วันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ถอดบทเรียน 6 เดือนที่เนชั่น


(1) ย้อนกลับไปในวันแรกที่ผมเดินเข้ามาในฐานะเด็กฝึกงาน 1 เมษายน 2554 ความรู้สึกทึ่ง ว่าวันนี้มันมาถึงได้อย่างไร ก่อนหน้านั้นผมคิดที่จะหาที่ฝึกงานสักทีหนึ่งหลังจบม.6 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร เพื่อต่อยอดความรู้จากทีวีพ.พ.ทีวีที่ผมและเพื่อนๆอีก 11 คนที่บุกเบิกขึ้น ตอนแรกติดต่อไปยัง ThaiPBS แต่ทางองค์กรปิดรับนักศึกษาฝึกงานเพราะกำลังย้ายสำนักงานใหญ่ องค์กรต่อมาที่ผมนึกถึงคือ The Nation เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ผมได้ลองเข้ามากรอกใบขอฝึกงาน ผมไม่ได้มามือเปล่าแต่พกเอาผลงานที่ทำมาจากทีวีพ.พ.มาด้วย ในใจคิดว่าเขาคงไม่รับ เพราะผมก็แค่เด็กม.6 อายุ 17 ปี แต่ไปๆมาๆ ปลายๆเดือนมีนาคม 2554 มีโทรศัพท์มาจากทางNation ว่าให้เข้ามาฝึกงานได้เลย ไม่ต้องสัมภาษณ์ นัดเอาวันที่ 1 เมษายน เป็นวันแรกของการฝึกงาน ผมยังจำได้ว่า ผมใส่ชุดม.ปลาย กางเกงขาสั้นเข้าไปที่นั่น ตื่นเต้นมาก และคิดว่าเรามาถึงจุดๆนี้ได้อย่างไร วันต่อมาพี่ๆที่Nation ก็อนุโลมให้ใส่ชุดสุภาพมาได้ วันหนึ่งบก.อาชญากรรมได้เห็นผลงานของผมที่เคยทำไว้กับทีวีพ.พ.จึงเปิดโอกาสให้ทำสกู๊ปข่าวโทรทัศน์ และออกตระเวนข่าวกับพี่ๆ เสมือนหนึ่งว่าเป็นนักข่าวมืออาชีพ ขณะเดียวกันด้วยความที่ผมมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว ก็ทำให้ถูกมองว่า ... ซึ่งมันเป็นความรู้สึกที่แย่มาก นอกจากนี้ยังเจอการรับเงินของนักข่าวที่ผมเห็นกับตา ซึ่งผมปฏิเสธเงินตรงนั้น แต่ช่างภาพกลับรับไปแทน 


(2) แน่นนอนว่าผมคงต้องเรียนต่อปริญญาตรี เพราะจบการศึกษาเพียงม.6 ตอนแรกมีแผนไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่จากผู้ใหญ่หลายท่านบอกตรงกันว่า ควรจะเรียนในประเทศไทยเพื่อเป็นการศึกษารากเง้าของตนเอง และทดลองใช้ชีวิตที่อยู่ห่างจากครอบครัว เหมือนนกที่เพิ่งหัดบิน ก็ไม่ควรบินออกไปไกลรัง เพราะเสี่ยงต่ออันตราย ผมเป็นเด็กคนหนึ่งที่แอดมิดชั่นไม่ติด มหาวิทยาเอกชนจึงเป็นทางเลือกหลัก ในเวลานั้นเ ครือNation เปิดมหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์การศึกษาเนชั่นทาวเวอร์ พอดี ตอนแรกไม่สนใจ เห็นเขาพาเพื่อนๆมาดูสำนักข่าวที่ชั้น 12A ขณะเดียวกันผมก็นั้งทำงานอยู่ที่นั้น หลังจากนั้นก็ติดตามข่าวเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเนชั่นมาเรื่อยๆ คุณสุทธิชัย หยุ่นเป็นคนหนึ่ีงที่ทำให้ผมเลือกที่จะเรียนที่นี่ เพราะดูเหมือนว่าคุณสุทธิชัย จะมีความตั้งใจกับมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาก ด้วยเหตุนี้ผมจึงเชื่อว่ามหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นมหาวิทยาลัยที่จะถ่ายทอดความรู้การสื่อสารมวลชนได้ดีที่สุดไม่แพ้ที่อื่น จึงตัดสินใจเรียนที่นี่


(3) 17 18 มิถุนายน 2554 วันปฐมนิเทศของมหาวิทยาเนชั่น บุคลิกที่ดูโตมาก และดูมีหลักการมากของผมที่ต่างจากเพื่อนๆคนอื่นๆ ทำให้ถูกจับตามองเป็นพิเศษ และนั้นเป็นสาเหตุทำให้ในเวลาต่อมาผมได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนๆซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยสนิทกัน ให้เป็นประธานคณะกรรมการนักศึกษา

(4) ผมตั้งปณิธานไว้ว่าผมจะทำหน้าที่ตรงนี้ให้ดีที่สุด จะมุ่งมั่นและทุ่มเท สิ่งแรกที่ผมทำหลังเข้ารับตำแหน่งคือการวางโครงสร้างขององค์กรเพื่อกระจายงาน หลังๆเริ่มใช้ไม่ได้ผลเพราะกระจายไปแล้วงานไม่กลับมา ในฐานะที่เป็นทั้งเพื่อน และผู้นำ ก็เกรงใจ ทำมันเองซะเลย ภาพของคนที่ทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ก็เกิดขึ้น

(5) ต่อมาผมถูกมองว่าไม่ยอมกระจายงาน เก็บงานไว้คนเดียว

(6) แม้จะถูกมองเช่นนั้น แต่งานหลายอย่างก็สำเร็จ เรียบร้อย ที่สำเร็จไม่ใช่เพราะทำคนเดียว แต่พยามกระจายงาน แบบที่เพื่อนไม่รู้ตัว อีกปัญหาหนึ่งคือการนัดประชุม การประชุมถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหาร แต่นัดประชุมยากมาก ผมเหนื่อยที่จะพูดมาก มากไปก็โดนว่า ก็เลยทำคนเดียวมันอีกนั่นแหละ     

(7) ประมาณเดือนกันยายนผมจัดตั้งโครงการสื่อสร้างสรรค์แห่งมหาวิทยาลัยเนชั่น หรือNation UMG ขึ้นเพื่อเป็นการรวมเพื่อนที่สนใจทำงานสื่อไม่ว่าจะงานข่าว งานเขียน งานบันเทิง มารวมอยู่ด้วยกันเป็นเครือเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้ความร่วมมือจากสำนักงานศูนย์การศึกษาเนชั่นทาวเวอร์มากนัก หรือไม่บางทีอาจดูเหมือนว่าเรากำลังเล่นขายของ ผมจึงต้องพึงพาตนเอง ไปพบผู้ใหญ่เอง คุยเอง จัดการเอง จนอาจถูกมาว่ากลายเป็นคลื่นใต้น้ำ

(8) งานนิตยสาร สื่อในเครือของ Nation UMG เพื่อนๆให้ความร่วมมือดี แต่กรณีที่พบคือมีคนที่พูดและเสนอแนวคิดแล้วไม่ทำ ในขณะเดียวกันฝ่ายศิลป์ติดธุระ ผมจึงต้องรักษาการแทนฝ่ายศิลป์ไปก่อน ในฐานะที่เป็นตัวตั้งตัวตีอยากทำนิตยสาร สุดท้ายถูกมองว่าเป็นศูนย์กลางจักรวาล

(9) กลางๆเดือนตุลาคม 2554 มีพี่โปรดิวเซอร์จากรายการแซบ ระวังภัยมาติดต่อขอความร่วมมือจากนักศึกษาให้ไปร่วมผลิตรายการ ผมก็ได้เข้าร่วมโครงการนี้ แนวคิดการใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง เป็นแนวคิดที่ผมคุยกับโปรดิวเซอร์แล้วถูกคอกัน หลังๆเริ่มเปลี่ยนไป คอนเซปต่างๆของรายการมีความขัดแย้งในตัว ความคิดผมกับพี่โปรดิวเซอร์ไม่ตรงกัน ผมจึงถอดตัวออก โดยก่อนหน้านั้นถูกมองว่าก้าวร้าว เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางจักวาล สารพัดมากมาย ผมจึงตัดสินใจทำต่อแค่เทปเดียวแล้วเลิก

(10) ปัญหามันเยอะ วุ่นวาย รำคาญ "ศูนย์กลางจักรวาล ทำงานคนเดียว เลียนแบบไทยพีบีเอส" ประเด็นเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ เริ่มจาก ศูนย์กลางจักรวาล หมายความว่า เอาความคิดตัวเองอย่างเดียวไม่ฟังคนอื่น ผมมาพิจารณาดูแล้ว ผมเองดูเหมือนจะรับฟังคนอื่นมากที่สุด เพราะสิ่งหนึ่งที่ผมไม่เคยทำคือการวิพากย์วิจารณ์ผู้อื่น บางคนติคนอื่น จนลืมดูตัวเอง // ทำงานคนเดียว หมายความว่า เก็บงานเอาไว้ผู้เดียว ไม่แบ่งงาน อันนี้ยอมรับและจะปรับปรุงวิธีการบริหารอย่างจริงจัง ซึ่งผมได้เริ่มการทำงานแบบกระจายงานแล้ว กับ เครือNation UMG ผมอยู่ในตำแหน่งบรรณาธิการอำนวยการ ดูภาพรวมของสื่อทั้งหมดในเครือ Nation UMG คอยตรวจสอบ โดยสั่งงานผ่าน บรรณาธิการของแต่ละสื่ออีกทีหนึ่ง อย่างไรก็ตามการทำงานถึงแม้จะทำคนเดียวก็ยังได้ชื่อว่าทำ ยังมีศักดิ์ศรีมากกว่าชอบเสนอ ชอบดีแต่พูด แต่ไม่ทำ // เลียนแบบไทยพีบีเอส กรณีนี้น่าสนใจ ผมยอมรับว่าคนเราควรจะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และพัฒนาความคิดให้ต่อยอดยิ่งๆขึ้นไป ผมจะพยาม การเลียนแบบผมเชื่อว่าเป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่งที่ดีทีเดียว แต่ก็ควรอยู่ในกรอบที่จำกัด อย่างไรก็ตามขอให้ทำความเข้าใจระหว่างการเลียนแบบ และความชอบซึ่งเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไทยพีบีเอสเป็นสื่อที่ผมคลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก ผมโตมาพร้อมๆกับการพัฒนาของสื่อสาธารณะแห่งนี้ ดังนั้นผมจึงเห็นความงดงามของการเป็นสื่อสาธารณะ ซึ่งนี้คงไม่แปลกหากผมอาจมีแนวคิดหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งบอกถึงความเป็นสื่อสาธารณะอย่างชัดเจน

(11) 1 เทอมที่ผ่านไปผมได้เรียนรู้กับสิ่งต่างๆมากมาย เรียนรู้ที่จะปรับตัว และทำความเข้าใจกับเหตุการณ์ที่ผ่านเข้ามา เอามันมาเป็นบทเรียน ที่ทำให้เราแข็งแกร่ง เป็นต้นไผ่ที่ยืนต้นอยู่ไ้ด้ โดยไม่หักโค่น แม้ลมหรือพายุจะพัดมาแรงเพียงใดก็ตาม ผมจะมุ่งมั่น ยืนหยัดและเดินไปในทางที่ตนเชื่อมั่นว่าดีงาม ต่อไปครับ

//////////////////////////////////////////////////

Nation UMG ปฐมบทนิเทศศาสตร์ของจริง ม.เนชั่น


หลังนักศึกษาปี ๑ รุ่นแรกจำนวนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเนชั่น ศูนย์การศึกษาเนชั่นทาวเวอร์ซึ่งมีความต้องการสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ในแต่ละด้านไม่ว่าจะสาระ หรือบันเทิง ในรูปแบบที่หลากหลายลงบนช่องทางที่พอทำได้อย่างโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ก และแล้วพวกเราก็รวมกลุ่มกันสำเร็จ โดยแบ่งเป็นกลุ่มสื่อ ๓ กลุ่ม คือ ๑.กลุ่มข่าว ๒.กลุ่มนิตยสาร และ๓.กลุ่มบันเทิง ร่วมจัดตั้งเป็นโครงการสื่อสร้างสรรค์แห่งมหาวิทยาลัยเนชั่น หรือ (Nation University Media Group) Nation UMG ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๔ มีข้อสงสัยและคำถามมากมายเกี่ยวกับโครงการสื่อนี้ “ปี ๑ จะรีบทำไปทำไม” เป็นคำถามที่เรายินบ่อยที่สุด “จะไปรอดหรือเปล่า” เป็นอีกคำถามหนึ่งที่ตามมา แม้กระทั้งอาจารย์ก็ยังไม่เซ็นรับรองโครงการนี้ ดังนั้นโครงการนี้จึงต้องยืนด้วยลำแข่งด้วยตนเอง
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ Nation UMG ต้องเผชิญกับคำถามเหล่านี้ เพราะการผลิตสื่อที่พวกเรากำลังทำอยู่มีนักศึกษา ชั้นปี ๑ น้อยมากที่จะทำ ดังนั้นการจัดตั้งโครงการสื่อจึงดูเป็นเรื่องใหม่ และเรื่องใหญ่ในมหาวิทยาลัยที่เพิ่งก่อตั้งมาแค่ครึ่งปี แต่พวกเราก็พร้อมที่จะลองผิดลองถูกในการทำงานเพื่อเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง

แต่อีกด้านหนึ่งแม้เราจะไม่ได้รับความสนับสนุนจากมหาวิทยามากเท่าที่ควร ก็ส่งผลดีให้เราแข็งแกร่งขึ้น เรียนรู้ที่จะพึ่งพาตนเอง และยืนด้วยขาของเราเอง ใช้ความคิดที่อิสระได้อย่างเต็มที่ ผ่านมาแล้ว ๒ เดือนเต็มกับการเกิดขึ้นของ Nation UMG ที่ประกอบไปด้วย สำนักข่าวเนชั่นยู นิตยสาร yours และ WooHoo TV เราได้สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นรูปธรรม หลายชิ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ เรามีทั้งบทความที่ได้รับการแนะนำจากกองบก.OK.Nation  คลิปข่าวลงพื้นที่ และสกู๊ปนักข่าวพลเมือง ที่ถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของชาวชุมชน โดยแฝงแง่คิดให้ผู้ชม เพื่อสร้างแรงบันดาล และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลง

“๕.๓ ให้ร่วมมือกับองค์การสื่อระดับชาติ ในการผลิตรายการอันเป็นการส่งเสริมความรู้ที่เป็น ประโยชน์ต่อสาธารณะ” เป็นหนึ่งในแผนงานของโครงการNation UMG ซึ่งสำนักข่าวเนชั่นยูได้ร่วมมือกับ โต๊ะข่าวนักข่าวพลเมือง ThaiPBSเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ พวกเราจะได้สื่อสารเรื่องราวต่างๆ ผ่านสื่อกระแสหลัก ที่มีคนดูนับล้านทั่วประเทศ ขณะเดียวกันทีมงานWoohoo TV ก็ได้ร่วมมือกับ สถานีข่าวระวังภัย ของเครือเนชั่น เพื่อร่วมผลิตรายการแซบระวังภัย
แต่ดูเหมือนว่าการร่วมมือกับ Thai PBS จะถูกตั้งคำถามจากกระแสสังคมในมหาวิทยาลัยที่ชื่อว่า “Nation” โดยลืมนึกถึงความเป็น “มหาวิทยาลัย” ย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา  ซึ่งด้วยความที่มหาวิทยาลัยเนชั่นถูกก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มธุรกิจสื่อที่ชื่อ “เนชั่น” จึงทำให้ความรู้สึกของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถูกนำไปเชื่อมโยงกับความเป็นระบบบริษัท อย่างแยกแทบไม่ออก อย่างไรก็ตามเราคิดว่า จากนี้ต่อไปด้วยการรับนักศึกษาที่มากขึ้น จะทำให้โครงสร้างของมหาวิทยาแห่งนี้ ต้องขยายขึ้นตามไปด้วย และจะทำให้ความเป็น “มหาวิทยาลัย”มีความชัดเจนมากขึ้น
ถึงแม้ว่าพวกเราจะต้องประสบกับอุปสรรคและความท้าทายมากมาย แต่ด้วยความสุขในการทำหน้าที่สื่อสาร ด้วยความที่เรามีเจตนาดีในการทำงาน เรามีความเชื่อมั่นว่า ก้าวแรกของเราเป็นก้าวที่มั่นคง และเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นสื่อมวลชนที่สร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม
(เพิ่มเติม) ปีการศึกษา 2555 โครงการสื่อสร้างสรรค์หรือ Nation UMG นี้ยุติลงอย่างเป็นทางการ และหันไปทำข่าวอย่างเดียวเกิดเป็นสำนักข่าวเนชั่นยูในเวลาต่อมา


กดไลค์เราที่ >> http://www.facebook.com/NationUMG (ปัจจุบันปิดเพจไปแล้ว)
สำนักข่าวNationU
ช่องยูทูป >> http://www.youtube.com/NationUTV
ทวิตเตอร์ >> www.twitter.com/nationu_news (มหาวิทยาลัยยึดนำไปใช้)
บล็อก >> http://www.nationunews.blogspot.com/ 
นิตยสาร yours
บล็อก >> http://www.yoursmagazine-nationu.blogspot.com/ (ปิดบล็อกแล้ว)
Woohoo TV
ช่องยูทูป >> http://www.youtube.com/Austzi
เฟซบุ๊ค >> http://www.facebook.com/woohooth (เปลี่ยนเป็น Say Production)


นิตยสารฉบับลองผิดลงถูกของพวกเรา Yours Magazine ชื่อนี้ตั้งโดยอ.อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพพัฒนกิจ ผอ.เนชั่นชาแนล

พวกเราใช้ PowerPoint 2010 ในการจัดหน้า ก่อนแปลงไฟล์เป็น PDF

ฉบับแรก
ดาวน์โหลด >>> http://www.mediafire.com/view/?k0vixy1aix1cdar

ฉบับที่ 2
ดาวน์โหลด >>> http://www.mediafire.com/view/?3b2981ea4lhwwo8


ฉบับสุดท้าย
ดาวน์โหลด >>>  http://www.mediafire.com/view/?wot2svdtp4ihpsm



วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1 ปี ราชประสงค์

ผมนั้งรถเมล์ออกจากตึกเนชั่นในช่วงห้าโมงเย็น เพื่อมุ่งหน้าไป BTS อ่อนนุชเพื่อไปยังแยกราชประสงค์ที่ที่นปช.ชุมนุมครบรอบ 1 ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุม 19 พฤษภาคม 2554 ระหว่างทางรถติดมากเลยทีเดียว มีฝนตกพำๆตลอดทาง จนถึง BTS อ่อนนุชฝนจึงหยุดตก อากาศหลังฝนตกเย็นสบาย มีกลิ่นอายของฝนที่เพิ่งตกซึ่งมาพร้อมสายลมอันแผ่วเบา ผมนั้งรถไฟฟ้า BTS จากสถานีอ่อนนุช ไปจนถึง สถานีสยามพอถึงก็ 6 โมงเย็นพอดี พบว่าถนนเริ่มปิดตั้งแต่บริเวณนั้น

แม้ว่าผู้ประกอบการค้าย่านราชประสงค์จะขึ้นป้ายเปิดบริการตามปกติ แต่ห้างสรรพสินค้าในบริเวณสี่แยกราชประสงค์ก็ยังคงปิดให้บริการโดยหน้าห้างมีกลุ่มผู้ชุมนุมปักหลักฟังการปราศรัยเช่นเดียวกัน สำหรับห้างสรรพค้าย่านสยามยังเปิดบริการตามปกติ

วัดปทุมวนาราม สถานที่หลบภัยของผู้ชุมนุมเมื่อเหตุการณ์ปีที่แล้ว และมีคนตาย 6 ศพ ยังคงมาผู้ชุมนุมบางตา เดินลึกเข้าไปเรื่อยๆจะเห็นผู้ชุมชุนที่ปักหลักฟังการปราศรัยอยู่บนสกายวอล์คเป็นระยะๆ


นี่เป็นภาพของผู้หญิงคนหนึ่งเดินชูป้ายหาเสียงของนางสาวยิงลักษณ์ ชินวัตร
ผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อหรือปาตี้ลิสลำดับที่ 1 ของพรรคเพื่อไทย พร้อมตะโกนคำว่า ”ท่านนายกมาแล้ว ท่านนายกมาแล้ว” โดยได้รับเสียงปรบมือจากผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมาก

ผู้ชายคนนี้แต่ตัวออกมาเรียกร้องให้อย่าลืม 91 ชีวิตที่เสียไปจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองเมื่อปีที่แล้ว


ผมเดินลงจากสกายวอล์คตรงหน้าโรมแรมแห่งหนี่งใกล้ๆสี่แยกราชประสงค์(จำชื่อโรงแรมไม่ได้) แล้วเดินฝ่าฝูงชนคนเสื้อแดงเพื่อเข้าไปให้ใกล้เวทีปราศรัยให้ได้มากที่สุด ระหว่างทางก็พบป้ายที่เขียนว่าที่นี่มีคนตาย ติดอยู่ตามผนัง เสาไฟฟ้า ต่างๆเป็นจำนวนมาก
การชุมนุมครบรอบ 1 ปี ราชประสงค์ครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติด้วยเช่นเดียวกัน


เนื้อหาของการปราศรัยบนเวทีเป็นการย้อนรอยเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อปีที่แล้ว และมีการนำผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์มาย้อนเล่าเหตุการณ์และพูดคุยถึงความรู้สึกในวันนั้น ทั้งนี้ผู้ปราศรัยบนเวทีบอกด้วยว่าพร้อมจะออกมารวมตัวกันอีกหากไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ว่ารัฐบาลใดก็ตาม การชุมนุมในครั้งนี้ไฮไลท์สำคัญคือ VTR  ที่ย้อนเหตุการณ์การชุมนุมตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ชุมนุมเป็นอย่างมากและเป็นที่น่าสังเกตว่า ทันทีที่ภาพของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือบุคคลฝ่ายตรงข้ามกับกลุ่มนปช. ผู้ชุมนุมจะโห่ร้องขับไล่อย่างเสียงดังอึกทึกด้วยความโกรธแค้นเป็นอย่างมาก ผู้ปราศรัยที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือนายวีระกานต์ มุกสิกพงษ์  (นายวีระ มุกสิกพงษ์)อดีตประธานนปช. โดยในครั้งนี้ไม่มีผู้สมัคร ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยขึ้นเวทีแต่อย่างใด โดยมาในฐานะผู้ชุมนุมเท่านั้น ทั้งนี้เกรงว่าอาจจะผิดกม.เลือกตั้ง
1 ปีผ่านไปสำหรับเหตุการณ์ที่ราชประสงค์ คนเสื้อแดงยังคงจดจำทุกอย่างได้เป็นอย่างดี ความเกลียดชังฝ่ายตรงข้ามก็ยังคงมีอยู่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยของเราในยุดนี้แตกแยก ยากจะปรองดอง เสื้อแดงยังคงมีพลังอยู่ เสื้อเหลืองก็เช่นกัน นี่ยังไม่นับรวมสีอื่นๆอีก Thailand Only จริงๆครับ ยิ่งช่วงนี้กำลังจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นในอีกไม่นานนี้ 2 ขั้วการเมืองกำลังแข่งกันอย่างดุเดือด งานนี้ต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าบ้านเมืองเราจะเดินไปในทิศทางใดต่อจากนี้ และที่เป็นห่วงคือถ้าทั้งแดงทั้งเหลืองยังอยู่ (การเมืองข้างถนน) เรื่องคงไม่จบแน่น ทางที่ดีการเมืองในสภาเป็นกลไกที่ดีที่สุด ถ้าคนที่อยู่ในสภามีจริยธรรมทำงานเพื่อบ้านเมืองจริงๆ อันนี้จบแน่น แต่อย่างไรก็ตามช่วงนี้เพื่อไทยเค้ามาแรงจริงๆคร๊าบ หุหุหุ
คอลัมนิสเฉพาะกิจ
ภาพที่เหลือ

บริเวณหน้าห้าเซ็นทรัลเวิล์ด

ตลาดนัดเสื้อแดง ณ แยกราชประสงค์

เวทีกลางสี่แยกราชประสงค์
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

เสียงของชาวบ้านกับแนวทางแก้ไขน้ำท่วม

น้ำท่วมท่าเรือ
ปัญหาน้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ที่ชาวชุมชนท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยาต้องประสบมาแทบทุกปี สร้างความเดือดร้อนเสียหายมากน้อยต่างกันไปตามแต่ระดับน้ำที่ท่วมให้แต่ละปี คำถามที่ชาวบ้านมีคือเพราะอะไร ทำไมน้ำจึงท่วมท่าเรือแทบทุกปี ชาวบ้านบางคนบอกว่าท่าเรือเป็นที่ผันน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตามชาวบ้านยังคงคิดหาวิธีทางแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำอีก

นายอดิศัย วัฒนาวณิช ชาวชุมชนท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา

นายอดิศัย วัฒนาวณิช ชาวชุมชนท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ของตนอยู่แทบทุกปีได้เสนอถึงวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมว่า ควรมีการขุดลอกแม่น้ำลำคลองต่างๆให้มีความลึกมากขึ้น โดยเปรียบเทียบกับโอ่งน้ำ ถ้าโอ่งน้ำมีขนาดใหญ่ก็จะสามารถบรรจุน้ำได้ในปริมาณมาก แต่ถ้าโอ่งน้ำขนาดเล็กก็บรรจุน้ำได้ในปริมาณน้ำที่น้อย เช่นเดียวกับแม่น้ำถ้าลึกก็สามารถรับน้ำได้มาก นี่เป็นความคิดของชาวบ้านซึ่งอาจไม่มีฐานความรู้ด้านวิศวะมากนัก นอกจากการขุดลอกคลองแล้วนายอดิศัย แนะต่ออีกว่าควรบริหารจัดการน้ำในเขื่อนให้ดีกว่านี้ ส่วนในพื้นที่เองควรมีการจัดการระบบระบายน้ำอย่างเหมาะสม เพราะที่ผ่านมาเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น น้ำมักจะมาตามท่อ ทำให้น้ำเอ่อท่วมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างและในระยะเวลาอันรวดเร็วดังนั้นควรมีประตูเปิด-ปิดที่ปากท่อระบายน้ำเพื่อเป็นยืดเวลาให้น้ำเอ่อท่วมช้าลงหรือไม่ท่วมเลย 
สุดท้ายนายอดิสัยเสนอว่าควรมีการออกข้อกำหนดให้เกษตรกรผู้มีพื้นที่ทำกิน  10 ไร่ขึ้นไปจัดสรรพื้นที่เพื่อรองรับน้ำ นอกจากจะรับน้ำในช่วงหน้าน้ำได้แล้ว ยังสามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้งได้อีกด้วย
นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการโครงการประเทศไทย IUCN
สำหรับกรณีวิธีการขุดลอกแม่น้ำลำคลองถ้ามองอย่างรอบด้านก็มีผลกระทบเช่นกัน นายสมศักดิ์ สุนทรนวภัทร ผู้จัดการโครงการประเทศไทย IUCN- องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ บอกว่าการขุดลอกคลองจะเป็นการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของแม่น้ำลำคลองอย่างถาวร เพราะการขุดเอาดิน หิน ทราย ต้นไม้ ตามพื้นคลองขึ้นมาจะทำให้น้ำไหลแรงและเร็วขึ้น ทำให้เกิดตลิ่งคลองพังทะ ลายหนัก และสูญเสียที่ดินปีละมากๆ การเก็บกักน้ำตามธรรมชาติจะมีน้อยเพราะไหลลงสู่ทะเลหมด และเป็นการทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของพืชน้ำและสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำและพืชน้ำหมดไปหรือหายากมากขึ้น ในคลองที่มีการขุดลอกจะไม่พบการทำมาหากินในลำคลองของชุมชน เช่น การจับปลาด้วยวิธีการต่างๆ การเก็บหาพืชน้ำเพื่อเป็นอาหาร เป็นต้น เกิดน้ำทะเลหนุนได้ไกลกว่าเก่า ทำให้เกิดปัญหาดินเค็มและน้ำเค็มรุกราน นอกจากนั้นการขุดลอกจะทำลายต้นไม้ตามตลิ่งคลอง เช่น มีการนำดินและหินตามพื้นคลองมาถมทับไว้ที่สองตลิ่ง หรืออาจจะมีกา รขุดและทำลายสองตลิ่งไปด้วย และในการนี้จะทำให้เกิดการพังทะลายและกัดเซาะสองฝั่งคลองมากขึ้นกว่าเดิม ในปัจจุบันนี้ มีหลายๆ คลองเกิดปัญหาสองตลิ่งพังถูกกัดเซาะอย่างหนักและต้องสูญเสียที่ดินปีละมากๆ ทำให้ยากอย่างยิ่งต่อการป้องกันและการฟื้นฟูให้ดีดั่งเดิมได้

ความยากลำบากในการใช้ชีวิตช่วงน้ำท่วม
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมคงจะต้องมีการถกเถียง เพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่ดีที่สุด และบางทีเสียงของชาวบ้านอาจดังไม่มากพอที่จะทำให้ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองได้ยิน และลงมาแก้ไขปัญหา แต่เสียงของชาวบ้าน ผู้ซึ่งอยู่ในพื้นที่นั้น น่าจะรู้ต้นสายปลายเหตุ และรู้จักวิธีการแก้ไขได้ดีที่สุด ซึ่งผู้ใหญ่ในบ้านเมืองควรลงมารับฟังเสียงจากชาวบ้านด้วยเช่นกัน ภาครัฐควรมีนโยบายแก้ไขที่ต้นเหตุในระยะยาว ไม่ควรแก้ไขที่ปลายเหตุโดยการแจกเงินให้กับผู้ประสบภัย เพราะนั่นไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน และเยียวยาได้ในระยะสั้นเท่านั้น

ภาพบรรยากาศน้ำท่วม






///////////////////////////////////////////////////////

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ติวเตอร์ทั้งหลายโปรดฟังทางนี้ คนดีสำคัญที่สุด


ในช่วงชีวิต ม.ปลายที่อยู่ในรั่วของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร โรงเรียนนี้จัดติวบ่อยมากครับ การติวแต่ละครั้ง ก็จะเชิญติวเตอร์ที่เรียกได้ว่ามืออาชีพและมีชื่อเสียง จากการสังเกตุพบว่าส่วนหนึ่งของกลวิธีในการติว คือการที่ติวเตอร์จะต้องปลุกเร้าและให้กำลังใจแก่นักเรียนไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงประโยชน์จากการที่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยดีดีได้ ที่สำคัญคือการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลที่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงได้และบุคคลที่ไม่สามารถเข้ามหาวิทยาที่มีชื่อเสียงได้ เรื่อยไปจนกระทั่งเอาเรื่องของความเหลือมหล้ำทางสังคมมาพูด ยกตัวอย่างเช่น การเปรียบเทียบอาชีพที่ได้เงินเดือนน้อยและลำบากอย่างคนขับรถแท็กซี่ สาวโรงงาน หรือเกษตรกร เป็นต้น กับอาชีพที่ได้เงินเดือนมากอย่าง แพทย์ วิศวกร CEO NGO ต่างๆ ซึ่งการเปรียบการดังกล่าวเป็นการไม่เหมาะสม เราควรที่จะเคารพในอาชีพทุกอาชีพ เพราะทุกอาชีพต่างก็สร้างประโยชน์กับประเทศด้วยกันทั้งนั้น เช่นถ้าประเทศเรามีแต่แพทย์แต่ไม่มีเกษตรกรเราจะรับประทานข้าวจากที่ไหน และในทางกลับกันถ้าประเทศเรามีแต่เกษตรกรแต่ขาดแคลนแพทย์ เจ็บป่วยขึ้นมาจะรักษากับใคร ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในสังคมจะขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไม่ได้ ทุกส่วนต่างต้องเกื้อกูลอาศัยกัน ทุกอาชีพต่างมีบทบาทและความสำคัญเท่าๆกัน




ผมเคยมีโอกาสเข้าไปฟังการเสวนาวิชาการ ThaiPBS Forum ที่เสวนากันในเรื่องการปฏิรูปประเทศ ความเหลือมล้ำทางสังคมเป็นประเด็นหนึ่งที่่ถูกพูดถึง และเป็นประเด็นที่นำไปสู่ปัญหาโครงสร้างทางสังคม ซึ่งประเด็นนี้ผมว่าแก้ได้ง่ายๆเพียงแค่เราทุกคนให้เกียรติซึ่งกันและกัน เห็นคุณค่าของตัวเราเอง และคนในสังคม ไม่เปรียบเทียบความแตกต่างซึ่งกันและกัน และเราจะก้าวผ่านความเหลือมหล้ำทางสังคมไปได้ เราควรให้ความสำคัญในเรื่องด้านคุณธรรมมากกว่าการจะมองเพียงแค่ด้านการเงินของแต่ละบุคคล ผมขอเน้นย้ำว่าไม่ว่าอาชีพใดใดล้วนมีคุณค่า ขอเพียงแค่เราทำอาชีพที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และรู้จักมีน้ำใจต่อกัน ผมว่าสังคมของเราจะน่าอยู่ขึ้นมากกว่าการที่เราจะมาเปรียบเทียบความแตกต่างซึ่งกันและกัน เราต้องทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลบางทีมีโอกาสไม่เท่าเทียมกัน แต่เราเลือกที่จะเป็นคนดีได้ คนดีสำคัญที่สุด...