วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556

ช่วยเหลือกะเหรี่ยงกว่า 3,000 คน เหตุเพลิงไหม้ศูนย์พักพิงฯ จ.แม่ฮ่องสอน


ช่วยเหลือกะเหรี่ยงกว่า 3,000 คน เหตุเพลิงไหม้ศูนย์พักพิงฯ จ.แม่ฮ่องสอน

ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาสังคม ( NGO) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เร่งระดมช่วยเหลือชาวกะเหรี่ยงในค่ายอพยพยที่ถูกไฟไหม้ เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา ขณะที่น้ำดื่ม เครื่องนุ่งห่ม และกาต้มร้ำร้อน กำลังขาดแคลน



นางศิวัฌญา ทอดเสียง พนังงานสำนักป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย จ.แม่ฮ่องสอนระบุว่าขณะนี้ยังไม่มีการประชุมหารือกันกับหน่วยงานต่างๆ การช่วยเหลือในเวลานี้เป็นไปอย่างเร่งด่วน หน่วยงานหรือองค์กรไหนสามารถช่วยเหลือในสิ่งใดได้ ก็ช่วยเหลือกันไปก่อน โดยทางจังหวัดได้เปิดบัญชี """ช่วยเหลือผู้ประสบอัคคีภัยศูนย์พักพิงแม่สุรินทร์" เลขที่บัญชี 508-0-25610-9 ธนาคารกรุงไทย สาขาแม่ฮ่องสอน ซึ่งตอนนี้มีจำนวนเงินที่บริจาคเข้ามาเพียง 30,000 บาทเท่านั้น ส่วนสิ่งของบริจาคที่จำเป็นที่สุในเวลานี้คือกาต้มน้ำ

"ตอนนี้มีผู้คนบริจาค อาหารแห้งจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งยังขาดอุปกรณ์ในการประกอบอาหารคือกาต้มน้ำ" นางศิวัฌญา กล่าว

ThoeNyar Minyo คณะทำงานในองค์สตรีกระเหรี่ยงเปิดเผยว่า การช่วยเหลือล่า่สุดของภาคประสังคมได้มีการแบ่งงานออกเป็น 3 ส่วน โดย UNHCR ดูแลส่วนที่พักพิง ได้จัดเตรียมเต้นท์ 800 หลังเป็นที่พักให้กับผู้ประสบภัย ILC ดูแลส่วนงานสุขภาพของผู้อพยพย และ TVC ดูแลส่วนงานประกอบอาหาร 

"สิ่งของที่จำเป็นที่สุดตอนนี้น่าจะเป็น น้ำดื่ม อาหารแห้ง และเต้นที่อยู่อาศัย" ThoeNyar กล่าว

Htoowea Lweh หนึ่งในคณะกรรมการผู้หนี่ภัยการสู้รบชาวกะเหรี่ยง Karenni Refugee Committee (KnRC)  เปิดเผยข้อมูลของจำนวนเด็ก และสตรีในค่ายอพยพ พบว่ามีเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีจำนวน 520 คน และสตรีมีจำนวน 320 คน



"ตอนนี้สุขภาพจิตของผู้สูงอายุในค่ายอพยพไม่ค่อยดีนัก เราต้องเข้าไปพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างไกล้ชิด และทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เกิด เรารู้ดีว่าการสร้างที่พักของชาวกะเหรี่ยงใช้อุปกรณ์ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติ แม้เแต่หลังคายังมุงด้วยใบตองตึง ฉะนั้นมันจึงติดไฟง่าย ขณะเดียวกัน UNHCR ก็ห้ามไม่ให้ชาวเหรี่ยงก่อสร้างที่พักด้วยสังกะสี ต่อจากนี้คงจะต้องมีการให้ความรู้เรื่องอัคคีภัยกับชาวกะเหรี่ยงอพยพให้มีความระมัดระวังกันมากขึ้น ส่วนเรื่องการย้ายค่ายอพยพไปอยู่ที่อื่น ตอนนี้่ยังไม่มีความชัดเจน" Htoowea กล่าว

________________________________
ธัญพิสิษฐ์ เลิศบำรุงชัย 

นักเขียนยุคใหม่ ต้องกล้ารับคำวิจารณ์


นักเขียนยุคใหม่ ต้องกล้ารับคำวิจารณ์



วงเสวนา “10 ปี เซเว่นบุ๊คอวอร์ด มองอนาคตไทยในทศวรรษหน้า” สรุปร่วมกันว่านักเขียนยุคใหม่ต้องกล้ารับคำวิจารณ์ของผู้อื่น อะไรที่ไม่สามารถวิจารณ์ได้จะไม่เกิดการพัฒนา ขณะเดียวกันแนวโน้มเนื้อหาวรรกรรมมีลักษณ็รักๆใคร่ๆมากขึ้น วอนนักเขียนรุ่นใหม่เน้นเนื้อหาสาระ

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 20 มีนาคม 2556 ซีพี ออลล์ ได้จัดเวทีเสวนา 10 ปี เซเว่นบุ๊คอวอร์ด มองอนาคตนักเขียนไทย ในทศวรรษหน้า เพื่อต้องการระดมแนวคิด และมองอนาคตของวงการนักเขียน ซึ่งประเทศไทยจะเป็นหนึ่งชาติประชาคมอาเซียน มีวรรณกรรมต่างชาติเข้ามาสู่แวดวงนักอ่านมากขึ้น

นางยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรื่อง หรือนามปากกาเข็มพลอย นักเขียนรางวัลชนะเลิศ ประเภทนวนิยาย เซเว่นบุ๊คอวอร์ดครั้งที่ 9 กล่าวว่า ปัจจุบันหนังสือมีราคาแพง เพราะใช้กระดาษดี มีราคาปกดูหรูหรา แต่ในความเป็นจริงคุณค่าของหนังสืออาจจะไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ หากแต่อยู่ที่เนื้อหา และประเด็นที่นเสนอในแง่มุมใหม่ เน้นข้อมูลเชิงลึกของตัวละครเช่นการประกอบชีพ ผู้อ่านจะได้มีความรู้ใหม่ๆ ตามไปด้วย

“ดิฉัน สังเกตว่าเนื้อหาวรรณกรรมยุคนี้มีลักษณ์เรื่องราวรักๆ ใคร่ๆ บ่อยครั้งที่วรรณกรรมยุคใหม่ของไทย ไม่ค่อยระบุว่านางเอก พระเอกประกอบอาชีพอะไรชัดเจน มักอธิบายเชิงสรีระ เช่นขนตายาว สูงขาว ผมสีดำมันวาวเป็นต้น นอกจากนี้นักเขียนยุคใหม่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเปิดใจ กล้ารับคำวิพากย์วจารณ์งานเขียนของตนเอง หากมีแนวคิดปิดกั้น ไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะทำให้งานเขียนไม่เกิดการพัฒนา” ยุวดี กล่าว

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ (เซเว่น อีเลฟเว่น) กล่าวว่า 10 ปีที่แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยกว่าคนประเทศอื่น จึงอยากให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น ยิ่งยุคไอที ยิ่งเป็นห่วงคนไทยว่าจะไม่ได้เขียน จึงอยากส่งเสริมให้คนไทยได้ทั้งอ่านและเขียน

ทั้งนี้ เซเว่น อีเลเว่นได้ประกาศครบรอบ 1 ทศวรรษของการเชิดชูนักเขียน ส่งเสริมการผลิตหนังสือดีมีคุณประโยชน์ต่อสังคมผ่านโครงการประกวดหนังสือดีเด่นรางวัล “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด มองอนาคตนักเขียนไทยในทศวรรษหน้า” ตอกย้ำรางวัลทรงคุณค่าของวงการนักเขียน

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ ผู้บริหารเซเว่น อีเลฟเว่น กล่าวต่อไปว่า หนึ่งในนโยบายที่สคัญของบริษัท คือมุ่งมั่นที่สร้างคนเก่ง เสริมคนดีให้กับสังคมไทย จึงได้ดำเนินโครงการ CSR และกิจกรรมเพื่อสังคม ด้านส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา การอ่านการเขียน การเรียนรู้มาโดยตลอด โดยเฉพาะโครงการประกวดหนังสือดีเด่น รางวัล “เซเว่นบุ๊คอวอร์ด” ซึ่งจัดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับจากนักเขียนส่งผลงานเข้าประกวด เป็นเวทีประกวดหนังสือดี ให้กับสังคมไทยเป็นจำนวนมาก

__________________________________________
อมลดา ลอมตะกุล
สายแก้ว เรืองพงษ์ดิษฐ์
นักศึกษาฝึกงาน THE NATION (21/3/2556)

แล้งหนัก 38 จังหวัด !!! รัฐขุดน้ำบาดาลช่วยเหลือ?


แล้งหนัก 38 จังหวัด !!! รัฐขุดน้ำบาดาลช่วยเหลือ?
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ภัยแล้งหนัก 38 จังหวัด 405 อำเภอ 2,756 ตำบล 27,358 หมูบ้าน ขณะเดียวกันกระทรวงทรัพยากรณ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งจัดหาเครื่องสูบน้ำ และเจาะบ่อบาดาล ช่วยเหลือชาวบ้าน
ภาพประกอบ ไม่เกี่ยวกับข่าว 
กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณะภัยเปิดเผยว่า ยังคงมีจังหวัดที่ถูกประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ((((((((((((()))(((((((( ()(ฝนทิ้งช่วง/ภัยแล้ง) จำนวน 38 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสิน อุดรธานี ยโสธร มหาสารคาม ชัยภูม ขอนแก่น นครราชสีมา สุโขทัย แพร่ จันทบุรี ตาก เชียงราย หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด แม่ฮ่องสอน อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครสวรรค์ สุรินทร์ อุตรดิตถ์ เลย ลำพูน น่าน พิจิตร กำแพงเพชร พิษโลก เชียงใหม่ พะเยา มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา ปราจีน ตรัง ชัยนาท สกลนคร บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และจังหวัดตราด
มีรายงานว่าปริมาณฝนเมื่อปีที่แล้ว (2555) มีจำนวนน้อย ประกอบกับมีการระบายน้ำในเขื่อนออก เพื่อป้องการน้ำท่วม ทำให้น้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำปีนี้ (2556) มีน้อยกว่าปกติ เรามีความจำเป็นที่จะต้องจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคเป็นลำดับแรก ในช่วงนี้จึงไม่อยากให้ประชาชนทำนาปัง เพราะจะไม่มีน้ำในการทำเกษตรกรรม อย่างไรก็ตามคาดว่าช่วงเดือนเมษายน พฤษภาคม จะมีฝนตกลงมาตามฤดู” 
กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ขณะนี้กรมทรัพยากรน้ำ ได้ประสานไปยังกรมบรรเทาสาธารณะภัย และกรมชลประทานให้รวบรวมข้อมูลจำนวนรถน้ำ เครื่องสูบน้ำที่พร้อมให้การช่วยเหลือ และรวบรวมข้อมูลแหล่งน้ำธรรมชาติ บ่อดาล เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานในจังหวัดได้รู้ว่าจะไปเอาน้ำจากที่ใดมาใช้ทดแทน
เราลงพื้นที่ได้ตรวจดูสถานการณ์น้ำที่ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ปรากฎว่าน้ำแล้งมากๆ ถึงขนาดชาวบ้านสามารถเดินข้ามแม่น้ำพองไปมาได้ กรมทรัพยากรธรรมชาติก็เข้าไปช่วยเจาะบ่อบาดาล และขุดลอกแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาภัยแล้ง” นายชัยพร ศิริพรไพบูลย์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าว
ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งปีนี้ (2556) มีงบประมาณกลางวงเงินจำนวน 5000 ล้านบาท โดยทางกระทรวงจะลำดับความสำคัญก่อนหลัง และจะมีการลงพื้นที่ไปตรวจสอบ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งซ้ำซาก และพื้นที่ที่มีความพร้อมในการแก้ปัญหาภัยแล้ง จะได้รับการพิจราณาจ่ายงบประมาณเป็นลำดับต้นๆ บางโครงการก็มีจำนวนงบประมาณ 2 – 3 ล้านบาท และบางโครงการอาจมีจำนวนงบประมาณถึง 10 ล้านบาท
_____ข่าวนี้เขียนขึ้น ตอนฝึกงานที่ TheNation (21/3/2556)______

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

เหลือโลมาอิรวดีอยู่ 30 ตัวในประเทศไทย !!!


:: วอนชาวประมงทะเลสาบสงขลาหยุดลากอวน คร่าชีวิตโลมาอิรวดี

โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลาเสี่ยงสูญพันธุ์ เหลือไม่เกิน 30 ตัว หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.สงขลา วอนให้ประชาชนในพื้นที่ หยุดการใช้อวนลากทำการประมง

นายจำนง กลายเจริญ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.สงขลาเปิดเผยสาเหตุที่ทำให้โลมาอิรวดีสูญพันธุ์ คือการลากอวนปลาบึกของชาวบ้านในพื้นที่ การสืบสายเลือดแบบสายเลือดชิด คือพี่น้องผสมพันธุ์กันเองทำให้มีอายุสั้น สภาพแวดล้อมของทะเลสาบสงขลาที่เปลี่ยนไป การขยายตัวของชุมชน และการพลัดพรากระหว่างแม่กับลูกโลมาอิรวดี
ในปีที่่ผ่านมาพบโลมาอิรวดีตายอย่างน้อย 5 ตัวแล้ว โดยติดอวนปลาบึกของชาวประมง  บางตัวถูกตัดหางจนขาด และมีลูกที่พลัดหลงจากแม่ของมัน โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อแม่ไม่อยู่ ลูกก็ไม่ได้ดื่มนม สุดท้ายลูกโลมาอิรวดีก็เสียชีวิตตามไปด้วย นายจำนง กล่าว
หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จ.สงขลา ระบุว่าโลมาอิรวดีในไทยเหลือเพียง  2 ฝูงสุดท้ายที่เหลืออยู่มีจำนวนราว  30 ตัว โอกาสที่มันจะสูญพันธุ์มีสูงมาก ขณะนี้ต้องอาศัยการสร้างเครือข่ายกับชาวบ้าน นักเรียน และชาวประมงในพื้นที่ในการอนุรักษ์มันอย่างจริงจัง เพราะปัจจัยความเสี่ยงทางธรรมชาติ ทั้งประชากรของมันที่มีเลือดชิด ความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลาแล้ว ยังมีปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายที่จัดเป็นภัยคุกคามการสูญพันธุ์ของโลมาอิรวดีที่น่าห่วงมากที่สุด


ขณะนี้ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ได้เสนอแผนคุ้มครองโลมาอิรวดี ไปยังกรมอุทยาน โดยจะของบอย่างน้อย 1 ล้านบาท เพื่อนำมาจัดซื้ออวนปลาบึกจากชาวประมงเกือบ  100  ผืนไปทำลายทิ้ง รวมทั้งจ่ายค่าชดเชย และขอความร่วมมือประมงไม่ให้ใช้อวนจับปลาที่มีตาข่ายกว้างเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายกับโลมาอริวดี นอกจากนี้จะมีการทำแนวเขตรอบพื้นที่ทะเลหลวง ด้วยการติดป้ายจุดละ 500 เมตร จัดชุดลาดตระเวนและทำซั่งบ้านปลา เพื่อให้เป็นแหล่งอาหารให้โลมาอิรวดีอย่างน่อยปีละ 100 ลูก




ขณะเดียวเมื่อเวลา 9.00 น. วันที่ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ศูนย์เอนเนอร์จี่ คอมเพล็กซ์ อาคาร A บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตเลียม จำกัด (มหาชน)  มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา ระหว่างกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เพื่อการศึกษาวิจัยสถานภาพ การเคลื่อนที่ พฤติกรรม และภัยคุกคามของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา โดยจะดำเนินโครงการอนุรักษ์โลมาอิรวดีร่วมกันเป็นเวลา 3ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2556 – 2558 คาดว่าผลการดำเนินการจะช่วยให้โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาสามารถดำเนินชีวิตได้ภายใต้แหล่งอาหารที่สมบูรณ์ ปราศจากภัยคุกคามที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และส่งเสริมให้เครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลามีความเข้มแข็งในการดำเนินกิจกรรมอุนรักษ์โลมาอิรวดี

ทั้งนี้ โลมาอิรวดีอาศัยอยู่ในน้ำจืดในโลกมีเพียง 5 แห่งคือแม่น้ำอิรวดี ประเทศพม่า แม่น้ำโขงในส่วนที่เป็นของประเทศลาวและกัมพูชา แม่น้ำมะหะขาม ประเทศอินโดนีเซีย ทะเลสาบซิลิก้าประเทศอินเดีย และทะเลสาบสงขลาในประเทศไทย โดยในประเทศไทยโลมาอิรวดีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535ถูกจัดให้อยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง และในที่ประชุม CITES ปี 2546 ไทยได้เสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์คุ้มครองบัญชีที่ 1 ทำให้โลมาอิรวดีได้รับการคุ้มครองในระดับนานาชาติ จัดเป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่ควรอนุรักษ์ 1 ใน 20 ของปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงรับโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ อีกด้วย

------------------ ข่าวชิ้นนี้เขียนตอนฝึกงานที่ THE NATION (22/3/2556) ----------------

Trawler nets wiping out Irrawaddy dolphins

The use of trawling nets has brought Songkhla Lake's Irrawaddy dolphins close to extinction, chief of Songkhla's Thalae Laung non-hunting area said yesterday.

Jamnong Klaicharoen called on locals to stop using trawling nets because though the nets were meant to capture giant catfish, fresh-water dolphins often found themselves trapped and later died from injuries. He blamed the near-extinction of the Irrawaddy dolphins on these nets. Other factors for the extinction included inbreeding, which made the dolphins' life span shorter, the changing environment in the Songkhla Lake, expansion of the urban community and baby dolphins being separated from their mothers.

Jamnong said some 100 artificial coral reef boxes, each 4-by-4-metres wide, had been placed in areas inhabited by the Irrawaddy dolphins. Also, buoys had been placed to identify the territory.
He said officials were educating locals about the dangers of trawling nets and are encouraging them to use other fishing tactics like raising shrimps or fish in floating baskets.

Meanwhile, the Department of Marine and Coastal Resources and PTT Exploration and Production held a ceremony yesterday at Bangkok's PTT Energy Complex Building, to sign a memorandum of understanding for protecting Irrawaddy dolphins in Songkhla Lake. The MoU will lead to studies on the dolphins' living condition, movements, behaviour and threats from now to 2015. The study aims to ensure that the dolphins live in a fertile area, free from harm and extinction. It will also promote the conservation network's activities.

Irrawaddy dolphins can be found in Myanmar's Irrawady River, the mekong River in Laos and Cambodia, Indonesia's Mahakam River, India's Chilika Lake and Thailand's Songkhla Lake. They have been listed in CITES Appendix I.
 

วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ผมขอเล่าเรื่อง “ตอบโจทย์” เป็นคนสุดท้าย


ผมขอเล่าเรื่อง “ตอบโจทย์” เป็นคนสุดท้าย

สำนวนที่ว่า “กลืนไม่เข้าคายไม่ออก” น่าจะเหมาะกับบรรยากาศในไทยพีบีเอสเป็นอย่างยิ่งในห้วงเวลานี้ หัวค่ำของคืนวันที่ 15 มีนาคม 2556 พี่ที่ผมรู้จักในไทยพีบีเอสแชทมาบอกทางเฟซบุ๊คว่า ให้รอดูข่าวตอบโจทย์ หลังข่าวในพระราชสำนัก เพราะกองบรรณาธิการต้องการจะบอกกับคนดูว่า ตอนนี้มีคนมาชุมนุมอยู่ในไทยพีบีเอสตั้งแต่เที่ยง เพื่อไม่ให้ออกอากาศเทป “ตอบโจทย์ ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์” โดยมีจำนวนคนมาชุมชนราว 30 แต่เต็มไปด้วยอารมณ์ที่เกลี้ยวกาจ แม้ผู้บริหารจะพยามอธิบายอย่างใจเย็น แต่สถานการณ์กลับไม่ได้เย็นตามใจของผู้บริหารที่เข้ามาเจรจา
บก.ตอบโจทย์แจง เคารพความเห็นต่าง

ก่อนหน้านั้นช่วงเที่ยง เทปตอบโจทย์ ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์ ถูกนำเข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายไทยพีบีเอส วาระเร่งด่วน ผลปรากฎว่าสามารถนำออกอากาศได้ ตามหลักการของสื่อสาธารณะ ที่ต้องการให้พื้นที่กับคุนทุกฝ่าย

นำมาสู่ข่าวภาคค่ำ ในช่วงหลังข่าวในพระราชสำนักประมาณ 2 ทุ่มเศษๆ ในคืนวันเดียวกัน ไทยพีบีเอสยืนยันว่ายังคงนำเทปตอบโจทย์ออกอากาศต่อไป พร้อมกับคำอธิบายจากทีมงานรายการตอบโจทย์

“บรรณาธิการรายการตอบโจทย์ ตระหนักว่า ประเด็นเรื่องกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่อ่อนไหว และถูกสอบถามถึงวัตถุประสงค์ของการนำเสนอรายการ ในวันนี้ได้มีผู้ชมส่วนหนึ่งสะท้อนความคิดเห็น และขอให้ยุติการออกอากาศรายการตอบโจทย์ ในค่ำวันนี้ ทีมงานบรรณาธิการรายการตอบโจทย์ประเทศไทย เคารพความเห็นต่างอย่างหลากหลายพร้อมทั้งรับฟังทุกความคิดเห็นและข้อห่วงใยของผู้ชมทุกภาคส่วน และชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ ของผลิตรายการในประเด็นนี้ เพื่อเปิดพื้นที่ในการพูดคุยถึงประเด็นขัดแย้งทางสังคมที่มีอยู่จริงอย่างใครคร่วญตามแนวทางสันติ โดยมีความคาดหวังว่า ผู้ชมรายการทุกตอนจะชั่งน้ำหนักเหตุและผลของทุกๆฝ่าย เพื่อประกอบการใช้วิจารณญาณ โดยคำตอบของคำถามทั้งหมด คือ ส่วนหนึ่งของเทปรายการที่จะออกอากาศในค่ำคืนนี้”

15 นาทีก่อนตอบโจทย์ออกอากาศ

นั่นเป็นเพียงข่าวที่ออกมาเมื่อเวลาประมาณ 2 ทุ่มเศษ และเป็นข่าวที่นำมาซึ่งการตัดสินของผอ.ไทยพีบีเอส สมชัย สุวรรณบรรณ ในเวลาต่อมา พี่ที่ผมรู้จักเล่าให้ผมฟังว่า สถานการณ์หลังจากข่าวที่บอกว่าจะเดินหน้าออกอากาศไปต่อนั้น สร้างความไม่พอใจให้กับคนที่มาชุมนุมอยู่ราว 30 คน และตัวเลขเพียง 30 คนนี่เองที่นำมาซึ่งคำถามว่า ถึงกับต้องระงับการออกอากาศเชียวหรือ พี่ที่ผมรู้จักบอกต่อไปว่า ก็เพราะบรรยากาศช่วงนั้นอึมครึมมาก เสียงดัง และข่มกันว่า จะเรียกให้พรรคพวกมาเพิ่มอีก ดูเหมือนจะรุ่นแรงขึ้นเรื่อยๆ

สอดคล้องกับ คำอธิบายของคุณสมชัย ผอ.ไทยพีบีเอสที่บอกว่า ไม่มีข่าวไหนสำคัญไปมากกว่าความปลอดภัยของคนข่าว ในฐานะผู้บริหารสูงสุด การตัดสินใจก่อนรายการจะออกอากาศอีกเพียง 15 นาทีข้างหน้าอย่างฉับพลันครั้งนี้ เป็นไปเพื่อรักษาความปลอดภัยขององค์กร และถนอมน้ำใจของผู้ชุมนุมจนยอมกลับบ้านในคืนนั้น

พลันเวลา 21.45 น. ซึ่งเป็นเวลาออกอากาศของเทปตอบโจทย์ ตอนสถาบันกษัตริย์ ก็ถูกเปลี่ยนเป็นตอนอื่นทันที พร้อมกับตัววิ่งที่อธิบายราวกับว่า เป็นการแบรนเทปนี้ ด้วยคำที่มีความหมายคลุมเคลือ คือ “ระงับ” ก่อนภายหลังจะออกมาว่า ชะลอการออกอากาศ ก็ช้าไปเสียแล้ว เพราะหลังจากนั้นคนในสังคมก็แบ่งข้างกันทันที สะท้อนผ่านทางโซเชี่ยลมีเดียดุเดือด และชัดเจน

นักวิชาการแนะแนวทางนำเสนอประเด็นอ่อนไหว

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเด็นเรื่องพระมหากษัติย์ ในสังคมไทย เป็นเรื่องที่แตะต้องไม่ได้ แต่ก็ปฏิเสธความคิดเชิงวิพากษ์ ตามระบบสังคมประชาธิปไตยที่มีสิทธิเสรีภาพในการถกเรื่องนี้ ตามหลักเหตุและผลไม่ได้เช่นกัน หลักการของสื่อสาธารณะ ตีความคำว่าสาธารณะอย่างง่ายๆ คือ เป็นทีวีของทุกคนทุกฝ่าย ที่สามารถใช้พื้นที่สื่อนี้ได้ไม่ว่าจะมีแนวคิดแบบใด บนพื้นฐานของเหตุและผล เป็นไปอย่างอารยะ

ขณะเดียวข้อจำกัดในการนำเสนอประเด็นอ่อนไหว ก็ต้องใช้ศาสตร์ และศิลป์แห่งการสื่อสาร อย่างรอบด้าน นักทำสารคดีอิสระอย่าง อาจารย์พิภพ พานิชภักดิ์ ยกหลักการทางนิเทศศาตร์ที่เข้าใจง่ายๆ ว่า

“สำหรับคนทำทีวีเป็น เราจะตระหนักดีว่า ถึงแม้นเราทำอะไรเป็นชุด หรือ เป็นตอน ๆ ความสมบูรณ์ของเนื้อหาต้องจบในตอน ความรอบด้านต้องมีอยู่ในทุกตอน เราไม่สามารถกล่าวอ้างว่าถ้า (ทน) ดูจนจบแล้วจะเข้าใจความตั้งใจทั้งหมดของผู้ผลิตเนื้อหา กติกาทนดูจนจบพบได้ในภาพยนตร์ และ หนังสือ แต่ไม่ใช่กติกาของรายการโทรทัศน์ เพราะเราตระหนักถึงความจริงที่ว่าผู้ชมส่วนใหญ่จะไม่ได้ติดตามดูทุกตอน โทรทัศน์จึงไม่ง่ายอย่างที่คิด ธรรมชาติของ Broadcast จึงไม่เหมือน Niche Media จำพวก หนังสั้น และ นิตยสาร ข้ออ้างที่บอกว่าช่วยไม่ได้ วัฒนธรรมการผลิตและชมทีวี จำเป็นต้องเปลี่ยน เป็นข้ออ้างที่มักง่าย เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง และ ไม่แสดงความรับผิดชอบ ของคนที่ทำทีวีไม่เป็น”

“ภิญโญ ยุติทำรายการตอบโจทย์”

ตอบโจทย์ เป็นเรื่องที่คนทั้งประเทศพูดถึงเพียงชั่วข้ามคืน สำนักข่าวอิสรา น่าจะเป็นสำนักข่าวที่ใส่ใจข่าวนี้มากเป็นพิเศษ ถึงกับสามารถรายงานเบื้องลึก เบื้องหลังการระงับการออกอากาศตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี มีการเปิดชื่อบรรณาธิการที่ตบเท้า คุยกับผอ.ให้ระงับออกอากาศ ต่อมาสำนักข่าวอิศราแก้ข่าวต่อว่าไม่มีการตบเท้า เป็นการประชุมพร้อมกัน ของบรรณาธิการ 14 คน ข่าวที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของสำนักข่าวอิศรา ทำให้คนในไทยพีบีเอสส่วนหนึ่งวิพากษ์ วิจารณ์ว่าไม่เหมาะสม

ตกบ่ายของวันที่ 16 มีนาคม “ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา” ประกาศยุติรายการ ด้วยถ้อยแถลงอย่างดุเด็ดเผ็ดมัน

“เพื่อเป็นการแสดงจุดยืนต่อวิชาชีพสื่อสารมวลชน ต่อการข่มขู่ คุกคาม และการแทรกแซงการทำงานจากภายใน อย่างไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อแสดงออกต่อความไม่เห็นด้วยต่อการตัดสินใจยุติการออกอากาศรายการตอบโจทย์ประเทศไทย ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ผมและทีมงานทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ ขอยุติการทำรายการตอบโจทย์ประเทศไทย นับจากบัดนี้เป็นต้นไป เนื่องจากไม่สามารถตอบโจทย์ได้อีกต่อไป ว่าเรายังจะรักษาความเชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อสารมวลชน ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไว้ได้อย่างไร เรายินดีเลือกที่จะสละรายการ เพื่อรักษาหลักการ 

 เรายินดีที่จะถูกประนาม คุกคาม เพื่อจะจุดไฟท่ามกลางความมืดหวาดขลาดกลัวต่อการสนทนาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้สว่างไสว เพื่อนำการกล่าวร้ายโจมตีในที่มืดออกสู่ที่แจ้ง ให้คนได้ถกแถลงแสดงเหตุผลและหักล้างกันด้วยปัญญา มิใช่อารมณ์ 

“เพื่อเป็นการยุติข่าวลือทางร้าย ในนามรายการผมขอชี้แจงว่า การยุติการออกอากาศรายการนั้น มิได้เกิดจากการแทรกแซงของรัฐบาล ของบุคคลใกล้ชิดหรือเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างที่มีความพยายามจะกล่าวร้าย อีกทั้งมิได้เป็นการกดดันในระดับนโยบาย แต่กระบวนการตรวจสอบภายในสู่ภายนอกอย่างโปร่งใสและไม่สมยอมเท่านั้น ที่จะทำให้ฝ่ายบริหารตอบสังคมได้อย่างตรงไปตรงมาว่า เหตุผลที่แท้นั้นคืออะไร ในการตัดสินใจยุติการออกอากาศรายการตอบโจทย์ประเทศไทย และนี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ไทยพีบีเอสต้องร่วมกันตอบ ก่อนจะตอบโจทย์ประเทศไทยต่อไปได้

ไทยพีบีเอส ตอบโจทย์ “ภิญโญ”

คืนของวันที่ 18 มีนาคม ไทยพีบีเอสก็ตอบโจทย์ของ “ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา” ด้วยการเดินหน้าออกอากาศ เทป ตอบโจทย์ ตอนสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็สายเสียแล้วไปเพราะ “ภิญโญ” คงไปแล้วไปลับไม่กลับมา และไปกันทั้งทีมอีกด้วย

มาถึงตรงนี้เรื่องชัดเจนแล้วว่า ไม่มีการแทรงแซงจากอำนาจใดๆ ในการระงับการออกอากาศ แต่กลับซับซ้อนยิ่งขึ้นในเรื่องความขัดแย้งภายในองค์กร

เราคงต้องแยกระหว่างรายการของไทยพีเอส กับข่าวของไทยพีบีเอส รายการตอบโจทย์ที่ผ่านมาอยู่สังกัดฝ่ายข่าว ต่อมาตั้งแต่เดือนมกราคม ย้ายไปอยู่กับฝ่ายรายการ มีเพียง “อรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์” คนจากฝ่ายข่าว ที่เป็นคนดิวระหว่างฝ่ายข่าว กับทีมงานรายการตอบโจทย์ ในฐานะบรรณาธิการรายการ ตอบโจทย์ประเทศไทย เพียงคนเดียว

แน่นอน การเลือกประเด็นในการคุยกัน ในการรายการตอบโจทย์ ถ้าสังกัดฝ่ายข่าว กองบรรณาธิการก็คงจะเป็นผู้กำหนดประเด็น เป็นไปตามระบบ บรรณาธิการ แต่หากอยู่สังกัดฝ่ายรายการ ผู้ผลิตรายการ และทีมงานก็คงเป็นคนกำหนดประเด็น

ระบบบรรณาธิการไทยพีบีเอสมีปัญหา

ความผิดปกติตรงนี้ ทำให้สุทธิชัย หยุ่น ปธ.เครือเนชั่น ตั้งข้อสังเกตุว่า ระบบบรรณาธิการของไทยพีบีเอสกำลังมีปัญหา

คณะบรรณาธิการ หรือ Editorial Board ที่ประกอบด้วยหัวหน้าฝ่ายข่าว รายการ สารคดี และผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย โดยมีผู้อำนวยการสถานีเป็นประธาน Editorial Board นี่เอง คือ ผู้วางแผน พิจารณา ตรวจสอบ กำกับดูแลให้คุณภาพของเนื้อหาทุกรายการของสถานีได้มาตรฐานและตรงกับหลักจริยธรรม วิถีปฏิบัติ (Best Practices) และร่วมในการวางผังรายการของสถานี”

“ผมไม่ทราบว่า ไทยพีบีเอส มีกลไกทำนองเป็น Editorial Board หรือไม่ แต่ถ้าหากเป็นไปตามข่าว คือ บรรณาธิการบางคนต้อง ตบเท้าไปหาผู้อำนวยการสถานีก่อนรายการนั้นออกอากาศเพียง 15 นาที ก็แปลว่าสถานีไม่มีกระบวนการและกลไกของการพิจารณาใคร่ครวญตรวจสอบภายใน ให้ได้มาตรฐานอันควรก่อน”

ใบตองแห้งเชื่อมโยงความขัดแย้งองค์กร

ถ้าเรื่องตอบโจทย์ไม่ถูก ใบตองแห้ง แห่งประชาไทนำไปเล่า และสืบค้นข้อมูลเชิงลึกก็คงแปลก ใบตองแห้งได้เปิดเผยจดหมาย โต้กันของบรรณาธิการ 2 คน เนื้อหาเป็นการถกเถียงเรื่องรายการตอบโจทย์ ใบตองแห้งนำความขัดแย้งนี้เชื่อมโยงเข้ากับความผิดปกติของการสังกัดส่วนงานของรายการตอบโจทย์ ที่ควรจะอยู่ฝ่ายข่าว แต่กลับไปอยู่ฝ่ายรายการ โดยอ้างตัวละคร 2 คนคือ ณาตยา แวววีรคุปต์ ตัวแทนจากฝ่ายข่าว กับ อรพิน ลิลิตวิศิษฎ์วงศ์ ตัวแทนจากรายการตอบโจทย์ ที่โดดไปอยู่ฝ่ายรายการ เชื่อมโยงต่อไปที่เรื่องราว ที่ณาตยาและเพื่อนบรรณาธิการ ตบเท้าหาผอ.ให้ระงับออกอากาศ จนนำมาซึ่งการถอดตัวของทีมตอบโจทย์เพื่อแสดงจุดยืนในวันรุ่งขึ้น ราวกับว่าจะเอาคืนเสียให้ได้

ความจริงเรื่องนี้ไม่น่ามีความซับซ้อนเลย การถกเถียงกันน่าจะเป็นเรื่องปกติในกองบรรณาธิการ ในองค์กรไหนๆ ก็คงมีการส่งเมลล์โต้กันแบบนี้ ผมรู้มาว่า พี่เหน่ง “อรพิน” กับ พี่แวว “ณาตยา” เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์มาแต่สมัยไอทีวี มิตรภาพที่มีมาอย่างยาวนานน่าจะคุยกันได้ หลังจากนี้

ตอนนี้รายการตอบโจทย์ ยังไม่ได้หายไปไหน และกลับมาอยู่สังกัดฝ่ายข่าวเช่นเดิม ตอบโจทย์ในวันที่ไม่มี “ภิญโญ” อาจดูน่าเบื่อไปนิด เพราะลุคพิธีกรเป็นผู้ประกาศ เหมือนถามตามสคริปต์ แต่เชื่อว่า คน พัฒนาได้ถ้าให้โอกาส รายการตอบโจทย์ก็เช่นกัน เป็นรายการแม่ของไทยพีบีเอส วันนี้เกิดอุบัติเหตุ ก็ต้องนับหนึ่งใหม่

บทเรียนราคาแพงของ “ไทยพีบีเอส”

ผมยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงจะหาคนถูก คนผิดไม่ได้ บทสรุปคือผลกระทบที่เกิดขึ้นคือกับไทยพีบีเอสที่อาจจะกลายเป็นทีวีที่ยังไม่เป็นที่วางใจของคนทุกฝ่าย แต่ประเทศไทยยังคงต้องการทีวีสาธารณะเป็นอย่างยิ่ง ทีวีสาธารณะที่เราเพรียกหาว่าเป็นอิสระ เป็นพื้นที่ทางความคิดของทุกคน เป็นที่พึ่งในยามวิกฤตของประชาชน อย่างที่ไทยพีบีเอสได้ทำมาดีแล้ว ในเก่าก่อน

แม้วันนี้จะผิดพลาดไปบ้าง ก็คงเป็นบทเรียนราคาแพง ที่จะทำให้ไทยพีบีเอสมีแนวทางในการเป็นสื่อสาธารณะที่สมบูรณ์ต่อไปในอนาคต

หลังจากที่ผมติดตามข่าวตอบโจทย์  มาตั้งแต่ต้น ข้อมูลหลายด้านที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องทำให้ผมสับสน จนวันนี้ผมต้องเดินทางมาที่ไทยพีบีเอสด้วยตนเอง เพื่อพิสูจน์ว่าแท้จริงนั้นเป็นอย่างไร ผมได้คุยกับคนมากมายตั้งแต่เพื่อนฝึกงาน พี่ฝ่ายเทคนิค พี่โปรดิวเซอร์ ไปจนถึงบรรณาธิการ ก็พบคำตอบว่า ไทยพีบีเอสยังคงเต็มเปี่ยมด้วย ความมุ่งมั่นในการเป็นสื่อสาธารณะเพื่อเป็นปากเป็นเสียงให้กับประชาชน และหลังจากผ่านเรื่องราวเหล่านี้ไป ก็ดูเหมือนว่า คนไทยพีบีเอสจะ “รัก” กันมากขึ้นไปด้วยซ้ำ

ต่อแต่นี้ไทยพีบีเอสต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ ...
ว่ากันว่า ภาวะวิกฤติของบ้านเมืองเป็นช่วงเวลาของการพิสูจน์บทบาทของสื่อมวลชน

-----------------------------------------

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไทยเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนติดอันดับ 6 ของโลก


ไทยเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนติดอันดับ 6 ของโลก



ประเทศไทยมีแนวโน้มคนใส่หมวกกันน็อคลดลง ทำให้เพิ่มจำนวนการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก เครือข่ายความปลอดภัยทางถนนวอนรัฐ เคร่งครัดดูแล

นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ เปิดเผยสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วโลกร้อยละ 23 เกิดจากรถจักรยานยนต์ ระดับอายุอยู่ระหว่าง 15-44 ปี สำหรับประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน 26,000 คนต่อปี ติดอันดับ 6 ของโลกสาเหตุสำคัญคือขาดวินัยจราจร มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นขับรถเร็ว เมาแล้วขับ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่สวมหมวกนิรภัย  และเมื่อดูคะแนนด้านการสวมหมวกนิรภัย ไทยได้คะแนน 6 เต็ม 10 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ และเวียดนานได้ 9 คะแนน อินโดนีเซีย และลาวได้ 8 คะแนน ส่วนมาเลเซีย กัมพูชา และพม่ามีคะแนนใกล้เคียงกับไทยคือ 5-6 คะแนน ข้อมูลดังกล่าวทำให้ทุกหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนของไทย ต้องหามาตรการป้องกัน และรณรงค์เพื่อปรับพฤติกรรมของคนไทยให้หันมาสนใจความปลอดภัย และใส่หมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่ หรือซ้อนท้ายจักรยานยนต์



"ที่เวียดนาม ประเทศเขาขับขี่จักรยานยนต์เป็นพาหนะหลัก และมีจำนวนของจักรยานยนต์บนท้องถนนมากว่าประเทศไทย ที่สำคัญเขาได้คะแนนด้านการสวมหมวกนิรภัยไปตั้ง 9 เต็ม 10 คะแนนเพราะคนในประเทศเคารพกฎหมาย สวมหมวกนิรภัยจนเป็นนิสัย และกลายเป็นวัฒนธรรมของพวกเขา" นพ.วิทยา กล่าว

ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านการป้องกันอุบัติเหตุ กล่าวต่ออีกว่า อยากเรียกร้องให้รัฐบาลมีนโยบายในการรักษาความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างจริงจัง มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด สร้างความตระหนักรู้เรื่องอุบัติเหตุแก่ประชาชน สนับสนุนการขายสวมนิรภัยในราคาถูก ติดตามการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยของจังหวัดต่างๆ และให้งบประมาณสนับสนุนองค์กรที่ดำเนินงานที่เกี่ยวกับความปลอดภัยบนท้องถนน อย่าง สสส.

ด้านนายศิลปชัย จารุเกษมรัต ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ทุกวันนี้ยานพาหนะ ถือเป็นปัจจัยที่ 5 ไปแล้ว ไม่ว่าจะรถจักรยานยนต์ หรือรถยนต์ก็ตาม กระตุ้นให้มีการเติบโตทางธุรกิจ แต่อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนถี่มากขึ้น

"ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 1 แสนคน หรือเฉลี่ยวันละ 30 คน โดยร้อยละ 70-80 เกิดอุบัติเหตุกับผู้ขับขี่และซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ แม้ว่าจะมีการรณรงค์การขับขี่ปลอดภัย และให้สวมหมวกนิรภัย แต่ก็ยังพบว่าสาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุในกลุ่มจักรยานยนต์ คือการไม่สวมหมวกนิรภัย ทำให้บาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุ่นแรง ส่งผลให้พิการ และเสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งที่การสวมหมวกนิรภัยเป็นกฎหมายตาม พรบ.จราจรทางบกมาตั้งแต่ปี 2539" นายศิลปชัยกล่าว



สอดคล้องกับข้อมูลของเครือข่ายเฝ้าระวังสถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน ( Road Safety Watch) ระบุว่าอัตราการสวมหมวกนิรภัยของผู้ใช้จักรยานยนต์ในไทย ปี 2553 มีจำนวนร้อยละ 44 ในปี 2554 มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาเป็นร้อยละ 46 และปี 2555 กลับมีจำนวนลดลงเหลือเพียงร้อยละ 43 เท่านั้น

ทั้งนี้จังหวัดที่มีผู้ใช้รถจักรยานยนต์สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด 5 อันดับแรก ไม่นับรวมกรุงเทพมหานครซึ่งมีจำนวนผู้สวมหมวกนิรภัยถึงร้อยละ 80 ได้แก่จังหวัดภูเก็ตมีจำนวนผู้สวมหมวกนิรภัย ถึงร้อยละ 67 จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสุมทรปราการ และจังหวัดปทุมธานีตามลำดับ ส่วนจังหวัดที่มีการสวมหมวกนิรภัยน้อยสุดไม่ถึงร้อยละ 20 5 อันดับคือ จังหวัดบึงกาฬ ลำพูน ชัยภูมิ นราธิวาส และนครพนม ตามลำดับ

____________________________

วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2556

"ดำรงค์ พิเดช" อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ร้องทูตจีน จี้หยุดนำเข้าไม้พะยูง



"ดำรงค์ พิเดช" อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ร้องทูตจีน จี้หยุดนำเข้าไม้พะยูง

อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ยื่นหนังสือถึงสถานทูตจีน ให้ยุติการรับซื้อ-ขายไม้พะยูงที่ผิดกฎหมายจากประเทศไทย หลังจากพบข้อมูลว่าประเทศจีนเป็นประเทศนำเข้าไม้พะยูงจากประเทศไทยเป็นอันดับต้นๆ

เมื่อเวลา 13:00 น. วันที่ 13 มีนาคม 2556 นายดำรงค์ พิเดช หัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าไทย และอดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ เดินทางมายังสถานทูตจีนประจำประเทศไทย เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลจีนยุติการนำเข้าไม้พะยูงที่ผิดกฎหมายจากประเทศไทย โดยมีนาย Chin hua huang รองผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองประจำสถานทูตจีนเป็นตัวแทนในการรับหนังสือ


หนังสือเรียกร้องดังกล่าวระบุว่า "สถานการณ์ในปัจจุบันมีการลักลอบตัดไม้พะยูงแล้วส่งออกไปขายยังต่างประเทศในแถบเอเชียและใกล้เคียง โดยเฉพาะส่งไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่งผลให้ไม้พะยูงในป่าของประเทศไทยลดน้อยลงเข้าขั้นวิกฤตเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ พรรคทวงคืนผืนป่าไทย ตระหนักและเป็นห่วงต่อสถานการณ์การลักลอบตัดไม้พะยูงอยู่ในปัจจุบันนี้ จึงใคร่ขอความร่วมมือจากสถานทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย แจ้งไปยังรัฐบาลประเทศของท่านเพื่อยุติการรับซื้อหรือให้การสนับสนุนการซื้อขายไม้พะยูงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจากประเทศไทยต่อไป"

นายดำรงเปิดเผยว่า ราคาไม้พะยูงที่มีการลักลอบอยู่ในปัจจุบันมีราคาส่งออกอยู่ที่ 300,000 - 400,000 บาท ต่อคิว หรือกิโลกรัมและ 3,000 - 4,000 บาท ประเทศจีนมีความต้องการไม้ชนิดนี้มากเพราะเป็นไม้มงคลนิยมนำไปแกะสลักเทพเจ้า หรือทำเฟอร์นิเจอร์

ส่วนกรณีที่ไม้พะยูงถูกขึ้นเป็นไม้ควบคุมตามบัญชีที่ 2 แห่งอนุสัญญาไซเตส คือสามารถค้าขายได้ แต่มีมาตรการควบคุมนั้น นายดำรงค์เห็นว่า ยิ่งต้องกระตุ้นขอความร่วมมือจากจีน เพราะเมื่อไม่มีผู้ซื้อ ก็ไม่ผู้ขาย และจีนต้องเข้มงวดในการนำเข้าไม้พะยูงให้ถูกต้องตามกฎหมายสากลอย่างเคร่งครัด จึงจะสามารถช่วยลดการลักลอบตัดไม้พะยูงลงได้ 

ทั้งนี้นายดำรงค์ พิเดช ได้กล่าวอีกว่า ในขณะที่ตนดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ เคยมีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบเข้มงวด กับกระบวนการลักลอบตัดไม้พะยูง แต่รัฐบาลมีงบประมาณเพื่อป้องปรามขบวนการดังกล่าวจำกัด จึงทำได้ไม่เต็มที่

ในขณะเดียวกัน วันนี้ที่แถลงข่าวเรื่องการประชุมภาคีอนุสัญญาไซเตส ครั้งที่ 16 ที่ศูยน์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้กล่าวถึงมาตรการในการป้องกันลักลอบตัดไม้พะยูงว่า มีการตั้งด่านสกัดขบวนการลักลอบตัดไม้พะยูงอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะที่ภูผายน ภูจองนายอย ภูสันฐาน และบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของไม้พะยูงป่า 

ดร.ธีรภัทร กล่าวต่อไปว่า อย่างไรก็ตามความร่วมระหว่างประเทศ ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งในการป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูง และรักษาพันธุ์ไม้พะยูงไม่ให้สูญพันธุ์

------------------------------- ข่าวชิ้นนี้เขียนขึ้นช่วงฝึกงานที่ The Nation (13/3/2556)

วันอังคารที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2556

ไทยส่งออกผีเสื้อไปอังกฤษนับล้านตัวต่อปี

ไทยส่งออกผีเสื้อไปอังกฤษนับล้านตัวต่อปี




ไทยส่งออกดักแด้ไปอังกฤษเพื่อทำสวนผีเสื้อ มูลค่านับล้านปอนด์ต่อปี ขณะเดียวกันก็สงวนท่าทีต่อข้อเสนอของประเทศเดนมาร์ก ที่ต้องการเปลี่ยนบัญชีผีเสื้อกลางวัน จากบัญที่ 1 เป็นบัญชีที่ 2

ดร.วัฒนา ศักดิ์ชูวงษ์ นักวิชาการกลุ่มงานกีฏวิทยาและจุลชีววิทยาป่าไม้ เปิดเผยในที่แถลงข่าวสรุปการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 16 หรือ ไซเตส (CITES CoP16) ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ วันที่ 12 มีนาคม 2556 ว่าไทยเป็นประเทศที่ส่งออกผีเสื้อในลักษณะดักแด้ไปประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษ เพื่อทำสวนผีเสื้อ จำนวนหนึ่งล้าน และมีมูลค่าการส่งออกนับล้านปอนด์ตัวต่อปี

สำหรับประเทศไทยมีจำนวนชนิดของผีเสื้อนับล้านชนิด แต่
สามารถพบเพียง 20,000 ชนิด ถูกขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำนวน 20 ชนิด และมีอยู่ในบัญชีแห่งอนุสัญญาไซเตสเพียงห้าชนิดเท่านั้น

ระหว่างการแถลงข่าว ดร.ธีรภัทร ประยูรสิทธิ รองอธิบดี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แถลงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการประชุม
ว่า หนึ่งในข้อเสนอของประเทศเดนมาร์กในที่ประชุมครั้งนี้ คือการขอเปลี่ยนบัญชีผีเสื้อกลางวัน จากบัญชีที่ 1 ห้ามมีการซื้อขายโดยเด็ดขาดมาอยู่บัญชีที่ 2 คือสามารถค้าขายได้ แต่ต้องมีมาตรการควบคุม เนื่องจากเดนมาร์กไม่มีความกังวลว่าผีเสื้อชนิดนี้จะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ทั่วไป จะมีก็แต่ภัยคุกคามจากคนในพื้นที่

"เราสงวนท่าทีเพราะข้อมูลไม่พร้อม" ดร.ธีรภัทรกล่าว

สำหรับแมลงในประเทศไทยที่อยู่ในบัญชีที่ 2 แห่งอนุสัญญาไซเตส มีจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ผีเสื้อภูฐาน, ผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล, ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้, ผีเสื้อถุงทองป่าสูงและผีเสื้อถุงทองธรรมดา

ผีเสื้อภูฐาน ซึ่งเป็นแมลงที่อยู่ในบัญชีที่ 2 แห่งอนุสัญญาไซเตส ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทยมากกว่า 30 ปี ส่วนผีเสื้อไกเซอร์อิมพีเรียล, ผีเสื้อถุงทองปักษ์ใต้และผีเสื้อถุงทองป่าสูง อยู่ในสถานการณ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ ส่วนผีเสื้อถุงทองธรรมดายังคงพบอยู่บ้างแต่น้อยดร.วัฒนา กล่าวเสริม


---------- (ข่าวนี้ผมเขียนระหว่างฝึกงานที่ The Nation 12/มีนาคม/2556) ---------------


Three Thai butterflies close to extinction



Three Thai butterfly species are close to extinction but can still be traded under international laws.

Tanpisit Lerdbamrungchai
THE NATION
Watana Sakchoowong, of the National Parks, Wildlife and Plant Conservation Department, said Tuesday the endangered species are Teinopalpus imperialis, Troides amphysus and T Helena. 

They are listed in Cites' Appendix II alongside the Bhutanitis lidderdalii and T aeacus butterflies. 

Insects on Appendix II can be traded but with certain control measures. Only the species on Appendix I receive full legal protection and cannot be sold. 

"The Bhutanitis lidderdalii butterflies have vanished from Thailand for more than three decades already," he said. 

T aeacus butterflies could still be found but only in small numbers, he said. 

Thailand is home to about one million butterfly species, 20 of which are protected under Thai laws and five under Cites. The country is a butterfly exporter, sending millions of pupas to Europe each year. "The major buyer is Britain," he said.


The 16th CITES conference - a triennial forum governing the international trade in flora and fauna - is being held in Bangkok and will run until Thursday.

__________________________