บันทึกการเดินทาง ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน กับทีมนักข่าวพลเมือง Thai
PBS
ตอนที่ 3 จะอยู่ได้อย่างไร ถ้าไร้เสียงทะเล และเกลียวคลื่น
ตอนที่ 3 จะอยู่ได้อย่างไร ถ้าไร้เสียงทะเล และเกลียวคลื่น
ผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า
เหตุใดกลุ่มคนชาติพันธ์อย่างชาวเขา ชาวเลจะต้องไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ
หรือไม่ก็ถูกเอารัดเปรียบจากพวกนายทุน
อย่างที่ทีมงานรายการพลเมืองผู้เปลี่ยนทิศได้ลงพื้นที่มาถ่ายทำ
ชีวิตของชาวอุรักลาโว้ยในแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน
พี่เดี่ยว ทะเลลึก
เล่าประวัติของชาวอูรักลาโว้ยให้ฟังว่า กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว บรรพบุรุษของชาวอูรักลาโวยอาศัยอยู่ที่เกาะฆูนุงฌึรัย
ประเทศอินโดนีเซีย ทำมาหากินด้วยการทำประมงจับกุ้ง หอย ปู ปลาจนกระทั้งสังเกตเห็นว่าปลากระเบนราหูมักว่ายไปข้ามฝั่งไปอีกฝั่งหนึ่ง
จึงคิดว่าพื้นที่ฝั่งนั้นต้องมีความอุดมสมบูรณ์เป็นแน่ จึงออกเรือ
อพยพติดตามปลากระเบนราหูเหล่านั้น จนมาขึ้นฝั่งที่เกาะลันตา จ.กระบี่ของประเทศไทย
ชาวอูรักลาโวยเห็นว่าที่นี่อุดมสมบูรณ์ จึงตัดสินใจตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน
ส่วนปลากระเบนราหูตัวนั้น ก็มาเกยตื้นที่ชายฝั่งทะเลเกาะลันตาเช่นเดียวกัน
เวลาผ่านไปนานมาก ปลากระเบนราหูตัวนั้นก็กลายเป็นหิน ชาวอูรักลาโว้ยเรียกว่า “สังกะอู้”
และด้วยความสำนึกในบุญคุณที่ปลากระเบนราหูนำพวกเขามาตั้งถิ่นฐาน จึงเคารพ และขอพร
“สังกะอู้” ก่อนออกไปหาปลากลางทะเลเพื่อความเป็นสิริมงคล
และขอให้จับปลาได้เยอะๆ
สิ่งที่ชาวอูรักลาโว้ยกลัวที่สุดอาจไม่ใช่การไม่มีที่ทำกิน
และที่อยู่อาศัย
แต่เป็นวัฒนธรรมและประเพณีที่อาจจะหายไปพร้อมๆกับการพัฒนาทางธุรกิจ
และความเจริญที่มีเข้ามาโดยลืมนึกถึงสิทธิของชุมชน และเห็นแก่ความเป็นเพื่อนมนุษย์
หลายวันที่ผมสัมผัสของความเป็นอยู่ของชาวอูรักลาโวย
ก็สงสัยว่าพวกเขาอยู่อย่างมีความสุขหรือ เพราะถ้าไม่นับเรื่องการไล่ที่ทำกิน
การเอาเปรียบจากนายทุน ความเป็นอยู่ของพวกเขาไม่ค่อยสะดวกสบายนัก
ไม่มีเครืองอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ อย่างที่เราเคยชินในชีวิตประจำวัน
ผมคุยกับชาวอูรักลาโวย พวกเขาบอกว่าในตอนกลางคืนน้ำทะเลจะขึ้นถึงบ้าน
ชื่นเชอะแฉะไปหมด ต้องรอจนกว่าน้ำทะเลลดจึงจะนอนได้
หากแต่นี้ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิต แต่นี้เป็นวิถีชีวิตของพวกเขา ว่ากันว่าชาวอูรักลาโว้ยอยู่ไม่ได้ถ้าไร้เสียงทะเล
และเกลียวคลื่น...
//////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น