานอย่างคุ้มค่า 

จะสังเกตุได้ว่าทุกโต๊ะจะมีเพียงโน๊ตบุค และของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นเท่านั้น เมื่อมีของน้อย ความร้อนสะสมก็จะน้อยตามไปด้วย จึงทำให้ประหยัดพลังงาน

ในฐานะบริษัทชั้นนำของประเทศ SCG นำแนวคิดการออกแบบก่อสร้างสำนักงานที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนขององค์กรและชุมชน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปเปอร์ บอกว่ารูปแบบอาคารประหยัดงานมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

อาคาร SCG 100 ปีนับเป็นอาคารแห่งที่สองในประเทศไทย ที่ได้รับรองมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานระดับสูงสุด LEED Platinum จากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา ต่อจากอาคารเอ็นเนอจี้คอมเพล็ก ของกลุ่มปตท.ด้วย




วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เสียงที่แผ่วเบา: เสียงของคนรอบเหมืองทองคำ จ.เลย

เสียงที่แผ่วเบา: เสียงของคนรอบเหมืองทองคำ จ.เลย

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นรุนแรงกับชาวบ้านตำบลเขาหลวงอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยเกิดจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของบริษัททุ่งคำจำกัดเวลานี้ชาวบ้านที่นั่นตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าระหว่างค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทจ่ายให้รัฐกับวิถีชาวชุมชนที่เปลี่ยนไปขณะเดียวกันอายุใบประทานบัตรของบริษัททุ่งคำก็มีอายุถึงปีพ.ศ.2570นั่นหมายความว่าปัญหาแร่เหมืองทองคำจังหวัดเลยจึงไม่อาจจะจบลงง่ายนัก (ชมคลิป)


บัวพัน มะโหรีชาวบ้านวังสะพุงบอกว่าจุดเริ่มต้นของปัญหาเกิดทั้งหมดเกิดจากความมักง่ายของผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่หละหลวมในมาตรฐานการควบคุมสารพิษ


ที่บ่อกักเก็บกากแร่เราพบว่าบางจุดมีพลาสติกรองแต่บางจุดไม่มีทำให้สารพิษรั่วซึมผ่านชั้นดินออกมาประกอบกับที่ดินบริเวณนั้นเป็นแหล่งต้นน้ำทำให้สารพิษแพร่กระจายลงลำห้วยต่างๆ


เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่ผลกระทบจากการเปิดเหมืองบนภูทับฟ้าและภูซำป่าบอนทำให้น้ำและป่าไม้ไม่ได้อยู่ในสภาพเดิมวิถีชีวิตของชาวบ้านต้องเปลี่ยนไปเริ่มจากงดใช้น้ำในลำห้วยต้องซื้อน้ำเข้ามากินไม่สามารถจับสัตว์น้ำเช่นหอยขมขึ้นมากินได้รวมทั้งพืชผักตามร่องน้ำล้วนตกอยู่ในสภาพปนเปื้อนโลหะหนักและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เท่านั้นยังไม่พอกิจการเหมืองแร่ยังส่งผลกระทบไปถึงการทำเกษตรกรรมด้วยนายเลียงพรหมโสภาวัย 61 ปีชาวนาที่นี่บอกว่าก่อนมีเหมืองทำนาได้ข้าวถึง 30 –40 กระสอบแต่ตอนนี้ทำได้เพียง 9 กระสอบทำให้คนทั้งหมู่บ้านมีข้าวไม่พอกินไม่นานมานี้เครือข่ายเหมืองแร่โปแตสจ.อุดรธานีที่ประสบปัญหาเดียวกันต้องระดมข้าวมาช่วยเหลือชาวบ้านที่นี่


ในพื้นที่ตำบลเขาหลวงอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยเป็นพื้นที่ที่พบแร่ทองคำมากที่สุดปัจจุบันมีบริษัททุ่งคำจำกัดเป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ในพื้นที่โดยได้รับใบประทานบัตรถึง 6 ใบคือที่ภูซำป่าบอน 1 ใบและภูทับฟ้า 5 ใบใบประทานบัตรทั้งหมดนี้มีอายุ 25 ปีนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 – 2570


ขณะเดียวกันข้อมูลจากฝ่ายอุตสหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จังหวังเลยเมื่อปี 2553 พบว่ามีเหมืองที่เปิดทำการแล้วทั้งสิ้น 42 แปลงอยู่ระหว่างขอประทานบัตร 276 แปลงอยู่ระหว่างขอต่ออายุประทานบัตร 11 แปลงและพื้นที่ที่ขอทำการสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรอื่นๆอีกรวมเป็น 628 แปลงคิดเป็นพื้นที่ถึง 494,023 ไร่หรือ  7 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งจังหวัดเลยข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตจังหวัดเลยจะมีเหมืองแร่เกิดขึ้นอีกจำนวนมากและรัฐจะได้ค่าภาคหลวงแร่แบบตามอัตราก้าวหน้าจากผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ด้วย


หากนับจากภูซำป่าบอนและภูทับฟ้าที่ถูกขุดทำเหมืองแร่แล้วภูเหล็กที่อยู่ติดกับภูทับฟ้าเพียงแค่คูน้ำกั้นก็ถูกเล็งจากนายทุนว่าจะเอาไปทำเหมืองแร่ทองคำด้วยเหมือนกันแม้ที่ผ่านมาจะเกิดผลกระทบที่ทำให้คนทั้งหมู่บ้านเจ็บป่วยและวิถีชีวิตเปลี่ยนไปแล้วก็ตามชาวบ้านบอกว่าพวกเขา (บริษัททุ่งคำ) ไม่เคยเห็นหัวชาวบ้านเลย

 ภูเหล็กถือเป็นภูเขาลูกสุดท้ายในวังสะพุงที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ชาวจึงลุกขึ้นมาปกป้องภูเหล็กอย่างถึงที่สุดเดือนธันวาคมปี 2555 บริษัททุ่งคำจำกัดพยายามจะขอประทานบัตรเปิดเหมืองทองคำที่ภูเหล็กตามกฎหมายจึงต้องจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน (Public Scoping)ก่อนแต่ก็มีการนำกำลังทหารและตำรวจกว่า 1200 นายปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านรอบเหมืองและกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดร่วมเวทีมีการเลือนเวทีฟังความคิดเห็นถึง 8 ครั้งและในที่สุดชาวบ้านก็คัดค้านการทำเหมืองที่ภูเหล็กได้สำเร็จ

ความคับแค้นใจความไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่นี่นับร่วมกันตั้งแต่บริษัททุ่งคำเข้ามาทำเหมืองก็ยาวนานนับสิบปีเป็นเวลาที่นานมากพอที่สอนให้ชาวบ้านต่อสู้และรู้จักกับสิทธิชุมชนสิทธิที่ชาวบ้านจะลุกขึ้นเพื่อปกป้องวิถีชีวิตดั่งเดิมมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

ทั้งอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, อุตสาหกรรมจังหวัดเลย, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย, ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังสะพุงและสส.ในพื้นที่ต่างรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นอย่างดีเพราะชาวบ้านไปร้องขอความเป็นธรรมมาแล้วทั้งสิ้นแต่ดูเหมือนเสียงของชาวบ้านจะแผ่วเบาจนแทบไม่มีใครได้ยินการเยียวยาฟื้นฟูยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ตอนนี้ชาวบ้านจึงตั้งถามกับรัฐถึงความคุ้มค่าระหว่างค่าภาคหลวงแร่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นที่นี่ในวันนี้ก็คือกิจการเหมืองทองคำที่ดำเนินการไปแล้วบนภูทับฟ้าและภูซำป่าบอนเป็นสาเหตุให้ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อชุมชนจริงโดยยังไม่ได้รับการแก้ไขหมายความว่าถ้ามีการขยายพื้นที่และถ้ามีการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ต่อไปอาจไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับฐานทรัพยากรและวิถีชุมชนที่ต้องสูญเสียไปรวมทั้งแนวโน้มความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่


------------------------- Tanpisit Lerdbamrungchai / THE NATION -------------------------

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"ภูเขาทองคำ" กับ "ผ้าซิ้นแห่งความทรงจำ"

"ภูเขาทองคำ" กับ "ผ้าซิ้นแห่งความทรงจำ"



ผ้าซิ้นไหมมัดหมี่หลายสิบผืนของยายปันแก่งจำปาวัย 80 ปีชาวชุมชนบ้านกกสะท้อนต.เขาหลวงอ.วังสะพุงจ.เลยยังคงถูกเก็บไว้ในตู้ไม้เป็นอย่างดีมันทำหน้าที่สะท้อนความทรงจำเมื่อครั้งยายปันยังแข็งแรงเธอเป็นหญิงผู้หนึ่งที่เพื่อนๆรุ่นราวคราวเดียวกันยกให้เป็นผู้มีฝีมือในการทอผ้าซิ้นได้งดงามที่สุดในหมู่บ้านแต่ณวันนี้จะไม่มีผ้าซิ่นที่ทอด้วยมือของยายปันอีกต่อไปเพราะเธอเดินไม่ได้

“ตอนแรกมันมึนๆแขนขารู้สึกหนักๆนานเข้าตอนนี้เดินไม่ได้หมอบอกเป็นกระดูกทับเส้นแต่เขาก็ไม่ยอมเขียนให้ในใบรับรองแพทย์นะฉันว่าสารแร่มันต้องมีส่วนให้ฉันเป็นอย่างนี้แน่ๆ”นี่เป็นประโยคที่ยายปันใช้ตอบคำถามกับผู้มาเยื่อนคนแล้วคนเล่ามาโดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเธอเริ่มเดินไม่ได้เมื่อตอนอายุ 76 ปีชาวบ้านที่นี่เชื่อว่าอาการที่เกิดกับยายปันเป็นผลมาจากสารพิษไซยาไนด์ที่รั่วซึมจากบ่อทิ้งกากแร่บนภูทับฟ้าไหลผ่านลำห้วยฮวยที่ชาวบ้านใช้ดื่มกินเก็บสาหร่ายน้ำและจับหอยปูปลาแถบนั้นมาทำเป็นอาหารอยู่เป็นประจำ

ย้อนกลับไปเมื่อราวปี 2550 ดินจากที่ทำเหมืองไหลลงสู่ที่นาของชาวบ้านที่อยู่โดยรอบชาวบ้านเริ่มมีอาการผดผื่นแสบตาขี้ตาเยอะแน่นหน้าอกจนกระทั่งปี 2552 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยจึงประกาศเตือนประชาชนไม่ให้ใช้น้ำจากห้วยผุกห้วยเหล็กรวมทั้งน้ำประปาบาดาลไม่ควรนำมาประกอบอาหารเนื่องจากพบโลหะหนักปนเปื้อนตามผลตรวจของกรมควบคุมมลพิษ

ผลตรวจเลือดชาวบ้านตามโครงการศึกษาวิจัย “การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนผู้อาศัยรอบเหมืองทองคำต.เขาหลวงอ.วังสะพุงจ.เลยปีงบประมาณ 2552” เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2553 พบว่าใน 725 คนมีไซยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน  124 คนใน 758 คนมีปรอทเกินค่ามาตรฐาน 50 คนต่อมาปี 2554 ชาวบ้านพบว่าปลาไก่สุนัขที่เลี้ยงไว้ทยอยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้สารไซยาไนด์ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผสมโลหะการแยกแร่ทองคำและการทำโลหะให้บริสุทธิ์ไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจทางการกินและซึมผ่านผิวหนังหากได้รับเข้าไปปริมาณมากอาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังมีอาการแขนขาอ่อนแรงปวดศีรษะและโรคของต่อมไทรอยด์จนถึงแก่ความตายได้

หากดูตามแผนที่ที่ผมวาดเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆก็จะพบชัดเจนว่าสภาพพื้นที่ของต.เขาหลวงอ.วังสะพุงจ.เลยเป็นป่าต้นน้ำมีลำห้วยสายไหลผ่านภูซำป่าบอนและภูทับฟ้าคือบริเวณที่บริษัททุ่งคำจำกัดได้ขุดทำเหมืองแร่ทองคำไปแล้วและพื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดคือภูทับฟ้าเนื่องจากเป็นที่ตั้งของบ่อกักเก็บกากแร่ที่มีสารไซยาไนด์และกินพื้นที่กว่าร้อยไร่ทำให้มีสุ่มเสี่ยงว่าสารไชยาไนด์จะรั่วซึมลงมายังลำห้วยดังรูป



สภาพห้วยเหล็กป่าต้นน้ำที่อยู่ตีนภูทับฟ้าในวันนี้เราสังเกตได้ว่าผิวน้ำมีความมันวาวคล้ายสนิมส่วนอีกจุดที่ชาวบ้านใช้ไม้เขี่ยโคลนให้เราดูก็มีลักษณะเป็นเศษเหลืองๆคล้ายคราบสนิมเช่นกันและผักกูดที่ขึ้นอยู่แถบนั้นก็มีลักษณะใบไหม้หยิกงอด้วย

หลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านหมดเงินไปกับการซื้อกับข้าวซื้อน้ำเพื่อการบริโภคเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพที่ก่อตัวขึ้นแล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านจึงคัดค้านการให้ใบประทานบัตรเหมือนแร่ที่อาจมีขึ้นกับภูเหล็กภูเขาลูกสุดท้ายที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนที่นี่จนกระทั่งทำให้บริษัททุ่งคำจำกัดไม่ได้รับใบประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ภูเหล็กแต่ชาวบ้านก็ยังไม่วางใจ

ตอนนี้ชาวบ้านต้องการให้รัฐปิดเหมืองทองในชุมชนทั้งหมดจึงเป็นโจทก์ยื่นร้องศาลปกครองโดยมีรัฐเป็นจำเลยให้เพิกถอนใบประทานบัตรของบริษัททุ่งคำจำกัดและเข้าฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทันที


สมพรเพ็งคำนักวิชาการสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นนักวิชาการที่ติดตามปัญหาเหมืองแร่ทองคำจ.เลยมาโดยตลอดตั้งข้องสังเกตว่าการทำงานของส่วนราชการที่แยกส่วนงานไม่บูรณาการร่วมกันทำให้กระบวนการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นล่าช้า

“เราไม่ต้องมาเถียงกันในการพิสูจน์ว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับหมู่บ้านแห่งนี้มันมาจากเหมืองหรือเปล่าแต่เราเห็นข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์ว่ามีการปนเปื้อนสารพิษในน้ำเราตรวจเจอคนป่วยเราไม่ควรจะปัดภาระให้ชาวบ้านเป็นผู้พิสูจน์เรื่องเหล่านี้หน่วยงานที่ให้ใบอนุญาติก็ควรจะต้องขึ้นมาจัดการเคลียร์ปัญหาตรงนี้อีกเรื่องคือการปนเปื้อนในแหล่งน้ำก็ควรจะต้องมีการบำบัดและฟื้นฟูทันทีกรมควบคุมมลพิษจะต้องเข้ามาทำหน้าที่นี้เราไม่ควรทำแค่ว่ามีการเฝ้าระวังแล้วก็ตรวจแล้วก็รายงานค่าเคมีของน้ำไปแล้วจบตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันปนเปื้อนเราควรจะอยู่ในขั้นตอนฟื้นฟูให้สะอาดและปลอดภัยดังเดิม” สมพรกล่าว

หากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาจัดการหากกรมอุตสาหกรรมโรงงานและการเหมืองแร่ให้ใบอนุญาตแล้วกำกับพฤติกรรมของผู้ประกอบการให้มีธรรมภิบาลหากทุกภาคส่วนมีความพยายามที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบยายปันคงยังสามารถสอนคนรุ่นใหม่ให้ทอผ้าซิ้นต่อไปได้อีกความสงบง่ายและความงดงามของวิถีชีวิตคงไม่เหลือเพียงความทรงจำอย่างวันนี้

--------------------------------------------------------------------tanpisit lerdbamrungchai 2014
ENVIRONMENT

Villagers near mine hit by health woes

People in Loei fear a gold mine has contaminated local rivers with cyanide and heavy metals

Eight years after a gold mine opened in Loei's Wang Saphung district, people there continue to have grave concerns about the health and environmental threats posed by its operation. A prominent academic, meanwhile, has said that efforts to address these issues have only been partly successful. 

For years, residents from the six villages in Tambon Khao Luang have joined together to spearhead the Khon Rak Ban Kerd Group, an anti-mining collective, to protest against Thung Kham Ltd Co's mining and mineral surveying in the area. They claim that the company's activities create pollution and destroy ecosystems.

They allege that they can no longer eat home-grown produce and need to buy drinking water due to environmental damage wreaked by mining. 

With plentiful minerals, the northeast province of Loei has caught the attention of a host of investors looking to capitalise on its rich resources. This has led to disputes and even violence. In the latest disturbance on May 15, protesting residents claimed they were attacked by more than 100 armed and masked men. They say they are now living in fear due to the incident. 

Khan Jutano, 56, said her husband Suwat, 61, used to be a strong farmer who could single-handedly build a house. "We ate rice that we grew ourselves, ate local fish and drank creek water," she said, adding that such lifestyle continued after the mine existed until Suwat got sick, reportedly from cyanide contamination. "He developed muscle pain in 2007 and a Muang Loei Hospital doctor said it was a nerve disease," she added. 

Blood tests conducted by the provincial health office on residents near the mine found that Suwat's blood contained 0.55 microgram/milligram of cyanide, well beyond a safe level of 0.2 microgram. By 2013, Suwat had leg muscle atrophy and was unable to walk. Fortunately their rubber-taper son supported them. "Or else we would starve because everything needs to be bought, including drinking water," Khan said.

Animals dying mysteriously 

Ban Kok Sathon resident Pan Kaengjampa, 80, had dozens of beautiful silk skirts to remind her of her glorious past as the village's best weaver. 

Now she can't walk since her body weakened in 2012 as an alleged consequence of cyanide contamination. The villagers believe that cyanide leaked from a disposal pool into a natural creek from which villagers drank and caught fish, crabs or clams for meal. 

"The doctor told me I had a nerve disease, but refused to write it down," said Pan. "I personally believe the minerals contributed to my symptoms."

In 2007 local residents started to complain of rashes, eye irritation and chest tightness. 

Two years later, Loei health office warned residents not to use water from Huai Phuk, Huai Lhek or underground water due to heavy metal contamination. 

Blood tests conducted in 2010 showed that residents in six villages around the mine had high levels of cyanide, lead and mercury in their blood while fish, chicken and dogs kept dying mysteriously. In 2012, at least three people - including Pan - had symptoms of muscle weakness, atrophy, and nerve disorder.

There were also adverse affects to farming. Liang Phromsopa, 61, a farmer, claimed that 30-40 sacks of rice were once harvested from each rice field compared to the current total of nine sacks per field. 

Chulalongkorn University social academic Somporn Pengkham said water quality tests started finding cyanide in the creek water after the mine began operating. In 2006, the situation worsened with the soil found to be contaminated by chemicals and the discovery of cyanide, manganese and arsenic in the water. A team assigned by the provincial governor to investigate the issue could not decide what to do with the cyanide. Although some residents were by now being found to have these potentially lethal contaminants in their blood, the absence of a systematic approach to tackling the problem by state agencies meant that the problem remains. 

While refraining from saying that the cyanide came from the mine, Somporn said that it was essential that the facility should be studied. "What is important is that the villagers are sick," she said. "Therefore authorities must step in and take care of the people." 

Somporn also urged people in Loei not to ignore the issue. She reminded them that creeks such as Huai Lhek, Huai Din Dam and Huai Liang Kwai eventually reached the Loei and Mekong rivers. Therefore it was quite possible that cyanide and heavy metal contamination might have already moved beyond the six villages. 

Although the mine is now closed, pollution and sickness - for which the authorities have not held anyone responsible - may remain for a long time and require a lot of tax money to fix. 

Somporn concluded by saying that solutions to tackling the after effects of contamination would remain elusive as long as state agencies remain indifferent to the issue. 

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟังเสียงคนห้องกรง ในงานประกวดชุดนักโทษ

ฟังเสียงคนห้องกรง ในงานประกวดชุดนักโทษ
แนวคิดเรื่องสิทธินักโทษ อาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าเป็นผู้ที่กระทำความผิด แต่ความจริงแล้วแม้ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่คุกที่ถูกกักบริเวณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิทธิด้านอื่นเช่นสิทธิการรับรู้ข่าวสาร สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิที่จะได้รับการศึกษาจะหมดไปนะครับ  

กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw จึงจัดการประกวดชุดนักโทษ เพื่อสื่อสารไปสู่สังคมในวงกว้าง ให้หันมาสนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ  (ชมคลิป)






นี่คือชุดโทษที่ผู้ถูกคุมขังระหว่างรอการพิจารณาคดี ต้องใส่ขึ้นศาล แม้ต่อมาความจริงสถานะของเขาอาจจะเป็นเพียงผู้บริสุทธิ์ // กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw หยิบยกกรณีนี้มาตั้งคำถามเรื่องสิทธิมนุษชนของนักโทษที่คดียังไม่สิ้นสุด จนนำมาสู่กิจกรรมประกวดชุดนักโทษ ในแนวคิด นักโทษก็เป็นคน

มีผู้ส่งผลงานออกแบบเข้าประกวดทั้งหมด 39 ชิ้น มีชิ้นงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล คือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นชิ้นงานที่ไม่ได้มีการออกแบบชุดนักโทษ แต่ยกเลิกการใส่ชุดนักโทษไปเลย เหลือเพียงกุญแจมือที่ระบุข้อมูลและหมายเลขประจำตัวเท่านั้น  



ส่วนชุดนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศด้วยเหมือนกัน ผู้ออกแบบใช้สีเทาแทนความรู้สึกที่ไม่ได้ตัดสินว่าถูกผิด มีกระเป๋าเสื้อสีฟ้าแสดงถึงความสดใสไม่มัวหมอง ความหวัง ลักษณะเป็นเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น เหมาะสมกับสภาพอากาศในบ้านเรา

การประกวดครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแฟชั่น ด้านศิลปะ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เรื่องที่ต้องการให้แก้ไขเบื้องต้นคือนักโทษที่เดินทางมาศาลไม่ควรต้องใส่ชุดนักโทษ เพราะเขาไม่ใช่นักโทษเนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุด 

การประกวดชุดนักโทษเป็นการเปิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของนักโทษในเรือนจำ รวมไปถึงการทำความเข้าใจระหว่างคนภายนอก และคนภายในห้องกรงด้วยครับ


เราได้พบกับผุ้หญิงคนนี้ เป็นอดีตผู้ต้องขังเรือนจำหญิง เธอเล่าย้อนถึงเรื่องราวชีวิตในเรือนจำที่แสนโหดร้ายให้เราฟังว่า วงรอบของชีวิตวนเวียนอยู่กับกิจวัตรเดิมๆ ที่เป็นปัญหาคือเรื่องอาหารที่เป็นเนื้อติดกระดูก และที่หลับที่นอนที่คับแคบ เธอตั้งข้อสังเกตุว่าในคุกมีแต่คนจน

ขณะที่ชายคนนี้ยอมรับว่าเคยเข้าออกคุกเป็นประจำด้วยข้อหาเสพยาเสพติดอยู่หลายสิบปี จนกระทั่งได้บวชเป็นพระ จึงกลับเนื้อกลับตัว และด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา เขาบอกว่าการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาความรุนแรง ผลที่ได้คือความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเก่า ปัญหาเดิมได้

แม้ว่านักโทษ คือผู้ที่กระทำความผิด คุกจึงมีหน้าที่สร้างเงื่อนไขความยากลำบากและจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักโทษเพื่อเป็นการลงโทษ แต่เจ้าหน้าที่ไอลอว์คนนี้ บอกว่านักโทษยังคงมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้านอื่นๆ ด้วย

สำหรับชุดนักโทษที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในกิจกรรมนี้ ผู้ออกแบบได้รับเงินรางวัล 2000 บาท และหลังจากนี้กลุ่มไอลอว์จะนำแบบชุดนักโทษดังกล่าวนำเสนอต่อกรมราชทัณฑ์ ต่อไป // ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย 

////////////////////////////////////////////////


BURNING ISSUE

Even behind bars, dignity shouldn't be denied

Chularat Saengpassa
Chularat@nationgroup.com May 20, 2014 


Is a prisoner's dark brown clothing a sign of his degraded human dignity?

It is to some activists. But the truth is uniforms are by far the least of a prisoner's problems.

Few people know that when in prison, convicts can wear anything - T-shirts and jeans or pyjamas. Only when they are to go outside, like appearing in court, are they required to wear the inmate uniform.

The official wear now is a short-sleeved shirt and shorts for men. Women have to wear a long sarong. They are of the same colour, with light and dark shades of brown.

A prisoner told me he was okay with the uniform. While in jail, what troubled him most were the living conditions.

For example there is limited space for prisoners to hang wet clothes, which remain damp and smell bad. When it is time for meals, it is especially hard to find a piece of meat; when it comes to sleep, the place is crowded - in some prisons, inmates lie down shoulder to shoulder.

Added to these living conditions, they also feel stressed by social judgements. Some insist they are innocent. Some, charged under lese majeste law, are distressed. Some, in old age, suffer because of the absence of proper healthcare.

In a way, large numbers feel they have been put in a cell for the wrong reasons. Many lawyers and activists agree they have been.

"There is a connection between poverty and jail. It's a correct perception that only the poor go to jail," said an activist at a seminar last weekend.

Some may ask - why should we take care of these people?

Well, the reason is these people belong to our society. People can commit crimes, but they deserve another chance. Second, guilty people should be punished, but not to the extent they have to give up all human dignity.

It is difficult though for the system to obtain better services and conditions.

Today, national prisons hold more than 200,000 people, despite their limited capacity, which explains a lot about the tight space and poor food.

A nursing home is budgeted at about Bt120 for food for the elderly; but the allowance for each prisoner is a lot less.

Those who cannot get bail, or cannot afford bail payments, languish in prison, waiting for their trials to end.

Thailand has a large number of scientists. They should be clever enough to design a technology that facilitates the monitoring of these people, if they are not to be put in jail.

The problem is that once men, usually the poor, get charged, society considers them wrongdoers who deserve punishment. Few - aside from their family members - would wonder or care how much punishment was enough.

The activist, who has been in many prisons, said there are a large number of prisoners who have no visitors throughout their serving time - and who have not a single dime to spend on items like soap or shampoo. She suggested donations as a way to make merit, to living people.

My own experience is that at some prisons there are also a large number of old people. The guards told me most of them had done nothing wrong, but they had volunteered to go to jail to save their children, mostly dealers in drugs.

Prisons are like another world to the people outside, but inside there are living people.

If Thailand must have places to contain wrongdoers, they should be entitled to better treatment, at least with cleaner clothes and better food. Indeed, having their freedom ripped off them is bad enough.

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชีวิตเด็กสลัมคลองเตยเมื่อวันใกล้เปิดเทอม

ชีวิตเด็กสลัมคลองเตยเมื่อวันใกล้เปิดเทอม

วันที่ 16 พฤษภาคมนี้จะเป็นวันเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2557 ของหลายโรงเรียนทั่วประเทศรวมทั้งโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนแออัดคลองเตยกรุงเทพมหานครด้วย (ชมคลิป )


เมื่อวันเปิดเทอมใกล้มาถึง “ทองเลื่อนทองเถื่อน” วัย 50 ปีผู้เป็นมารดาของลูกชายวัยกำลังเรียน 2 คนและอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตย   จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นเพราะต้องหาเงินเป็นค่าขนมส่งลูกไปโรงเรียนทุกวันบ้านของทองเลื่อนมีสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วยเธอสามีลูกชายคนโตวัย 20 ปีกำลังศึกษาอยู่ในระดับปวศ. และลูกชายคนเล็กวัย 12 ปีที่จะขึ้นชั้นป.6 ในวันเปิดเทอมนี้


ปัจจุบันทองเลื่อนสามีและลูกไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองต้องเช่าบ้านในล็อก 4 5 6 ในย่านคลองเตยโดยเสียค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาททองเลื่อนและสามีประกอบอาชีพรับจ้างขนของที่ท่าเรื่อคลองเตยซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอนบางวันอาจไม่มีงานค่าแรงรับจ้างครั้งหนึ่งเฉลี่ยอยู่เพียง 200 – 400 บาทเท่านั้นทุกคนในบ้านจะต้องออกไปหางานทำไม่เว้นแม้แต่ลูกชายคนโตที่กำลังเรียนปวศ.ก็ต้องช่วยพ่อแม่รับจ้างขนของเพื่อให้ได้เงิน

แต่สำหรับลูกคนเล็กอย่างเด็กชายศุภโชคทองเถื่อนที่วัยเพียง 12 ปียังเด็กเกินไปที่จะทำงานหนักเขาจึงเป็นคนเดียวในบ้านที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวในทางกลับกันก็อยู่ในวัยเรียนที่ช่วงเปิดเทอมจะต้องได้รับเงินไปโรงเรียนทุกวันศุภโชคบอกว่าเขาได้เงินไปโรงเรียนวันละ 30 บาทเขารู้ถึงปัญหาความขัดสนของครอบครัวตัวเองมาโดยตลอดสิ่งที่ศุภโชคทำได้ในเวลานี้คือการช่วยครอบครัวประหยัด

กระปุกออมสิน 2 ใบถูกวางอยู่บนหิ้งพระและบนหัวนอนทั้งหมดเป็นของศุภโชคเงินที่เขาได้รับไปโรงเรียนเพียง 30 บาทต่อวันจะถูกหักออก 10 บาทเพื่อหยอดลงกระปุกออมสินหลายครั้งที่การหยอดกระปุกออมสินของศุภโชคช่วยให้ตัวเองมีเงินไปโรงเรียนในวันที่แม่ไม่มีเงินให้

ทองเลื่อนแม่ของศุภโชคบอกว่าแม้ตนเองจะขัดสนอย่างไรแต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องประคับประคองไว้คือส่งลูกเรียนให้จบเท่าที่เขาจะเรียนได้

“ต้องอดทนบางทีชักหน้าไม่ถึงหลังก็ต้องไปกู้แขกมาใช้จ่ายดอกร้อยละ 20 ก็ยอมไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนฉันอยากให้ลูกได้เรียนสูงๆจะได้มีอาชีพรายได้ที่ดีเลี้ยงครอบครัวอยากเห็นใบปริญญาของลูก” ทองเลื่อนกล่าว

และในวัดเปิดเทอมที่กำลังจะมาถึงทั้งเสื้อกระเป๋ารองเท้าที่ใส่ไปโรงเรียนของศุภโชคยังคงเป็นของเก่าของเดิมที่เคยได้ฟรีมาจากโรงเรียนเมื่อหลายปีที่แล้วแม้ว่าเสื้อจะหมองและคับตัวไปบ้างรองเท้าและกระเป๋าจะขาดไปบ้างก็ตาม

ยายช้วนเลี้ยงหลาน 4 คน


เช่นเดียวกับอีกครอบครัวในชุมชน 70 ไร่ย่านคลองเตยช้วนเกาะแก้วคือหญิงชราวัย 60 ปีที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลานและเหลนวัยกำลังเรียนถึง  4 คนคนแรกเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 6 คนที่สองเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 4 คนที่ 3 เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 3 และคนสุดท้ายอายุ 3 ขวบกำลังจะเข้าโรงเรียน

บ้านหลังเล็กบุสังกะสีกว้างเพียงวาครึ่งหลังคามีรอยน้ำรั่วซึมคือที่อยู่อาศัยของยายช้วนหลานและเหลนรวม 5 ชีวิตบ้านหลังหลังนี้เป็นบ้านเช่าที่ต้องจ่ายเดือนละ 1,500 บาท

ยายช้วนไม่ได้ทำงานเพราะสุขภาพไม่แข็งแรงเงินค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูหลานและเหลนทั้งหมดคือเงินที่ลูกของยายช้วนส่งให้เดือนละ 5,000 บาทไม่เกินนี้หากไม่พอก็ต้องไปกู้ยืมเสียดอกร้อยละ 20 วงรอบชีวิตของยายช้วนคือได้เงินมาเอาไปโปะหนี้เก่าไม่พอใช้ไปกู้ต่อวนอยู่อย่างนี้

ค่ากินอยู่ต่อวันของคนทั้ง 5 ชีวิตตกวันละ 300 บาทชาวบ้านร้านตลาดย่านนั้นรู้ดีว่าครอบครัวยายช้วนขัดสนเช่นไรจึงเอื้อเฟื้อข้าวราดแกงหรือก๋วยเตี๋ยวให้หลานๆของยายช้วนกีนฟรีไม่เสียตังค์

ปัญหาครอบครัวยายช้วนหนักถึงขนาดที่หลานวัย 14 ท้องในวัยเรียนต้องลาออกจากโรงเรียนไปหางานทำเมื่อคลอดลูกออกมาตนจึงต้องเลี้ยงดูก่อนหน้าเคยเลี้ยงลูกพอลูกมีลูกเอาหลานให้เลี้ยงหลานมีลูกเอาเหลนให้เลี้ยงยายช้วนเลี้ยงคนมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว

“หลานอดไม่ได้บางวันฉันกินพริกป่นละลายน้ำปลาแต่ให้หลานกินไข่ถ้ามีเงินก็ซื้อหมูซื้อไก่ใส่ตู้ไว้คนข้างบ้านเขาเอากับข้าวมาให้ก็ได้กินบ้างเด็กมันเกิดมาแล้วให้ทำอย่างไรถ้าเราไม่เลี้ยงแล้วใครจะเลี้ยงก็คิดว่าชาติก่อนเคยเอาลูกเอาหลานให้เขาเลี้ยงชาตินี้เลยต้องมาเลี้ยงลูกหลานเขาคิดปลงไปอย่างนี้นั่งหลังพิงฝาน้ำตาไหลคิดอ๋อกรรมเวรมองหลานนอนกางมุ้งเรียงกันเนี่ยโถ่ถังเอ้ยถ้ากูเป็นอะไรไปจะทำยังไงเนี่ยลูกเอ้ยก็คิดนะไม่ใช่ไม่คิด” ยายช้วนกล่าว

หลาน 3 คนเรียนอยู่ที่โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา  ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตยจึงมีสวัสดิการต่างๆเป็นชุดนักเรียนฟรีและมีอาหารกลางวันฟรียายช้วนบอกว่าในช่วงประถม – มัธยมในโรงเรียนหากยังมีสวัสดิการจากรัฐที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหลานก็จะได้ไปโรงเรียนแต่หากจะต้องเสียเงินส่งเสียให้ระดับที่สูงกว่านี้คงไม่ปัญญาชีวิตที่ยากจนและปัญหาภายในครอบครัวที่รุมเร้าก็ทำให้ยายช้วนไม่คาดหวังกับการส่งหลานเรียนถึงปริญญาแค่คิดว่าวันหนึ่งจะหาข้าวสารกรอกหม้อก็ยากแล้ว

โรงเรียนสถานที่บริสุทธิ์และไม่มีพิษภัยกับเด็กที่นี่


ชุมชนแออัดหรือสลัมคลองเตยมีขนาดพื้นที่ 816  ไร่ประกอบด้วย  42 ชุมชนย่อยถือเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีประชากรมากกว่า 87,000 คนในจำนวนนี้ 30,000 คนเป็นเยาวชนที่นี่มีปัญหาเด็กและเยาวชนทุกรูปแบบโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนาที่ตั้งอยู่กลางชุมชนคลองเตยดูเหมือนจะเป็นสถานที่ที่บริสุทธิ์และไม่มีพิษมีภัยกับเยาวชนที่นี่มากที่สุด


ก่อนวันที่ 16 พฤษภาคมซึ่งจะเป็นวันเปิดเทอมที่โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนามีคุณครูมาช่วยกันจัดเตรียมห้องเรียนจัดบอร์ดตกแต่งห้องให้ดูสวยงามเพื่อต้อนรับนักเรียนในช่วงเปิดเทอม
ด้วยความที่เป็นโรงเรียนกลางสลัมคุณครูที่นี่คุ้นชินกับปัญหาเด็กออกกลางคันมาเรียนวันแรกวันต่อๆมาหายเงียบและพฤติกรรมเด็กที่ก้าวร้าวอยู่เป็นประจำ

นางสาวพรณิชาชาตะพันธุ์ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนาบอกว่าครูที่นี่ต้องใช้ความพยายามสูงมากและต้องใช้ความอดทนมากในการตามเด็กเข้าชั้นเรียนเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากชุมชนโดยรอบเป็นชุมชนแออัดที่แต่ละบ้านล้วนมีปัญหาครอบครัวด้วยกันทั้งสิ้นเด็กๆที่นี่เป็นเด็กยากจนครอบครัวแตกแยกอยู่กับตายายบางคนเป็นเด็กก้าวร้าวครูต้องใช้จิตวิทยาในการพูดคุยเพื่อให้กลับเข้าชั้นเรียนมีการเชิญผู้ปกครองเด็กมาพบแทบทุกวันหรือบางทีก็ไปหาที่บ้านจนเป็นเรื่องปกติ

“มาเรียนที่นี่แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรียนก็ฟรีข้าวฟรีนมฟรีไม่ต้องเอาเงินมาโรงเรียนก็อยู่ได้ขอแค่เดินมาเรียนยอมรับว่าปัญหาที่นี่หนักกว่าที่อื่นๆเราต้องให้กำลังครูอยู่เสมอๆแต่ครูที่นี่ก็ใจสู้เอาเด็กอยู่เราตามเยี่ยมบ้านตามทุกที่ที่มีเด็กอยากให้ผู้ปกครองเข้าใจและส่งลูกมาเรียนการที่เด็กอยู่ในระบบการศึกษาจะทำให้ปัญหาสังคมลดลง” ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนากล่าว

/////////////////////////////////////////////////// ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย