วันอาทิตย์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข่าวดี ? รับปีใหม่ นักเรียนเฮ “ศธ.เตรียมยกเลิกทรงเกรียน”




ข่าวมาว่า หลังมีนักเรียนมัธยมจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ทำหนังสือร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กรณีระเบียบตัดผมสั้นเกรียน กระทบต่อสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิฯจึงได้ดำเนินการเรียกร้องมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปลายปี 2554 จนล่าสุดคณะรัฐมนตรี มีหนังสือให้กระทรวงศึกษาธิการ ออกกฎกระทรวงฉบับใหม่ 
รายละเอียดของข่าวชิ้นนี้มีเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการได้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงปี  2515 ที่นักเรียนหญิงต้องตัดผมสั้นเสมอติ่งหู  และนักเรียนชายต้องตัดผมสั้นเกรียนมาโดยตลอด และมีการออกกฎเพิ่มในปี 2518 ให้ยืดหยุ่นได้ โดยนักเรียนหญิงให้ไว้ผมยาวได้ไม่เกินต้นคอ  แต่หากเกินต้องรวบผมให้เรียบร้อย ต่อมาในปี 2546 ทางกระทรวงได้มีบันทึกข้อความส่งถึงโรงเรียนทั่วประเทศ ให้ใช้ดุลยพินิจและความเหมาะสมตามสถานการณ์  ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในทางปฏิบัติ
นางศิริพร กิจเกื้อกูล รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ บอกว่า ขณะนี้กระทรวงฯ เตรียมยกร่างกฎกระทรวงใหม่ให้เหลือเพียงฉบับเดียว และจะแยกหลักปฏิบัติของแต่ระดับชั้นให้ชัดเจน  โดยจะมีคณะกรรมการพิจารณาเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
จากข่าวนี้เราจะลองย้อนกับไปดูความเป็นมา ต้นกำเนิดของทรงนักเรียน ตามที่มีปรากฎอยู่ในบทความว่าด้วยเรื่องกฎทรงผม ของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ จากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับ 2 พฤศจิกายน 2550 มีคำตอบสรุปความได้ว่า
“ประเทศไทยรับทรงผมทรงนักเรียนทั้งเครื่องแบบต่างๆ จากประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในช่วงสงครามนั้นเกิดเหาระบาดมาก ประชาชนจึงนิยมตัดผมสั้น”
กระทรวงศึกษาธิการได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2515) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2518) ออกตามความในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 132 ลงวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2515 [1] ในเรื่องเกี่ยวกับทรงผมที่ ไม่เหมาะสมแก่สภาพของนักเรียน กฎกระทรวงฉบับที่ 1 ระบุว่า
1.    นักเรียนชายไว้ผมยาว โดยไว้ผมข้างหน้าและกลางศีรษะยาวเกิน 5 เซนติเมตร และชายผมรอบศีรษะไม่ตัดเกรียนชิดผิวหนัง หรือไว้หนวดหรือเครา
2.    นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
กฎกระทรวงฉบับที่ 2 แก้ไขเป็น
1.    นักเรียนชายตัดผมหรือไว้ผมยาวจนด้านข้างและด้านหลังยาวเลยตีนผมหรือไว้หนวด ไว้เครา
2.    นักเรียนหญิงตัดผมหรือไว้ผมยาวเลยต้นคอ หากโรงเรียนหรือสถานศึกษาใดอนุญาตให้ไว้ยาวเกินกว่านั้นก็ให้รวบให้เรียบร้อย
ดังนั้นโรงเรียนต่าง ๆ จึงอาจมีระเบียบในเรื่องทรงผมที่แตกต่างกันได้ในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่นักเรียนชายมักจะให้ตัดผมสั้นเกรียน และนักเรียนหญิงมักจะให้ตัดผมสั้นในช่วงติ่งหูถึงปกเสื้อนักเรียน
ทว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะสังคมไทยกำหนดให้นักเรียน (ในปัจจุบันอาจจะเหลืออยู่เพียงโรงเรียนของรัฐ) ที่ต้องไว้ทรงเกรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยมาอย่างยาวนาน หากจะเกิดการเปลี่ยนแปลง ก็จะถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญยิ่งของสังคมไทย ดังนั้นคงไม่แปลกที่จะมีผู้แสดงความคิดเห็นที่หลากหลายต่อสถานการณ์ดังกล่าว
นี่เป็นภาพการ์ตูนที่วาดจำลองเหตุการณ์ เมื่อมีการยกเลิกทรงเกรียนของนักเรียนไปแล้ว คงไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติมจากภาพๆนี้

คณะกรรมการพิจารณายกร่างกฎกระทรวง ในเรื่องทรงผมนักเรียน ที่กำลังจะถูกตั้งขึ้น ต้องประเมินให้ถี่ถ้วนว่า การมีอยู่ของทรงเกรียน ส่งผลดี หรือ ผลเสีย ต่อสังคมไทย
_______________________________

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผอ.ประชาไท ชี้ นักข่าวพลเมืองยังไม่ถึงขั้น กำหนดวาระข่าวได้



ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวในวงเสวนา ใครใครก็เป็นนักข่าวได้ ? ว่าทุกวันนี้ถึงแม้หลายหลายจะเกิดจากประชาชน หรือที่มักเรียกกันว่านักข่าวพลเมืองพลเมือง แต่ก็ไม่ได้ถึงขั้นที่จะกำหนดวาระของข่าวสารได้ เมื่อสื่อมวลชนกระแสหลัก


วงเสวนาใครใครก็เป็นนักข่าวได้ จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์เนชั่นบางนา โดยมีนายนพภัฒจักษ์ อัตตนนท์ ดำเนินรายการ และมีนายจักร์กฤษ เพิ่มพูน ประธานสภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาติ นายเดชชาติ พวงเกษ บล็อกเกอร์ราษีไศล นางจีรนุช เปรมชัยพร ผอ.เว็บประชาไท และนายณัฐชัย ตั้งวงวิวัฒน์ ตัวแทน นศ. ม.เนชั่น ร่วมวงเสวนานี้

นายจักร์กฤษ พูนเพิ่มเปิดประเด็นว่า ทุกวันนี้ปรากฎการณ์นักข่าวพลเมือง ที่เกิดขึ้นจากความสะดวกสบายของเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้นักข่าวพลเมือง หรือประชาชน สามารถกำหนดวาระข่าวสารได้เอง โดยแย้งกับทฤษฎีอะเจนด้าเซตติ่ง ทฤษฏีสื่อสารมวลชน ที่มีอยู่ในตำรานิเทศศาสตร์

ขณะที่ นางจีรนุช เปรมชัยพร ชี้ว่า ทุกวันนี้นักข่าวพลเมือง ยังคงไม่สามารถที่จะกำหนดวาระข่าวสารเองได้ เพราะ สื่อที่มี อย่างโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก มีผู้ติดตามอยู่จำนวนไม่มาก และอยากเห็นความเชื่อมโยง ถ่ายเทข้อมูล ระหว่างนักข่าวมืออาชีพ และ นักข่าวพลเมืองมากขึ้น เพราะจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชน
----------------------------------

วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทำดีไว้ไม่เสียหาย เวลาตายจะได้มีคนพูดถึง



แสงอาทิตย์แรกของเช้าวันที่ 2 ธันวาคมปรากฎขึ้นพร้อมๆกับเสียงสวดมนต์ของญาติธรรม ที่มาปฏิบัติธรรมตั้งแต่คืนก่อน ในวันบูรพาจารย์ ที่วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จังหวัดนครราชสีมา

คุณลุงจีรศักดิ์ งามเกษร วัย 60 ปี กำลังขมักเขม้น กับการทำกระเพาะปลา เพื่อถวายภัตตาหารเช้าแด่พระสงฆ์ และบริการกับผู้มาปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆที่มาร่วมงาน
ลุงจีรศักดิ์ ทำอาหารเลี้ยงพระ และผู้ปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งชาวบ้านแบบนี้ มาเป็นเวลาสิบแล้ว ที่น่าสนใจคือวัดที่คุณลุงเลือกไปทำอาหาร จะสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป ตามจิตอธิฐานของคุณลุง

คุณลุงยืนยันว่าจะทำแบบนี้ต่อไป หากยังไหวและมีแรงทำอยู่

ในปีนี้ คุณลุงเลือกที่จะทำบุญ ที่วัดป่าสาลวัน ในวันบูรพาจารย์ เพราะว่าวันนี้เป็นวันที่ ทั้งพระและชาวบ้านช่วยกันจัดงาน โดยมีกิจกรรมหลักเป็นการนั้งสมาธิ เดินจงกลม สวดมนต์ ฟังธรรม เพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา ระลึกนึกถึงพระคุณเจ้าแต่ละรูปที่ได้ร่วมสร้างและปฏิบัติธรรมยังวัดป่าสาลวัน ซึ่งล้วนเป็นพระที่สร้างคุณูปการให้กับวงการศาสนาอย่างใหญ่หลวง อาทิ หลวงปู่เสาร์ กันตะสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม พระอาจารย์พร สุมโน และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย พระคุณเจ้าทุกรูปดังที่กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่เป็นที่นับถือศรัทธาของสาธุชนอย่างไม่เสื่อมคลาย แม้จะมรณภาพละสังขารไปแล้วก็ตาม
พระอาทิตย์เริ่มบ่ายคล้อย คุณลุงว่างเว้นจากการทำอาหาร จึงถือโอกาสเข้าไปนมัสการพระครูสุทธิวรญาณ รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าสาลวัน ท่านเล่าให้ฟังว่า ปีนี้คนมางานวันบูรพาจารย์น้อยกว่าปีก่อนๆ 

คงจะเป็นความจริงดังคำสอนที่ว่า  “วัวควายและช้าง เมื่อตายลงแล้วมีฟันและเขาทั้งสองข้างเหลืออยู่ ส่วนมนุษย์ เมื่อตายทุกสิ่งในร่างกายสิ้นไป จะคงเหลือก็แต่ความชั่ว หรือความดี คงอยู่ในโลก” ดังเช่น พระคุณเจ้าหลายๆรูป ที่แม้จะมรณะภาพไปแล้ว แต่ยังทิ้งคุณงามความดีให้ชาวบ้านได้ระลึกนึกถึง
______________________________

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ทึ้ง! พระลำปางเลี้ยงหมา-แมว 800 ชีวิต... เหตุเพราะมีคนเอามาปล่อย



ที่วัดเวฬุวนาราม ตำบลแม่ทะ  อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ดูเผินๆก็ไม่ต่างอะไรจากวัดทั่วๆไป แต่เดินเข้าไปไม่กี่ก้าว เสียงสุนัข และแมวจะเห่าหอนดังระงม เพราะมีจำนวนอยู่รวมกันมากกว่า 800 ตัวเข้าไปแล้ว

คนเรานี่ก็ชั่งไม่กลัวบาป .. กลัวกรรม เอาสุนัข เอาแมวมาปล่อยวัด ผลักภาระของตัวเอง ให้กับพระคุณเจ้า อย่าง พระมหาวิชัย อคคเตโช เจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม ท่านนี้ที่ต้องเลี้ยงดูสัตว์ที่ถูกทิ้ง ด้วยความสงสาร ทั้งๆที่ตนเองก็ไม่ได้นิยมสุนัข หรือแมวมากนัก แต่เพราะท่านมีเมตตาสูงจะปล่อยให้อดข้าวตายก็ไม่ใช่เรื่อง


เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เพื่อนของผม ที่ม.เนชั่นลำปาง ทำเป็นสกู๊ปส่งมาให้ที่ กรุงเทพออกออกอากาศในช่อง NationUTV ทีวีที่มหาวิทยาลัยเนชั่น นั่นแหละครับ และผมเองก็ได้มีโอกาส สัมภาษณ์ทั้งเพื่อนคนที่ทำสกู๊ป และพระมหาวิชัย อคคเตโช  ที่ท่านเล่าว่าต้องติดป้ายอธิบายว่าถ้าจะเอาสนุขและแมวมาปล่อยต้องทำอย่างไรบ้าง แทนที่จะติดป้ายห้ามไปแล้วครับ เพราะห้ามยังไงก็ห้ามไม่อยู่

ท่านเล่าต่อว่าทุกวันนี้ ต้องจ้างชาวบ้านมาดูแล ขยำข้าวให้ทั้งสุนัข และแมวทุกเช้า แถมตัวท่านเองยังต้องซื้อวัคชีนต่างๆมาฉีดสุนัข และแมวที่วัดด้วยเงินของท่านเอง โดยหน่วยงานราชการท้องถิ่น โดยเฉพาะกรมปศุสัตว์ เข้ามาดูแลเพียง ปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น ลองฟังเสียงท่านดูครับ ... (ชมคลิป) 


ถึงตรงนี้ท่านใดต้องการจะทำบุญ ช่วยเหลือสุนัขและแมว ที่มีคนมาปล่อยทิ้งไว้ตกเป็นภาระของพระคุณเจ้า ก็สามารถช่วยท่านได้ครับ ทางช่องทางต่างๆดังนี้




วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

“ทำแค่นี้ยังน้อยไป กับที่ในหลวงทำให้ประชาชน”



(ชมคลิป) 

แม้จะเป็นเวลาตี 2 ที่ปกติผู้คนพากันหลับไหล แต่ในวันนี้ ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า บรรยากาศกลับไม่ต่างอะไรกับช่วงหัวค่ำ ผู้คนยังคึกคัก หลั่งไหลมาจับจองพื้นที่ เพื่อให้สามารชมพระบารมีได้อย่างไกล้ชิดในโอกาสที่ในหลวง เสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต
พี่เอ มยุรี ธิยาเวศ ลูกเสือชาวบ้าน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นประชาชนอีกคนหนึ่งที่มาจับจอบพื้นที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ตั้งเวลาตี 2 ครึ่ง ที่น่าสนใจคือเธอไม่ได้มาคนเดียว แต่พาลูกอีก 2 คนของเธอมาร่วมแสดงความจงรักภักดีด้วย


เธอเล่าว่า บ้านเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทราซึ่งเป็น บ้านเกิดของเธอ ดินเสื่อมโทรมอย่างหนักเพราะชาวบ้านใช้ปุ๋ย และสารเคมีในการทำเกษตรกรรมมาอย่างยาวนาน เมื่อดินแย่จนไม่สามารถจะทำเกษตรกรรมต่อไปได้ ชาวบ้านจึงถวายฎีกาให้ในหลวง จึงทรงพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหาดินเสื่อมโทรม นั่นคือการแกล้งดิน แก่กรมพัฒนาที่ดินให้ปัญหาปัญหานี้แก่ชาวบ้านต่อไป


เธอบอกด้วยว่าการที่เธอมาเฝ้ารอในหลวงตั้งช่วงตี 2 เพื่อที่ท่านจะเสด็จออกสีหบัญชรในเวลาสิบโมงเช้า ที่จะถึงยังน้อยไปด้วยซ้ำกับความยากลำบากที่พระองค์ทรงงานอย่างหนักเพื่อความอยู่ดี มีสุขของราษฎร

แสงอาทิตย์แรกของวันที่ 5 ธันวาคม ปรากฎขึ้นพร้อมๆกับจำนวนคนที่เนืองแน่นเต็มลานพระบรมรูปทรงม้า ในขณะเดียวกันประชาชนที่เดินทางมาตั้งแต่เมือคืนรวมทั้งพี่เอและลูกๆ ก็มีความพยายาม อดทนรอที่จะชมพระบารมีและฟังกระแสพระราชดำรัสของในหลวง ในช่วงสายของวันนี้ แม้จะได้งีบหลับไปเพียงชั่วโมงเดียวก็ตาม




ช่วงเวลาเก้าโมงเช้า ภาพการถ่ายทอดสดพระราชพิธีก็เริ่มปรากฎขึ้นบนจอ LED ขนาดใหญ่ ที่เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมไว้  ประชาชนซึ่งใส่เสื้อสีเหลืองอร่ามเต็มลานพระบรมรูปทรงม้า ก็เริ่มโบกธงชาติ และธงจปร. พร้อมเปล่งเสียงทรงพระเจริญ รวมทั้งน้องเปตอง ลูกของพี่เอก็ร่วมเปล่งเสียงเล็กๆ ของเขาออกมาด้วยเช่นกัน



ต่อมาเวลาสิบโมง เสียงจอกแจ จอแจที่ดังขึ้นมาตลอดช่วงเช้าที่ผ่านมาเงียบลงทันที เงียบลงเพื่อฟังพระสุรเสียงของในหลวง
ทั้งหมดนี้เป็นคำตอบที่ชัดเจน เป็นหลักฐานที่ยืนยันว่า คนไทย รักในหลวงด้วยสาเหตุใด และจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านมากเพียงใด





-------------------------------------------------

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ครูชายแดนใต้ที่เหลืออยู่...คือครูที่มีแต่อดุมการณ์ทั้งนั้น



“ครูที่เหลืออยู่คือครูที่มีแต่อดุมการณ์ทั้งนั้น” นี่คือคำให้สัมภาษณ์ของคุณปกรณ์ พึ่งเนตร บรรณาธิการศูนย์ใต้สำนักข่าวอิสรา และผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ หลังเกิดเหตุการณ์ลอบวางเพลิงเผาโรงเรียนหลายแห่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมีครูถูกลอบทำร้ายจนเสียชีวิต และบาดเจ็บสาหัส



8 ปีมาแล้วท่ามความความไม่สงบในพื้นที่ มีครูเสียชีวิตไปแล้วกว่า 150 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนมากโรงเรียนโดยเฉพาะโรงเรียนของรัฐกลายเป็นเป้าในการก่อเหตุของกลุ่มผู้ก่อการร้ายเพียงเพื่อการโจมตีเชิงสัญลักษณ์ หากแต่นั่นกลับทำให้เด็กๆที่ไม่รู้อิโน่อิเน่ และครูที่ในมือมีเพียงช็อคเขียนกระดาน ได้รับผลกระทบ ที่รุนแรงและเจ็บปวด

ว่ากันว่าปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตอนนี้ ยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น กลุ่มผู้ก่อการร้ายแตกกันเองจนมีหลายกลุ่ม และต่างเป้าหมายกันออกไป ไม่ใช่เพียงต้องการแบ่งแยกดินแดน ไม่ใช่เพียงความเข้าใจที่บิดเบือนในหลักศาสนา และไม่ใช่เพียงความเจ็บปวดที่ตำรวจกระทำความรุนแรงในเหตุการณ์มัสยิสกรือเซะ และเหตุการณ์ตากใบ สาเหตุเหล่านี้รวมรวมกัน ยิ่งทำให้ปัญหาเหมือนเชือกที่ผูกปมหลายตลบ จนยากจะที่แก้ออกมา

ปมเชือกที่ผูกกันจนแน่ ก็ยังคงมีความพยามจากกองทัพที่ดูแลในพื้นที่ ในการแก้ปมเชือกเหล่านั้นออกมา ด้วยวิธีการทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านให้ความร่วมในการสร้างสันติในเกิดขึ้น เพราะชาวบ้านเองนั่นแหละที่เป็นผู้รู้เรื่องดีที่สุด คำว่า “โจร 5 นาที” จะได้จางหายไปด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกัน

------------------------------------------