วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทำทีวีให้คนอื่นมาก็เยอะ ถึงเวลาที่เราจะทำทีวียีห้อ “เนชั่น” เองเสียที (2)



ความเดิมตอนที่แล้ว ผมเล่าถึงเหตุปัจจัยต่างๆ ว่าทำไมเครือเนชั่น นำโดยคุณสุทธิชัย หยุ่น จึงคึกคักเป็นอย่างยิ่ง กับการประมูลช่องทีวีดิจิทัลครั้งนี้ ถึงกับกล่าวลงในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับล่าสุด (22 กุมภาพันธ์ 2556) ว่า “สำหรับผม นี่เป็นภารกิจสุดท้าย ถ้าทำเสร็จจะไปเที่ยวแล้ว เชื่อว่าก่อนสิ้นปีจะเกิด.. ถ้าบอกว่าประมูลเสร็จต้องออกอากาศได้ใน 30 วัน เราทำได้ทันที ไม่มีใครพร้อมเท่าเรา”

ภาระกิจสุดท้าย ของคุณสุทธิชัย  มีความหมายมาก เพราะนั่นอาจหมายความว่าหลังเครือเนชั่นมีช่องทีวีดิจิทัล ซึ่งมีฐานะเท่ากับฟรีทีวี 3 5 7 9 แล้ว คุณสุทธิชัย ก็ถึงคราวอำลาวงการ หันหลังให้กับความวุ่นวาย ของข้อมูลข่าวสาร การบริหาร และการตัดสินใจ ที่ได้กระทำมาอย่างหนักห่วงตลอด 40 กว่าปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าถ้าภาระกิจนี้สำเร็จ ก็ตายตาหลับ เห็นจะได้

อุดมการณ์ของการเป็นนักสื่อสารมวลชนที่ซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ คุณสุทธิชัย เคยบอกกับผมในรายการชีพจรข่าว ช่องเนชั่นยูทีวี (ทีวีอินเตอร์เน็ตม.เนชั่น) ว่า “ถ้าเรารับเงินนักการเมือง ถ้าเราทำตามใบสั่ง เครือของเราจะสบายมากกว่านี้” คุณเทพชัย หย่อง บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น ก็เคยบอกกับผมทำนองนี้เช่นเดียวกันว่า “เราเป็นองค์กรสื่อเราถือประโยชน์สาธารณะนำหน้า ผลประโยชน์ทางธุรกิจอยู่แล้ว” สอดคล้องกับ คุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการบมจ.NBC บริษัทลูกของเครือเนชั่น สายธุรกิจการกระจายภาพและเสียง บอกว่า “ในหลักการทำธุรกิจของที่นี่คุณสุทธิชัยบอกไว้ว่า Good Journalism is Good Business หมายความว่า ถ้าเนื้อหาเราดี เราเป็นนักข่าวที่ดี ธุรกิจของเราก็จะดีตามไปด้วย”

จากแนวคิดของผู้บริหารเหล่านี้ อาจสวนทางกับระบบทุนนิยมที่เป็นอยู่ เครือเนชั่นถือว่าท้าทายมาก ที่สามารถยืนสวนกระแสนี้ได้มาอย่างยาวนาน แม้จะล้มลุกคลุกคลานหลายครั้งก็ตาม การประมูลช่องทีวีดิจิทัล ที่มีข่าวมาว่าเครือเนชั่นจะประมูลถึง 3 ช่อง และอยู่ในระหว่างการระดมทุนจากผู้ถือหุ้น และนักลงทุนต่างๆ ให้มีปริมาณถึง 2,100 ล้านบาท (การประมูลช่องทีวีดิจิทัลเริ่มต้นการประมูลที่ 400 ล้านบาท ต่อช่อง)

ในฐานะคนดูข่าว ผมมองว่าในการประมูลครั้งนี้ เครือเนชั่น พร้อมกับเงินจำนวน 2,100 ล้านบาท น่าจะสามารถประมูลช่องทีวีดิจิทัลได้เพียง 1 ช่องจากที่หวังไว้  3 ช่อง เพราะผมเชื่อว่ากลุ่มทุน และองค์กรหน่วยงานต่างๆ พร้อมที่จะเทเม็ดเงินจำนวนมหาศาลมาร่วมแข่งขันด้วยอย่างแน่นอน

คุณสุทธิชัยบอกว่า ถ้าเลวร้ายจริงๆ เครือเนชั่นไม่สามารถประมูลได้เลยสักช่อง เครือเนชั่นก็พร้อมทำหน้าเป็นผู้ผลิตเนื้อหา / ผู้ผลิตรายการ (Content Provider) ให้กับทีวีช่องต่างๆ

แต่ในใจผมเชื่อว่าเครือเนชั่นจะสามารถประมูลทีวีดิจิทัลครั้งนี้ได้ในช่องประเภทข่าวสารเป็นแน่ อาจจะไม่ได้ทั้ง 3 ช่องอย่างที่หวัง แต่ก็ได้ทำเป็นของตัวเอง ยี้ห้อ “เนชั่น” สักช่องแน่ๆ

ที่ผ่านมาเครือเนชั่น ในสายธุรกิจด้านการกระจายภาพ และเสียง ภายใต้บมจ.NBC มีทีวีดาวเทียมถึง 3 ช่อง ได้แก่ช่องเนชั่นแชนแนล ช่องคมชัดลึกทีวี และช่องกรุงเทพธุรกิจทีวี ส่วนสายธุรกิจด้านเด็กและเยาวชน ภายใต้ บมจ.NIEN ก็มีทีวีช่อง Kids Zone นำเสนอรายการเด็ก และการ์ตูนโดยเฉพาะอีก 1 ช่อง รวมทั้งหมดเครือเนชั่นมีช่องทีวีดาวเทียม รวมกันถึง 4 ช่อง

เพื่อนๆ พี่ๆ ในอุตสาหกรรมสื่อสายการผลิต (Production) บอกตรงกันว่า Production รายการต่างๆของช่องเนชั่นทำได้ไม่ดีนัก ทั้งกราฟฟิก ฉากรายการ และ CG (ตัวอักษร) ซึ่ง Production มีความสำคัญในการทำทีวีไม่แพ้คุณภาพของเนื้อหารายการเช่นกัน เป็นสิ่งที่เครือเนชั่นต้องพัฒนาต่อไป ส่วนความสมบูรณ์ และคุณภาพของเนื้อหารายการ เครือเนชั่นถือว่าทำได้ดีแล้ว โดยเฉพาะตัวพิธีกร ผู้ประกาศ ที่มีทักษณะการนำเสนอได้ไม่น่าเบื่อ

การที่เครือเนชั่นมีทีวีถึง 4 ช่อง ก็เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อพูดถึงการทำงานเบื้องหลัง ที่หนักและเหนื่อยกว่า ทีวีช่องอื่นๆ

ผมเคยจิตนาการว่า ถ้าเนชั่นรวมทีมทั้งหมดที่ทำช่องทีวีดาวเทียมที่มีอยู่ในขณะนี้ถึง 4 ช่องมารวมเป็นช่องเดียว แล้วทำให้ดีไปเลย เนชั่นทีวีจะสามารถสู่กับช่อง 3 ได้อย่างสบาย

ผู้บริหารเคยตอบคำถามเรื่องการแตกแขนงของทีวีเครือเนชั่นว่า เพื่อเป็นการตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างหลากหลายออกไป และเหตุผลทางธุรกิจ

แต่น่าสังเกตุว่าช่อง 3 มีเนื้อหารายการที่อัดแน่น และหลากหลายเต็ม 24 ชม. เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ ทุกระดับ ทุกประเภทก็ดูดี  ด้วยความสามารถในการจัดผังรายการที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตคน ก็ทำให้คนดูทางบ้านเปิดแช่ช่อง 3 ทิ้งไว้

นี่เป็นเพียงมุมมองหนึ่งต่อการเคลื่อนไหวครั้งประวัติศาสตร์ของวงการโทรทัศน์ไทย ผมจะคอยติดตามดูการประมูลทีวีดิจิทัลครั้งนี้อย่างใกล้ชิด เพราะนี้จะเป็นการเปิดทางให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม และเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความสามารถเข้ามาผลิตรายการที่มีคุณภาพสู่สาธารณะ และหวังเหลือเกินว่าเนชั่นจะพลิกเกมวงการทีวี อย่างที่ใครๆคาดไม่ถึง เพราะอย่าลืม ! ว่านี่ เป็นภาระกิจสุดท้ายของผู้ชายที่ชื่อ “สุทธิชัย หยุ่น”

------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทำทีวีให้คนอื่นมาก็เยอะ ถึงเวลาที่เราจะทำทีวียี้ห้อ “เนชั่น” เองเสียที (1)

ทำทีวีให้คนอื่นมาก็เยอะ  ถึงเวลาที่เราจะทำทีวียี้ห้อ “เนชั่น” เองเสียที (1)


ผมไม่แปลกใจเลยที่คุณสุทธิชัย หยุ่น และผู้บริหารคนอื่นๆในเครือเนชั่น ตื่นตัว ตื่นเต้นกับการประมูลทีวีดิจิทัลอกันย่างคึกคัก จนมีข่าวออกหนังสือพิมพ์ในเครือไม่ซ้ำในแต่ละวัน


ย้อนกลับไปเมื่อ 42 ปีก่อน “สุทธิชัย หยุ่น” จากคนทำหนังสือหนังสือพิมพ์ ที่มีสำบัดสำนวนชวนให้ผู้อ่านติดตาม ใช้คำเขียนอย่างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เมื่อได้มีโอกาสมาทำทีวีโดยการชักชวนของช่อง 3 ในช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซียร์ “สุทธิชัย”ก็ ได้นำสไตล์แบบคนหนังสือพิมพ์ที่เขียนเล่าเรื่องผ่านตัวอักษร มาผ่านน้ำเสียงคำพูดแทน 

ยุคนั้น ผมคิดว่าการนำเสนอข่าวในแต่ละช่องคงคล้ายๆกัน คือการนั้งอ่านข่าวแข็งๆ ในขณะที่ “สุทธิชัย” เล่าให้ฟังว่าเหตุการณ์เป็นอย่างไร กางแผนที่ให้ดูในทีวี ชี้ที่นั้น ที่นี้ เป็นแบบนี้ ถ้าระเบิดลงตรงนี้ จะยังไง ซึ่งทำให้คนดูชอบและติดใจ กลายเป็นรูปแบบการนำเสนอข่าวที่ยุคนี้นิยมกันเหลือเกิน 

เมื่อเริ่มมีคนดูและมีคนรู้จักเนชั่น ในวงกว้าง ทั้งหนังสือพิมพ์ และรายการทีวี ตอนเลิกทำรายการที่ช่อง 3 แล้ว ช่อง 9 ก็ชวน “สุทธิชัย” มาทำรายการต่อ โดยเป็นรายการสัมภาษณ์ “Nation News Talk” ว่ากันว่านักข่าวหนังสือพิมพ์ เวลาถามแหล่งข่าว จะมีชั้นเชิงในการถามที่ลึกซึ้ง ซักไซร้ไล่เรียงจนได้คำตอบ ขณะที่นักข่าวทีวี (ในยุคนั้น) ถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้แหล่งข่าวพูดออกมา และนำมาปล่อยเสียงในรายการ จึงไม่แปลกที่การสัมภาษณ์แบบ “สุทธิชัย” คนหนังสือพิมพ์ จะน่าติดตาม น่าสนใจมากกว่า

ครั้นปี 2537 มีการประมูลคลื่นฟรีทีวี ที่จะมาทำทีวีเสรี (ไอทีวี) กลุ่มเนชั่นหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะชนะการประมูล เพื่อเปิดทางให้ตนได้ทำทีวีแบบไม่ต้องไปพึ่งช่องนั้นที ช่องนี้ที่ แม้จะมีทุนในการประมูลไม่มาก แต่ด้วยความที่มีเนื้อหา (Content) ดี ก็มีความมั่นใจ

แต่โลกไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด เมื่อทุนมีค่ามากกว่าเนื้อหา (content) ผู้เข้าร่วมการประมูล มี 2 กลุ่มที่มีเนื้อหา (content) คือกลุ่มแปซิฟิก ที่ทำรายการสารคดี และกลุ่มเนชั่น ที่มีข่าวเป็นจุดแข็ง และที่เหลือเป็นกลุ่มทุน ท้ายที่สุดธนาคารไทยพาณิชย์ ก็ชนะการประมูล ด้วยการเทวงเงินจำนวนมหาศาล ที่กลุ่มเนื้อหา (content) อย่าง เนชั่น และแปซิฟิกไม่สามารถสู้ได้

นั่นเป็นจุดกลายเป็นจุดจบของทีวีเสรี ทั้งๆที่ยังไม่ได้เริ่มต้นขึ้น โดยที่ยังไม่มีใครรู้ ธนาคารไทยพาณิชย์ มีเงินพร้อมที่จะลงทุน แต่ไม่มีเนื้อหา (Content) จึงได้ชวนกลุ่มเนชั่น และแปซิฟิก มาทำด้วยกัน “สุทธิชัย” ก็ใจดีและเชื่อมั่นในเจตนารมณ์ของความเป็นทีวีเสรี ของไอทีวี โดยลืมนึกถึงความเป็นกลุ่มทุนของธนาคารไทยพาณิชย์

“สุทธิชัย” พาทีม A ของเนชั่นในยุคนั้นทั้ง เช่น เทพชัย หย่อง, ก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ และคนอื่นๆ มาร่วมทำไอทีวี ทีวีเสรี ส่วนแปซิฟิกมีกิตติ สิงหาปัด และเพื่อนๆ ที่เข้ามาสมทบ ความพยายามของคนข่าวกลุ่มนี้  คือปฏิวัติการงายงานข่าวสารแบบเดิมๆ ที่มีเพียงการตามนักการเมืองไม่กี่คน และหันเริ่มการทำข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน, ทำสกู๊ปข่าวที่ให้ข้อมูลข่าวอย่างรอบด้าน, การเล่าข่าว และการวิเคราะห์ที่ตรงไปตรงมา 

เวลาผ่านไปเพียง 5 ไอทีวีก็ประสบความสำเร็จ มีคนรู้จักในวงกว้างประชาชนมีความเชื่อมั่นในข้อมูลข่าวสาร แต่นี่คงไม่ถูกใจกลุ่นทุนการเมืองมากนัก ในยุคที่เศรษฐกิจตกต่ำ กลุ่มทุนธนาคารไทยพาณิชย์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเลี้ยงดูไอทีวีอีกต่อไป เมื่อมีกลุ่มทุนอีกกลุ่มเสนอผลประโยชน์ที่จะเข้ามาครอบครองไอทีวี น่าเสียดายที่กลุ่มทุนนั้นเป็นกลุ่มทุนการเมือง “ชิน คอร์ป” ว่ากันว่าไอทีวี ได้หมดความเป็นทีวีเสรีลงแล้วอย่างสิ้นเชิง พนักงานในฝ่ายข่าวส่วนหนึ่งออกมาต่อต้าน จนได้ชื่อว่าเป็น “กบฎไอทีวี”  ที่ไม่ยอมก้มหัวให้กับการแทรกแซงของกลุ่มทุนนี้

ขณะเดียวกันกลุ่มเนชั่นที่เข้าไปทำ ทีวีเสรีก็ถูกผลักออกมาพร้อมๆ กับการเริ่มต้นของ เนชั่น แชนแนล ที่เป็นช่องทีวีดาวเทียมของเครือเนชั่นเอง หารายได้เอง “สุทธิชัย” ตั้งใจให้เนชั่นแชนแนล เป็นแบบ CNN ช่องเคเบิ้ลข่าวที่โด่ดดังของอเมริกา เป็นสถานีข่าว 24 ชั่วโมง “สุทธิชัย” มอบหมายงานนี้ให้กับ “อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ” ที่เฝ้ามอง และเก็บข้อมูล การทำไอทีวีของเครือเนชั่น อยู่ห่างๆ เมื่อเมื่อถึงคราวที่เนชั่นต้องทำทีวีของตนเอง “อดิศักด์” จึงรับหน้าที่นี้ โดยไม่ต้องสงสัย

แต่ความเหลือมหล้ำของฟรีทีวี กับทีวีดาวเทียมอย่างเนชั่นแชนแนล ในการเข้าถึงคนดูก็มีความต่างกันอยู่มา ค่าโฆษณาของช่องจะสูงเท่าฟรีทีวีไม่ได้  และในเชิงอิทธิพลของสื่อในการต่อรองและสร้างความเปลี่ยนแปลง ก็มีไม่มากเท่าฟรีทีวี  โชคยังดีที่อัตราการเติบโตของทีวีดาวเทียมในไทยสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนชั่นแชนแนลกลายเป็นสถานีข่าวทีวีดาวเทียมที่มีคนดูเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ เป็นผลมาจากรูปแบบการนำเสนอข่าว แบบเล่าข่าว ที่เข้าใจง่าย พิธีกรข่าวของทีนี่ กลายเป็นจุดขายของช่อง ที่แม้แต่ฟรีทีวีถึงกับต้องซื้อตัวพิธีกรข่าวของเนชั่น ไปเล่าข่าวที่ช่องของตนเอง หรือถ้าดีหน่อยคือผลิตรายการร่วมกัน หารค่าโฆษณากัน อย่างรายการเช้าข่าวข้นคนข่าวเช้า และข่าวข้น คนข่าว ที่เคยออกอากาศที่ช่อง 9 และได้ค่าโฆษณาจากการออกอากาศฟรีทีวี มหาศาล แต่เมื่อหมดสัญญา และมีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง การร่วมผลิตรายการระหว่างเนชั่น กับ ช่อง 9 ก็สิ้นสุดลง ทีมงานของเนชั่นทั้งพิธีกรและโปรดิวเซอร์ทั้งหมด ต้องขนของกลับเนชั่น บ้านอันแสนอบอุ่นของพวกเขา


เหตุการณ์ปิดตำนานทีไอทีวี (ไอทีวี) ในคืนของวันที่ 14 มกราคม ปี 2551 ช่วงรอยต่อระหว่างยุคเสื่อมถอยของทีวีเสรี ที่กำลังจะกลายเป็นตำนาน และการเปิดฉากครั้งสำคัญของทีวีสาธารณะเกิดขึ้นอย่างฉุกละหุก “เทพชัย หย่อง” น้องชายแท้ๆ ของ “สุทธิชัย” ถูกเชิญให้เป็นผู้อำนวยการทีวีสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) “เทพชัย” ขายหุ้นในเครือเนชั่นที่มีอยู่ทั้งหมด พร้อมนำทีมจากเนชั่นจำนวนหนึ่งไปบุกเบิก ทีวีสาธารณะ เป็นอีกครั้งที่เนชั่นเข้าไปมีบทบาทในหน้าประวัติของวงการโทรทัศน์ไทย ทำให้นึกย้อนไป ในยุคไอทีวีที่เนชั่นก็เคยมีส่วนในการก่อการด้วยเช่นกัน แต่คราวนี้ ทีวีสาธารณะมีความแต่จากครั้งที่แล้วอยู่มาก การเข้าไปครั้งนี้ ต้องเข้าไปแต่ตัว และอุดมการณ์  ไม่มีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง  เพราะไทยพีบีเอสเป็นทีวีสาธารณะ มีพระราชบัญญัติรองรับ มีเงินทุนจากภาษีบาป  ปราศจากกลุ่มทุนและการเมือง คราวนี้ “เทพชัย” เข้าปฏิบัติหน้าที่ ผอ.ทีวีสาธารณะในฐานะ “เทพชัย” ที่ไม่ได้อยู่ใต้เงาของเนชั่น เมื่อภาระหน้าที่สิ้นสุดลง เมื่อไม่นานนี้ “เทพชัย” กลับมาเครือเนชั่นอีกครั้งในตำแหน่ง บรรณาธิการอำนวยการ

วันหนึ่ง กสทช.องค์กรที่มีหน้าที่จัดสรรคคลื่นความถี่  คิดจะเปลี่ยนระบบการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดินของคนไทยทั้งประเทศ จากระบบอนาล็อกที่เป็นอยู่ ไปสู่ระบบดิจิทัล ที่ทำให้ภาพคมชัดขึ้น และประเด็นสำคัญคือทำให้เกิดช่องสัญญาณฟรีทีวีเพิ่มขึ้นอีกถึง 48 ช่อง จากระบบอนาล็อกที่มีช่องสัญญาณเพียง 6 ช่อง กสทช.ในฐานะองค์กรอิสระมีความพยายามที่จะทำให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม จึงมีการจัดประมูลคลื่นความถี่ และด้วยจำนวนช่องที่มีถึง 48 ก็มากพอที่มีสักช่อง ที่เนชั่นจะประมูลคลื่นนั้น นำมาทำทีวียี้ห้อ “เนชั่น” จริงๆ เสียที

“เนชั่น” มั่นใจเหลือเกินว่าตน พร้อมท้าชนกับพี่บิ๊กในวงการฟรีทีวีที่มีอยู่ก่อน  ไม่ว่าจะเป็นช่อง 3 ช่อง 7 หรือช่อง 9 ก็ตาม จากประสบการณ์ที่เคยไปร่วมทำทีวี และรายการทีวีต่างๆ ที่ผ่านมา มีการยกอย่างว่า รายการเช้าข่าวข้น คนข่าวเช้า กับรายการข่าวข้น คนข่าว ที่เนชั่น เคยร่วมผลิตรายการกับช่อง 9 สามารถสร้างเม็ดเงินโฆษณาได้ถึง 30% ของรายได้ทั้งช่อง  ฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่า หากเนชั่นเป็นฟรีทีวีจะต้องรุ่งอย่างแน่นอน  ประกอบกับตอนนี้ หัวกะทิของเนชั่น ก็กลับมารวมกันที่เครือหมดแล้ว ผมได้ข่าวมาว่า นักทำสารคดีอิสระมือฉมัง อย่างอาจารย์พิภพ พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการแผนกสารคดี ของเนชั่น ที่ลาออกไปทำ Homeschool เลี้ยงลูก ก็กำลังจะกลับมาสร้างสารคดีแบบฉบับเนชั่น อีกครั้ง

ตอนนี้เนชั่นกำลังระดมทุนให้ถึง 2100 ล้านบาท เพื่อทำเงินมาประมูลคลื่นความถี่คาดว่าจะประมูลแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมปีนี้ หลังประมูลได้แล้ว  จะเริ่มออกอากาศทันที เรียกว่าตอนนี้เนชั่นคึกมาก ที่จะทำทีวีดิจิทัล “สุทธิชัย” บอกว่ารอวันนี้มานานแล้ว และจากบทเรียนต่างๆในอดีตที่ผ่านมา จะทำให้ครังนี้ “เนชั่น” จะพลิกเกมในวงการโทรทัศน์ไทย

_____________________

ตอนหน้า เนชั่นจะประมูลถึง 3 ช่อง แปลว่าเนชั่นจะทำฟรีทีวีถึง 3 ช่องหรือ ? มีความน่ากังวลอะไรบ้างสำหรับเนชั่นในการทำฟรีทีวี ในความคิดเห็นของผม จะเล่าให้ฟังครับ
_____________________

วันเสาร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ร้านข้าวข้างคลองตึกเนชั่น ทางเลือกของพนักงาน / นักศึกษาที่ต้องการลดรายจ่าย



เที่ยงวันนี้ อมเรศ และใจดี หรือโตโน่ นักศึกษาปี 2 ม.เนชั่น เลือกที่จะทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่ง ที่อยู่ไกล้ๆกับตึกเนชั่น บางนา โตโน่บอกว่า ร้านอาหารที่ขายอยู่บนชั้น 9 ของตึกเนชั่น มีราคาแพง ตนจึงหาร้านอื่นๆที่อยู่โดยรอบตึกเนชั่น ที่มีราคาต่ำกว่า เพื่อเป็นการลดค่าใช่จ่าย



พี่เอิง ลูกสาวเจ้าของร้านอาหารตามสั่งดังกล่าว เปิดเผยว่า ร้านนี้เป็นร้านที่ตั้งมาตั้งแต่สมัยรุ่นตา รุ่นยาย และยังคงทำการค้าขายมาจนถึงปัจจุบัน โดยในทุกวันนี้ ใช้เงินหมุนเวียนในการดำเนินกิจการ 10,000 บาท ต่อวัน

ด้วยบรรยากาศที่ร้านตั้งอยู่ติดกับคลองบางนา ทำให้ผู้คนทั้งพนักงานและนักศึกษาเรียกว่า ร้านข้างคลอง และเพื่อความหรูหรา ก็เรียกอีกชื่อว่า “River Side” ที่นี่ กลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของพนักงาน และนักศึกษาในตึกเนชั่น ที่ต้องการลดค่าครองชีพ ที่นับวันจะยิ่งสู่งขึ้นเรื่อยๆ

_______________________________

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ใบหน้าที่เปื้อนยิ้ม ของเด็กๆบ้านราชาวดี


บ่ายวันนี้นักศึกษาเนชั่นทั้งปี  1 และ ปี 2 ไม่มีการเรียนการสอน พวกเขาตกลงกันว่าไปทำกิจกรรมเลี้ยงเด็ก ที่พิการทางสมอง ที่บ้านราชาวดีหญิง อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี

และตอนนี้ก็กำลังซักซ้อมท่าทางที่จะไปเต้นให้น้อง ที่บ้านราชาวดีดู
เราได้เจอกับป้าไหม อุปกิต ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงดูแลเด็กๆในบ้านราชาวนีแห่งนี้












ป้าไหมบอกว่า ผู้ที่เข้ารับการดูแลจากบ้านราชาวดีหญิง มีทั้งหมด 500 กว่าคน มีทั้งอายุ 7 ปี และ 40 ปี  ป้าไหมจะต้องดูแลพวกเขาไปจนกว่าจะสามารถช่วยเหลือตัวเองได้

เบื้องหลังของเด็ก และผู้ที่อยู่ในบ้านราชาวดีนี้ มีทั้งที่ถูกทอดทิ้ง และพ่อ แม่เลี้ยงดูไม่ไหว อย่างน้องหมูตอน ช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์ป้าไหม หมูตอนก็โฝเข้ามากอดเรา



เราคิดว่า พวกเขาก็ไม่ได้ต่างอะไรจากเราซึ่งเป็นคนปิกติ ที่ต้องการความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่ ทุกวันนี้หมูตอนโชคดี ที่มีป้าไหมเป็นเสมือนแม่คนที่ 2 คอยเลี้ยงดู สั่งสอน อย่างใจเย็น

กิจกรรมที่เราจัดมาให้กับน้องๆในบ้านราชาวดีหญิงวันนี้ มีทั้งการเลี้ยงอาหารมื้อเย็น และการแสดงที่สนุกสนานบนเวที










ทันทีที่เสียงเพลงดังขึ้น เด็กๆ ก็วิ่งกรูเข้าไปเต้นกันยกใหญ่

การเข้ามามีส่วนในกิจกรรมที่สร้างสรรค์สังคม และเป็นผู้ให้เช่นนี้ก็ทำให้เราภาคภูมิใจ

หลังพระอาทิตย์ตกดินไปในคืนนี้ ทุกคนในบ้านราชาวดี คงนอนหลับอย่างมีความสุข และในวันพรุ่งนี้ คงจะมีคนใจดีมาทำกิจกรรมแบบนี้อีก

ความรู้สึกที่เราสัมผัสได้ ก่อนกิจกรรมจะจบลง ใบหน้าที่เปื้อนยิ้มของเด็กๆที่นั่น เป็นภาษากายที่กำลังจะบอกกับเราว่า อย่างปล่อยให้พวกหนูโดดเดี่ยว  ยังดังก้อง อยู่ให้ส่วนลึกของจิตใจ ของพวกเราทุกคน

------------------------------------------

วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

วัดปทุมวนาราม ความสงบกลางเมืองใหญ่


ความสับสนวุ่นวาย เร่งด่วน และรวดเร็ว ดูเหมือนว่านี่... จะเป็นวิถีชีวิตของคนในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพมหานคร ที่วันวันหนึ่งมีคนพลุกพล่านมากตาหลายตา ความเจริญทางวัตถุทั้งตึกระฟ้า โรมแรมที่หรูเริด และศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ที่ชวนให้เราหลงไหล และเพลิดเพลินไปกับมัน

เราโหยหาความสะดวกสบายจากสินค้า และบริการต่างๆ ที่ชวนให้เราฟักเงินในกระเป๋าอย่างไม่ยั้งคิด เพื่อแลกกับความต้องการที่เกิดขึ้น การแข่งขัน เพื่อเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ตามมา

ดูเหมือนว่า ชีวิตนี้เราใช้ชีวิตบนฐานของความคิดผู้อื่น จนลืมกลับมาหาบ้านที่แท้จริงในจิตใจ

...วัดปทุม 2012 ความสงบมีอยู่จริง....



เป็นเรื่องธรรมดาที่ในทุกๆวันบนสถานีไฟฟ้า BTS จะเต็มไปด้วยผู้คน  และคงเป็นเรื่องธรรมดาอีกเช่นเดียวกันที่ผู้ใช้บริการ BTS จะต้องเตรียมใจมาเบียดเสียดกับคนจำนวนมาก   ระหว่าง BTS ชิดลมกับสยาม ถือว่าเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ที่มีผู้คนคึกคักเป็นพิเศษ มีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และตึกสำนักงานเต็มไปหมด ขณะเดียวกันเมื่อมองลงจากบน BTS ในช่วงนั้น ก็ต้องสะดุดตากับวัดที่อยู่ท่ามกลางป่าคอนกรีต ... ถูกแล้วครับเรามุ่งหน้ามาที่นี่ วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร 

ความวุ่นวายกับความสงบ ร่มเย็นดูเหมือนว่าจะขัดแย้งกัน แต่วันนี้ผมจะพิสูจน์ให้เห็นว่า ท่ามกลางความวุ่นวายนั้น ยังคงหาความสงบ ซึ่งที่วัดปทุมแห่งนี้น่าจะเป็นพื้นที่ความสุขเล็กๆ ในย่านเศรษฐกิจ ดงป่าคอนกรีต ผู้คนมากมาย แห่งได้ อย่างเหลือเชื่อครับ

น่าสนใจว่าวัดปทุมวนาราม ตั้งอยู่ริม ถนนพระรามที่ 1 แขวงปทุมวัน  กรุงเทพ อยู่ระหว่างศูนย์การค้าสยามพารากอนและห้างเซ็นทรัลเวิลด์  เป็นยังไงล่ะครับ ไม่ธรรมดาจริงๆ ถึงแม้ว่าจะมีศูนย์การค้าใหญ่ยั่วกิเลสขนาบข้าง แต่ที่นี่ก็สามารถสวนกระแสความวุ่นวาย สู่ความสงบได้อย่างชัดเจนทีเดียวครับ

แม้บรรยารอบข้างวัดจะเปลี่ยนไป แต่บรรยากาศบริเวณพุทธาวาส อันเป็นที่ตั้งของพระอุโบสถ และพระเจดีย์กลับไม่ต่างอะไรกับเมื่อ 150 ปี ก่อน ข้อมูลที่วัดจัดให้แก่สาธารณชนบอกว่า วัดนี้เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นมาเมื่อ พ.ศ. 2400 หลังจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างรมณียสถานนอกพระนครเพื่อเป็นที่แปรพระราชฐานตามพระราชอัธยาศัย

ที่แห่งนี้ก่อนที่จะกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าที่สำคัญในปัจจุบัน เมื่อร้อยกว่าปีก่อน พื้นที่บริเวณนี้เป็นทุ่งนา อยู่ริมคลองบางกะปิ ในพื้นที่ทุ่งพญาไท เป็นที่ลุ่มมีน้ำขังตลอดปี และมีบัวขึ้นอยู่ทั่วไป เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัวชาวลาว มีอาชีพทำนา ซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารตั้งแต่สมัยกบฏเจ้าอนุวงศ์

การสร้างวังสระปทุมและวัดปทุมวนารามนั้น ได้เสร็จสิ้นลงในปลายปีพุทธศักราช 2400 เผอิญสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีได้ทรงสิ้นพระชนม์ลง และประจวบกับเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติเกี่ยวกับการบ้านเมืองหลายด้านด้วยกัน งานฉลองวัดปทุมวนารามจึงมีขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม ปีพุทธศักราช 2410

ปี 2553 เหตุวุ่นวายทางการเมือง การชุมชนของกลุ่มคนเสื้อแดงในบริเวณแยกราชประสงค์ สถานการณ์เลวร้ายลงเร็ว จนทำให้รัฐต้องสลายการชุมนุม วัดปทุมวนารามฯ เป็นวัดที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากแยกราชประสงค์ และเป็นพื้นที่เขตอภัยทาน ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วนเลือกที่หลบภัยที่นี่ แต่สถานการณ์ที่สับสนวุ่นวาย ทุกวันนี้จะหาความจริงกันไม่ได้ ก็ว่ากันว่า แม้จะเป็นพื้นที่ในวัดแต่ก็ยังคงมีการใช้ปืนยิ่งกันในบริเวณนี้ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐเชื่อมโยงเรื่องนี้เข้ากับความศักดิ์สิทธิ์ ของพระเสริม และพระใสซึ่งประดิษฐสถานอยู่ในวิหารแห่งนี้นั่นเองครับ

วัดปทุมวนาราม เขตอภัยทาน ระหว่างการสลายม็อบคนเสื้อแดง แม้จะมี 6 ศพ ผู้เสียชีวิตซึ่งยังคงเป็นปริศนาว่าใครยิง

แต่สภาพทั่วไปภายในวัดก็ไม่มีร่องรอยความเสียหาย มีคนไม่มากที่จะรู้ว่าภายในวัดนี้ มีพระพุทธรูปโบราณระดับคู่บ้านคู่เมือง ประดิษฐานอยู่

ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ จากหนังสือมิติลี้ลับในพงศาวดาร (สำนักพิมพ์สยามบันทึก) โรม บุนนาค เขียนไว้เป็นตอนหนึ่งในเรื่องพระแก้ว กับพระบางเป็นคู่อริกันว่า

เมื่อปี พ.ศ.2407 เหล่าเสนาบดีพากันเข้าชื่อกราบทูลรัชกาลที่ 4 ว่า พระบางรวมทั้งพระเสริม พระใส และพระแสน เป็นพระที่ชาวลาวนับถือ และเป็นต้นเหตุสำคัญ ทำให้เกิดฝนแล้งหนัก ข้าวยากหมากแพง ทรงสดับแล้ว ทรงพระราชดำริเห็นด้วย ครั้งนถึง ณ ปีขาล อัฐศก เจ้าอุปราชเมืองหลวงพระบางมาเผ้าฯ จึงโปรดให้รับเอาพระบาง ไปไว้ ณ เมืองหลวงพระบางตามเดิม ส่วนพระเสริม และพระใส โปรดให้ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถวัดปทุมวนาราม ฯ

แต่เรื่องราวของพระเสริม และพระใส ไม่ได้มีแต่เพียงเท่านี้ครับ ตามประวัติศาสตร์บอกว่าพระพุทธรูปที่เกี่ยวพันกันถึง 3 องค์ คือพระเสริม พระสุก และพระใส เป็นพระพุทธรูปของอาณาจักรล้านช้าง หรือประเทศลาวในปัจจุบัน

ในสมัยกรุงธนบุรี ทัพไทยยกไปตีเวียงจันทร์ ชาวล้านช้างก็นำพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ 3 องค์ไปซ่อน แต่พอถึงสมัยรัชกาลที่ 1 สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิ์พลเสพ ทรงนำทัพไปตีเวียงจันทร์อีกครั้ง โปรดให้เชิญพระเสริม พระสุก พระใส ลงแพข้ามแม่น้ำโขง

ระหว่างทางพระสุกพลัดตกจมลงในแม่น้ำ คงเหลือแต่พระใส และพระเสริมที่เดินทางมาถึง เมืองหนองคาย พอในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้นำพระเสริม และพระใส อัญเชิญมาไว้ที่กรุงเทพ แต่ ขณะเดินทางเกวียนที่อัญเชิญพระใส หัก ณ วัดโพธิ์หลายครั้งชาวบ้านจึงอัญเชิญพระใสไว้ที่วัดโพธิ์ชัย และกลายมาเป็นพระพุทธรูปคู่บ้าน คู่เมืองหนองคายมาจนถึงปัจจุบัน

คำถามคือ แล้วพระใสองค์ที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ หรือ พระใส องค์ที่วัดโพธิ์ชัย หนองคาย องค์ใดเป็นพระใสองค์จริง

แต่แก่น เนื้อหาสาระของวัดปทุมวนาราม จริงๆ ในวันนี้ คงไม่ใช่เรื่องราวความศักดิ์ของพระพุทธรูปอีกต่อไปแล้วครับ เพราะแก่นของที่นี่จริงๆ คือกิจกรรมต่างๆ ที่ชักชวนคนเมืองที่คุ้นชินกับความวุ่นวายให้เข้ามาสัมผัมกับความสงบในจิตใจ


ผมเป็นอีกคนหนึ่งครับที่มักเข้ามาหาความสงบในวัดปทุมอยู่บ่อยๆ  เดินเข้ามาจากหน้าวัดถึงหลังวัด ก็จะเจอสวนป่าร่มรื่น ซึ่งทำให้เราแปลกใจมากว่าท่ามกลางป่าคอนกรีตขนาดใหญ่ ยังคงมีป่าธรรมชาติ ที่ยังคงไว้ทั้งความสดชื่น และความสงบไว้ได้ ทันทีที่เราก้าวเท้าเข้ามาในเขตสวนป่งแห่งนี้ อากาศที่นี่ดูเย็นลง พาทำให้ใจเราเย็นลงตามไปด้วยครับ  ปกติเรามักจะทำตัวไม่ถูกเมื่อจะเข้ามานั่งสมาธิในวัดตามปกติทั่วไป ความเขินอาย ความไม่แน่ใจก็เกิดขึ้นตามมา แต่ที่นี่เรื่องเหล่านี้จะไม่ไช่อุปสรรคอีกต่อไปครับ เพราะว่าบรรยากาศที่นี่ไม่ต่างอะไรจากบ้านของเรา และผู้คนต่างเป็นกันเอง

และในช่วงเย็นของทุกวันก็จะมีการทำวัตรเย็น และเดินเวียนเทียนรอบพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย

ถ้าวัดปทุมวนารามราชวรวิหาร แห่งนี้ สามารถยืนอยู่ท่ามกลางความวุ่นวายได้ ก็คงไม่ต่างอะไรจากตัวเราที่ถึงแม้ภายนอกจะวุ่นวายเพียงใด แต่ภายในจิตใจต้องร่มเย็นตลอดเวลา ...





















________________________________________