ฟังเสียงแรงงานข้ามชาติ: ความหวัง ความฝัน ความเท่าเทียม
ประเทศไทย กลายเป็นจุดหมายแห่งความหวังของแรงงานเพื่อน ทั้งลาว กัมพูชา และพม่า ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานเพื่อนบ้านที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยและทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายถึง 2 ล้านคน เราอยากรู้ว่าอะไรทำพวกเขาเดินทางมาทำงานที่นี่ คุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ เราจึงไปพบกับพวกเขาในที่ที่ คนเมืองอย่างเรามองข้าม (ชมคลิป)
โครงการก่อสร้างทาวน์โฮมริมถนนบางนา-ตราด กม.4.5 แห่งนี้ ถูกสร้างด้วยแรงงานชาวกัมพูชาเกือบทั้งหมด ที่นี่เราพบกับ “ชัย” เป็นหนึ่งในแรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานอยู่ที่นี่ เขาอยู่เมืองไทยมา 3 ปีแล้ว ชัยบอกว่าเคยโดนโกงค่าแรงตั่งแต่วันแรกที่มาทำงาน จนถึงวันนี้ก็ยังโดนอยู่ ตนไม่มีทางสู้ จึงจำยอม เขาทำได้แค่ย้ายไปทำงานในที่ใหม่ แต่หากเงินออกไม่ตรงเวลาหรือโดนโกงอีกก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ
“ผมตัดสินใจเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพราะที่ประเทศของผมไม่ค่อยมีงานทำ ถ้ามีเงินเดือนก็น้อย บางทีเงินก็ได้ไม่ชัวร์ มาอยู่ที่นี่มีงานทำ เงินก็ได้มากกว่า ถ้าผมเลือกที่จะเป็นคนไทยได้ ผมอยากเป็นคนไทยครับ” แรงงานชาวกัมพูชาบอก
เช่นเดียวกับแรงงานชาวพม่าคนนี้ ทำงานเป็นลูกจ้างที่ร้านข้าวมันไก่ สี่แยกบางนา โซหล่าปอทำงานอยู่ที่นี่มา 5 ปีแล้ว เขาบอกว่าที่พม่าไม่มีงาน ไม่มีเงิน จึงตัดสิรใจเข้ามาทำงานที่เมืองไทยตั้งแต่อายุ17 ปี และได้กลับบ้าน 2 หรือ 3 ปีครั้งเท่านั้น
อุปสรรคสำคัญของการเข้ามาเป็นแรงงานข้ามชาติของโซหล่าปอ คือการพูดภาษาไทย แรกๆเขาพูดภาษาไทยไม่ได้ แต่เจ้าของร้านเป็นคนสอนให้ เขาใช้เวลาเพียง 1 ปีก็สามารถพูดและฟังภาษาไทยได้
“ตอนแรกจะทำงานโรงงาน แต่พอมาเจอป้า (เจ้าของร้านข้าวมันไก่) เลยขอทำงานที่นี่ เพราะเจ้าของ้รานไม่มีใครช่วย อยู่ประเทศไทยสบายไม่ลำบาก ช่วงแรกๆคิดถึงบ้านแต่อยู่นานๆไปแล้วก็ไม่คิดถึง” ชายชาวพม่าบอก
ที่บ้านหลังใหญ่ ย่านเกษรนวมินทร์ เราได้พบกับพี่หวาน เธอเป็นแม่บ้านชาวลาวที่ทำงานอยู่ในเมืองไทยมานานกว่า 12 ปี กว่าเธอจะมาเจอนายจ้างที่จ่ายเงินครบตรงเวลาอย่างเจ้าของบ้านหลังนี้ เธอบอกว่าเคยโดนโกงค่าแรงมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า
แรงงานหญิงชาวลาวคนนี้ยอมรับว่าทำงานที่เมืองไทยดีกว่าเพราะได้เงินเยอะและชีวิตความเป็นอยู่ของเธอก็ดีว่าอยู่ที่โน้น เงินที่เธอได้มานั้นเธอจะส่งกลับบ้านทุก 2-3 เดือนครั้ง ครั้งละ 10,000 บาท เงินจำนวนนี้มากพอที่จะทำให้พ่อแม่ของเธอ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เธอบอกอีกว่าคนไทยใจดี เธอทำงานกับเจ้านายคนนี้ก็เหมือนอยู่กับแม่คนหนึ่ง
“คิดถึงบ้าน อยากกลับบ้านบ้างบางครั้ง แต่ก็มีโอกาสได้กลับช่วงสงกรานต์ แต่ถ้าให้กลับไปเลยคงไม่กลับเพราะอยู่ที่โน้นรายได้ไม่ดีมาก” หญิงชาวลาวกล่าว
ศักดิ์ณรงค์ พยงศักดิ์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน สัญชาติไทย เชื้อชาติพม่าคนนี้ บอกว่าแรงงานไทยได้รับสิทธิอย่างไร แรงงานต่างด้าวก็ควรได้สิทธิที่เท่าเทียมเช่นกัน ทั้งสิทธิทางการศึกษาของลูกหลานแรงงาน และสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเป็นต้น แต่ปัญหาของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับแจ้งส่วนใหญ่คือการโดนโกงค่าแรง
“กฏหมายที่ออกมาค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้ 300 บาท บางที่ยังให้ไม่ถึง 300 บาทเลยด้วยซ้ำ นายจ้างบางคนบอกว่าค่าแรงขั้นต่ำตั้ง 300 บาท แค่นี้พวกคนงานก็สบายแล้ว แต่หารู้ไม่ว่า 300 บาทนั้นพวกเขาแทบจะไม่พอใช้ ต่างจากเมื่อก่อนค่าแรงแค่ 150-200 บาทพวกเขาอยู่ได้เพราะโอทีมันเยอะแต่พอขึ้นค่าแรง 300 บาทไม่มีโอที พวกเขาก็ลำบาก แต่พอพวกเขาเรียกร้องก็ขู่เข็น แรงงานเหล่านี้แค่โดนขู่ก็กลัวแล้ว” ศักดิ์ณรงค์กล่าว
แม้ว่าการโกงค่าแรงจะผิดกฎหมาย และแม้ว่าลูกจ้าง ที่เป็นแรงงานต่างด้าวจะมีสิทธิแจ้งความดำเนินคดี แต่พวกเขาก็จำยอม เพราะนั่นไม่ต่างอะไรกับการเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง และนี่ก็คือวิถีชีวิตจริงของแรงงานต่างด้าว ในประเทศไทย
/////////////////////////////// ธัญพิสิษฐ์
Migrant workers find heaven and hope in Thailand
WHILE THAI WORKERS are expected to voice grievances over low pay against the rising cost of living today, many migrant workers continue struggling to make ends meet with little complaint. For these workers from Cambodia, Myanmar and Laos, Thailand is a still a good place to work.
"Poverty brought me here," said Chai, 27, who left Cambodia three years ago. "I have children and a wife to take care of. I want to save up so my children get good education and a better life."
Chai, who works at a construction site on Bang Na-Trat Road, explained that there were few jobs available in Cambodia and most of them paid very little, compared with Thailand, where there are plenty of well-paid jobs.
"I want to be a Thai national," he said, adding that the minimum daily wage in Cambodia was Bt100, compared with Bt300 in Thailand.
But it is not all sunshine and rainbows working here. Chai said he was cheated on his very first day and is sometimes not paid for work done. But he said he had no choice, and when he is not paid as promised, he moves on.
Chai is one of the 2.2 million migrant workers in Thailand.
Solah Por, 24, moved from Myanmar five years ago and now works at a restaurant on Bang Na-Trat. He says he overcame the language barrier thanks to his kind employer who taught him Thai, and in a year he was almost fluent. When he was 17, his parents told him to come to Thailand for a job because there were no opportunities in Myanmar. Over the past five years, he has only returned home twice.
"I was looking for a factory job, when I met Auntie [his employer] and she hired me. Life in Thailand is comfortable. At first I missed home, but now I don't," he added.
Saknarong Payungsak, a representative of a Myanmar workers' organisation in Thailand, said migrant workers were cheated often and many were paid less than the Bt300 legal minimum daily wage. Initially, when the minimum wage was Bt150-Bt200, many workers earned extra from overtime. Now, however, overtime work has dried up and they can barely make ends meet.
"Yet if they complain, they face threats, which terrifies them," he said.
Raks Thai Foundation official Wanna Butseng, who oversees migrant workers in the east coastal area, namely Trat and Chanthaburi provinces, said there were some 50,000 migrant workers in the area, mostly Cambodians from Koh Kong and Mon people from Myanmar. However, only about 10,000 of them hold legal documents, she said.
Most of these workers are in the fishery and farming sectors, and their most common problems are drug abuse, alcoholism and fist-fighting.
"If these workers have kind employers, they are happy, but if there is any problem, they can just cross the border and go home," she said.