:: วอนชาวประมงทะเลสาบสงขลาหยุดลากอวน คร่าชีวิตโลมาอิรวดี
โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลาเสี่ยงสูญพันธุ์ เหลือไม่เกิน 30 ตัว หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.สงขลา วอนให้ประชาชนในพื้นที่ หยุดการใช้อวนลากทำการประมง
นายจำนง
กลายเจริญ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.สงขลาเปิดเผยสาเหตุที่ทำให้โลมาอิรวดีสูญพันธุ์
คือการลากอวนปลาบึกของชาวบ้านในพื้นที่ การสืบสายเลือดแบบสายเลือดชิด
คือพี่น้องผสมพันธุ์กันเองทำให้มีอายุสั้น สภาพแวดล้อมของทะเลสาบสงขลาที่เปลี่ยนไป
การขยายตัวของชุมชน และการพลัดพรากระหว่างแม่กับลูกโลมาอิรวดี
“ในปีที่่ผ่านมาพบโลมาอิรวดีตายอย่างน้อย
5 ตัวแล้ว โดยติดอวนปลาบึกของชาวประมง บางตัวถูกตัดหางจนขาด และมีลูกที่พลัดหลงจากแม่ของมัน
โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อแม่ไม่อยู่ ลูกก็ไม่ได้ดื่มนม
สุดท้ายลูกโลมาอิรวดีก็เสียชีวิตตามไปด้วย” นายจำนง กล่าว
หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง
จ.สงขลา ระบุว่าโลมาอิรวดีในไทยเหลือเพียง 2
ฝูงสุดท้ายที่เหลืออยู่มีจำนวนราว 30 ตัว โอกาสที่มันจะสูญพันธุ์มีสูงมาก
ขณะนี้ต้องอาศัยการสร้างเครือข่ายกับชาวบ้าน นักเรียน
และชาวประมงในพื้นที่ในการอนุรักษ์มันอย่างจริงจัง เพราะปัจจัยความเสี่ยงทางธรรมชาติ
ทั้งประชากรของมันที่มีเลือดชิด ความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลาแล้ว
ยังมีปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่จัดเป็นภัยคุกคามการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดีที่น่าห่วงมากที่สุด
ขณะนี้ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
ได้เสนอแผนคุ้มครองโลมาอิรวดี ไปยังกรมอุทยาน โดยจะของบอย่างน้อย 1 ล้านบาท
เพื่อนำมาจัดซื้ออวนปลาบึกจากชาวประมงเกือบ 100 ผืนไปทำลายทิ้ง รวมทั้งจ่ายค่าชดเชย
และขอความร่วมมือประมงไม่ให้ใช้อวนจับปลาที่มีตาข่ายกว้างเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับโลมาอริวดี
นอกจากนี้จะมีการทำแนวเขตรอบพื้นที่ทะเลหลวง ด้วยการติดป้ายจุดละ 500 เมตร
จัดชุดลาดตระเวนและทำซั่งบ้านปลา
เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารให้โลมาอิรวดีอย่างน่อยปีละ 100 ลูก
ขณะเดียวเมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ศูนย์เอนเนอร์จี่ คอมเพล็กซ์ อาคาร A บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน) มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เพื่อการศึกษาวิจัยสถานภาพ การเคลื่อนที่ พฤติกรรม และภัยคุกคามของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา โดยจะดำเนินโครงการอนุรักษ์โลมาอิรวดีร่วมกันเป็นเวลา 3ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2556 – 2558 คาดว่าผลการดำเนินการจะช่วยให้โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาสามารถดำเนินชีวิตได้ภายใต้แหล่งอาหารที่สมบูรณ์ ปราศจากภัยคุกคามที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และส่งเสริมให้เครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลามีความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมอุนรักษ์โลมาอิรวดี
ทั้งนี้ โลมาอิรวดีอาศัยอยู่ในน้ำจืดในโลกมีเพียง 5 แห่งคือแม่น้ำอิรวดี ประเทศพม่า แม่น้ำโขงในส่วนที่เป็นของประเทศลาวและกัมพูชา แม่น้ำมะหะขาม ประเทศอินโดนีเซีย ทะเลสาบซิลิก้าประเทศอินเดีย และทะเลสาบสงขลาในประเทศไทย โดยในประเทศไทยโลมาอิรวดีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535ถูกจัดให้อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และในที่ประชุม CITES ปี 2546 ไทยได้เสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์คุ้มครองบัญชีที่ 1 ทำให้โลมาอิรวดีได้รับการคุ้มครองในระดับนานาชาติ จัดเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ 1 ใน 20 ของปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ อีกด้วย
------------------ ข่าวชิ้นนี้เขียนตอนฝึกงานที่ THE NATION (22/3/2556) ----------------
Trawler nets wiping out
Irrawaddy dolphins
The use
of trawling nets has brought Songkhla Lake's Irrawaddy dolphins close to
extinction, chief of Songkhla's Thalae Laung non-hunting area said yesterday.
Jamnong
Klaicharoen called on locals to stop using trawling nets because though the
nets were meant to capture giant catfish, fresh-water dolphins often found
themselves trapped and later died from injuries. He blamed the near-extinction
of the Irrawaddy dolphins on these nets. Other factors for the extinction
included inbreeding, which made the dolphins' life span shorter, the changing
environment in the Songkhla Lake, expansion of the urban community and baby
dolphins being separated from their mothers.
Jamnong said
some 100 artificial coral reef boxes, each 4-by-4-metres wide, had been placed
in areas inhabited by the Irrawaddy dolphins. Also, buoys had been placed to
identify the territory.
He said
officials were educating locals about the dangers of trawling nets and are
encouraging them to use other fishing tactics like raising shrimps or fish in
floating baskets.
Meanwhile,
the Department of Marine and Coastal Resources and PTT Exploration and
Production held a ceremony yesterday at Bangkok's PTT Energy Complex Building,
to sign a memorandum of understanding for protecting Irrawaddy dolphins in
Songkhla Lake. The MoU will lead to studies on the dolphins' living condition,
movements, behaviour and threats from now to 2015. The study aims to ensure
that the dolphins live in a fertile area, free from harm and extinction. It
will also promote the conservation network's activities.
Irrawaddy
dolphins can be found in Myanmar's Irrawady River, the mekong River in Laos and
Cambodia, Indonesia's Mahakam River, India's Chilika Lake and Thailand's
Songkhla Lake. They have been listed in CITES Appendix I.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น