บทสรุป - บันทึกการเดินทาง ริมชายฝั่งทะเลอันดามัน กับทีมนักข่าวพลเมือง Thai
PBS
ผมจำได้ว่าสมัยเด็กๆ
เห็นรถข่าวไอทีวีวิ่งผ่านก็หวังว่าสักวันจะได้นั้งรถข่าวแบบนี้ออกไปทำข่าวบ้าง
และเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ของแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเป็นนักข่าว
ท่ามกลางความอยากเป็นโน้น อยากเป็นนี้มากมายในตอนที่ตัวเองเป็นเด็ก
มาวันนี้ได้มีโอกาสนั่งรถข่าวไทยพีบีเอสที่มีโลโก้นกติดขนาบข้างนำพาผม
และพี่ๆทีมงานรายการพลเมืองผู้เปลี่ยนทิศ Thai PBS เดินทางไกล ไปที่ภาคใต้ เป็นการเดินทางที่สนุกสนาน
นอกจากนั้นยังได้เห็นหลายสิ่ง หลายอย่างที่งดงาม และไม่เคยเห็นมาก่อน
ทั้งน้ำใจของชาวบ้าน ความพยายามในการเรียนรู้
ขณะอบรมนักข่าวพลเมืองที่จังหวัดตรัง
ผมจำได้ว่ามีชาวบ้านบางคนที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์มาก่อน
แม้แต่เม้าท์ก็ยังใช้ไม่เป็น ผมได้มีส่วนในการช่วยสอน แนะนำจนชาวบ้านคนนั้นเริ่มที่จะใช้เม้าท์เป็นได้
ผมเข้าใจว่าสำหรับคนที่ไม่เคยใช้คอมมาก่อน กับครั้งแรกของการได้ลองใช้ในครั้งนี้
แล้วสามารถเรียนรู้ได้ขนาดนี้ ต้องนับถือว่าพวกเขามีความพยาพยามเป็นอย่างยิ่ง
เป็นความพยาพยามที่ไม่ธรรมดาเพราะเกิดจากความต้องการที่จะช่วยเหลือและสื่อสารเรื่องราวในชุมชนของตัวเองให้สาธารณะชนได้รับรู้
ผ่านช่องทางนักข่าวพลเมือง Thai PBS
ผมใช้เวลาที่อยู่จังหวัดตรังเพียง
2 คืนครับ จากนั้นพวกพี่ๆ ทีมนักข่าวพลเมือง
Thai PBS ก็เดินทางข้ามทะเลมาที่เกาะลันตาจังหวัดกระบี่
ที่นี่มีชาวอูรักลาโวยอาศัยอยู่ ดูภายนอกก็ดูเหมือนชาวบ้านทั่วไป
แต่เมื่อได้สัมผัส ก็พบว่ามีตำนานที่น่าตืนตาตื่นใจ
และมีประเพณีควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง น่าเสียดายถ้าชาวอูรักลาโว้ย
ชาวบ้านธรรมดาๆ จะถูกเอารัดเอาเปรียบแบบนี้ต่อไป โดยที่ภาครัฐยังคงไม่เข้าใจ
และไม่หยุดฟังเสียงของพวกเขาบ้าง
หลังการเดินทางครั้งนี้
ทำให้ผมแน่ใจว่า เมื่อเรียนจบแล้ว จะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่สื่อมวลชนที่มีคุณภาพ
นาทีนี้ยังคงจำคำพูดของชาวบ้านคนหนึ่งที่จังหวัดตรังได้ว่า “เราไม่โดดเดี่ยวอีกต่อไป เพราะไทยพีบีเอสช่วยเรา” อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน
สื่อมวลชนทุกสื่อต่างมีอุดมการณ์ที่ดีทั้งนั้น ไม่ว่าจะสื่อสาธารณะ หรือสื่อเสรี
แต่จะเป็นรูปธรรมขึ้นได้นั้น ก็มาจากคนในองค์กรมีจิตวิญญาณของสื่อ
ที่จะไม่ปล่อยให้ประชาชนโดดเดี่ยวอีกต่อไป
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น