วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิถีดั่งเดิม ถูกสั่นคลอ “เกสรลำพู”

วิถีดั่งเดิม ถูกสั่นคลอ เกสรลำพู



     ทางเดินแคบๆที่หลบซ่อนอยู่ข้างถนน  พระอาทิตย์ ถ้าไม่เดินเข้าไปดู ก็คงเป็นเพียงตรอกเล็กๆไม่มีอะไรน่าสนใจ หากแต่ข้อมูลที่เราได้มาก่อนหน้านี้ระบุว่าที่นี่คือตรอกมัสยิดจักพงษ์เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนบางลำพู และที่สำคัญก็คือว่าชุมชนแห่งนี้สามารถรักษาวิถีชีวิตดั่งเดิมเอาไว้ได้อย่างหมดจด

1
     ชุมชนตรอกมัสยิดจักรพงษ์ เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมของชาวมุสลิมมาอย่างยาวนาน มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทั้งยังมีความสมานฉันท์ของชุมชน มีจุดศูนย์กลางในการรวมตัวเพื่อประกอบกิจศาสนา การทำกิจกรรมของชุมชน อยู่ภายในบริเวณลานพื้นที่ของมัสยิดจักรพงษ์


     ชาวตรอกมัสยิดจักรพงษ์ จะเดินทางมาละมาดที่มัสยิดกลางหมู่บ้านกันเป็นประจำ เช้า กลางวัน เย็น เมื่อผู้ใหญ่ทำเด็กๆก็ทำตามจนเป็นเรื่องปกติในชีวิต และที่สำคัญก็คือว่าสิ่งที่ปฏิบัติกันเป็นประจำเหล่านี้ ได้กลายเป็นแนวคิดที่ฝั่งแน่นในวิถีมุสลิมของชาวตรอกมัสยิดจักรพงษ์ โดยไม่ต้องมีการกระตุ้น หรือจัดกิจกรรมพิเศษทางสังคมแต่อย่างใด 
     วิถีชีวิตและความงดงามของศาสนาเช่นนี้ จึงกลายเป็นเกราะป้องกันเยาวชนกับอบายมุขได้เป็นอย่างดี ที่นี่จึงเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนอื่นๆในย่านบางลำพูที่วิถีชุมชนของตนเองก็เริ่มถูกสั่นคลอนไปแล้วด้วยเหมือนกัน
     โอภาส มิตรมานะ หรือบังซัน โต๊ะอิหม่ามประจำมัสยิดจักพงษ์ที่เกิดและโตมาในย่านบางลำพู  เขาเห็นความเปลี่ยนแปลงของชุมชนลำพูมาโดยตลอด
     เริ่มจากความเจริญที่มาพร้อมกับแหล่งสถานบันเทิงในถนนข้าวสาร แล้วค่อยๆลุกล่ามออกมาห้อมล้อมชุมชน จนตกอยู่ท่ามกลางสังคมแวดล้อมที่เป็นแหล่งอโคจร
     “เมื่อ 20 ปีที่แล้วเรามีความเป็นอยู่ที่สบายๆ เรียบง่ายไม่มีผับไม่มีบาร์ถึงจะมีก็น้อย แต่ปัจจุบันนี้สถานบันเทิงมันมาล้อมรอบชุมชนจนจะทำให้เรานั้นไม่เข้มแข็งมากเหมือนก่อน แต่ก็พยามสร้างความเข้มแข็งโดยการใช้หลักศาสนาปลูกฝังให้กับเยาวชน เราพยามป้องๆทรายให้มันอยู่ในนี้ไม่ให้แตกออกมากนัก แล้วชุมชนนี้เป็นชุมชนเล็กเยาวชนก็น้อยด้วยถ้าเราปล่อยปละละเลยไปอาจทำให้เยาวชนของเรานั้นเลยเถิดไปแล้วยุ่งบังซันกล่าว

2
     ที่ถนนข้าวสาร เราได้พบกับพี่ชัยวัฒน์ ปัญญาวิช วัย 25 ปี บ้านของเขาอยู่ใกล้กับสถานบันเทิงมากที่สุด  สิ่งที่พี่ชัยวัฒน์เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ คนบางลำพูดั่งเดิมกำลังย้ายถิ่นฐานออกไป ขณะเดียวกันคนต่างพื้นที่ก็กำลังย้ายเข้ามาแทน โดยมาทำเกสท์เฮาส์และร้านเหล้ากันมากขึ้น
     “ตัวผมเองเป็นเด็กบางลำพู บ้านผมอยู่ซอยรามบุตรีเห็นได้ชัดเลยว่า15 ปีที่แล้วกับปัจจุบันมีความแตกต่างกันมาก เมื่อก่อนจุดศูนย์รวมอยู่ที่ข้าวสารหมด แต่ตอนนี้ความเจริญร้านเหล้า ร้านอาหาร เกสท์เฮาส์มันเริ่มขยายไปเรื่อยๆจากข้าวสารมาเป็นรามบุตรี ตอนนี้เริ่มขยายไปตานีแล้ว ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าต่อจากนี้บางลำพูจะเป็นอย่างไร บางลำพูก็อาจจะเป็นแหล่งสถานเริงรมย์ไปเลยก็ได้ชัยวัฒน์กล่าว
     สภาพแวดล้อมเพื่อการอยู่อาศัยเปลี่ยนไปเป็นสภาพแวดล้อมของสถานบันเทิง ที่บางครั้งมีคนเมา บางครั้งมีคนอาเจียน เป็นภาพที่พี่ชัยวัฒน์ได้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน วันนี้ครอบครัวของพี่ชัยวัฒน์ ไม่รอแล้วพวกเขาตัดสินใจแล้วว่าจะย้ายบ้านหนี
     “ต่อให้บ้านน่าอยู่แค่ไหนถ้าสภาพแวดล้อมไม่ดีอยู่ไปก็ไม่มีความสุข การอยู่อาศัยมีปัจจัยหลายอย่าง 1. ตัวคนภายในบ้าน 2. ตัวบ้าน 3.เพื่อนบ้าน และ 4.สภาพแวดล้อม ตอนนี้ทุกคนในบ้านดี แต่ที่เหลือย่ำแย่มันก็เลยทำให้ผมขอย้ายดีกว่าชายวัย 25 ปีกล่าว

3
     ผลกระทบจากการรุกคืบของสถานบันเทิงในวิถีชีวิตจริง ของคนบางลำพู จนต้องย้ายบ้านหนี ทำให้เราตั้งคำถามต่อว่าเชื้อของความความสงบง่ายในพื้นที่ของบางลำพูจะยังคงมีเหลืออยู่หรือไม่ ...มีเหลือมากพอที่จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนได้จริงหรือ
     นอกจากวิถีมุสลิมที่เข้มแข็งของชาวตรอกมัสยิดจักรพงษ์ ยังมีอะไรอีกบ้างที่เป็นเกราะป้องกันเยาวชนคนบางลำพู เราจะลองค้นหาดู 


     คนบางลำพูที่เกิดและโตมาจนวันนี้หลายคนกำลังคิดหาวิธีที่จะสร้างภูมิคุ้มให้ชุมชน และที่สำคัญพวกเขาคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เรียกตัวเองว่าเกสรลำพู” 
     “ชมรมเกสรลำพูถือกำเนิดมาได้ 12 ปีแล้ว การรวมตัวทั้งผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ เด็ก และเยาวชนในชุมชนที่ร่วมใจกันสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง ผ่านรูปแบบกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งงานศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชุมชน งานบุญ และงานศาสนา ด้วยการทำงานที่เป็นเครือข่ายทำให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม สามารถเห็นและสัมผัสได้ในทุกวันนี้
     นางสาวปานทิพย์ ลิกขะไชย หรือพี่ต้า รองประธานชมรมเกสรลำพูบอกว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นทำให้ชมรมเกสรลำพูมีสมาชิกใหม่โดยเฉพาะเด็กๆที่อยู่ในพื้นที่มีโอกาสรู้จักสนิทสนมกันมากขึ้น เด็กทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการพื้นที่ในการแสดงความสามารถของตนทั้งสิ้น ทำให้มีเด็กจำนวนมากอยากที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมกับชมรมเกสรลำพู  เด็กทุกคนได้มีโอกาสทำงานเพื่อสังคม ได้แสดงความคิดเห็น ออกไอเดีย ได้โดยไม่ถูกปิดกั้น ทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น
     เราถามต่อว่าแล้วกิจกรรมที่ชมรมเกสรลำพูทำกันอยู่จะช่วยให้ชุมชนห่างไกลจากสถานบันเทิงและอบายมุขได้จริงๆหรือพี่ต้าตอบคำถามนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
    จริงๆแล้วเรื่องนี้พยาพยามจะให้มันช่วยได้แต่ว่ายุคมันเปลี่ยน การที่เราเข้าไปทำคงไม่ใช่ว่าต้องป้องกันได้หมดเลย หรืออย่าไปเลยอย่าทำเลย คิดว่ายาก เพราะว่าเด็กสมัยนี้ค่อนข้างจะมีความคิดเป็นของตัวเองมากๆ แต่เอาเป็นว่าเราเป็นแค่จุดจุดหนึ่ง เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งในชีวิตทำให้เขาได้รู้จัก เรียนรู้วิถีชุมชน แล้วอะไรที่ดีหรือไม่ดีคิดว่าขึ้นอยู่กับตัวเขาเพราะเราคงไม่มีเวลาตลอด 24 ชั่วโมงไปให้เขา เรื่องพวกนี้มันอยู่ที่ตัวน้องเขาเองด้วย

///////// TANPISIT LERDBAMRUCHAI; THE NATION

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติมหาวิทยาลัยเนชั่น ฉบับที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2556


บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติมหาวิทยาลัยเนชั่น ฉบับที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2556

     ถ้าใครสักคนบอกคุณว่า ‘2+2=5’ คุณจะเชื่อไหม? หลายเดือนก่อน กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ‘NJOURNAL’ มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์สั้นสัญชาติอิหร่าน เรื่อง ‘TWO&TWO’ ของผู้กำกับมือรางวัล Babak Anvari 
     เนื้อหาทั้งหมดในภาพยนตร์ เกิดขึ้นและจบลง ห้องเรียนเล็กๆแห่งหนึ่งที่ อาจารย์บังคับให้นักเรียนทุกคนเชื่อว่า ‘2+2=5’ ซึ่งแน่นอนว่าย่อมมีเด็กหลายคนลุกขึ้นคัดค้านกับทฤษฎีผิดๆนี้ แต่กลับถูกอาจารย์ต่อว่าจนทั้งห้องตกอยู่ในความเงียบ หากยังมีนักเรียนใจเพชรคนหนึ่งยังคงยึดมั่นในคำตอบที่ถูกต้อง พร้อมอธิบายออกมาดังๆว่า ‘2+2=4’ 
     อาจารย์จอมโหดโมโหอย่างมาก จึงเรียกนักเรียนรุ่นพี่ดีเด่นให้มายังห้องเรียนเพื่อยืนยันต่อสมการสุดเพี้ยน และเรียกเด็กชายเจ้าปัญหาให้มายืนหน้ากระดานดำเพื่อเขียนคำตอบนั้นอีกครั้ง
     ‘2+2=....’ เขาหยุดชะงัก ค่อยๆหันมามองหน้าอาจารย์ ก่อนพบว่ารุ่นพี่ทั้งสามยกมือขึ้นทำท่าเตรียมยิง เด็กน้อยลังเลสักพัก สูดลมหายใจเข้าลึกๆ บรรจงเขียนคำตอบสุดท้ายลงไปอย่างทรหด ‘4’
     “ปั้งงงงๆๆๆเสียงปืนกลพุ่งทะลุร่างเด็กน้อยคนนั้น เลือดสีแดงสดสาดกระเซ็นเลอะไปทั่วกระดานดำ
     อาจารย์ทำหน้านิ่งๆ เดินเข้าไปเช็ดคราบโลหิตด้วยท่าทีเย็นชา ก่อนเขียนอีกครั้งว่า ‘2+2=5’ พร้อมให้เด็กที่เหลือจดบันทึกลงสมุดและอ่านตามอย่างว่าง่าย แล้วกล้องก็โฟกัสไปยังเด็กนักเรียนหลังห้องคนหนึ่งซึ่งเขียนตามอย่างว่าง่าย ก่อนตัดสินใจลบออกและแก้เป็นคำตอบที่ถูกต้องในที่สุด “2+2=4” …
     ภาพของครูกับนักเรียนแทนผู้มีอำนาจกับผู้อยู่ใต้อำนาจ โจทย์เลขง่ายๆอย่าง 2+2 แทนความจริงที่ทุกคนต่างรู้กันดี ครูที่สั่งให้เชื่อว่าคำตอบ ‘2+2=5’ แทนการใช้อำนาจคุกคาม ซ้อนเร้น และไม่เป็นธรรม การแสดงความคิดเห็นของเด็กนักเรียนทั้งห้องที่ให้ยอมต่อครูคนนี้ ก็เหมือนกับคนส่วนใหญ่ในสังคมที่ยอมปิดหูปิดตากับสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพื่อความอยู่รอด และการตายของเด็กนักเรียนที่ยืนยันว่า ‘2+2=4’ แทนจุดจบของคนที่ตรงไปตรงมา และไม่ยอมก้มหัวให้กับผู้มีอำนาจ
     ในวาระที่หนังสือพิมพ์ฝึกปฏิบัติ NJOURNAL ถือกำเนิดขึ้น แม้ว่าเราจะเป็นเพียงนักศึกษาที่มีสถานภาพไม่ต่างจากเด็กนักเรียนผู้ยึดมั่นในคำตอบ แต่เราสัญญาว่าจะนำเสนอข่าวในทุกเหลี่ยมมุมอย่างเที่ยงตรง เปิดเผย และไม่เกรงกลัวต่ออำนาจมืดใดๆ ซึ่งอาจเข้ามาแทรกแซงสั่นคลอนต่อจริยธรรมอันดีของวิชาชีพซึ่งเปรียบเสมือนศีลของสื่อมวลชน 
    กองบรรณาธิการหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านทุกท่านจะได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน และความสุข จาก ‘NJOURNAL ฉบับปฐมฤกษ์และพบกันใหม่ในฉบับต่อไป 


ดาวน์โหลดหนังสือพิมพ์ คลิก !!!

















วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รายการฝึกปฏบัติ "ห๊ะอะไรนะ!" ชิ้นงานปี 3 ม.เนชั่น



รายการ                       ห๊ะ! ! อะไรนะ
รูปแบบรายการ           เรียลลิตี้เกมส์โชว์

ความยาว                     30  นาที
ออกอากาศ
    ทุกเสาร์ เวลา 16.4517.00 น.
กลุ่มเป้าหมาย
     ทุกเพศ ทุกวัย  อายุ 15 – 60 ปี
จุดประสงค์การนำเสนอ

- ให้สาระความรู้บนความบันเทิง อย่างสนุกสนาน
- ไขข้อสงสัยในสิ่งคนทั่วไปอยากรู้ แต่ไม่เคยหาคำตอบ
- เสนอประเด็นคำถามที่อยู่ในกระแสนิยม


วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ปิดเทอมครึ่งปีรับอาเซียนนศ.แห่ฝึกงาน


ปิดเทอมครึ่งปีรับอาเซียนนศ.แห่ฝึกงาน
ผู้ประกอบการแนะรัฐจัดคอร์สเรียนพิเศษไม่เสียตังค์ หวั่นเด็กว่างเดี๋ยวจะเป็นปัญหาสังคมได้

มหาวิทยาลัยในกลุ่ม ทปอ.จะเลื่อนการเปิดภาคเรียนให้พร้อมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน โดยเมื่อสิ้นเทอม 2 ปีการศึกษา 2556 จากเดิมที่จะเปิดเทอม 1 ปีการศึกษา 2557 ในเดือนมิถุนายน ก็เลื่อนเป็นช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือน สิงหาคม ปี 2557 ขณะที่ผู้ใหญ่หวั่นเด็กอยู่ว่าง 6 เดือนเดี๋ยวจะเป็นปัญหาทางสังคมได้
เพราะไม่มีรายได้อีกทั้งช่วงปิดเทอมเด็กก็คงไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย เผลอๆอาจกลายเป็นปัญหาในครอบครัว

นายพงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่ม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่นกล่าวว่าตามปกติมหาวิทยาลัยในไทยจะเปิดภาคเรียนที่ 1 ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม และภาคเรียนที่ 2 ในเดือน พฤศจิกายน-มีนาคม แต่การเปิดเเบบสากล จะเปิดภาคเรียนที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน- ธันวาคม และภาคเรียนที่ 2 ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเข้าเป็นประชาคมอาเซียนปี 2558
     ประธานคณะทำงานแอดมิสชั่นส์ฟอรั่ม กล่าวว่าการปรับเปลี่ยนการเปิดเทอมของสถาบันการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียนอื่นๆนั้นจะมีผลดีทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจารย์ในภูมิภาคนี้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังจะมีผลทำให้การพัฒนามาตรฐานสูงขึ้น และการเทียบโอนรายวิชาก็สามารถจะทำได้อย่างสะดวกมากขึ้นเช่นกัน
     “เท่าที่พอจะประเมินได้ ณ ขณะนี้ความพร้อมของสถาบันการศึกษาชั้นสูงของไทยที่พร้อมจะเข้าสู่ระบบอาเซียน เช่นว่านี้มีอยู่ประมาณ 10 แห่งจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน 200 กว่าแห่งที่อยู่ในกลุ่ม ทปอ.หรือประมาณ 5% ซึ่งคงจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ปีแรกที่มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอม และเชื่อว่าน่าจะมีการทยอยปรับตัวได้มากขึ้นในปีต่อๆไปนายพงษ์อินทร์ ระบุ
     อธิการบดีมหาวิทยาลัยเนชั่น กล่าวต่อว่าเมื่อทุกภาคส่วนในประเทศมีความตื่นตัวต่อการปรับตัวเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอีกสองปีข้างหน้าโดยเฉพาะภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในทุกๆ ด้านแล้ว สถาบันการศึกษาซึ่งควรจะเป็นแถวหน้าแห่งการผลักดันให้เกิดการปรับตัวให้ทันกับการเพิ่มพลวัตของภูมิภาคก็ย่อมจะต้องเร่งรัดการยกระดับของตนเองอย่างคึกคักเช่นกัน

นักศึกษาแห่ฝึกงาน
     นางสาวธัญญา วาดวงษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ปี 3 กล่าวเห็นด้วยกับการเปิดภาคเรียนพร้อมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆในภูมิภาคอาเซียนเพื่อความเป็นสากล และกระตุ้นให้นักศึกษาด้วยกันตื่นตัวกับการเปิดประชาคมอาเซียนมากขึ้นเพราะที่ผ่านมาดูไม่คึกคักเท่าที่ควร
     “ส่วนตัวอยากแนะนำเรื่องการประชาสัมพันธ์ของทางมหาวิทยาลัย(เนชั่น) ที่ตอนนี้จะไม่มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะเปิดตามอาเซียนแน่นอน สำหรับแผนที่วางไว้ในช่วงเปิดเทอมที่ยาวถึง 6 เดือนคงจะไปหาที่ฝึกงาน เพื่อเป็นการหาประสบการณ์และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ธัญญากล่าว
     นางสาวมุกระวี ดีบุกคำ นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ปี 2 กล่าวว่าเพื่อนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาเปิดเรียนในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ นำไปก่อนแล้วเป็นห่วงว่ามหาวิทยาลัยของตนจะตามไม่ทัน สำหรับการเปิดเรียนตามอาเซียนตนให้การยอมรับเพื่อความเป็นสากล
     “ในช่วงปิดเทอมที่ยาวนานจะไปหาที่ฝึกงานเช่นกัน ฝึกแบบเต็มที่ไปเลย 6 เดือนเต็ม จะได้เป็นงานและใช้เวลาค้นหาตัวเองอย่างจริงจังมุกระวี กล่าว
     นางสาวพรหมพร อ่วมมณฑา นักศึกษามหาวิทยาลัยเนชั่น ปีกล่าวว่าตนกำลังวางแผนไป Work and Travel (ทำงานด้วยและเที่ยวด้วย) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเปิดโลกของตนเอง พร้อมทั้งฝึกฝนภาษาอังกฤษให้สามารถใช้งานได้จริง 
     ส่วนนางสาวบุษราคำ เพ็ชวงษ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปี 4 กล่าวว่าที่มหาวิทยาลัยของตนเริ่มเปิดภาคเรียนพร้อมอาเซียนไปตั้งแต่ปีการศึกษา 2555 แล้ว โดยรุ่นพี่ปี 4 เมื่อปีการศึกษา 2555 จบเร็วกว่าปกติ ส่วน ปี 4 รุ่นของตนเองนั้นถือว่าเป็นรุ่นอาเซียนรุ่นแรก

หวั่นเด็กว่าง 6 เดือนมีปัญหา
     นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการบริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการควรหารือว่าจะทำอย่างไรกับช่วงว่าง 6 เดือนนี้สำหรับมหาวิทยาลัยกับนักศึกษา และนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แล้วต้องรอ การคัดเลือกเข้ามา
     “เด็กว่าง 6 เดือนเดี๋ยวมันจะเป็นปัญหาทางสังคมได้ เพราะเด็กไม่มีรายได้ แล้วช่วงหยุดก็คงไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย มันก็อาจจะเกิดปัญหาในครอบครัวได้ ฉะนั้นกระทรวงศึกษาธิการ หรือรัฐบาลควรเปิดคอร์สเรียนพิเศษสอนภาษา หรือฝึกทำอะไรก็ได้ที่เด็กสนใจ เช่น โปรแกรมตัดต่อ โปรแกรมสอนภาษาหรืออะไรต่างๆ เรื่องความรู้เป็นหลักสูตรที่ไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน หรือจะให้นักศึกษาช่วยงานรัฐเล็กๆน้อยๆ เช่น การสำรวจประชากรเป็นต้นนายอดิศักดิ์กล่าว

     กรรมการผู้อำนวยการบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวต่อว่า เรื่องการฝึกงานคงไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับผู้ประกอบการ ว่าจะฝึกสั้นหรือฝึกยาว แต่หากความต้องการฝึกงานของนักศึกษามีจำนวนมาก ก็ต้องคัดเลือกจำกัดจำนวน เพราะจำนวนนักศึกษาที่เยอะเกินไปพี่เลี้ยงไม่สามารถดูแลอย่างทั่วถึงได้

////////////////////////////////////////////