วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นักวิชาชีพ-นักวิชาการชี้ตรงกัน สื่อกระแสหลักต้องทำข่าว มี“ความน่าเชื่อถือ” ได้ทุกแพลตฟอร์ม

นักวิชาชีพ-นักวิชาการชี้ตรงกัน 
สื่อกระแสหลักต้องทำข่าว มี“ความน่าเชื่อถือ” ได้ทุกแพลตฟอร์ม



มหาวิทยาลัยเนชั่น ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนา “ความท้าท้ายและอนาคตของสื่อ” ชี้ยุคโซเชี่ยลมีเดีย สื่อกระแสหลักต้องเป็นเสียงที่ดังกว่า และมีความน่าเชื่อถือ แนะเตรียมตัวรับอาเซียน ภาษาอังกฤษสำคัญ เผยความท้าทายคนข่าวยุคใหม่ต้องทำข่าวได้ในทุกแพลตฟรอม

ผศ.ดร.ณรงค์ ขำวิจิตร หัวหน้าภาควิชาวารสารศาสตร์สารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าปัจจุบันเราเช็คข่าวผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ ทำให้บทบาทของหนังสือพิมพ์ถูกท้าทาย มีจำนวนผู้อ่านลดลง อย่างไรก็ตามหนังสือพิมพ์ก็ยังคงมีบทบาทอยู่ เปลี่ยนจากเดิมอ่านแล้วทิ้ง ตอนนี้สื่อสิ่งพิมพ์ต้องพัฒนาให้มีลักษณะสวยงามน่าซื้อเก็บ

ทั้งนี้ ทุกสื่อต้องเรียนรู้การใช้ประโยชน์จากโซเชี่ยลมีเดีย ตัวอย่างเช่นโซเชี่ยลทีวีที่ทำให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้สื่อหลักยังต้องเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วด้วย

“ไม่ว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วขนาดไหนจิตวิญญาณของนักหนังสือพิมพ์ต้องยังคงต้องมีอยู่ คือเรื่องจริยธรรม และจรรยาบรรณในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือของสื่อสิ่งพิมพ์ให้มีอยู่ต่อไป”  ผศ.ดร.ณรงค์ กล่าว

นายเทพชัย หย่อง บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น เปรียบเทียบโซเชี่ยลมีเดียว่าเป็นเหมือนเวทีการสนทนาที่มีแต่เสียงอื้ออึง ถ้าสื่อกระแสหลักไม่ปรับตัวให้ดี ก็จะเป็นเพียงหนึ่งเสียงในหลายร้อยหลายพันเสียงของโลกแห่งความอื้ออึงนั้น

“ความท้าทายของสื่อกระแสหลักคือทำอย่างไรให้เราออกมาจากเสียงอื้ออึงนั้น แล้วกลายเป็นเสียงที่มีเหตุผล เป็นเสียงที่มีที่มาที่ไปชัดเจน คนฟังแล้วเกิดความน่าเชื่อถือ” นายเทพชัย ระบุ

บรรณาธิการอำนวยการเครือเนชั่น กล่าวอีกว่า นักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ต้องมีความรู้ในภูมิภาคอาเซียนด้วย และภาษาอังกฤษเป็นสิ่งจำเป็นมาก นอกจากนี้สถานการณ์ทางการเมืองที่คุกคามสื่ออยู่ในเวลานี้ ก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย และซับซ้อน สำหรับนักข่าวรุ่นใหม่ด้วยเช่นกัน

ด้านนายเทพพิทักษ์ มณีพงษ์ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์ ปี 3 ไม่ปฏิเสธว่าโซเชี่ยลมีเดียเป็นสื่อที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่เพียงแต่เราจะเป็นผู้รับสารเท่านั้นยังทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสารด้วย ทำให้ทุกคนสามารถทำหน้าที่เป็นนักข่าวได้ เมื่อข่าวจากคนธรรมดาถูกแชร์ ถูกรีทวิตส่งต่อกันมากๆ ก็มีกระแสเท่ากับสื่อกระแสหลัก

อย่างไรก็ตามสื่อกระแสหลักมีการการกลั่นกรอง มีระบบบรรณาธิการ จริงอยู่ที่การที่ทุกคนเป็นนักข่าวได้เป็นเรื่องดี แต่ตนมีความเป็นห่วงเรื่องความถูกต้องของข้อมูล และข่าวลวง

“เราในฐานะสื่อกระแสหลัก ควรทำหน้าที่กลั่นกรองข่าวสาร เป็นหลักให้กับสังคม และตรวจสอบข่าวลวงเพื่อลดความตื่นตระหนกของสังคมโดยไม่จำเป็น” นายเทพพิทักษ์ กล่าว

นายธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น คณะนิเทศศาสตร์ ปี 3 ยกตัวอย่างการปรับตัวของสื่อสิ่งพิมพ์ในประเทศไทย เช่นการจัดค่ายพิราบน้อย ครั้งที่ 16 ที่จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย มีการปรับหลักสูตร ในการอบรมหลักทำข่าวดิจิตอลเป็นครั้งแรก

“ผมเจอเพื่อนจากจุฬาฯ ได้แลกเปลี่ยนกัน เขามีลักษณะของความเป็นนักหนังสือพิมพ์สูงมาก โจไม่ค่อยชอบการทำข่าวแบบโทรทัศน์มากนัก ไม่ถนัดทั้งการถ่ายภาพ และการตัดต่อวีดีโอ แต่หลังจากที่ได้มาเจอการสอนทำข่าวโทรทัศน์ในค่ายพิราบน้อยซึ่งเป็นค่ายของนักหนังสือพิมพ์ เขาเข้าใจว่าตอนนี้วงการสื่อสิ่งพิมพ์ของไทยยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคหลอมรวมสื่อ นักข่าวหนึ่งคนต้องมีความสามารถผลิตชิ้นงานออกได้ในหลายช่องทาง” นายธัญพิสิษฐ์ กล่าว

นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวอีกว่า ท่ามกลางข้อมูลข่าวสารที่หลั่งไหลโดยไม่ต้องง้อสื่อกระแสหลัก สื่อมวลชนจึงต้องทำหน้าที่มากกว่าการรายงานข่าวสาร และจะเห็นได้ว่ากลไกส่วนราชการของรัฐไม่ทำงาน ทำให้ชาวบ้านต้องเดินทางมาร้องเรียนกับสื่อมวลชนจึงมีคนสั่งการให้แก้ไขปัญหา ดังนั้นสื่อจึงไม่เพียงแต่รายปรากฎการณ์อีกต่อไป แต่ต้องนำเสนอข่าวให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อนาคตภาพการทำหน้าที่ของสื่อเช่นนี้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

///////////////////////////////////////

นศ.เนชั่น ผุดโครงการสอนภาษาอังกฤษชาวบ้าน รับ AEC

นศ.เนชั่น ผุดโครงการสอนภาษาอังกฤษชาวบ้าน รับ AEC
Esso มอบรางวัลชมเชยพร้อมทุนการศึกษา 30,000 บาท


นักศึกษาคณะสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตลำปาง จัดโครงการจิตอาสาสอนภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน หวังชาวบ้านป่าเหมี้ยง มีความรู้และทักษะพื้นฐานด้านภาษาอังกฤษดีขึ้น ใช้สื่อสารกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้าน CSR Esso มอบรางวัลชมเชยพร้อมทุนการศึกษา 30,000 บาท

นายราเชน สักวงค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตลำปางและหัวหน้าทีม B.E กล่าวว่าโครงการจิตอาสาสอนภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนจัดขึ้นในชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง หมู่ที่ 7 ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ซึ่งอยู่ใกล้กับอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดลำปาง

“การสอนภาษาอังกฤษในโครงการนี้มุ่งเน้นให้นักเรียนโรงเรียนบ้านป่าเหมี้ยง มีความรู้และทักษะด้านภาษาอังกฤษดีขึ้น สามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารเบื้องต้นได้ และชาวบ้านในชุมชนสามารถนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจในหมู่บ้านให้แก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้าไปในหมู่บ้านได้” นายราเชนกล่าว

หัวหน้าทีม B.E  กล่าวต่อว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางที่ผู้คนทั่วโลกใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นในโลกธุรกิจหรือโลกการศึกษา ภาษาอังกฤษถูกระบุไว้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษาของทุกประเทศ ในประเทศไทยเองก็จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษา และการใช้ภาษาอังกฤษในทุกวันนี้นับวันจะเข้มข้นขึ้น เพราะประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN) ในปี ค.ศ.2015 หรือ พ.ศ. 2558 ซึ่งต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง

นายราเชน กล่าวอีกว่าตนทำโครงการลักษณะจิตอาสาแบบนี้เป็นครั้งแรก ทำด้วยใจ และลงพื้นจริงๆ ได้พูดคุยกับทั้งครูและชาวบ้านพบว่าพวกเขามีความสนใจและตื่นตัวกับภาษาอังกฤษไม่น้อย และถึงแม้ว่าโครงการจิตอาสาสอนภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ที่ตนและทีมงานได้ส่งเข้าประกวดในโครงการกิจกรรมสู่สังคม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ CSR Ideas and Talents Contest 2013 จัดโดย บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จะได้รับรางวัลชมเชย อย่างก็ตามมีกรรมการบางท่านมาติดต่อเป็นการส่วนตัวสนใจที่จะให้งบประมาณสนับสนุน เพราะเห็นว่าเป็นโครงการ CSR ที่ใช้งบประมาณไม่สูงมาก และสามารถทำได้จริง

ด้านดร.สุจิรา หาผล คณบดีคณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์กล่าวว่า โครงการลักษณะจิตอาสาเช่นนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว นักศึกษาเองจะได้รับการปลูกฝังด้านจิตอาสาเพื่อสาธารณะ ทำให้มีจิตสานึกที่ดี ไม่เห็นแก่ตัว เสียสละ อดทน

“ผู้ที่มีจิตอาสาคือ ผู้ที่มีจิตใจที่เป็นผู้ให้ เช่น ให้สิ่งของ ให้เงิน ให้ความช่วยเหลือด้วยกาลังแรงกาย แรงสมอง ซึ่งเป็นการเสียสละสิ่งที่ตนเองมี แม้กระทั่งเวลาเพื่อเผื่อแผ่ให้กับส่วนรวม” ดร.สุจิรา กล่าว



โครงการจิตอาสาสอนภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน มีทีม B.E เป็นผู้ดำเนินโครงการประกอบด้วยแกนนำนักศึกษา 3 คนได้แก่ นายราเชน สักวงค์, นส.สลิลทิพย์ แซ่กว้านและนส.ชรัญญา กาลเอื้อ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น วิทยาเขตลำปาง โครงการดังกล่าวยังได้รับรางวัลชมเชยในการประกวดแข่งขันโครงการกิจกรรมเพื่อสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2556 หรือ CSR Ideas & Talents Contest 2013 ซึ่งจัดโดยจัดโดย บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พร้อมทุนการศึกษา 30,000 บาทอีกด้วย




////////////////////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI

ปลดล็อคฟรีทีวี : คนดูเสรีเพราะมีทีวีดิจิทัล


ปลดล็อคฟรีทีวี : คนดูเสรีเพราะมีทีวีดิจิทัล


+ ทีวีดิจิทัลคืออะไร อยากให้อธิบายอย่าง  
   ง่ายๆ ชาวบ้านฟังแล้วเข้าใจ ?
อดิศักดิ์: เปรียบเทียบนะ ปัจจุบันประเทศไทยที่ผ่านมามีตลาดเก่ามีอยู่ 6 แผง ก็คือ 6 ช่อง มีมา 50 ปีแล้ว ไอ้แผงที่ 6 คือ Thai PBS เกิดขึ้นหลังสุด แต่ก็ขายของไม่ได้ ได้แต่โชว์ แผงที่ขายของดี คือ ช่อง 3 ช่อง 7 ครองส่วนแบ่งตลาด 70-80 เปอร์เซ็นต์ คนดูเยอะ มีละครดราม่า คนดูเยอะ
     ต่อมาเมื่อ 5 ปีที่แล้วเกิดการบูมของจานดาวเทียมกับเคเบิลท้องถิ่น เปรียบเสมือนหาบเล่แผงลอย เกะกะมีอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง เนื้อหาที่ดีก็มี ที่ไม่ดีก็มี แต่เนื้อหาที่ดีมันถูกจำกัด เพราะตลาดมีแผงขายอยู่แค่ 6 แผง ขณะที่คนผลิตเยอะมันก็ต้องออกไปที่อื่น 
     ในช่วงระหว่างนั้นมีการออกกฎหมาย เรียกว่า พรบ.วิทยุโทรทัศน์ ระบุว่าให้จัดตั้งเป็นองค์กรขึ้นมา เพื่อจัดระเบียบ จึงทำให้เกิดตลาดใหม่ เป็นระบบดิจิทัล ก็เหมือนกับปรับปรุงตลาดเก่าให้เป็นระเบียบอย่างดี  ติดแอร์ให้คนมาประมูล 24 แผงขาย ก็คือ 24 ช่องเป็นช่องธุรกิจ และอีก 12 ช่องที่เป็นสาธารณะของหน่วยงานราชการ และยังมีอีก 12 ช่องที่อยู่ในชุมชนคือขายสินค้าโอท็อปเรียกว่าทีวีชุมชน ออกอากาศในรัศมี 50 กิโลเมตร แต่ 24 ช่องธุรกิจกับ 12 ช่องสาธารณะ สามารถดูได้ทั่วประเทศ แต่ช่องสาธารณะไม่ต้องประมูล เขาก็จัดสรรที่ให้เลย ส่วนชุมชนเขาก็ให้เฉพาะชุมชน ฉะนั้นตอนนี้น่าจับตาที่การประมูล 24 ช่องธุรกิจนี้

+ จะเกิดประโยชน์กับผู้บริโภค อย่างไร ?
อดิศักดิ์ : เกิดแน่นอน เพราะผู้บริโภคจากเดิมเขามีทางเลือกน้อยไป  ได้ซื้อของแค่ 6 แผง สินค้าก็จำเจ เปรียบเหมือนผังรายการของ 6 ช่องที่เหมือนเดิมตลอด ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ละครก็น้ำเน่าเหมือนเดิม

+ มีความจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้อง   
    เปลี่ยนเป็นทีวีดิจิทัล ?
อดิศักดิ์ : มีความจำเป็นมาก เพราะจากเดิม 1 คลื่นความถี่มีได้ 1 ช่องแต่ถ้าเป็น 1 คลื่นความถี่ของดิจิทัลมีได้ 4 ช่อง 6 ช่อง ซึ่งคุ้มค่ากว่า และมีความคมชัดมากกว่า ระบบทีวีดิจิทัลเป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะระบบทีวีอนาล็อกเขาผลิตแล้ว อุปกรณ์ในปัจจุบันนี้มันก็ไม่ได้เป็นแบบอนาล็อก

+ คิดว่าผู้บริโภคจะเปลี่ยนมาดูใน
   ระบบดิจิทัลหรือไม่เพราะส่วนใหญ่ติด 
   จานดาวเทียมกันอยู่แล้ว ?
อดิศักดิ์ : จานดาวเทียมมีข้อจำกัดเข้าถึงได้ประมาณ 50 -60 เปอร์เซ็นต์กับเคเบิล และไม่สามารถที่จะยกออกมาจากนอกบ้านได้ แต่ดิจิทัลทีวีเป็นเหมือนคลื่นความถี่ภาคพื้นดิน เอาทีวีมาก็เปิดได้เลย ทีวีที่รองรับระบบดิจิทัลจะมีจูนเนอร์ ที่สามารถเปิดและดูได้ อย่างนี้มันก็ดูง่ายขึ้น ดูในรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงก็ดูได้ ถ้าเป็นระบบดิจิทัลทีวีดูได้หมด ถ้าเป็นทีวีดาวเทียมมันดูไม่ได้

+ แล้วตลาดดาวเทียมจะมีอยู่ต่อไปหรือไม่ ?
อดิศักดิ์ : พูดง่ายๆพอดิจิทัลทีวีมา กสทช.ก็จะเข้ามาจัดระบบดาวเทียมเหมือนหาบเล่ แผลงลอยจะถูกขีดเส้นว่าเอาขายเฉพาะตรงนี้นะ ห้ามออกมานอกเส้นนะมีข้อจำกัด 
     ก็ดีถ้าเขาไปเล่นงานช่องที่ขายยา ขายอะไร หรือนำเสนอภาพที่รุนแรง หรือยั่ว
กามรมณ์ 
     การจัดระเบียบขีดเส้นเช่นนี้เป็นเรื่องดี แต่เป็นห่วงเพราะช่องขายของมันเยอะ และไม่มีกำลังคนที่ตรวสอบกำกับดูแลเพียงพอ สำหรับบ้านที่ติดจานดาวเทียมอยู่ เขาก็ยังดูต่อไปไม่เป็นไรเมื่อทีวีดิจจิทัลเกิดขึ้น ก็ยังคงดูผ่านดาวเทียมได้ 

+ ผู้บริโภคจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรบ้าง
    เพื่อรับระบบทีวีดิจิทัล ?
อดิศักดิ์ : ถ้าบ้านไหนมีเสาก้างปลา มีโทรทัศน์แบบเดิมอยู่ก็เพียงแต่ซื้อท็อปบล็อกราคาประมาณ 1,000 บาท ซึ่งกสทช.จะแจกคูปองส่วนลดหลังประมูลเสร็จ แต่จริงๆ แล้วมันไม่จำเป็นเท่าไหร่หรอก เพราะว่าถ้าจะเปลี่ยนโทรทัศน์เครื่องใหม่ มันก็มีโทรทัศน์ที่เป็นจูนเนอร์ที่ถูกบิวท์อิน (ใส่เครื่องรับสัญญาณในตัวเครื่อง) เข้าไปแล้ว นั่นหมายความว่าเราซื้อมาเราสามารถดูในระบบดิจจิทัลได้เลย 

+ ผู้ประกอบการได้ประโยชน์อะไรบ้างกับ
   ทีวีดิจิทัล ?
อดิศักดิ์ : ผู้ผลิตรายการจากเดิมต้องไปอ้อนวอนพวกช่อง 3 7 9 จ่ายเงินใต้โต๊ะ ต่อไปนี้ช่องต้องมาง้อผู้ผลิตรายการดีๆให้ไปทำรายการ เพราะช่องมีเยอะขึ้น และยังมีหน่วยราชการที่อาจจะมาจ้างอีก ในขณะที่เอเจนซี่โฆษณาจากเดิมต้องไปง้อช่อง 3 5 7 9 เพื่อลงสื่อโฆษณาของตน ราคาโฆษณาก็แพง 
     การที่ราคาโฆษณาแพงทำให้ผู้บริโภคไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วเวลาไปซื้อของมักถูกบวกค่าโฆษณาไปด้วย แต่ถ้าค่าโฆษณามันต่ำลง
ราคาของก็อาจจะลดลง เป็นผลตามกลไกการตลาด เมื่อราคาโฆษณาต่ำลง ก็ทำให้ต้นทุนโดยรวมต่ำลงด้วย 
     ทุกวันนี้ช่อง 3 กับช่อง 7 บงการได้ทุกอย่างเลย ไม่ถูกใจค่ายละครนี้ก็ไม่ให้ทำ ละครฉายไปครึ่งเรื่องปิดไปเฉย-เซ็นเซอร์ปิดไม่ให้ดู ผมเชื่อว่าการมี 24 ช่องธุรกิจทำการแข่งขันกัน จะทำให้แต่ละช่องใช้วิจารณญาณของตัวเอง ยกตัวอย่างซีรีย์ ฮอร์โมน ผมฟังผู้บริหารของช่อง 3 7 และผู้บริหารของ  RS และ GMM คุยกันว่าซีรีย์อย่างนี้มันออกฟรีทีวีได้ไหม ในทัศนคติของช่อง 3 และช่อง 7 เขาบอกว่าออกไม่ได้หรอกแรงไป แต่ถามฝั่ง RS และ GMM เรื่องนี้มันเด็กๆมากเลย ถ้าเราได้ทำเราจะทำมากกว่านี้ เพราะมันเป็นเรื่องจริง
ช่อง 3 ช่อง 7 เป็นระบบสัมปทานการตัดสินว่าคุณทำผิดหรือไม่ บางทีมันใช้ความรู้สึกส่วนบุคคลของรัฐมนตรี ของผบ.ทบ. ผอ.ช่อง 5,ผอ. ช่อง 9 ที่กลัวผิดสัมปทาน กลัวถูกถอนออกจากช่องเพราะระบบสัมปทานที่ถูกผูกขาด 
     การมีกลไกทางกฎหมายรองรับว่า กสทช.จะออกคำสั่ง ยุติรายการนั่นนี่ทำได้โดยมีกระบวนการ ไม่ได้ใช้การตัดสินส่วนบุคคล  พอเป็นอย่างนี้คนที่ได้เป็นคนรับอนุญาต เขาก็จะไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มั่นคง แต่จะรู้สึกโอเคว่ามีกฎหมาย 
   ประเทศที่เจริญแล้วมันต้องมีกฎหมาย ถ้าเดินตามกฎหมายทุกคนก็โอเค และสามารถโต้แย้งได้เพราะมีศาลปกครอง เราก็ไม่ใช่ว่าจะต้องไปเชื่อคุณร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าช่อง 3 ช่อง 7 ไม่มีใครกล้าหือ ผอ.ช่อง 9 บอกผิดเป็นถูกก็ต้องนั่นแหละถูกต้องแล้ว 
     การเปลี่ยนผ่านจากอนาล็อก สู่ดิจิทัลจะเป็นผลดีในระยะยาว ถึงแม้ระบบสัมปทานของช่อง 3 และช่อง7 ยังไม่หมด แต่เมื่อมันมีช่องใหม่เข้ามาแข่งขัน เขาจะอยู่นิ่งไม่ได้แล้ว จะทำละครแบบเดิมไม่ได้แล้ว เพราะมันมีทางเลือกมากขึ้น อาจจะได้ในระยะต้นๆ เพราะโครงข่ายมันยังไปไม่ถึงเท่าไหร่ แต่ในระยะยาวเมื่อประชาชนมีทางเลือก ทีนี้กลไกทางการตลาดมันจะทำงาน

+ รู้สึกเป็นห่วงอะไรหรือไม่กับการเปลี่ยน
   ผ่านจากระบบทีวีอนาล็อกมาเป็น
   ทีวีดิิจิทัลในครั้งนี้ ?
อดิศักดิ์ : ผมกังวลที่ทำงานของ กสทช. ตอนนี้ออกกฎระเบียบเยอะเหลือเกิน ที่ออก
กฎระเบียบเยอะก็เพื่อให้ตัวเองดูมีอำนาจ บางเรื่องมันไม่ใช่หน้าที่ของ กสทช. อย่างศูนย์กลางเซ็นเซอร์ จริงๆรัฐธรรมนูญเขาออกระบบไม่ให้มีการเซ็นเซอร์แล้ว คุณก็พยายามที่จะใช่อำนาจ เดี๋ยวเรียกคนทำฮอร์โมนไป เดี๋ยวเรียกคนทำนั่นนี่ไป มันเป็นการใช้อำนาจที่เยอะเกินไป นี่ก็คือความเสี่ยง 
     ในต่างประเทศองค์กรแบบ กสทช. ไม่มีแล้วนะ เขากำกับดูแลกันเอง องค์กรแบบ กสทช.มีหน้าที่แค่ออกใบอนุญาต เขาออกใบอนุญาติให้เพราะคลื่นมันเป็นสมบัติสาธารณะใช่ไหม? คุณออกใบอนุญาติคุณให้ผลประโยชน์แก่รัฐเท่าไหร่ นี่คือหลักสำคัญ

น้ำท่วม: บทพิสูจน์ของคนบางคล้า

น้ำท่วม: บทพิสูจน์ของคนบางคล้า

เรื่องน้ำท่วมคงลงช้าไปแล้วในเวลานี้ เพราะคงไม่มีข่าวไหนกระแสดีเท่าข่าวต้านนิรโทษกรรมสุดซอย ซึ่งผมก็จะลองไปสัมผัสบรรยากาศดูด้วยเหมือน คงได้มีโอกาสเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป
คิดแล้ว..ประเทศไทยก็มีวิกฤตกันอยู่ไม่กี่เรื่อง ไม่วิกฤตการเมือง ก็วิกฤตน้ำท่วม 
หลายคนคงตั้งคำถามว่าทำไมปีนี้ภาคตะวันออกน้ำท่วมหนัก ท่วมนาน ผมเลือกไปดูที่อำเภอบางคล้าเพราะว่าดูจากแผนที่แล้ว น้ำสายสายมาบรรจบที่นี่ เขาว่ามีน้ำทะเลขึ้นลง ทำให้น้ำลดยาก วิถีชีวิตคนที่นี่ก็คงเปลี่ยนไปไม่น้อย 
ดูแล้วก็เหมือนจะหนักกว่ากรุงเทพน้ำท่วมเมื่อปี 2554 เสียอีก สำหรับน้ำท่วมที่ภาคตะวันออกในปีนี้ แต่ข่าวทีวีก็เสนอข่าวไม่คึกคักเท่า หรืออาจเป็นเพราะว่าชาวบ้านเขาอยู่กันได้ ...

19 ตุลาคม 2556
-1-
เราเดินทางมาถึงตลาดบางคล้าในช่วงเช้าของวันออกพรรษาครับ หน้าวัดแจ้งที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ถูกน้ำล้อมเอาไว้หมดแล้ว เว้นไว้แต่ศาลาการเปรียญที่น้ำยังท่วมไม่ถึง มีผู้คนมาทำบุญในวันออกพรรษากันอย่างบางตา
ชาวบ้านบอกว่าบางคล้าถูกน้ำท่วมมาตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม นับจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ท่วมมาราว 2 สัปดาห์แล้ว
มันก็ไม่คงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่คนจะมาทำบุญกันน้อยในสถานการณ์น้ำท่วมอย่างนี้ เพราะชาวบ้านที่นี่คงสาละวนอยู่กับการจัดการกับชีวิตของตนเอง ในภาวะที่ต้องแช่อยู่กับน้ำเป็นเวลานาน อย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก
แต่สำหรับครอบครัววิไลเพชรสมบูรณ์ วันนี้ผู้เป็นย่าพาหลานชายมาทำบุญ ถึงแม้ว่าที่บ้านของตนเองก็ถูกน้ำท่วมเหมือนกับบ้านอื่นๆด้วยเหมือนกัน
ตั้งแต่น้ำท่วมก็ไม่ได้ทำบุญเลย วันนี้วันออกพรรษาก็เลยออกมาทำบุญ
ตั้งแต่อยู่มาก็เนี่ย เพิ่งจะเห็นครั้งนี้ท่วมหนักที่สุดสมส่วน วิไลเพชรสมบูรณ์ ผู้เป็นย่ากล่าว
พระมหาเคลิ้ม สุนฺทโร เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ในวันที่วัดถูกน้ำท่วม หลวงพ่อยังคงทำหน้าที่ของพระสงฆ์ในวันออกพรรษาดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา 
น้ำท่วมไม่นานเดี๋ยวลด ก็เหมือนกับหลายๆสิ่งที่มีขึ้นตั้งอยู่ดับไป แต่ว่าน้ำท่วมครั้งนี้ก็อาจจะทิ้งความสียหายเล็กๆน้อย ก็ตั้งใจต่อสู้ต่อไปหลวงบอกกับชาวบ้านที่กำลังมีความทุกข์จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้
การทำบุญในวันออกพรรษาที่เงียบเหงาที่สุดในรอบหลายปีสิ้นสุดลงแล้ว ชาวบ้านที่ลุยน้ำมาทำบุญในวันนี้ก็กำลังกลับบ้านไปเพื่อเผชิญกับภาวะน้ำท่วมที่ต่างคนก็ต้องทำใจกันต่อ ส่วนเราจะไปสำรวจผลกระทบด้านอื่นของชุมชนแห่งนี้ด้วย


-2-
โรงเรียน เป็นสถานที่ที่เราเลือกเข้าไปดูโชคดีที่ในเวลานี้อยู่ช่วงปิดเทอมของน้องๆ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนมากนัก แต่ว่าน้ำที่ท่วมอย่างหนักและมีระดับสูงขนาดนี้ ย่อมทำให้ข้าวของเสียหาย ทำให้เราไม่มั่นใจว่าเมือถึงช่วงเปิดเรียนทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติ
ที่โรงเรียนวัดปากน้ำโจ้โล้ เราได้พบกับคุณครูกลุ่มนี้ ปกติแล้วช่วงปิดเทอมจะเวลาที่คุณครูจะต้องเตรียมแผนการสอนในเทอมต่อไป แต่วันนี้คุณครูต้องทำหน้าที่ยกของหนีน้ำ
ในห้องวิชาการที่ถูกน้ำท่วมสูง ผลงานของเด็กๆเสียหายจะความชื้นของน้ำ บางชิ้นจมน้ำไม่มีวันจะกลับคืนสภาพดั่งเดิม คุณครูยังคงอาลัยอาวอนกับผลงานของลูกศิษย์ที่ตั้งใจทำอย่างสุดฝีมือ
แต่ยังคงมีผลงานของนักเรียนบางส่วนที่ยังไม่เสีย คุณครูจึงรีบย้ายไปในที่สูงมากกว่าเดิม 

-3-
ภาระกิจเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อติดตามความเป็นอยู่ เป็นสิ่งที่คุณครูโรงเรียนวัดปากบ้านโจ้โล้ทำกันอยู่เป็นประจำในสถานการณ์ปกติ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมคุณครูจึงรู้พิกัดบ้านของลูกศิษย์เป็นอย่างดี ทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ในเชิงลึก อีกทั้งโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ ก็มีความสะดวกที่จะสามารถประสานเพื่อขอถุงยังชีพได้
คุณครูกลุ่มนี้คิดว่าสิ่งที่พวกเขาควรทำ และสามารถทำเพื่อลูกศิษย์ได้ในเวลานี้ ก็คือการนำสิ่งของไปให้ลูกศิษย์ที่ถูกน้ำท่วม
จริงๆแล้ว ความเป็นครู ก็คือครู เป็นคำที่มีความหมายมากกว่าผู้สอนในชั้นเรียน ในภาวะวิกฤตอย่างนี้คุณครูกำลังทำหน้าที่อย่างเมตตาต่อลูกศิษย์
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดปากน้ำโจ้โล้ที่มาเยี่ยมบ้านลูกศิษย์ในวันนี้บอกว่าหลังน้ำลดจะทอดผ้าป่าหนังสือ เพราะมีหนังสือเสียหลายเล่มหายจากน้ำท่วมรอบนี้เป็นจำนวนมาก และเขาได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือนการเปิดเรียนจากเดิมวันที่ 28 ตุลาคม เป็นวันที่ 18 พฤศจิกายน

-4-
ที่บ้านหลังนี้ เราได้พบกับคุณป้าจวู เธอบอกว่าหลานสาวของเธอ ย้ายไปอยู่ที่กรุงเทพกับแม่หลังจากที่บ้านถูกน้ำท่วม แต่ตัวเธอเองไม่ขอย้ายไปอยู่ด้วย เธอขออยู่ที่บ้านหลังนี้ดีกว่า 
ในระหว่างที่เราคุยกับเธอ สังเกตุจากรอยยิ้มบนใบหน้า ทำให้เราเดาไม่ยากว่า เธอไม่ได้มีความทุกข์หรือวิตกกังวล จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เรารู้สึกแปลกใจ และต้องการคำอธิบายจากเธอ
สิ่งที่ป้าจวูแสดงให้เราเห็นในวันนี้ ทำให้เราอดที่จะนึกไม่ได้ว่า ถ้าที่กรุงเทพถูกน้ำท่วม เราจะยังคงยิ้มได้อย่างเธอหรือไม่ และเราจะมีอะไรกินหรือเปล่า ดูเหมือนว่าความมั่นคงทางอาหารของคนต่างจังหวัดจะมีมากกว่าคนกรุงเทพเสียอีก ในภาวะน้ำท่วมอย่างนี้พวกเขายังคงสามารถเหวี่ยงแหจับปลา ทำมาหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติ


-5-
ปีนี้นับว่าเป็นปีที่ภาคตะวันออกถูกน้ำท่วมหนักมากสุด โดยเฉพาะที่อำเภอบางคล้าน้ำจะท่วมนานกว่าพื้นที่อื่น 
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าบางคล้าที่จุดที่มวลน้ำทั้งจากแม่น้ำบางปะกง คลองท่าลาดและน้ำท่วมทุ่งมารวมกัน อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำที่ท่วมขังระบายลงอ่าวไทยได้ลำบาก และในช่วงที่น้ำลงน้ำที่บางก็ไม่ได้ลดลงตามไปด้วยเพราะมีน้ำก้อนใหม่ไหลเข้ามาเติมอยู่เรื่อยๆ
วันนี้คนในพื้นที่อยากเล่าเรื่องราวน้ำท่วมที่บ้านของตัวเองให้เราฟัง ลุงศักดา ทองประสิทธิ์ เคยเป็นผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง เราจึงนัดเจอกันที่ริมแม่น้ำบางปะกง ลุงศักดาพกแผนที่มาเพื่อประกอบการเล่าเรื่องน้ำท่วมครั้งนี้กับเราด้วย เมื่อเริ่มต้นคุยกันได้ เราจึงถามและขอคำอธิบายจากลุงศักดาอีกหลายเรื่อง
... ทำไมปีนี้ภาคตะวันออกถึงท่วมหนัก
เพราะปีนี้ปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคตะวันออกมีมาก อีกทั้งน้ำที่มาจากเขาใหญ่ทับลานก็ไหลมารวมที่กบินทร์บุรี ซ้ำร้ายการบริหารจัดการน้ำที่มักไปอุดไปปิดไปขวางเมื่อน้ำมากเข้าก็ที่อุดที่ปิดไว้ก็พัง กลายเป็นเป็นน้ำท่วมทุ่งไหลอย่างไม่มีทิศทาง ไม่สามารถควบคุมได้



... ทำไมที่บางคล้าถึงต้องถูกท่วมอยู่เป็นเวลานานกว่าพื้นที่อื่นๆอย่างนี้
น้ำท่วมทุ่มจากบินทร์บุรีก็ไหลลงมาที่บางคล้า แล้วบางคล้าก็อยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกง น้ำในแม่น้ำก็เอ่อล้นอยู่แล้ว และยังมีน้ำที่ล้นออกมาจากอ่านเก็บน้ำระบมศรียัดที่ลาดล้นมาตามคลองท่าลาดอีก ซ้ำเติมด้วยน้ำทะเลหนุน น้ำขึ้นน้ำลง
... และโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงๆหรือ
ส่วนตัวคิดว่าไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก อยากขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำจะดีกว่าเพราะคนในพื้นที่ย่อมรู้ดีกว่าคนข้างบน คนพื้นที่รู้ว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ จะต้องทำอย่างไร

//////////////////////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI; THE NATION

ครูใต้บอกให้ทุนเด็กทั้งก้อนหมดทั้งก้อน !


ครูใต้บอกให้ทุนเด็กทั้งก้อนหมดทั้งก้อน !
จังหวัดยะลามีจำนวนเด็กด้อยโอกาสมากถึง 11,000 คน ในจำนวนนี้ 6,000 คนจะหลุดออกจากระบบการศึกษา อันเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม และความไม่สงบในพื้นที่ โรงเรียนและคุณครูจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาส ไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา
ที่โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา ใช้โครงการ CMU : Case Management Unit หรือการพัฒนาหน่วยจัดการดูแลรายกรณี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา
เถลิงศักดิ์ ราชชำรอง - ครูแนะแนวในฐานะ ผู้รับชอบโครงการ CMU โรงเรียนเทศบาล 5 อธิบายถึงขั้นตอนในการทำ CMU ว่าเริ่มจากให้ครูประจำชั้นเป็นผู้คัดกรองนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มปกติ กับกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มปกติก็ให้ครูประจำชั้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้ดียิ่งๆขึ้น แต่สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง จะได้รับการช่วยเหลือในการสร้างอาชีพให้มีรายได้
“โรงเรียนมีเห็นว่าความยากจนเป็นบ่อเกิดของปัญหาเด็กด้อยโอกาส จึงได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยได้รับงบประมาณส่วนนี้มาจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค.ที่ส่งมายัง อบจ.ยะลา เพื่อจัดสรรให้กับโรงเรียนแต่ละแห่งอีกทีหนึ่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่” ครูเถลิงศักดิ์กล่าว
และเพื่อความยั่งยืนของกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้หมดไปอย่างสูญเปล่า โรงเรียนเทศบาล 5 จึงได้นำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อสร้างอาชีพให้เด็กมีรายได้ มีการสอนให้เด็กเรียนรู้การปลูกเห็ดนางฟ้า เพื่อนำไปขายแบบสดๆ และการแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้เป็นอาหารนานาชนิดเพื่อขายในโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนเทศบาล 5 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,004 คน สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจำนวนนี้มีนักเรียน 36 คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการ CMU มี 6 คนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว ใน 6 คนมี 2 คนที่เป็นแม่วัยรุ่น แต่โรงเรียนยังคงให้การช่วยเหลืออยู่ด้วย


การมาจากครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็กหญิงนูรีซัน ต่วนยี วัย 13 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการ CMU เธอได้เงินจากกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นค่าเทอม และเงินที่ได้จากการขายเห็ดนางฟ้าเป็นค่าขนมและค่าอาหารที่โรงเรียนวัน 30 บาท
พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังอายุได้ 3 ขวบ ทำให้ผู้เป็นแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกทั้ง 5 คน (นูรีซันเป็นคนที่ 4) ตามลำพังมาโดยตลอด แน่นอนว่าจำนวนพี่น้องที่มากขนาดนี้ก็ทำให้ครอบครัวนูรีซันต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก
นูรีซันเล่าว่า แม่ทำอาชีพรับจ้างตัดใบจากได้กองละ 300 บาท แต่กว่าจะตัดใบจากได้จำนวนกองหนึ่งนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 วันเพื่อแลกเงินค่าจ้างที่ได้รับเพียง 300 บาท เฉลี่ยรายได้ต่อวัน 150 บาทซึ่งไม่พอใช้จ่ายอย่างยิ่งยวด
เถลิงศักดิ์ ราชชำรอง - ครูผู้รับชอบโครงการ CMU โรงเรียนเทศบาล 5 บอกว่าโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ไม่ได้ให้เงินทั้งก้อนแก่เด็ก เพราะที่ผ่านเคยให้เงินเป็นก้อน แต่เด็กก็ใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในโครงการ CMU จึงมีครูแนะแนวเป็นคณะกรรมการเพื่อดูแลกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้เงินเด็กเป็นค่าใช้จ่ายรายวันแทน แต่หากเด็กมีความต้องการจะใช้เงินก็สามารถเบิกถอนออกมาใช้ได้เป็นรายกรณี ทั้งนี้คณะกรรมการจะทำบัญชีการเบิกจ่ายที่สามารถตรวจสอบได้ 
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายเดชรัฐ สิมศิริ ตระหนักดีว่าจำนวนเด็กด้อยโอกาสที่มีมากย่อมส่งผลถึงปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติด และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ด้วย ทางการจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว
“การแก้ไขจะต้องแก้ปัญหา 2 ส่วน คือ 1.แก้ความยากจนของพ่อ แม่ ด้วยการให้อาชีพ ให้งานทำ โดยสั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการทั้ง อบจ. เทศบาล อบต. พม. รวมทั้งการพัฒนาชุมชน ฝ่ายปกครอง เพื่อให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น
2. เร่งปลูกจิตสำนึก เพราะนอกจากจะให้เงินแล้วต้องให้ความรู้ด้วย อีกทั้ง ส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวมีลูกค่อนข้างเยอะยิ่งเพิ่มความยากจน จึงต้องปลูกจิตสำนึกว่าถ้าจนแล้วไม่ให้ลูกเรียนจะยิ่งโคตรจน ถ้าจะหายจนต้องให้ลูกเรียนหนังสือ” นายเดชรัฐกล่าว
/////////////////////////////////////////////////
New project aims to keep Yala children in school
Tanpisit Leardbamrungchai
The Nation
Yala December 16, 2013 1:00 am 

An entrepreneurial project has been developed by the Quality Learning Foundation in Yala province to keep children in school until the 12th grade.
One of the many success stories under the so-called Case Management Unit (CMU) scheme is that of a seventh grader, Nurisan Tuanyee, of Municipal School 5, who sells grey oyster-mushroom tempura. She grows the mushrooms and then cooks them herself.
Coming from a poor family, Nurisan was screened to take part in the CMU project at her school. The project then provided Nurisan with a loan, which enabled her to set up her business and earn an income from selling the popular mushrooms.
From Nurisan's earnings, the CMU project allocates her a daily allowance of Bt30, while the rest of the money is put into a bank account, supervised by the school and CMU management.
Nurisan lost her father when she was only 3 years old, leaving her mother to raise Nurisan and her four siblings on a meagre income of only Bt150 a day, cutting nipa palm leaves.
Despite studying hard and receiving good grades, Nurisan was categorised as "being at risk" of prematurely leaving school before compulsory education ends in 12th grade. She is now one of 36 out of 1,004 students at her school who has been accepted to take part in the CMU scheme. However, despite funding and support, six of the students chosen under the scheme have left school prematurely, with two of them becoming pregnant.
The CMU manager at the school, Thalernsak Ratchamrong, said he had decided not to give the funds to students in one instalment to prevent them from overspending.
"We pay them on a daily basis," he said, "But if they need a large amount of money at some point, they may submit a request and we will then consider each one on a case-by-case basis."
Nurisan is not the only student involved in the grey oyster-mushroom tempura project. It now involves a number of students and has begun making larger profits with a new menu of tempura.
Out of a total of 10,000 underprivileged children in Yala schools, around 6,000 are categorised as "at risk". Male school children are considered particularly vulnerable, as they can be lured out of their schools and recruited to join insurgency cells fighting the government in the deep South.
Yala Governor Dejrat Simsiri said provincial authorities were also running parallel projects aimed at encouraging students to continue their studies by offering career training to their families. Another project encourages parents to support their children's education. "We are trying to convince families that they will suffer even greater hardship if they don't support their children's schooling," he added.
A new survey of underprivileged children in Yala will be conducted again next year and those who have left school will be approached and encouraged to return - at least until they complete 12th grade.

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ชนชั้นกลาง ?

อะไรคือ “ชนชั้นกลาง” ที่แท้จริง

วิกฤตการเมืองที่กำลังปะทุขึ้นอยู่อย่างต่อเนื่องในเวลานี้ ( พ.ศ.2556) "ชนชั้นกลาง" เป็นคำที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้งมีการกระทบกระเทียบกันว่าชนชั้นกลางเป็นชนชั้นที่กำลังจะไม่เห็นหัวคนชนชั้นล่างและดูเหมือนว่าชนชั้นกลางนี่แหละเป็นชนชั้นที่ให้การสนุบสนุนคุณสุเทพและไม่อยากให้มี "การ เลือกตั้ง" เพราะชนชั้นกลางมีจำนวนน้อยกว่าชนชั้นล่างที่ให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทยและมีจำนวนมากกว่าในประเทศดังนั้นชนชั้นล่างจึงสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งเลือกพรรคเพื่อไทยกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีก 

นี่เป็นความเข้าใจของผมคร่าวๆต่อคำว่า “ชนชั้นกลาง” ที่กำลังถูกพูดถึงอยู่ในบริบทการเมืองไทยขณะนี้

ย่าทวดเคยเหล่าให้ฟังถึงกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่ากระฎุมพี (กระ-ดุม-พี) เพราะทวดเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนเหล่านี้กระฎุมพีเป็นชนชั้นทางสังคมกลุ่มหนึ่งซึ่งก็คือชนชั้นกลางหรือชนชั้นพ่อค้าวาณิชนั่นเองพวกเขาได้สถานะทางสังคมหรืออำนาจมาจากหน้าที่การงานการศึกษาหรือความมั่งมีอันเกิดจากการขยันทำมาหากินแน่นอนว่าพวกเขาไม่ใช่พวกอภิสิทธิ์ชนหรือชนชั้นสูงผู้มีอำนาจ

ในสังคมอินเดียโบราณอันเป็นสังคมที่แบ่งชนชั้นวรรณะกันอย่างชัดเจนระบุถึงชนชั้นกระฎุมพีว่าเป็นชนชั้นที่มีอันจะกินขึ้นมาจากพวกวรรณะศูทรขึ้นมาหน่อย (วรรณะศูทรได้แก่พวกกรรมกรมีเครื่องแต่งกายคือสีดำหรือสีอื่นๆที่ไม่มีความสดใส มีอาชีพชั้นต่ำเป็นที่ดูถูกในสังคม วรรณะนี้เชื่อว่ากำเนิดมาจากเท้าของพระพรมณ์และถัดจากวรรณะนี้ลงไปก็จะเป็นวรรณะจัณฑาลซึ่งมีสถานะต่ำกว่าสัตว์เสียอีก)

• อะไรบ่มเพาะความเป็นชนชั้นกลาง

แม้เวลาจะผ่านไปนานเป็นร้อยปีแต่การเกิดขึ้นของกระฎุมพีหรือชนชั้นกลางยังคงมีรูปแบบที่ไม่ต่างจากเมื่อร้อยปีหรือพันปีที่ผ่านมากล่าวคือชนชั้นกลางเป็นชนชั้นที่เกิดจากการยกระดับตัวเองขึ้นมาจากชนชั้นล่างแล้วมามีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่ามีหน้ามีตามากกว่า

การยกระดับตัวเองนั้นถือเป็นเรื่องไม่เสียหายและเป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ หากแต่จะเสียหายไปก็ด้วยความความประมาทในการใช้ชีวิตหลังจากที่มีความคิดในการยกระดับชีวิตตัวเอง

ดังจะเห็นได้จากนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ได้รับเงินจากพ่อแม่ให้เข้ามาใช้ชีวิตเพื่อศึกษาเล่าเรียนในเมืองกรุงเบื้องหลังคือพ่อแม่อาจมีอาชีพเป็นเกษตรกรบางครอบครัวอาจมีรายได้แบบพอกินแต่ไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากพอมีรายได้ส่งเสียลูกเรียนในระดับปริญญา

ในขณะที่เบื้องหน้านักศึกษาเหล่านั้นท่ามกลางสังคมที่ว่ากว้างใหญ่และรายล้อมไปด้วยการแข่งขันทางชนชั้นฐานะ ...การยกระดับตนเองจึงเกิดขึ้นเพื่อที่จะทำให้พวกเขาสามารถเข้ากับสังคมศรีวิไลซ์อันฉาบฉวยเหล่านั้นได้

ไม่เพียงแต่ในรั้วมหาวิทยาลัยเท่านั้นเมื่อเรียนจบมีงานทำมีเงินเดือนเป็นของตัวเอง การยกระดับเข้าสู่ความเป็นชนชั้นกลางยังคงดำเนินต่อไปและเข้มข้นมากขึ้น

มิหนำซ้ำพอมีลูกมีครอบครัวสภาพการศึกษาในเมืองกรุงที่แข่งขันกันรุนแรง ก็ทำให้คนเป็นพ่อเป็นแม่ส่งลูกเรียนกวดวิชาเพื่อคว้าที่ 1 ของห้องเพื่อเป็นหน้าเป็นตาให้กับครอบครัว และยืนยันความเป็นชนชั้นกลางของตนเอง

ในกระทู้พันทิปมีการวิพากย์วิจารณ์ถึงชนชั้นกลางไว้บางช่วงบางตอนมีความตอนหนึ่งว่ามันเป็นความอัดอั้นอย่างหนึ่งของชนชั้นกลางครับเหมือนหนูถีบจักรที่คิดว่าสักวันจะไต่ขึ้นไปถึงข้างบนๆแต่ไม่มีทางหรอกเพราะที่วิ่งๆไปมันก็วนอยู่ที่เดิมขณะที่ชนชั้นล่างก็ไล่หลังขึ้นมาถ้าไม่มีชนชั้นล่างให้เหยียบเลยเขาจะรู้สึกว่าชีวิตตัวเองไร้ค่ามาก

ผู้คนในพันทิประบุต่ออีกว่าเอาเท่าที่สังเกตุจากคนที่รู้จักคนกลุ่มนี้จะหมดเวลาไปกับงานกับการสิ่งบันเทิงครับโอกาสติดตามข้อมูลข่าวสารน้อยมากแต่ขณะเดียวกันก็อยากแสดงอกกว่าเป็นคนที่มีความคิดและอุดมการณ์จึงมักเข้าร่วมกับกิจกรรมดังกล่าวแบบฉาบฉวย

“พยายามยกระดับตัวเองด้วยการมีการใช้อุปกรณ์ทันสมัยมาเสริม (แม้กระทั่งอุ้มหมากระเป๋าเสริมบุคลิกเจ้าของ) และรังเกียจพวกที่เรียนมาน้อยบนพื้นฐานความคิดว่าคนที่เรียนน้อยจะคิดด้วยตัวเองไม่เป็นโดนชักจูงจากนักการเมืองได้ง่ายมีอาการไม่ชอบหรือบางทีหนักมากกว่านั้นรังเกียจพวกตาสีตาสา” ชาวเน็ตในพันธิปกล่าว

กระทู้ชนชั้นกลางในพันทิปบอกด้วยว่าชนชั้นส่วนใหญ่ทำงานในออฟฟิศหรืออยู่ในกลุ่มที่มีการศึกษาหรือเป็นเจ้าของกิจการรายย่อยไม่กล้าออกหน้าหรือออกนำแต่รอจังหวะพอเริ่มมีพวกมากขึ้นก็จะเริ่มมีความกล้าและเริ่มแสดงออกเชื่ออะไรแล้วก็จะผสมกับแนวคิดวิเคราะห์ของตนเองเชื่อแล้วก็เชื่อเลยจึงปิดกั้นการรับฟังเหตุผลที่คิดต่าง (โดยไม่รู้ตัว?)

• ชนชั้นกลางกับบริบทการเมืองไทย

ชนชั้นทางสังคมเป็นกลุ่มมโนทัศน์ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และทฤษฎีการเมือง (เรื่องชนชั้นเป็นเรื่องการเมืองมานานแล้วนั่นเอง) มีการจำลองการจัดชั้นภูมิทางสังคมตามลำดับ คือชนชั้นสูง ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง

อย่างไรก็ดีไม่มีการเห็นพ้องต้องกันว่านิยามที่ดีที่สุดของคำว่า “ชนชั้น” คืออะไรและคำนี้มีหลายความหมายหลายบริบท

ในสำนวนพูดทั่วไปคำว่า “ชนชั้นทางสังคม” มักพ้องกับ “ชนชั้นทางเศรษฐกิจ” หรือคนรวยคนจนนั่นเอง

ในขณะที่คาร์ล มาร์กซนักเศรษฐศาสตร์การเมือง ชาวยิวมองว่ากระฎุมพีหรือชนชนั้นกลางในฐานะชนชั้นปกครองกลุ่มใหม่ต้องการจะจัดระเบียบสังคมตามสิ่งที่ตนจินตนาการ

บทความในสารานุกรมเสรีวิกิพีเดียระบุถึงลักษณะเด่นของชนชั้นกลางในประเทศไทยว่าการกำเนิดและแหล่งที่มาของชนชั้นกลางในสังคมรัตนโกสินทร์ (มักถูกเรียกอย่างกระทบกระแทกว่าประเทศกรุงเทพ) นั้นไม่ได้แยกเป็นอิสระจากชนชั้นศักดินาที่ครอบครองอำนาจและผลประโยชน์เศรษฐกิจของอาณาจักรมาก่อนแต่ชนชนชั้นกลางในไทยนั้นอิงไปตามอำนาจที่เป็นใหญ่

“เช่นในสมัยเก่าอำนาจพระราชาเป็นใหญ่เขาก็อิงไปตามกระแสนั้นพออำนาจทุนเป็นใหญ่ก็พิงไปตามกระแสทุนดังนั้นชนชั้นกลางในประเทศไทยยุคแรกจึงเป็นพวกที่ราชวงศ์สนับสนุนให้ได้โอกาศทางการศึกษา” วิกิพีเดียระบุ

สถานีโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษได้ผลิตสารคดีชื่อชุดว่า “Thailand Justice Under Fire” หรือความยุติธรรมภายใต้กระบอกปืนเมื่อปี 2011 เนื้อหาในสารคดีบางช่วงบอกว่าการเมืองก่อนยุค “ทักษิณ ชินวัตร” อยู่ในกำมือของชนชั้นนำและชนชั้นกลาง ผู้ดำเนินรายการในสารคดีจึงได้เดินทางออกจากกรุงเทพฯเพื่อเป็นสัมภาษณ์ชาวบ้านที่อยู่ต่างจังหวัดพวกเขาบอกกับบีบีซีว่า “ทักษิณ ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรีที่เข้าหาได้ง่ายที่สุดและสามารถแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้อย่างรวดเร็ว

“ความนิยมของชนชั้นล่างหรือชนชั้นรากหญ้าในต่างจังหวัดที่มีต่อทักษิณชินวัตรกลายเป็นฐานคะแนนเสียงของพรรคเพื่อไทย และทำให้น้องสาวนั่นก็คือนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรชนะการเลือกตั้งใหญ่หลังวิกฤตการเมืองที่มีการสลายการชุมชนกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553” ผู้ดำเนินรายการสารคดีบีบีซีกล่าว

ปี 2556 ปรากฎการณ์มวลมหาประชาชนที่นำโดย "สุเทพ เทือกสุบรรณ" อดีตสมาชิกพรรคประชาธิปปัตย์ที่พึ่งลาออกจากสส.เพื่อเคลื่อนไหวบนท้องถนน ถูกมองว่าส่วนใหญ่แล้วเป็นชนชั้นกลางของประเทศ

ในจดหมายถึงผู้ชุมนุมผู้มีอันจะกินชาวกรุงเทพฯของประวิตร โรจนพฤกษ์นักข่าวอาวุโสของหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นตีพิมพ์บทความนี้ในหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นหน้า 11A วันที่ 19 ธันวาคม 2556 ใจความตอนหนึ่งว่า

“ผมอยากย้ำเตือนชนชั้นกลางและชนชั้นสูงชาวกรุงเทพฯผู้มีอันจะกินอย่างพวกคุณทุกคนที่ได้ออกไปใช้สิทธิทางการเมืองโดยการชุมนุมประท้วงมาณที่นี้ด้วยว่าพวกคุณมิใช่คนส่วนใหญ่ของสังคมและเมืองไทยก็มิใช่สมบัติของชนชั้นกลางและชนชั้นสูงในกรุงเทพฯเท่านั้นกรุงเทพฯเป็นเพียงส่วนหนึ่งของประเทศไทยและประเทศเป็นของคนไทยทุกคนร่วมกัน”

ในบทความระบุต่อไปว่า ผมทราบดีว่าพวกคุณรู้สึกว่าทักษิณยิ่งลักษณ์นั้นชั่วกร่างโกงกินชอบใช้อำนาจในทางที่ผิดฯลฯฯลฯฯลฯ -ในบางแง่ผมก็เห็นด้วยก็ดูการผลักดันร่างนิรโทษกรรมเหมาเข่งตอนตีสี่ที่ทักษิณได้ประโยชน์สิมันหน้าด้านมากแม้ญาติคนเสียชีวิตปี 53 อย่างแม่น้องเกดหรือคนเสื้อแดงที่ไม่เห็นด้วยเขาก็ไม่แคร์

“ผมทราบดีเช่นกันว่าพวกคุณชินกับการชี้นิ้วสั่งลูกน้องสั่งคนขับรถสั่งเด็กเสิร์ฟออเดอร์สาวอาบอบนวดและชนชั้นแรงงานให้ทำโน่นนี่ตามใจชอบพวกคุณจึงรู้สึกรับไม่ได้ที่บรรดาผู้ที่มีการศึกษาต่ำและคนจนเหล่านั้นดันกลับมีบทบาทชี้ชะตาสังคมผ่านการเลือกตั้ง

ผมเคยได้ยินบางคนในกลุ่มพวกคุณพูดแม้กระทั่งว่าเมืองไทยน่าจะมอบสิทธิเลือกตั้งเฉพาะคนที่จบปริญญาตรีหรือจ่ายภาษีรายได้ทางตรงเท่านั้นบรรดา ‘ควายแดง’ คนชนบทที่ด้อยการศึกษามิควรมีโอกาสกำหนดทิศทางการเมืองสังคมไทยเพราะคนพวกนี้โง่จนและถูก ‘ไอ้เหลี่ยม’ หลอกซ้ำซากไม่รู้จักจบแต่เวลาผมได้ยินเช่นนี้ผมกลับอดนึกถึงระบอบเหยียดสีผิวในแอฟริกาใต้สมัยหลายสิบปีก่อนมิได้” (เพิ่มเติม http://www.nationmultimedia.com/politics/A-letter-to-the-well-heeled-protesters-of-Bangkok-30221768.html )

ดูเหมือนว่าสงครามชนชั้นที่เป็นเรื่องการเมืองได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างดุเดือดชัดเจนแต่ในบทความของสุจิตต์วงษ์เทศในหนังสือพิมพ์มติชนเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 ทำให้ผมทราบว่าชนชั้นกลางไทยเป็นกลุ่มคนที่มีความหลากหลายมากแต่ละกลุ่มตอบสนองสภาวะทางการเมืองแตกต่างกันจึงไม่สามารถเอาอุดมการณ์ทางการเมืองใดๆมาจับกลุ่มชนชั้นกลางอย่างตายตัวได้

“บางทีสนับสนุนปฏิรูปการเมืองแต่ขณะเดียวกันก็ประกาศ "รักในหลวง" เพื่อต่อต้านความเปลี่ยนแปลงจึงต้อนรับรัฐประหารเมื่อกันยายน 2549

คนเสื้อแดงคือคนชั้นกลางระดับล่างเป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่มีตลาดของตนเองจำนวนมากไม่รู้สึกเดือดร้อนการกระจุกของเงินจำนวนมากไว้กับคนไม่กี่คนเพราะยังมองเห็นว่าจะขยายกิจการของตนต่อไปข้างหน้าได้อีกมาก คนเสื้อเหลืองคือคนชั้นกลางระดับดีกว่าคนเสื้อแดงเป็นผู้ประกอบการรายเก่าจำนวนมากรู้สึกหนักใจกับการกระจุกทรัพย์มานานแล้วไว้กับคนไม่กี่คนเพราะมองไปข้างหน้าก็รู้สึกว่าจะโตต่อไปไม่ได้เสียแล้ว” คุณสุจิตต์ระบุว่าในบทความหนังสือพิมพ์มติชน (เพิ่มเติมhttp://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378120623&grpid=01&catid=01 )

กรรมกร หรือที่เรียกกันทางชนชั้นว่า "ชนชั้นล่าง" กำลังก่อสร้างเพิ่มเติมห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ที่อยู่ถัดจากวัดปทุมวนาราม เพื่อรองรับการให้บริการชนชั้นกลางเมืองกรุง


• ชนชั้นกลางคือสิ่งสมมติ

ย้อนกลับไปที่ผมเล่าถึงย่าทวดที่เคยเหล่าให้ฟังถึงกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่ากระฎุมพี หรือชนชั้นกลางความหมายของชนชั้นกลางในแบบคนแก่ธรรมดาธรรมคนหนึ่ง (ซึ่งได้เสียชีวติไปนานแล้ว) มีเพียงว่าชนชั้นกลางเกิดจากการขยันทำมาหากิน

ถ้าไม่คิดอะไรกันมาก ถ้าไม่นับเรื่องการเมือง จริงๆแล้วชนชั้นก็เป็นเรื่องสมมติ มันเป็นเหตุเป็นผลกันมากเลยครับในการที่คนเราเมื่อขยันทำมาหากินก็จะนำมาซึ่งความมั่งมีและความมั่งมีนี่แหละจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ลำบากและไม่ต้องดิ้นรนกันมากนัก

เพียงแต่วาทกรรมเรื่องชนชั้นกลางที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ส่วนหนึ่งก็เป็นเรื่องของทฤษฎีการเมืองที่พูดถึงความสัมพันธ์ของกลุ่มคนและความต้องการของคน

และอีกปัจจัยหนึ่งที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองคือความประมาทในการชีวิตตัวอย่างที่ยกมาทั้งนักศึกษาที่ฟุ้มเฟ้อและการแข่งขันกันในระบบการศึกษาหรือความพยายามที่จะยกระดับตัวเองเพื่อให้มีหน้ามีตาในสังคมเป็นต้นเหตุให้เราต่างดูถูกกันเอง เพราะคิดว่าตนเหนือกว่า

แม้ว่าหลักจิตวิทยาจะยืนยันว่า ความต้องการเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ตามทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เริ่มจากความต้องทางร่างกาย -ต้องการความปลอดภัย - ต้องการความเป็นเจ้าของ – ต้องการความเคารพและความต้องการสูงสุดคือต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์จึงไม่แปลกไม่ต้องสงสัยในพฤติกรรมยกระดับตัวเองของมนุษย์ ...แต่อีกสิ่งหนึ่งที่ตามมาเพื่อยืนยันความเป็นมนุษย์ที่เจริญแล้วด้วยเช่นเดียวกันก็คือหลักการแห่งสิทธิมนุษยชน หลักสากลที่สอนให้เรารู้จักเคารพผู้อื่นและไม่เบียดเบนซึ่งกันและกันตามหลักการของทุกศาสนา

ที่ประเทศอินเดียชนชั้นวรรณะสลายลงเพราะพระพุทธศาสนา เมื่อดร.อัมเบดการ์อดีตวรรณะศูทร พยายามหาหนทางนำพระพุทธศาสนากลับเข้าสู่ประเทศอินเดียอีกครั้ง เนื่องจากท่านเห็นว่าพุทธศาสนาเท่านั้นที่จะทำให้ความเป็นมนุษย์มีความเสมอภาคกันได้

โดยพระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาจากตระกูลต่างๆกันย่อมมีความเสมอกันเมื่อมาสู่ธรรมวินัยนี้แล้วหมือนมหาสมุทรย่อมเป็นที่รวมของน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำและทะเลต่างๆเมื่อมาสู่มหาสมุทรแล้วก็ไม่สามารถจะแยกได้ ว่าน้ำส่วนไหนมาจากที่ใด

ที่ศาลาพระราชศรัทธา วัดปทุมวนาราม มีภาพที่ทำให้เห็นและสัมผัสได้อย่างชัดเจนระหว่างการอยู่รวมกันแบบมีชนชั้นกับไม่มีชนชั้นหน้าศาลามีรองเท้าที่เรียงรายกันอยู่หลายคู่ มีตั้งแต่รองเท้าแตะตราดาวเทียมถึงรองเท้าหนังแท้ลาครอส แต่นั่นกลับไม่ใช่ความต่างทางชนชั้นเลยเพราะต่างคนต่างก็มาสวดมนต์ มีจิตน้อบสักการะบูชาอย่างสงบพร้อมเพียง


ในขณะเดียวกันขนาบข้างวัดปทุมฯ คือสยามพารากอนและเซ็นทรัลเวิลด์สถานที่ที่ชนชั้นกลางไทยรู้จักกันดี และใช้จ่ายเพื่อความการยกระดับตนเองบ้าง หรือด้วยความจำเป็นบ้างไม่มากน้อย เมื่อผู้ให้บริการทำตามหน้าที่คือการดูแลเทคแคร์ลูกค้า เราจึงได้เห็นลูกค้าที่เป็นชนชั้นกลางใช้บริการอย่างเต็มที่แบบชนชั้นต่อชนชั้นเช่นเดียวกัน

บรรทัดสุดท้ายขอเพียงเราต่างมีความเมตตาซึ่งกันและกันเท่านั้นเอง
////////////////////////////////////////// TANPISIT LERDBUMRUNGCHAI

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความพยายามของครูชายแดนใต้

ความพยายามของครูชายแดนใต้ 


(note: ท่ามกลางความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณครูยังคงทำหน้าที่สอนหนังสือ อย่างแน่วแน่ พวกเขาหวังว่าอย่างน้อยการศึกษาที่ทั่วถึง จะทำให้อะไรอะไร ดีขึ้น ผมมีโอกาสลงพื้นที่ทำข่าวใน 3 ชายแดนภาคใต้เป็นครั้งแรก ผมค่อนข้างจู้จี้กับแหล่งข่าวทั้งที่เป็นเด็กหรือครูในโรงเรียน แต่พวกเขาก็ยินดีครับ และนั่นก็ทำให้ผมรู้จักกับเด็กชายคนนึงที่ชื่ออับดุลละกีฟ เขาเป็นคนช่วยอาสาแบกขาตั้งกล้องให้ผมไปถ่ายทั่วโรงเรียน แล้วก็เป็นคนถ่ายเปิดหน้าให้ด้วย เรียกว่าเป็นลูกมือให้อย่างดีเลย การ Convergent ข่าวหนังสือพิมพ์กับทีวีในข่าวชิ้นนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยครับ ถ้าไม่ได้เขาช่วย

          และผมก็รู้จักคุณครูของอับดุลละกีฟอีกหลายคนด้วยครับ คำถามบางคำถามไม่เกี่ยวกับข่าวหรอกครับ แต่เป็นเรื่องสารทุกข์สุขดิบมากกว่า ถามว่าครูท้อมั้ย ครูบอกเลยครับว่าท้อ แต่อีกประโยคที่ได้ยินต่อมาก็คือ "ก็เกิดเป็นครูอยู่ที่ไหนก็ได้ขอให้มีเด็กสอน" ผมนับถือในความเป็นครู ของคุณครูในชายแดนใต้จริงๆ ครับ)

เด็กชายอับดุลละกีพ ซาและ 

การศึกษาแบบ “ยะลาสไตล์” และ คาราโอเกะ ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน   แก้ปัญหาเด็กอ่านภาษาไทยไม่คล่อง 

เด็กชายอับดุลละกีพ ซาและ อายุ 11 ปี นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ชั้นประถมศึกษาปีที่ กำลังอ่าน “แบบฝึกทักษะอ่านคล่อง เขียนคล่อง” ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่จัดพิมพ์เฉพาะสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1, 2 และ แม้ว่าอับดุลละกีพจะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้ว แต่ว่าเขายังคงอ่านหนังสือได้ไม่แตกฉาน เมื่อเจอคำยากจะหยุดสะกดอยู่นานและไม่สามารถอ่านต่อไปได้

นางวลัยภรณ์ เพชรดา ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) บอกว่า ตามปกติแล้วเด็กจะอ่านหนังสือและเขียนไทยได้ตอนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่สำหรับเด็กในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้จะอ่านหนังสือและเขียนไทยได้ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาเหตุเป็นเพราะว่าเด็กๆเหล่านี้ใช้ภาษามาลายูสื่อสารกับที่บ้าน และจะมีโอกาสได้พูดภาษาไทยเมื่อตอนอยู่โรงเรียนเท่านั้น



ปัญหาเด็กอ่านไทยไม่ออกเขียนไทยไม่ได้ จึงกลายเป็นปัญหาการศึกษาของ 
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมาอย่างยาวนาน สาเหตุไม่ใช่เพียงเกิดจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ที่อาจทำให้เด็กขาดเรียนไปบ้างเท่านั้น แต่ว่าสาเหตุหลักมาจากคนในพื้นที่ที่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาลายูในการสื่อสารมากกว่า

นางวลัยภรณ์ เพชรดา ครูผู้สอนภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ใช้วิธีการให้การบ้านนักเรียนกลับไปอ่านที่บ้านแล้วให้ผู้ปกครองเซ็นกำกับมาว่า อ่านไปได้กี่คำ แต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่รู้ภาษาไทยเลย ก็จะให้พี่ช่วยเซ็น ทีนี้หากพี่ไม่รู้ภาษาไทยอีก ก็ต้องมาอ่านกับครู

ฝึกให้เด็กอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้อง ท่องจำสระ และมาตราตัวสะกดต่างๆด้วยการร้องเพลง เด็กจะจำได้ง่ายขึ้น ครูวลัยภรณ์บอก

ขณะที่ครูมัสนา มะลี ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ใช้สื่อที่มีลักษณะคล้ายของเล่น แต่สอดแทรกด้วยวิธีการสะกดคำ เมื่อเลื่อนไปหนึ่งครั้งจะสามารถผสมคำได้หนึ่งคำ ทำให้เด็กสามารถฝึกหัดสะกด และอ่านได้อย่างสนุกสนาน

                                                       ครูมัสนา มะลี 

นอกจากนี้ครูมัสนา ยังรื้อฟื้นแบบเรียนมานะ นานี ที่ปัจจุบันไม่ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว นำมาเป็นแบบฝึกอ่านซ้อมเสริมให้กับนักเรียนด้วย ครูมัสนาเชื่อว่าการที่จะแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ต้องให้เด็กอ่านซ้ำๆ ทำแบบฝึกหัดเยอะๆ
แบบเรียนที่ใช้อยู่มันดีเกินไป ดีจนเด็กที่เรียนอ่อนตามไม่ทัน แบบเรียนมานะ มานีเป็นของเก่าแต่เมื่อนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ก็ปรากฎว่าได้ผลดี เด็กเข้าใจและอ่านหนังสือได้มากขึ้น ครูมัสนากล่าว

สำหรับโรงเรียนบ้านใหม่(วันครู 2503) ที่อับดุลละกีพเรียน อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ตั้งอยู่ที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น 700 คน ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม

ด้านนายเกียรติ มันนะรัตน์ ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านกาลูปัง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ตั้งข้อสังเกตว่าเด็กบางคนร้องเพลงได้ทั้งๆที่อ่านหนังสือไม่ออก และร้องถูกต้องทั้งคำร้องและทำนองตลอดจนจังหวะ เด็กร้องตามเนื้อร้องในคาราโอเกะได้พร้อมกับตัวอักษรที่วิ่งอยู่โดยที่ไม่รู้ว่าคำนั้นอ่านอย่างไร
“ถ้าเด็กอ่าน ท่อง หรือเรียนรู้โดยไม่รู้ตัวและมีความสุขกับการเรียน ไม่เบื่อหน่ายน่าจะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้มากกว่า” ครูเกียรติกล่าว

วิธีที่ครูเกียรติใช้เรียกว่า “โปรแกรมคาราโอเกะ” วิธีการก็คืออันดับแรกสำรวจเพลงที่นักเรียนชอบหรือสนใจ ต่อมาให้นักเรียนอ่านแถบประโยคเนื้อเพลงที่ครูเตรียมมาสัก ท่อน เพื่อประเมินว่านักเรียนอ่านได้กี่คำ จากนั้นให้เด็กฟังเพลงก่อนหนึ่งเที่ยวพร้อมเสียงร้องก่อน แล้วครูค่อยเปิดโปรแกรมคาราโอเกะให้นักเรียนร้องคลอไปกับเสียงดนตรี
หลังจากนั้นครูชี้แนะ แก้ไข ข้อบ่งพร่องให้นักเรียนร้องใหม่จนคล่อง และจัดทำบัตรคำเนื้อร้องทั้งหมด/แถบประโยคเนื้อร้อง และนำบัตรคำมาใช้ในการเล่นเกม เช่น เล่นเกมวิ่งผลัดอ่านบัตรคำ เกมวงกลมส่งบัตรคำ เกมต่อบัตรคำตามเนื้อร้อง เกมเขียนตามคำบอก ผลก็คือคือนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข โดยใช้เกมและเพลง และสามารถอ่านหนังสือออกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 65

ผศ.ไกรสร ศรีไตรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ จังหวัดยะลา ในฐานะประธานคณะกรรมการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้จังหวัดยะลา บอกถึงความจำเป็นที่เด็กๆต้องสื่อสารภาษาในไทยให้ได้ว่า เพราะภาษาไทยเปรียบเสมือนเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่นๆด้วย

“การเอาเด็กปฐมวัยเป็นตัวจับ ก็เชื่อว่าจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างพ่อ แม่ มาทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับลูก สร้างความสัมพันธ์กัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน มาเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เพราะหากเด็กได้เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เล็กๆ ทัศนคติ และความรู้สึกการเป็นเพื่อนก็จะสามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมความหลากหลายนี้ได้” ผศ.ไกรสร กล่าว

ด้านผศ.ไกรสร บอกว่าเด็กที่ไปเรียนต่อในโรงเรียนปอเนาะ ส่วนใหญ่แล้วก็จะได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอียิปต์
“จริงๆแล้วที่อียิปต์ก็มีสาขาวิชาให้เลือกเรียนมากมายไม่เฉพาะเพียงการสอนศาสนาเท่านั้น แต่ว่าเมื่อเด็กเราพื้นฐานวิชาการไม่แน่น อันเกิดจากการเรียนเมื่อช่วงชั้นประถมและมัธยมที่ไม่สามารถเรียนรู้วิชาพื้นฐานได้อย่างเต็มที่เพราะอ่อนภาษาไทย ก็ไม่สามารถเรียนต่อในสาขาวิชาอื่นๆได้ เช่นแพทย์ วิศวะ เศรษฐศาสตร์เป็นต้น ก็ต้องเรียนเพียงแค่ศาสนาอย่างเดียว” ประธานคณะกรรมการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้จังหวัดยะลากล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการอ่านภาษาไทยไม่ออก เขียนภาาไทยไม่คล่อง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ การทดสอบการศึกษาแห่งชาติ หรือโอเน็ต คะแนน  ระดับชั้นป.6  เมื่อปีการศึกษา 2555 ระบุว่าเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้โอเน็ตต่ำสุดนั้น ส่วนใหญ่เป็นเขตพื้นที่การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยเฉพาะ ยะลา เขต 3 ค่าเฉลี่ย 36.51 คะแนน ต่ำกว่า แม่ฮ่องสอน เขต 2 ค่าเฉลี่ย 38.75 คะแนน และต่ำกว่าปัตตานี เขต 1 ค่าเฉลี่ย 37.34 คะแนน

นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลายอมรับว่าการจัดการศึกษาของจังหวัดยะลาหากวัดกันที่เรื่องคุณภาพก็คงไม่ต่างจากจังหวัดปัตตานี และนราธิวาสคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำ เด็กยังคงอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดแก้ไขปัญหาไม่เป็น
การแก้ไขปัญหาเรื่องการศึกษาของจังหวัดยะลาหรือใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ว่าเกิดจากขาดแคลนบุคคลากรทางการศึกษา ไม่มีงบประมาณ แต่เกิดจากไม่รวมพลังกันต่างคนต่างทำ ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างขาดๆเกินๆนายเดชรัฐกล่าว

ผู้ว่าราชการจังยะลาบอกว่าได้กำหนดเรื่องการศึกษาเป็นวาระจังหวัด จึงได้ทำการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพบว่ามีถึง 35 หน่วยงาน แต่ต่างคนต่างทำ ดังนั้นตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ตนได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาการศึกษาและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน โดยมี 35 หน่วยงานมาร่วมเป็นคณะทำงานทั้งหมดเพื่อขับเคลื่อนพลังการศึกษา

นายเดชรัฐ สิมศิริบอกอีกว่า การแก้ไขจะต้องแก้ปัญหา 2 ส่วน คือ 1.แก้ความยากจนของพ่อ แม่ ด้วยการให้อาชีพ ให้งานทำ โดยท้องถิ่น อบจ เทศบาล อบต พม. รวมทั้งการพัฒนาชุมชน ฝ่ายปกครอง เพื่อให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น และ 2.เร่งปลูกจิตสำนึก เพราะนอกจากจะให้เงินแล้วต้องให้ความรู้ด้วย อีกทั้ง ส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวมีลูกค่อนข้างเยอะยิ่งเพิ่มความยากจน จึงต้องปลูกจิตสำนึกว่าถ้าจนแล้วไม่ให้ลูกเรียนจะยิ่งโคตรจน ถ้าจะหายจนต้องให้ลูกเรียนหนังสือ

///////////////////     TANPISIT LERDBUMRUNGCHAI 
THE NATION December 9, 2013 







EDUCATION

Thai language skills low in far South

By Tanpisit Lerdbumrungchai 
The Nation

In the southernmost province of Yala where most people speak Malayu, Thai language teachers are using fun and game or even a karaoke machine in classes to boost the pupils' Thai language proficiency.
The 11-year-old Abdullagip Salae from Betong district’s Ban Mai (Teacher’s Day 1960) School is looking up a reading practice book, which is part of the set published specially for schools under the Yala Primary Education Area 1, 2 and 3. Despite being in Prathom 6, Abdullagip had some difficulty so, from time to time he struggled and took quite a long time to get on. 
Prathom 3 Thai teacher, Walaiporn Petchrada, said other students learned read and write Thai at Prathom 1 but Deep South pupils learned at Prathom 3 because they use Malayu at home and only use Thai only in school. The region’s issue of pupils’ Thai illiteracy was long standing and was mainly because most Muslim residents there communicated in Malayu language, she said. “Teaching kids to read Thai and remember vowels and spelling rules is done via singing so they remember better,” she added.
Prathom 6 Thai teacher Masana Malee used a alphabet-shuffling toy to teach spelling so kids had fun mixing alphabets and vowels into words. She also revived the use of “Manee and Friends” books to let pupils practice reading, as she believed practice makes perfect. “The textbooks we are using now are too good and advance so some weaker kids couldn’t catch up, so the “Manee and Friends” helps solve the problem and yields a good result; kids understand and be able to read more,” she added.
Abdullagip’s school, with 700 all-Muslim pupils from kindergarten to Prathom 6, is under the Yala Primary Education Area 3. 
Thai teacher Kiat Mannarat for Prathom 4-6 at Muang district’s Ban Kalupang noticed that kids could sing Thai songs, though they couldn’t read Thai, thanked to karaoke. “If they could read, recite or learn happily, they would succeed in learning better,” he said. So he applied the “karaoke program”; he asked the kids to read a popular song’s lyric, line by line, to assess their reading skill, turned on the song, and allowed them to sing-along. He made suggestions until they could sing well, then he presented the lyric on cards, which were used in classroom game to boost kids’ reading skill. Such approach yielded happy pupils and they could read better by 65 per cent, he added.
Yala Rajabhat University president Kraisorn Sritrairat, as chair of the provincial committee for learning development, said the kids must be able to communicate in Thai language, as it was the tool to learn other subjects. Starting Thai learning activities since pre-schooling would also encourage exchange among kids and parents and such friendship could promote the region’s cultural diversity. He said that most kids at Pondok schools would mostly get scholarships to study in Egypt later but, if the kids’ academic foundation weren’t strong enough during Prathom and Mathayom levels due to their weakness in Thai language, they could not further education in other fields such as medicines, engineering, and economics so they could only learn the religion. 
The Thai language illiteracy also affected  Prathom’s Ordinary National Educational Test results – it was reported that last year the Deep South areas got lowest scores especially Yala Primary Education Area 3 got the score of 36.51, Kraisorn said.
Yala Governor Decharat Simsiri said Yala, Pattani and Narathaiwat had low academic achievements and kids were unable to read, write and problem-solving thinking skills. The Deep South education problem wasn’t from lacks of staff or budget but from a lack of agencies’ integration for effective problem-solving, he said. With education as the provincial agenda, he found 35 education-related agencies worked separately from each other. He thus this year set up a working team with representatives from the 35 agencies to boost education and create educational opportunities to the kids. They would solve the problem in two parts; tackling the parents’ poverty by providing job opportunities and promoting the pro-education value that education is the way out of poverty hence kids must be educated, according to him.