ครูใต้บอกให้ทุนเด็กทั้งก้อนหมดทั้งก้อน !
จังหวัดยะลามีจำนวนเด็กด้อยโอกาสมากถึง 11,000 คน ในจำนวนนี้ 6,000 คนจะหลุดออกจากระบบการศึกษา อันเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม และความไม่สงบในพื้นที่ โรงเรียนและคุณครูจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาส ไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา
ที่โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา ใช้โครงการ CMU : Case Management Unit หรือการพัฒนาหน่วยจัดการดูแลรายกรณี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา
เถลิงศักดิ์ ราชชำรอง - ครูแนะแนวในฐานะ ผู้รับชอบโครงการ CMU โรงเรียนเทศบาล 5 อธิบายถึงขั้นตอนในการทำ CMU ว่าเริ่มจากให้ครูประจำชั้นเป็นผู้คัดกรองนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มปกติ กับกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มปกติก็ให้ครูประจำชั้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้ดียิ่งๆขึ้น แต่สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง จะได้รับการช่วยเหลือในการสร้างอาชีพให้มีรายได้
“โรงเรียนมีเห็นว่าความยากจนเป็นบ่อเกิดของปัญหาเด็กด้อยโอกาส จึงได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยได้รับงบประมาณส่วนนี้มาจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค.ที่ส่งมายัง อบจ.ยะลา เพื่อจัดสรรให้กับโรงเรียนแต่ละแห่งอีกทีหนึ่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่” ครูเถลิงศักดิ์กล่าว
และเพื่อความยั่งยืนของกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้หมดไปอย่างสูญเปล่า โรงเรียนเทศบาล 5 จึงได้นำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อสร้างอาชีพให้เด็กมีรายได้ มีการสอนให้เด็กเรียนรู้การปลูกเห็ดนางฟ้า เพื่อนำไปขายแบบสดๆ และการแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้เป็นอาหารนานาชนิดเพื่อขายในโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนเทศบาล 5 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,004 คน สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจำนวนนี้มีนักเรียน 36 คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการ CMU มี 6 คนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว ใน 6 คนมี 2 คนที่เป็นแม่วัยรุ่น แต่โรงเรียนยังคงให้การช่วยเหลืออยู่ด้วย
การมาจากครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็กหญิงนูรีซัน ต่วนยี วัย 13 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการ CMU เธอได้เงินจากกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นค่าเทอม และเงินที่ได้จากการขายเห็ดนางฟ้าเป็นค่าขนมและค่าอาหารที่โรงเรียนวัน 30 บาท
พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังอายุได้ 3 ขวบ ทำให้ผู้เป็นแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกทั้ง 5 คน (นูรีซันเป็นคนที่ 4) ตามลำพังมาโดยตลอด แน่นอนว่าจำนวนพี่น้องที่มากขนาดนี้ก็ทำให้ครอบครัวนูรีซันต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก
นูรีซันเล่าว่า แม่ทำอาชีพรับจ้างตัดใบจากได้กองละ 300 บาท แต่กว่าจะตัดใบจากได้จำนวนกองหนึ่งนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 วันเพื่อแลกเงินค่าจ้างที่ได้รับเพียง 300 บาท เฉลี่ยรายได้ต่อวัน 150 บาทซึ่งไม่พอใช้จ่ายอย่างยิ่งยวด
เถลิงศักดิ์ ราชชำรอง - ครูผู้รับชอบโครงการ CMU โรงเรียนเทศบาล 5 บอกว่าโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ไม่ได้ให้เงินทั้งก้อนแก่เด็ก เพราะที่ผ่านเคยให้เงินเป็นก้อน แต่เด็กก็ใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในโครงการ CMU จึงมีครูแนะแนวเป็นคณะกรรมการเพื่อดูแลกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้เงินเด็กเป็นค่าใช้จ่ายรายวันแทน แต่หากเด็กมีความต้องการจะใช้เงินก็สามารถเบิกถอนออกมาใช้ได้เป็นรายกรณี ทั้งนี้คณะกรรมการจะทำบัญชีการเบิกจ่ายที่สามารถตรวจสอบได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายเดชรัฐ สิมศิริ ตระหนักดีว่าจำนวนเด็กด้อยโอกาสที่มีมากย่อมส่งผลถึงปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติด และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ด้วย ทางการจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว
“การแก้ไขจะต้องแก้ปัญหา 2 ส่วน คือ 1.แก้ความยากจนของพ่อ แม่ ด้วยการให้อาชีพ ให้งานทำ โดยสั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการทั้ง อบจ. เทศบาล อบต. พม. รวมทั้งการพัฒนาชุมชน ฝ่ายปกครอง เพื่อให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น
2. เร่งปลูกจิตสำนึก เพราะนอกจากจะให้เงินแล้วต้องให้ความรู้ด้วย อีกทั้ง ส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวมีลูกค่อนข้างเยอะยิ่งเพิ่มความยากจน จึงต้องปลูกจิตสำนึกว่าถ้าจนแล้วไม่ให้ลูกเรียนจะยิ่งโคตรจน ถ้าจะหายจนต้องให้ลูกเรียนหนังสือ” นายเดชรัฐกล่าว
/////////////////////////////////////////////////
New project aims to keep Yala children in school
Tanpisit Leardbamrungchai
The Nation
Yala December 16, 2013 1:00 am
An entrepreneurial project has been developed by the Quality Learning Foundation in Yala province to keep children in school until the 12th grade.
One of the many success stories under the so-called Case Management Unit (CMU) scheme is that of a seventh grader, Nurisan Tuanyee, of Municipal School 5, who sells grey oyster-mushroom tempura. She grows the mushrooms and then cooks them herself.
Coming from a poor family, Nurisan was screened to take part in the CMU project at her school. The project then provided Nurisan with a loan, which enabled her to set up her business and earn an income from selling the popular mushrooms.
From Nurisan's earnings, the CMU project allocates her a daily allowance of Bt30, while the rest of the money is put into a bank account, supervised by the school and CMU management.
Nurisan lost her father when she was only 3 years old, leaving her mother to raise Nurisan and her four siblings on a meagre income of only Bt150 a day, cutting nipa palm leaves.
Despite studying hard and receiving good grades, Nurisan was categorised as "being at risk" of prematurely leaving school before compulsory education ends in 12th grade. She is now one of 36 out of 1,004 students at her school who has been accepted to take part in the CMU scheme. However, despite funding and support, six of the students chosen under the scheme have left school prematurely, with two of them becoming pregnant.
The CMU manager at the school, Thalernsak Ratchamrong, said he had decided not to give the funds to students in one instalment to prevent them from overspending.
"We pay them on a daily basis," he said, "But if they need a large amount of money at some point, they may submit a request and we will then consider each one on a case-by-case basis."
Nurisan is not the only student involved in the grey oyster-mushroom tempura project. It now involves a number of students and has begun making larger profits with a new menu of tempura.
Out of a total of 10,000 underprivileged children in Yala schools, around 6,000 are categorised as "at risk". Male school children are considered particularly vulnerable, as they can be lured out of their schools and recruited to join insurgency cells fighting the government in the deep South.
Yala Governor Dejrat Simsiri said provincial authorities were also running parallel projects aimed at encouraging students to continue their studies by offering career training to their families. Another project encourages parents to support their children's education. "We are trying to convince families that they will suffer even greater hardship if they don't support their children's schooling," he added.
A new survey of underprivileged children in Yala will be conducted again next year and those who have left school will be approached and encouraged to return - at least until they complete 12th grade.
จังหวัดยะลามีจำนวนเด็กด้อยโอกาสมากถึง 11,000 คน ในจำนวนนี้ 6,000 คนจะหลุดออกจากระบบการศึกษา อันเป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาสังคม และความไม่สงบในพื้นที่ โรงเรียนและคุณครูจึงมีส่วนสำคัญที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาส ไม่ให้หลุดออกจากระบบการศึกษา
ที่โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ต.สะเตง อ.เมือง จ.ยะลา ใช้โครงการ CMU : Case Management Unit หรือการพัฒนาหน่วยจัดการดูแลรายกรณี เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสนอกระบบการศึกษาและเด็กกลุ่มเสี่ยงในระบบการศึกษา
เถลิงศักดิ์ ราชชำรอง - ครูแนะแนวในฐานะ ผู้รับชอบโครงการ CMU โรงเรียนเทศบาล 5 อธิบายถึงขั้นตอนในการทำ CMU ว่าเริ่มจากให้ครูประจำชั้นเป็นผู้คัดกรองนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มปกติ กับกลุ่มเสี่ยง/มีปัญหา กลุ่มปกติก็ให้ครูประจำชั้นส่งเสริมการเรียนรู้ให้ดียิ่งๆขึ้น แต่สำหรับเด็กกลุ่มเสี่ยง จะได้รับการช่วยเหลือในการสร้างอาชีพให้มีรายได้
“โรงเรียนมีเห็นว่าความยากจนเป็นบ่อเกิดของปัญหาเด็กด้อยโอกาส จึงได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยได้รับงบประมาณส่วนนี้มาจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค.ที่ส่งมายัง อบจ.ยะลา เพื่อจัดสรรให้กับโรงเรียนแต่ละแห่งอีกทีหนึ่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่” ครูเถลิงศักดิ์กล่าว
และเพื่อความยั่งยืนของกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้หมดไปอย่างสูญเปล่า โรงเรียนเทศบาล 5 จึงได้นำเงินส่วนหนึ่งมาสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อสร้างอาชีพให้เด็กมีรายได้ มีการสอนให้เด็กเรียนรู้การปลูกเห็ดนางฟ้า เพื่อนำไปขายแบบสดๆ และการแปรรูปเห็ดนางฟ้าให้เป็นอาหารนานาชนิดเพื่อขายในโรงเรียนและชุมชน
โรงเรียนเทศบาล 5 มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 1,004 คน สอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในจำนวนนี้มีนักเรียน 36 คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการ CMU มี 6 คนที่หลุดออกจากระบบการศึกษาไปแล้ว ใน 6 คนมี 2 คนที่เป็นแม่วัยรุ่น แต่โรงเรียนยังคงให้การช่วยเหลืออยู่ด้วย
การมาจากครอบครัวที่ยากจน ทำให้เด็กหญิงนูรีซัน ต่วนยี วัย 13 ปี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในกลุ่มเสี่ยงตามโครงการ CMU เธอได้เงินจากกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตเป็นค่าเทอม และเงินที่ได้จากการขายเห็ดนางฟ้าเป็นค่าขนมและค่าอาหารที่โรงเรียนวัน 30 บาท
พ่อของเธอเสียชีวิตตั้งแต่เธอยังอายุได้ 3 ขวบ ทำให้ผู้เป็นแม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูลูกทั้ง 5 คน (นูรีซันเป็นคนที่ 4) ตามลำพังมาโดยตลอด แน่นอนว่าจำนวนพี่น้องที่มากขนาดนี้ก็ทำให้ครอบครัวนูรีซันต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก
นูรีซันเล่าว่า แม่ทำอาชีพรับจ้างตัดใบจากได้กองละ 300 บาท แต่กว่าจะตัดใบจากได้จำนวนกองหนึ่งนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 วันเพื่อแลกเงินค่าจ้างที่ได้รับเพียง 300 บาท เฉลี่ยรายได้ต่อวัน 150 บาทซึ่งไม่พอใช้จ่ายอย่างยิ่งยวด
เถลิงศักดิ์ ราชชำรอง - ครูผู้รับชอบโครงการ CMU โรงเรียนเทศบาล 5 บอกว่าโรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านตลาดเก่า) ไม่ได้ให้เงินทั้งก้อนแก่เด็ก เพราะที่ผ่านเคยให้เงินเป็นก้อน แต่เด็กก็ใช้หมดอย่างรวดเร็ว ในโครงการ CMU จึงมีครูแนะแนวเป็นคณะกรรมการเพื่อดูแลกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิต และให้เงินเด็กเป็นค่าใช้จ่ายรายวันแทน แต่หากเด็กมีความต้องการจะใช้เงินก็สามารถเบิกถอนออกมาใช้ได้เป็นรายกรณี ทั้งนี้คณะกรรมการจะทำบัญชีการเบิกจ่ายที่สามารถตรวจสอบได้
ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายเดชรัฐ สิมศิริ ตระหนักดีว่าจำนวนเด็กด้อยโอกาสที่มีมากย่อมส่งผลถึงปัญหาสังคม ปัญหายาเสพติด และปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ด้วย ทางการจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว
“การแก้ไขจะต้องแก้ปัญหา 2 ส่วน คือ 1.แก้ความยากจนของพ่อ แม่ ด้วยการให้อาชีพ ให้งานทำ โดยสั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นดำเนินการทั้ง อบจ. เทศบาล อบต. พม. รวมทั้งการพัฒนาชุมชน ฝ่ายปกครอง เพื่อให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น
2. เร่งปลูกจิตสำนึก เพราะนอกจากจะให้เงินแล้วต้องให้ความรู้ด้วย อีกทั้ง ส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวมีลูกค่อนข้างเยอะยิ่งเพิ่มความยากจน จึงต้องปลูกจิตสำนึกว่าถ้าจนแล้วไม่ให้ลูกเรียนจะยิ่งโคตรจน ถ้าจะหายจนต้องให้ลูกเรียนหนังสือ” นายเดชรัฐกล่าว
/////////////////////////////////////////////////
New project aims to keep Yala children in school
Tanpisit Leardbamrungchai
The Nation
Yala December 16, 2013 1:00 am
An entrepreneurial project has been developed by the Quality Learning Foundation in Yala province to keep children in school until the 12th grade.
One of the many success stories under the so-called Case Management Unit (CMU) scheme is that of a seventh grader, Nurisan Tuanyee, of Municipal School 5, who sells grey oyster-mushroom tempura. She grows the mushrooms and then cooks them herself.
Coming from a poor family, Nurisan was screened to take part in the CMU project at her school. The project then provided Nurisan with a loan, which enabled her to set up her business and earn an income from selling the popular mushrooms.
From Nurisan's earnings, the CMU project allocates her a daily allowance of Bt30, while the rest of the money is put into a bank account, supervised by the school and CMU management.
Nurisan lost her father when she was only 3 years old, leaving her mother to raise Nurisan and her four siblings on a meagre income of only Bt150 a day, cutting nipa palm leaves.
Despite studying hard and receiving good grades, Nurisan was categorised as "being at risk" of prematurely leaving school before compulsory education ends in 12th grade. She is now one of 36 out of 1,004 students at her school who has been accepted to take part in the CMU scheme. However, despite funding and support, six of the students chosen under the scheme have left school prematurely, with two of them becoming pregnant.
The CMU manager at the school, Thalernsak Ratchamrong, said he had decided not to give the funds to students in one instalment to prevent them from overspending.
"We pay them on a daily basis," he said, "But if they need a large amount of money at some point, they may submit a request and we will then consider each one on a case-by-case basis."
Nurisan is not the only student involved in the grey oyster-mushroom tempura project. It now involves a number of students and has begun making larger profits with a new menu of tempura.
Out of a total of 10,000 underprivileged children in Yala schools, around 6,000 are categorised as "at risk". Male school children are considered particularly vulnerable, as they can be lured out of their schools and recruited to join insurgency cells fighting the government in the deep South.
Yala Governor Dejrat Simsiri said provincial authorities were also running parallel projects aimed at encouraging students to continue their studies by offering career training to their families. Another project encourages parents to support their children's education. "We are trying to convince families that they will suffer even greater hardship if they don't support their children's schooling," he added.
A new survey of underprivileged children in Yala will be conducted again next year and those who have left school will be approached and encouraged to return - at least until they complete 12th grade.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น