บทสรุป - จากบางนา
สู่บางเขน [การฝึกงานที่ ThaiPBS]
:: การเดินทางมาฝึกงานของผมครั้งนี้ก็มาถึงปลายทาง
ผมได้เห็นความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการเดินทางจากบางนา
สู่บางเขน คุณสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่นเคยกล่าวตอนเปิด Nation
Channel ว่า “ข่าวของเราเด็กป.4 ก็ต้องดูแล้วเข้าใจ” ขณะที่คุณหมอพลเดช
ปิ่นประทีป ประธานกรรมการนโยบาย Thai PBS เคยกว่าต่อรัฐสภาว่า “ข่าวของเราต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงให้ได้
แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ยังดี” คำกล่าวของผู้กุมบังเหียนทีวี
2 ช่องนี้ปรากฎออกมาผ่านทางหน้าจอ
และการทำงานหลังจออย่างเป็นรูปธรรม เห็นได้ชัดว่า Nation Channel ส่วนใหญ่มีการนำเสนอข่าวในรูปแบบการเล่าข่าว ทำให้ผู้ชมเข้าใจง่าย ส่วน Thai
PBS ส่วนใหญ่มีการนำเสนอแบบสกู๊ป
จึงต้องไปสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
ในเมื่อสังคมต้องการความหลากหลาย
การนำเสนอของทั้งสององค์กร
ล้วนตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของสังคม และเป็นประโยชน์ต่อผู้ชม เป็นอย่างยิ่ง
ฉะนั้นแต่และสื่อล้วนทำตามหน้าที่ ตามนโยบายของตน
แต่สิ่งที่เหมือนกันคือการให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง การวิเคราะห์ เจาะลึก
ที่ตั้งอยู่ในจริยธรรม แม้จะต่างกันเพียงรูปแบบ
แต่อุดมการณ์ไม่มีใครยิ่งหย่อนไปกว่าใคร
:: ผมประทับใจหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในช่วง
1 เดือนที่อยู่ในไทยพีบีเอส
18 พฤษภาคม
2555 เป็นวันคล้ายวันเกิดของผม เย็นวันนั้นก่อนผมจะกลับบ้าน
พี่ตุ วาระประเทศไทยถามว่า “วันนี้วันเกิดแกไม่ใช่หรอ”
หลังจากนั้นพี่ตุก็เป็นต้นเสียงร้องเพลง Happy Birthday แล้วพี่ๆที่นั่งอยู่ก็พากันร้องตามกันทั้งห้อง ผมประทับใจมากๆครับ
ตามปกติวันเกิดของเพื่อนๆที่โรงเรียน
หรือมหาวิทยาลัยถ้าเป็นรู้ว่าวันนี้เป็นวันเกิดของใครก็จะพากันร้องเพลง Happy
Birthday ให้ แต่วันเกิดของผมไม่ได้อยู่ในช่วงเปิดเทอม
ผมจึงมักเป็นฝ่ายร้องเพลง Happy Birthday ให้เพื่อนๆ
แต่ไม่เคยเป็นฝ่ายถูกร้องให้เลย วันคล้ายเกิดปีนี้ที่ Thai PBS จึงเป็นวันคล้ายวันเกิดที่มีความหมายมาก
เพราะนี่เป็นครั้งแรกที่มีคนร้องเพลง Happy Birthday แบบเป็นหมู่ให้ผม
ความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้ ก็กลายเป็นการสร้าง “The Best Impression” ให้กับผมและพี่ๆ ใน Thai PBS
31 พฤษภาคม
2555 เย็นวันสุดท้ายของการฝึกงาน ผมนำหนังสือ
“เราจะเดินไปไหนกัน” ของอาจารย์ประมวล
เพ็ง-จันทร์ ไปคืนพี่แวว หลังจากที่พี่แววเคยให้ยืม
ในวันที่ผมได้คุยกับพี่แววเป็นครั้งแรก การให้ยืมหนังสือ “เราจะเดินไปไหนกัน” ให้ผมอ่านระหว่างการฝึกงานนั้น
ถือเป็นตำราอีกเล่มที่ได้อ่าน และนำมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ที่เป็นไป
และเกิดขึ้นอยู่ตรงหน้า
ความตอนหนึ่งในหนังสือเท่าที่จำได้
ผู้เขียนเล่าให้ฟังว่า “เขาเห็นมดกำลังกัดกินไส้เดือน
ตัวเขาเองก็รู้สึกสงสาร และอยากช่วยเหลือ คิดไปคิดมา นี่คือวงจรตามธรรมชาติ เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน”
สังคมนี้ก็เหมือนกัน แม้จะกระทบกระทั้งกันมากเท่าไหร่
สุดท้ายผมก็ยังคงเห็นวงจรการพึ่งพิงอาศัย คนเราจะคิดอะไรมากมายไปทำไม
ในเมื่อถ้าถามว่า “เราจะเดินไปไหนกัน”
คำตอบที่เป็นสัจธรรมคือ “เราเดินไปหาความตายด้วยกันทั้งนั้น” กฎธรรมชาติข้อนี้น้อยนักที่ใครหลายคนจะนึกขึ้นได้
แต่ทันทีที่เรานึกถึงกฎข้อนี้ เราจะกลับมาสู่ปัจจุบัน และเห็นภาพที่อยู่ตรงหน้า
ในอีกแง่มุมหนึ่ง แง่มุมที่เป็นเพียงธรรมชาติของมนุษย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น