ผม (ซ้ายสุด) ถ่ายภาพร่วมกับพี่ๆวิทยากรพิราบน้อย 16 ที่มาจากทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ |
มีสองค่ายที่คนเรียนด้านสื่อสารมวลชนรู้จักกันดีคือ “ค่ายพิราบน้อย” และ “ค่ายสายฟ้าน้อย”
ค่ายพิราบน้อยเป็นค่ายของนักข่าวหนังสือพิมพ์ ทำข่าวหนังสือพิมพ์-สื่อสิ่งพิมพ์จัดโดยสมาคมนักข่าวนักนักสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ส่วนค่ายสายฟ้าน้อย เป็นค่ายของนักข่าวโทรทัศน์ ทำสกู๊ป จัดโดยนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย [อ่านประกอบข่าวเปิดอบรมนักข่าวพิราบน้อยรุ่นที่ 16 http://www.thairath.co.th/content/edu/362263]
ผมมีโอกาสส่งเรียงความเรื่องนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ เพื่อคัดสรรเข้าค่ายพิราบน้อย ปรากฎว่าได้รับการคัดเลือก [อ่านประกอบนักข่าวสายพันธุ์ใหม่ : MultiJournalism http://www.oknation.net/blog/tanpisit/2013/07/28/entry-3 ]
ผมเลือกมาค่ายพิราบน้อยเพราะว่าเชื่อว่าหลักการทำข่าวของนักหนังสือพิมพ์ที่เข้มข้นมากกว่า ละเอียดมากกว่าข่าวโทรทัศน์ แต่ส่วนตัวชอบทำข่าวโทรทัศน์ และคิดว่าตัวเองก็ควรทำข่าวแบบหนังสือพิมพ์ให้เป็นด้วย
ที่มหาวิทยาลัยเนชั่นที่ผมเรียนอยู่ นิเทศศาสตร์มีให้เลือก 2 สาขาคือวิทยุโทรทัศน์ และสาขาโฆษณาประชาสัมพันธ์ ผมเรียนสาขาวิทยุโทรทัศน์ แต่เนื้อหาในการเรียนเน้นให้ทำได้ทุกสื่อเพื่อรับกับอนาคตของวงการสื่อสารมวลชนที่กำลังเปลี่ยนไปตามกระแส “NEWS CONVERJENCE” ที่มีอินเตอร์เน็ตและสมาทร์โฟนเป็นเหตุทำให้ช่องการรับสารของคนเราถูกหลอมรวม
ผมได้ข่าวมาว่าทางผู้จัดค่ายพิราบน้อยใช้เวลาถกเถียงกันยาวนานว่าควรจะยัดหลักการทำข่าวโทรทัศน์ไปในการฝึกอบรมข่าวหนังสือพิมพ์ครั้งนี้ด้วยหรือไม่
ปรากฎว่าพวกเขาตัดสินใจนำหลักการทำข่าวโทรทัศน์มาสอนในค่ายพิราบน้อยครั้งที่ 16 นี้ด้วย ถือเป็นครั้งแรกที่ค่ายปั้นนักสื่อสารมวลชนสิ่งพิมพ์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในประเทศ มีสอนเรื่องการถ่ายภาพวิดีโอ และการรายงานข่าวผ่านทวิตเตอร์
ค่ายพิราบน้อยครั้งที่ 16 จึงถือเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์วงการสื่อสารมวลชนไทย ที่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยี
เป็นภาพสะท้อนที่ชัดเจนว่าวงการสื่อสิ่งพิมพ์ในไทย กำลังปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ภาพของนักข่าวที่ต่อจากนี้ต้องรายงานได้ทุกสื่อ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ...
ประเด็นจำเป็นต้องหวือหวา?
ไม่ว่าการสื่อสารเทคนิควิธีการทำข่าวจะเปลี่ยนไปมากแค่ไหน แต่ประเด็นก็ยังคงสำคัญมากที่สุด ไฮไลท์ของค่ายพิราบน้อยคือแต่ละกลุ่มต้องออกไปหาข่าวในพื้นที่ใกล้ๆที่พัก หรือไกลกว่านั้นเท่าที่จะไปกันได้
ลุงไสวเป็นเกษตรกรที่ชาวนครนายกให้การยอมรับนับถือในด้านการทำเกษตรกรรมแบบผสมสาน มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่ลุงรู้ แต่คนอื่นไม่รู้ ทำให้ที่บ้านของลุงไสวคึกคักตลอดทั้งวันมีผู้คนเข้า-ออก จิบน้ำชา พูดคุยซักถาม มีนักเรียนที่โรงเรียนจัดมาทัศนศึกษาซึ่งลุกไสวก็ทำหน้าที่ครูชาวบ้านได้อย่างดี [อ่านประกอบลุงไสว ต้นไม่คือหัวใจ บันใดสู่ความสุข http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main3_31.html]
มีสองกลุ่มที่ไปทำเรื่องลุงไสวเหมือนกัน และประเด็นต่างกันกลุ่มหนึ่งไปทำเรื่องลุงไสวสามารถรวมผลไม้ 15 ชนิดไว้ในต้นเดียวกันได้ อีกกลุ่มไปทำเรื่องลุงไสวเตือนเพื่อนชาวนาด้วยกันว่าทำนาตลอดปีมีโทษ หลังเห็นชาวบ้านแถบนั้นทำนาปีละ 3 หน
ในการนำเสนอชิ้นงานหนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติวิทยากรซึ่งเป็นนักข่าวมืออาชีพก็อดที่จะเปรียบเที่ยบประเด็นของทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ได้ และทำการตัดสินด้วยวาจาไปอย่างรวดเร็วทำนองว่า เรื่องที่ลุงไสวสามารถรวมผลไม้ 15 ชนิดไว้ในต้นเดียวกันได้ น่าสนใจ
หลังจากวิทยากรได้วิพากษ์วิจารณ์งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พวกเขาจึงเปิดโอกาสให้เพื่อนได้แลกเปลี่ยนพูดคุย มีเพื่อนคนหนึ่งลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องลุงไสวไว้อย่างน่าสนใจ และวงการสื่อสารมวลชนคงต้องกลับมาทบทวนและคิดให้มากขึ้น
เขายอมรับว่าเรื่องที่ลุงไสวสามารถรวมผลไม้ 15 ชนิดไว้ในต้นเดียวกันได้น่าสนใจกว่า เรื่องที่ลุงไสวออกมาเตือนเพื่อนชาวนาด้วยกันว่าทำนาตลอดปีมีโทษ หลังจากที่เห็นชาวบ้านแถบนั้นทำนาปีละ 3 หน แต่เขามองในมุมที่สื่อต้องออกมาอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นว่าทำนาตลอดปีเป็นโทษอย่างไร แล้วในข่าวเขาก็ไปถามชาวนาที่ปลูกข้าว 3 ครั้งต่อปีด้วยว่าเพราะมีเหตุผลอย่างไร แล้วก็ให้ลุงไสวบอกวิธีด้วยว่าถ้าไม่ปลูกข้าว 3 ครั้งต่อปี ช่วงที่เว้นว่างอยู่น่าจะปลูกอะไร ให้มีรายได้งอกงาม เขาคิดว่าว่าถ้าชาวบ้านแถบนั้นได้มีโอกาสอ่านข่าวชิ้นนี้ น่าจะทำให้อะไรอะไรมันขึ้น
“ผมไม่ปฏิเสธการแข่งขันกันอย่างรุ่นแรงในวงการสื่อที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ แต่การนำเสนอข่าวบางทีก็ต้องคิดว่าเสนอไปแล้วจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ มันจะดีมากถ้าข่าวทำให้คนอ่านเกิดแรงบันดาลใจ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้เพียงนำเสนอปรากฎการณ์แบบสนุกปากแล้วก็จบ”
บางอย่างชี้ถูกชี้ผิด ดีกว่า แย่กว่าไม่ได้ บางทีคนเรามันก็มีเหตุผลที่เลือกทำในสิ่งนั้น
//////////////////////////////////////
ภาพค่ายพิราบน้อย 16
อ.จักร์กฤษเพิ่ม พูลกำลังอธิบายเรื่องจริยธรรมสื่อโดยยกกรณีเจนี่เป็นตัวอย่าง |
บรรยากาศตอนกองบรรณาธิการ |
รับเกียรติบัตร |
จำลองสถานการณ์แถลงข่าวกลับไทยของสมีคำ |
ภาพข่าวที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น