วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟังเสียงคนห้องกรง ในงานประกวดชุดนักโทษ

ฟังเสียงคนห้องกรง ในงานประกวดชุดนักโทษ
แนวคิดเรื่องสิทธินักโทษ อาจจะเป็นสิ่งที่หลายคนเห็นว่าไม่จำเป็น เพราะว่าเป็นผู้ที่กระทำความผิด แต่ความจริงแล้วแม้ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่คุกที่ถูกกักบริเวณ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสิทธิด้านอื่นเช่นสิทธิการรับรู้ข่าวสาร สิทธิการรักษาพยาบาล สิทธิที่จะได้รับการศึกษาจะหมดไปนะครับ  

กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw จึงจัดการประกวดชุดนักโทษ เพื่อสื่อสารไปสู่สังคมในวงกว้าง ให้หันมาสนใจประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังในเรือนจำ  (ชมคลิป)






นี่คือชุดโทษที่ผู้ถูกคุมขังระหว่างรอการพิจารณาคดี ต้องใส่ขึ้นศาล แม้ต่อมาความจริงสถานะของเขาอาจจะเป็นเพียงผู้บริสุทธิ์ // กลุ่มอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw หยิบยกกรณีนี้มาตั้งคำถามเรื่องสิทธิมนุษชนของนักโทษที่คดียังไม่สิ้นสุด จนนำมาสู่กิจกรรมประกวดชุดนักโทษ ในแนวคิด นักโทษก็เป็นคน

มีผู้ส่งผลงานออกแบบเข้าประกวดทั้งหมด 39 ชิ้น มีชิ้นงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ 2 รางวัล คือชิ้นนี้ ซึ่งเป็นชิ้นงานที่ไม่ได้มีการออกแบบชุดนักโทษ แต่ยกเลิกการใส่ชุดนักโทษไปเลย เหลือเพียงกุญแจมือที่ระบุข้อมูลและหมายเลขประจำตัวเท่านั้น  



ส่วนชุดนี้ก็ได้รับรางวัลชนะเลิศด้วยเหมือนกัน ผู้ออกแบบใช้สีเทาแทนความรู้สึกที่ไม่ได้ตัดสินว่าถูกผิด มีกระเป๋าเสื้อสีฟ้าแสดงถึงความสดใสไม่มัวหมอง ความหวัง ลักษณะเป็นเสื้อแขนสั้น กางเกงขาสั้น เหมาะสมกับสภาพอากาศในบ้านเรา

การประกวดครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชน ด้านแฟชั่น ด้านศิลปะ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เรื่องที่ต้องการให้แก้ไขเบื้องต้นคือนักโทษที่เดินทางมาศาลไม่ควรต้องใส่ชุดนักโทษ เพราะเขาไม่ใช่นักโทษเนื่องจากคดียังไม่สิ้นสุด 

การประกวดชุดนักโทษเป็นการเปิดประเด็นเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนของนักโทษในเรือนจำ รวมไปถึงการทำความเข้าใจระหว่างคนภายนอก และคนภายในห้องกรงด้วยครับ


เราได้พบกับผุ้หญิงคนนี้ เป็นอดีตผู้ต้องขังเรือนจำหญิง เธอเล่าย้อนถึงเรื่องราวชีวิตในเรือนจำที่แสนโหดร้ายให้เราฟังว่า วงรอบของชีวิตวนเวียนอยู่กับกิจวัตรเดิมๆ ที่เป็นปัญหาคือเรื่องอาหารที่เป็นเนื้อติดกระดูก และที่หลับที่นอนที่คับแคบ เธอตั้งข้อสังเกตุว่าในคุกมีแต่คนจน

ขณะที่ชายคนนี้ยอมรับว่าเคยเข้าออกคุกเป็นประจำด้วยข้อหาเสพยาเสพติดอยู่หลายสิบปี จนกระทั่งได้บวชเป็นพระ จึงกลับเนื้อกลับตัว และด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา เขาบอกว่าการใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาความรุนแรง ผลที่ได้คือความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้น โดยที่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเก่า ปัญหาเดิมได้

แม้ว่านักโทษ คือผู้ที่กระทำความผิด คุกจึงมีหน้าที่สร้างเงื่อนไขความยากลำบากและจำกัดสิทธิเสรีภาพของนักโทษเพื่อเป็นการลงโทษ แต่เจ้าหน้าที่ไอลอว์คนนี้ บอกว่านักโทษยังคงมีสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานด้านอื่นๆ ด้วย

สำหรับชุดนักโทษที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในกิจกรรมนี้ ผู้ออกแบบได้รับเงินรางวัล 2000 บาท และหลังจากนี้กลุ่มไอลอว์จะนำแบบชุดนักโทษดังกล่าวนำเสนอต่อกรมราชทัณฑ์ ต่อไป // ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย 

////////////////////////////////////////////////


BURNING ISSUE

Even behind bars, dignity shouldn't be denied

Chularat Saengpassa
Chularat@nationgroup.com May 20, 2014 


Is a prisoner's dark brown clothing a sign of his degraded human dignity?

It is to some activists. But the truth is uniforms are by far the least of a prisoner's problems.

Few people know that when in prison, convicts can wear anything - T-shirts and jeans or pyjamas. Only when they are to go outside, like appearing in court, are they required to wear the inmate uniform.

The official wear now is a short-sleeved shirt and shorts for men. Women have to wear a long sarong. They are of the same colour, with light and dark shades of brown.

A prisoner told me he was okay with the uniform. While in jail, what troubled him most were the living conditions.

For example there is limited space for prisoners to hang wet clothes, which remain damp and smell bad. When it is time for meals, it is especially hard to find a piece of meat; when it comes to sleep, the place is crowded - in some prisons, inmates lie down shoulder to shoulder.

Added to these living conditions, they also feel stressed by social judgements. Some insist they are innocent. Some, charged under lese majeste law, are distressed. Some, in old age, suffer because of the absence of proper healthcare.

In a way, large numbers feel they have been put in a cell for the wrong reasons. Many lawyers and activists agree they have been.

"There is a connection between poverty and jail. It's a correct perception that only the poor go to jail," said an activist at a seminar last weekend.

Some may ask - why should we take care of these people?

Well, the reason is these people belong to our society. People can commit crimes, but they deserve another chance. Second, guilty people should be punished, but not to the extent they have to give up all human dignity.

It is difficult though for the system to obtain better services and conditions.

Today, national prisons hold more than 200,000 people, despite their limited capacity, which explains a lot about the tight space and poor food.

A nursing home is budgeted at about Bt120 for food for the elderly; but the allowance for each prisoner is a lot less.

Those who cannot get bail, or cannot afford bail payments, languish in prison, waiting for their trials to end.

Thailand has a large number of scientists. They should be clever enough to design a technology that facilitates the monitoring of these people, if they are not to be put in jail.

The problem is that once men, usually the poor, get charged, society considers them wrongdoers who deserve punishment. Few - aside from their family members - would wonder or care how much punishment was enough.

The activist, who has been in many prisons, said there are a large number of prisoners who have no visitors throughout their serving time - and who have not a single dime to spend on items like soap or shampoo. She suggested donations as a way to make merit, to living people.

My own experience is that at some prisons there are also a large number of old people. The guards told me most of them had done nothing wrong, but they had volunteered to go to jail to save their children, mostly dealers in drugs.

Prisons are like another world to the people outside, but inside there are living people.

If Thailand must have places to contain wrongdoers, they should be entitled to better treatment, at least with cleaner clothes and better food. Indeed, having their freedom ripped off them is bad enough.

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ชีวิตเด็กสลัมคลองเตยเมื่อวันใกล้เปิดเทอม

ชีวิตเด็กสลัมคลองเตยเมื่อวันใกล้เปิดเทอม

วันที่ 16 พฤษภาคมนี้จะเป็นวันเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2557 ของหลายโรงเรียนทั่วประเทศรวมทั้งโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนแออัดคลองเตยกรุงเทพมหานครด้วย (ชมคลิป )


เมื่อวันเปิดเทอมใกล้มาถึง “ทองเลื่อนทองเถื่อน” วัย 50 ปีผู้เป็นมารดาของลูกชายวัยกำลังเรียน 2 คนและอาศัยอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตย   จะมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นเพราะต้องหาเงินเป็นค่าขนมส่งลูกไปโรงเรียนทุกวันบ้านของทองเลื่อนมีสมาชิกในครอบครัวประกอบด้วยเธอสามีลูกชายคนโตวัย 20 ปีกำลังศึกษาอยู่ในระดับปวศ. และลูกชายคนเล็กวัย 12 ปีที่จะขึ้นชั้นป.6 ในวันเปิดเทอมนี้


ปัจจุบันทองเลื่อนสามีและลูกไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองต้องเช่าบ้านในล็อก 4 5 6 ในย่านคลองเตยโดยเสียค่าเช่าเดือนละ 1,500 บาททองเลื่อนและสามีประกอบอาชีพรับจ้างขนของที่ท่าเรื่อคลองเตยซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอนบางวันอาจไม่มีงานค่าแรงรับจ้างครั้งหนึ่งเฉลี่ยอยู่เพียง 200 – 400 บาทเท่านั้นทุกคนในบ้านจะต้องออกไปหางานทำไม่เว้นแม้แต่ลูกชายคนโตที่กำลังเรียนปวศ.ก็ต้องช่วยพ่อแม่รับจ้างขนของเพื่อให้ได้เงิน

แต่สำหรับลูกคนเล็กอย่างเด็กชายศุภโชคทองเถื่อนที่วัยเพียง 12 ปียังเด็กเกินไปที่จะทำงานหนักเขาจึงเป็นคนเดียวในบ้านที่ไม่ได้ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวในทางกลับกันก็อยู่ในวัยเรียนที่ช่วงเปิดเทอมจะต้องได้รับเงินไปโรงเรียนทุกวันศุภโชคบอกว่าเขาได้เงินไปโรงเรียนวันละ 30 บาทเขารู้ถึงปัญหาความขัดสนของครอบครัวตัวเองมาโดยตลอดสิ่งที่ศุภโชคทำได้ในเวลานี้คือการช่วยครอบครัวประหยัด

กระปุกออมสิน 2 ใบถูกวางอยู่บนหิ้งพระและบนหัวนอนทั้งหมดเป็นของศุภโชคเงินที่เขาได้รับไปโรงเรียนเพียง 30 บาทต่อวันจะถูกหักออก 10 บาทเพื่อหยอดลงกระปุกออมสินหลายครั้งที่การหยอดกระปุกออมสินของศุภโชคช่วยให้ตัวเองมีเงินไปโรงเรียนในวันที่แม่ไม่มีเงินให้

ทองเลื่อนแม่ของศุภโชคบอกว่าแม้ตนเองจะขัดสนอย่างไรแต่สิ่งหนึ่งที่จะต้องประคับประคองไว้คือส่งลูกเรียนให้จบเท่าที่เขาจะเรียนได้

“ต้องอดทนบางทีชักหน้าไม่ถึงหลังก็ต้องไปกู้แขกมาใช้จ่ายดอกร้อยละ 20 ก็ยอมไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนฉันอยากให้ลูกได้เรียนสูงๆจะได้มีอาชีพรายได้ที่ดีเลี้ยงครอบครัวอยากเห็นใบปริญญาของลูก” ทองเลื่อนกล่าว

และในวัดเปิดเทอมที่กำลังจะมาถึงทั้งเสื้อกระเป๋ารองเท้าที่ใส่ไปโรงเรียนของศุภโชคยังคงเป็นของเก่าของเดิมที่เคยได้ฟรีมาจากโรงเรียนเมื่อหลายปีที่แล้วแม้ว่าเสื้อจะหมองและคับตัวไปบ้างรองเท้าและกระเป๋าจะขาดไปบ้างก็ตาม

ยายช้วนเลี้ยงหลาน 4 คน


เช่นเดียวกับอีกครอบครัวในชุมชน 70 ไร่ย่านคลองเตยช้วนเกาะแก้วคือหญิงชราวัย 60 ปีที่ต้องรับภาระเลี้ยงดูหลานและเหลนวัยกำลังเรียนถึง  4 คนคนแรกเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 6 คนที่สองเรียนอยู่ประถมศึกษาปีที่ 4 คนที่ 3 เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 3 และคนสุดท้ายอายุ 3 ขวบกำลังจะเข้าโรงเรียน

บ้านหลังเล็กบุสังกะสีกว้างเพียงวาครึ่งหลังคามีรอยน้ำรั่วซึมคือที่อยู่อาศัยของยายช้วนหลานและเหลนรวม 5 ชีวิตบ้านหลังหลังนี้เป็นบ้านเช่าที่ต้องจ่ายเดือนละ 1,500 บาท

ยายช้วนไม่ได้ทำงานเพราะสุขภาพไม่แข็งแรงเงินค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูหลานและเหลนทั้งหมดคือเงินที่ลูกของยายช้วนส่งให้เดือนละ 5,000 บาทไม่เกินนี้หากไม่พอก็ต้องไปกู้ยืมเสียดอกร้อยละ 20 วงรอบชีวิตของยายช้วนคือได้เงินมาเอาไปโปะหนี้เก่าไม่พอใช้ไปกู้ต่อวนอยู่อย่างนี้

ค่ากินอยู่ต่อวันของคนทั้ง 5 ชีวิตตกวันละ 300 บาทชาวบ้านร้านตลาดย่านนั้นรู้ดีว่าครอบครัวยายช้วนขัดสนเช่นไรจึงเอื้อเฟื้อข้าวราดแกงหรือก๋วยเตี๋ยวให้หลานๆของยายช้วนกีนฟรีไม่เสียตังค์

ปัญหาครอบครัวยายช้วนหนักถึงขนาดที่หลานวัย 14 ท้องในวัยเรียนต้องลาออกจากโรงเรียนไปหางานทำเมื่อคลอดลูกออกมาตนจึงต้องเลี้ยงดูก่อนหน้าเคยเลี้ยงลูกพอลูกมีลูกเอาหลานให้เลี้ยงหลานมีลูกเอาเหลนให้เลี้ยงยายช้วนเลี้ยงคนมา 3 ชั่วอายุคนแล้ว

“หลานอดไม่ได้บางวันฉันกินพริกป่นละลายน้ำปลาแต่ให้หลานกินไข่ถ้ามีเงินก็ซื้อหมูซื้อไก่ใส่ตู้ไว้คนข้างบ้านเขาเอากับข้าวมาให้ก็ได้กินบ้างเด็กมันเกิดมาแล้วให้ทำอย่างไรถ้าเราไม่เลี้ยงแล้วใครจะเลี้ยงก็คิดว่าชาติก่อนเคยเอาลูกเอาหลานให้เขาเลี้ยงชาตินี้เลยต้องมาเลี้ยงลูกหลานเขาคิดปลงไปอย่างนี้นั่งหลังพิงฝาน้ำตาไหลคิดอ๋อกรรมเวรมองหลานนอนกางมุ้งเรียงกันเนี่ยโถ่ถังเอ้ยถ้ากูเป็นอะไรไปจะทำยังไงเนี่ยลูกเอ้ยก็คิดนะไม่ใช่ไม่คิด” ยายช้วนกล่าว

หลาน 3 คนเรียนอยู่ที่โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา  ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครและอยู่ในชุมชนแออัดคลองเตยจึงมีสวัสดิการต่างๆเป็นชุดนักเรียนฟรีและมีอาหารกลางวันฟรียายช้วนบอกว่าในช่วงประถม – มัธยมในโรงเรียนหากยังมีสวัสดิการจากรัฐที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหลานก็จะได้ไปโรงเรียนแต่หากจะต้องเสียเงินส่งเสียให้ระดับที่สูงกว่านี้คงไม่ปัญญาชีวิตที่ยากจนและปัญหาภายในครอบครัวที่รุมเร้าก็ทำให้ยายช้วนไม่คาดหวังกับการส่งหลานเรียนถึงปริญญาแค่คิดว่าวันหนึ่งจะหาข้าวสารกรอกหม้อก็ยากแล้ว

โรงเรียนสถานที่บริสุทธิ์และไม่มีพิษภัยกับเด็กที่นี่


ชุมชนแออัดหรือสลัมคลองเตยมีขนาดพื้นที่ 816  ไร่ประกอบด้วย  42 ชุมชนย่อยถือเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีประชากรมากกว่า 87,000 คนในจำนวนนี้ 30,000 คนเป็นเยาวชนที่นี่มีปัญหาเด็กและเยาวชนทุกรูปแบบโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนาที่ตั้งอยู่กลางชุมชนคลองเตยดูเหมือนจะเป็นสถานที่ที่บริสุทธิ์และไม่มีพิษมีภัยกับเยาวชนที่นี่มากที่สุด


ก่อนวันที่ 16 พฤษภาคมซึ่งจะเป็นวันเปิดเทอมที่โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนามีคุณครูมาช่วยกันจัดเตรียมห้องเรียนจัดบอร์ดตกแต่งห้องให้ดูสวยงามเพื่อต้อนรับนักเรียนในช่วงเปิดเทอม
ด้วยความที่เป็นโรงเรียนกลางสลัมคุณครูที่นี่คุ้นชินกับปัญหาเด็กออกกลางคันมาเรียนวันแรกวันต่อๆมาหายเงียบและพฤติกรรมเด็กที่ก้าวร้าวอยู่เป็นประจำ

นางสาวพรณิชาชาตะพันธุ์ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนาบอกว่าครูที่นี่ต้องใช้ความพยายามสูงมากและต้องใช้ความอดทนมากในการตามเด็กเข้าชั้นเรียนเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากชุมชนโดยรอบเป็นชุมชนแออัดที่แต่ละบ้านล้วนมีปัญหาครอบครัวด้วยกันทั้งสิ้นเด็กๆที่นี่เป็นเด็กยากจนครอบครัวแตกแยกอยู่กับตายายบางคนเป็นเด็กก้าวร้าวครูต้องใช้จิตวิทยาในการพูดคุยเพื่อให้กลับเข้าชั้นเรียนมีการเชิญผู้ปกครองเด็กมาพบแทบทุกวันหรือบางทีก็ไปหาที่บ้านจนเป็นเรื่องปกติ

“มาเรียนที่นี่แทบไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเรียนก็ฟรีข้าวฟรีนมฟรีไม่ต้องเอาเงินมาโรงเรียนก็อยู่ได้ขอแค่เดินมาเรียนยอมรับว่าปัญหาที่นี่หนักกว่าที่อื่นๆเราต้องให้กำลังครูอยู่เสมอๆแต่ครูที่นี่ก็ใจสู้เอาเด็กอยู่เราตามเยี่ยมบ้านตามทุกที่ที่มีเด็กอยากให้ผู้ปกครองเข้าใจและส่งลูกมาเรียนการที่เด็กอยู่ในระบบการศึกษาจะทำให้ปัญหาสังคมลดลง” ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนากล่าว

/////////////////////////////////////////////////// ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ฟังเสียงแรงงานข้ามชาติ: ความหวัง ความฝัน ความเท่าเทียม

ฟังเสียงแรงงานข้ามชาติ: ความหวัง ความฝัน ความเท่าเทียม

ประเทศไทย กลายเป็นจุดหมายแห่งความหวังของแรงงานเพื่อน ทั้งลาว กัมพูชา และพม่า ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานระบุว่า ปัจจุบันมีแรงงานเพื่อนบ้านที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยและทำงานอยู่ในไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายถึง 2 ล้านคน เราอยากรู้ว่าอะไรทำพวกเขาเดินทางมาทำงานที่นี่ คุณภาพชีวิตดีขึ้นหรือไม่ เราจึงไปพบกับพวกเขาในที่ที่ คนเมืองอย่างเรามองข้าม (ชมคลิป)



โครงการก่อสร้างทาวน์โฮมริมถนนบางนา-ตราด กม.4.5 แห่งนี้ ถูกสร้างด้วยแรงงานชาวกัมพูชาเกือบทั้งหมด ที่นี่เราพบกับ “ชัย” เป็นหนึ่งในแรงงานชาวกัมพูชาที่ทำงานอยู่ที่นี่ เขาอยู่เมืองไทยมา 3 ปีแล้ว ชัยบอกว่าเคยโดนโกงค่าแรงตั่งแต่วันแรกที่มาทำงาน จนถึงวันนี้ก็ยังโดนอยู่ ตนไม่มีทางสู้ จึงจำยอม เขาทำได้แค่ย้ายไปทำงานในที่ใหม่ แต่หากเงินออกไม่ตรงเวลาหรือโดนโกงอีกก็ต้องย้ายไปเรื่อยๆ

“ผมตัดสินใจเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพราะที่ประเทศของผมไม่ค่อยมีงานทำ ถ้ามีเงินเดือนก็น้อย บางทีเงินก็ได้ไม่ชัวร์ มาอยู่ที่นี่มีงานทำ เงินก็ได้มากกว่า ถ้าผมเลือกที่จะเป็นคนไทยได้ ผมอยากเป็นคนไทยครับ” แรงงานชาวกัมพูชาบอก

เช่นเดียวกับแรงงานชาวพม่าคนนี้ ทำงานเป็นลูกจ้างที่ร้านข้าวมันไก่ สี่แยกบางนา โซหล่าปอทำงานอยู่ที่นี่มา 5 ปีแล้ว เขาบอกว่าที่พม่าไม่มีงาน ไม่มีเงิน  จึงตัดสิรใจเข้ามาทำงานที่เมืองไทยตั้งแต่อายุ17 ปี และได้กลับบ้าน 2 หรือ 3 ปีครั้งเท่านั้น

อุปสรรคสำคัญของการเข้ามาเป็นแรงงานข้ามชาติของโซหล่าปอ คือการพูดภาษาไทย แรกๆเขาพูดภาษาไทยไม่ได้ แต่เจ้าของร้านเป็นคนสอนให้ เขาใช้เวลาเพียง 1 ปีก็สามารถพูดและฟังภาษาไทยได้

“ตอนแรกจะทำงานโรงงาน แต่พอมาเจอป้า (เจ้าของร้านข้าวมันไก่) เลยขอทำงานที่นี่ เพราะเจ้าของ้รานไม่มีใครช่วย อยู่ประเทศไทยสบายไม่ลำบาก ช่วงแรกๆคิดถึงบ้านแต่อยู่นานๆไปแล้วก็ไม่คิดถึง” ชายชาวพม่าบอก


ที่บ้านหลังใหญ่ ย่านเกษรนวมินทร์ เราได้พบกับพี่หวาน เธอเป็นแม่บ้านชาวลาวที่ทำงานอยู่ในเมืองไทยมานานกว่า 12 ปี กว่าเธอจะมาเจอนายจ้างที่จ่ายเงินครบตรงเวลาอย่างเจ้าของบ้านหลังนี้ เธอบอกว่าเคยโดนโกงค่าแรงมาซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แรงงานหญิงชาวลาวคนนี้ยอมรับว่าทำงานที่เมืองไทยดีกว่าเพราะได้เงินเยอะและชีวิตความเป็นอยู่ของเธอก็ดีว่าอยู่ที่โน้น เงินที่เธอได้มานั้นเธอจะส่งกลับบ้านทุก 2-3 เดือนครั้ง  ครั้งละ 10,000 บาท เงินจำนวนนี้มากพอที่จะทำให้พ่อแม่ของเธอ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  เธอบอกอีกว่าคนไทยใจดี เธอทำงานกับเจ้านายคนนี้ก็เหมือนอยู่กับแม่คนหนึ่ง

“คิดถึงบ้าน อยากกลับบ้านบ้างบางครั้ง แต่ก็มีโอกาสได้กลับช่วงสงกรานต์ แต่ถ้าให้กลับไปเลยคงไม่กลับเพราะอยู่ที่โน้นรายได้ไม่ดีมาก” หญิงชาวลาวกล่าว

ศักดิ์ณรงค์ พยงศักดิ์ นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิแรงงาน สัญชาติไทย เชื้อชาติพม่าคนนี้ บอกว่าแรงงานไทยได้รับสิทธิอย่างไร แรงงานต่างด้าวก็ควรได้สิทธิที่เท่าเทียมเช่นกัน ทั้งสิทธิทางการศึกษาของลูกหลานแรงงาน และสิทธิการเข้าถึงการรักษาพยาบาลเป็นต้น แต่ปัญหาของแรงงานต่างด้าวที่ได้รับแจ้งส่วนใหญ่คือการโดนโกงค่าแรง

“กฏหมายที่ออกมาค่าแรงขั้นต่ำตอนนี้ 300 บาท บางที่ยังให้ไม่ถึง 300 บาทเลยด้วยซ้ำ นายจ้างบางคนบอกว่าค่าแรงขั้นต่ำตั้ง 300 บาท แค่นี้พวกคนงานก็สบายแล้ว  แต่หารู้ไม่ว่า 300 บาทนั้นพวกเขาแทบจะไม่พอใช้ ต่างจากเมื่อก่อนค่าแรงแค่ 150-200 บาทพวกเขาอยู่ได้เพราะโอทีมันเยอะแต่พอขึ้นค่าแรง 300 บาทไม่มีโอที พวกเขาก็ลำบาก แต่พอพวกเขาเรียกร้องก็ขู่เข็น แรงงานเหล่านี้แค่โดนขู่ก็กลัวแล้ว” ศักดิ์ณรงค์กล่าว


แม้ว่าการโกงค่าแรงจะผิดกฎหมาย และแม้ว่าลูกจ้าง ที่เป็นแรงงานต่างด้าวจะมีสิทธิแจ้งความดำเนินคดี  แต่พวกเขาก็จำยอม เพราะนั่นไม่ต่างอะไรกับการเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง และนี่ก็คือวิถีชีวิตจริงของแรงงานต่างด้าว ในประเทศไทย


///////////////////////////////  ธัญพิสิษฐ์


Migrant workers find heaven and hope in Thailand

WHILE THAI WORKERS are expected to voice grievances over low pay against the rising cost of living today, many migrant workers continue struggling to make ends meet with little complaint. For these workers from Cambodia, Myanmar and Laos, Thailand is a still a good place to work.
"Poverty brought me here," said Chai, 27, who left Cambodia three years ago. "I have children and a wife to take care of. I want to save up so my children get good education and a better life."

Chai, who works at a construction site on Bang Na-Trat Road, explained that there were few jobs available in Cambodia and most of them paid very little, compared with Thailand, where there are plenty of well-paid jobs.

"I want to be a Thai national," he said, adding that the minimum daily wage in Cambodia was Bt100, compared with Bt300 in Thailand.

But it is not all sunshine and rainbows working here. Chai said he was cheated on his very first day and is sometimes not paid for work done. But he said he had no choice, and when he is not paid as promised, he moves on.

Chai is one of the 2.2 million migrant workers in Thailand.

Solah Por, 24, moved from Myanmar five years ago and now works at a restaurant on Bang Na-Trat. He says he overcame the language barrier thanks to his kind employer who taught him Thai, and in a year he was almost fluent. When he was 17, his parents told him to come to Thailand for a job because there were no opportunities in Myanmar. Over the past five years, he has only returned home twice.

"I was looking for a factory job, when I met Auntie [his employer] and she hired me. Life in Thailand is comfortable. At first I missed home, but now I don't," he added.

Saknarong Payungsak, a representative of a Myanmar workers' organisation in Thailand, said migrant workers were cheated often and many were paid less than the Bt300 legal minimum daily wage. Initially, when the minimum wage was Bt150-Bt200, many workers earned extra from overtime. Now, however, overtime work has dried up and they can barely make ends meet.

"Yet if they complain, they face threats, which terrifies them," he said.

Raks Thai Foundation official Wanna Butseng, who oversees migrant workers in the east coastal area, namely Trat and Chanthaburi provinces, said there were some 50,000 migrant workers in the area, mostly Cambodians from Koh Kong and Mon people from Myanmar. However, only about 10,000 of them hold legal documents, she said.

Most of these workers are in the fishery and farming sectors, and their most common problems are drug abuse, alcoholism and fist-fighting.

"If these workers have kind employers, they are happy, but if there is any problem, they can just cross the border and go home," she said.

วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

yyy

ชาวบ้านไม่เชื่อ กทพ. ถอยสร้างทางด่วนผ่านตลาดบางพระจริงๆ

หลังจากมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง โครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยา เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีการออกมาคัดค้าน โดยชาวชุมชนตลาดบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากกังวลว่าโครงการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และประเพณีดั้งเดิมอย่างประเพณีแห่องค์พญายม (ชมคลิป)

          







ไม่วางใจการทางพิเศษถอยโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยาจะไม่ผ่านบางพระจริงๆ

ไม่วางใจการทางพิเศษถอยโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยาจะไม่ผ่านบางพระจริงๆ

หลังจากมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง โครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยา เพื่อแก้ปัญหาการจราจรบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง ก็มีการออกมาคัดค้าน โดยชาวชุมชนตลาดบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากกังวลว่าโครงการดังกล่าวอาจจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต และประเพณีดั้งเดิมอย่างประเพณีแห่องค์พญายม (ชมคลิป)


องค์พญายมที่ลอยอยู่กลางทะเล ถูกลอยออกไปไกลตามความเชื่อของชาวบางพระ พวกเขาเชื่อว่าองค์พญายมจะนำสิ่งชั่วร้ายต่างๆออกไปจากชุมชน นี่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่า 80 ปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของคนที่นี่

ที่ตลาดบางพระ ผมได้พบกับ ป้าซิ้ม หญิงวัย 72 ปี เธอเปิดร้านขายยาแผนปัจจุบันอยู่ที่นี่มา 30 ปีแล้ว ป้าซิ้มกำลังนั่งมองขบวนแห่พญายมที่เคลื่อนผ่านหน้าบ้าน ด้วยความเศร้า เธอบอกว่าวิถีชีวิต และประเพณีที่เห็นมาตั้งแต่เด็ก อาจหายไปหากเกิดโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยา เพราะต้องมีการเวนคืนพื้นที่บางส่วนของชุมชน


“ความเจริญเข้ามามันเจริญแบบนี้ก็ไม่ไหวนะสิ มันมีทางด่วนเข้ามา แล้วการทำกินล่ะ ประเพณีก็หายไป” สุภาภร วัฒกวณิชย์ (ป้าซิ้ม) ชาวชุมชนตลาดบางพระ จังหวัดชลบุรี

โครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยาเป็นการต่อขยายทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) จากเดิมสิ้นสุดที่แยกทางเลี่ยงเมืองชลบุรี ก็จะขยายออกไปจนถึงพัทยาใต้ มีขนาด 6 ช่องจราจร รวมระยะทางต่อขยาย 57 กิโลเมตร เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

มีการศึกษาเส้นทางทั้งหมด 7 เส้นทาง และทางที่เหมาะสมคือต้องผ่านชุมชนบางพระ


ที่ผ่านมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้จัดให้มีการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกไม่มีผู้คัดค้าน แต่ครั้งที่ 2 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมามีผู้คัดค้านโครงการฯ จำนวนมาก

“เริ่มต้นมาก็ไม่มีความจริงใจมาตั้งแต่แรก ทำประชาพิจารณ์ครั้งแรกชาวบ้านไม่รู้เรื่องเลย” ประสพสุข เจริญแพทย์ แกนนำชาวบ้านคัดค้านทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยา กล่าว


ผมในฐานะนักข่าวไทยพีบีเอสสอบถามความชัดเจนเรื่องนี้กับผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้รับคำตอบว่าโครงการฯ อยู่ในระหว่างศึกษาความเหมาะสม ยังไม่สามารถระบุได้ตอนนี้ว่าจะสร้างผ่านชุมชนตลาดบางพระหรือไม่

“ทุกคนไม่อยากให้กระทบวิถีชีวิตของใครเลย แต่ด้วยเหตุ ด้วยผล มันก็ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม เราก็ต้องยอม” อัยยณัฐ ถิ่นอภัย ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทย กล่าว



เมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านบางพระ จึงยังวางใจไม่ได้ พวกเขายังคงรวมตัวคัดค้านโครงการนี้ต่อไป ขณะที่ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ไม่เห็นความจำเป็นในการสร้างทางพิเศษดังกล่าวเพราะจะกระทบกับวิถีชุมชนเป็นจำนวนมาก

“คำถามคือความเป็นของใคร ตอนนี้ที่เป็นปัญหาคือการจราจรติดขัด โดยเฉพาะข้อต่อของบริเวณแหลมฉบัง จริงๆบริเวณนั้นเป็นเรื่องของการจัดการจราจรที่ค่อนข้างแย่ ถ้ามีการจัดการที่ดี ผมไม่เห็นว่ามันเกี่ยวข้องกับโครงการบูรพาวิถีเลย” ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ม.ศิลปากร กล่าว


การรับฟังความเห็นจากชาวบ้านครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากนั้นการทางพิเศษฯ จะนำสรุปผลการศึกษา และรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ได้ มาพิจารณาว่าโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี-พัทยา เหมาะสมที่จะก่อสร้างต่อไปหรือไม่

Tanpisit Lerdbamrungchai // ThaiPBS