ถ้าที่ประชุมมรดกโลกแตะเรื่องปราสาทพระวิหาร!
ไทยจะต้องทำยังไง?
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ออกมากำหนดท่าทีของไทย ถ้าที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ยืนยันพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดินแดนและอธิปไตย เหนือดินแดนของไทย ไทยจะคัดค้านและไม่เข้าร่วมการประชุม
22 พ.ค. 54 เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงท่าทีของประเทศไทย ก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 ที่จะมีขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ระหว่างวันที่ 16 – 26 มิถุนายน 2556 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกว่า ได้ติดตามตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง พบว่าปัจจุบันยังไม่มีการบรรจุวาระเรื่องปราสาทพระวิหารเข้าสู่ที่ประชุมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ได้จัดเตรียมการจัดทำท่าทีของประเทศไทยในประเด็นปราสาทพระวิหาร หากมีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวในที่ประชุม ตามมติของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันอังคารที่ 26 พ.ค. นี้
สำหรับท่าทีของไทยต่อการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 37 คือ ถ้าคณะกรรมการมรดกโลกยืนยันที่จะพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับดินแดนและอธิปไตย เหนือดินแดนของไทย ไทยจะคัดค้านและไม่เข้าร่วมการประชุม นอกจากนี้หากมีผลกระทบกระเทือนต่ออธิไตยของไทย ไทยจะไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการตามมติดังกล่าว โดยจะยึดถืออธิปไตยของชาติเหนือสิ่งอื่นใด และจะดำเนินการตามขบวนการภายในประเทศต่อไป
ในกรณีที่มีการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปสำรวจพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ไทยควรให้เหตุผลว่าเป็นการการกระทำที่ขัดต่อคำสั่งมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งข้อ B4 ของคำสั่งศาลฯ ระบุว่าให้ทั้งสองฝ่ายงดเว้นการกระทำใดๆ ที่ทำให้ข้อพิพาทในศาลทวีความรุนแรงหรือแก้ไข ได้ยากขึ้น ดังนั้นทั้งสองประเทศจึงไม่ควรกระทำกิจกรรมใดๆ บริเวณปราสาทพระวิหารจนกว่าศาลฯ จะมีคำสั่งตัดสินในคดีตีความปราสาทพระวิหาร ปีพ.ศ.2505 รวมทั้งควรรอผลการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย – กัมพูชา (JBC) และควรเสนอให้ปราสาทพระวิหารออกจากกลไก การติดตามตรวจสอบ (Reinforced Monitoring Mechanism: RMM)
ในกรณีที่วาระเงินช่วยเหลือจากกองทุนมรดกโลก มีการให้การสนับสนุนกัมพูชา เพื่อกิจกรรมใดๆ ของกัมพูชา ที่เป็นการดำเนินการในพื้นที่ของไทยเช่นการสร้างที่จอดรถ การสร้างบ้านพัก การซ่อมแซมตลาดเชิงบันใดนาค และก ไทยควรคัดค้าน เพื่อไม่ให้มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น และกิจกรรมอื่นๆของกัมพูชา ขอให้ศูนย์มรดกโลก และ/หรือ คณะกรรมการมกดกโลก ตรวจสอบการใช้เงินกองทุนมรดกโลกของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู บูรณะแหล่งมรดกโลก
“กรณีปราสาทพระวิหารอาจปรากฎในวาระที่ 7B: State of Conservation of World Heritage Properties Inscribed on the World Heritage List (สถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมปราสาทพระวิหาร) โดยกัมพูชาอาจเสนอเป็นวาระเพิ่มเติมเข้ามา ดังนั้น ไทยควรเตรียมความพร้อมในการพิจารณาร่างข้อตัดสินใจ (Draft Decision) และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารต่างๆ ด้วย เช่นสรุปรายงานการอนุรักษ์ปราสาทโดยศูนย์มรดกโลก เพื่อโต้แย้งหรือชี้แจงทำความเข้าใจกับประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกหากมีการพิจารณาร่างข้อตัดสินใจนี้”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวย้อนถึงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในครั้งที่ผ่านมาว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ปี พ.ศ.2550 ที่ กัมพูชาได้เสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่คณะกรรมการมรดกโลกชะลอไว้ก่อน ต่อมาการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ปี พ.ศ.2551 กัมพูชาเสนอเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ขณะที่นายนพดล ปัทมะ ตัวแทนเข้าไทยร่วมประชุมในเวลานั้น เห็นว่าเป็นการใช้สิทธิตามคำตัดสินของศาลโลก คือตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ต่อมาการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 35 ปี พ.ศ.2554 กัมพูชาเสนอร่างข้อตัดสินใจ เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร ขณะที่สุวิทย์ คุณกิตติ ตัวแทนเข้าไทยร่วมประชุมในเวลานั้น ตัดสินใจนำประเทศไทยถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลก ทำให้คณะกรรมการมรดกโลก มีการปรับข้อกำหนดต่างๆ และการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 36 ปี พ.ศ.2555 ไม่มีการบรรจุวาระเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเข้าที่ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 37 ปีนี้ ประเทศกัมพูชาทำหน้าที่ประธานการประชุม และประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่รองประธานการประชุม ร่วมกับรัฐภาคีอื่นๆ อีก4 ประเทศ ได้แก่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย สาธารณรัฐโคลอมเบีย สาธารณรัฐเซเนกัล และสมาพันธรัฐสวิส โดยจะมีการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารของคณะกรรมการมรดกโลกทุกวัน ก่อนการประชุม เพื่อกำหนดและทบทวนวาระที่จะเข้าประชุมในแต่ละวัน
“จึงเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะเฝ้าระวังหากมีการบรรจุวาระปราสาทพระวิหารในการประชุมฯ ซึ่งไทยสามารถทักท้วง และยืนยันท่าทีของไทยได้ ขอย้ำว่าจากการติดตามวาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้ยังไม่ปรากฎวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ระบุ
สำหรับคณะผู้แทนจากประเทศไทยที่จะเดินทางไปร่วมประชุมฯ ครั้งนี้ นายพิทยา พุกกะมาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วยนายธัชชยุติ ภักดี เอกอัครราชทูตไทย ประจำกัมพูชา ผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมแผนที่ทหาร ร่วมคณะ
ทั้งนี้ ในการประชุมฯ ไทยจะรายงานสถานการณ์ของ ป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ ซึ่งมรดกโลกแหล่งที่ 5 ของไทย (ประเภทมรดกโลกทางธรรมชาติ) ที่ยังมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และมีความหลายหลากทางชีวภาพอยู่ และจะได้เสนอขึ้นทะเบียนวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ตำบลในเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเป็นมกดกโลก ประเภทมรดกโลกทางวัฒนธรรม อีกด้วย
/////////////////////////////////////////////////////// Tanpisit Lerdbamrungchai; TheNation
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น