วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อาคารประหยัดพลังงาน

อาคารประหยัดพลังงาน


สถานการณ์วิกฤตพลังงาน สภาวะโลกร้อน รวมถึงภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้ ทำให้บริษัท-องค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมาก มีแนวคิดสร้างอาคารสำนักงานที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแม้ว่าจะใช้ต้นทุนในการก่อสร้างที่สูงมากก็ตาม

วันนี้เราจะพาไปชมอาคารเอสซีจี 100 ปี ต้นแบบอาคารประหยัดพลังงานแห่งอนาคต ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และได้รับรองมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานระดับสูงสุดLEED Platinum จากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกาด้วย (ชมคลิป)



อาคารรูปทรงพริ้วไหว มีระเบียงเป็นเส้นโค้งโดยรอบสวยงาม เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเฉพาะตัวของอาคาร SCG 100 ปีหลังนี้ ที่ถูกออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดงาน และรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้ถึง 7 ริกเตอร์

อาคารนี้ไม่มีหน้าต่าง และกระจกภายในอาคารเป็นกระจกสองชั้น ที่ป้องกันความร้อนจากภายนอก ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก หลอดไฟที่ใช้เป็นหลอดประหยัดพลังงาน T5 และหลอด LED  บนชั้นดาดฟ้ามีแผนโซล่าเซลล์ที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้ถึง 99,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี นอกจากนี้ ยังมีระบบจัดการน้ำที่นำน้ำฝนและน้ำเสียที่ได้รับการบำบัดแล้ว มาชำระล้างสุขภัณฑ์และรดน้ำต้นไม้ ทำให้ลดการใช้น้ำประปาได้ถึง 74%

ที่นี่เราได้พบกับ พี่สาธิษฐ์ หัวหน้างานบุคคลกลางของ SCG ที่พึ่งย้ายจากอาคารสำนักงานเก่า มาอยู่ในอาคารประหยัดพลังงานได้ 2 เดือนแล้ว เขาบอกว่าความแตกต่างที่สัมผัสได้อย่างชัดเจนก็คือเมื่อก่อนโต๊ะทำงานจะใหญ่กว่านี้ แต่ตอนนี้โต๊ะเล็กลง

ต๊ะทำงานเล็กลงเพราะ อุปกรณ์สำนักงาน ที่นี่ทั้งหมดต้องได้รับมาตราฐาน Energy Star ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยรวมของอาคาร ทั้งฟลอมีพนักงานอยู่รวมกันถึง 200 คน มีการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยของสำนักงานอย่างคุ้มค่า 

จะสังเกตุได้ว่าทุกโต๊ะจะมีเพียงโน๊ตบุค และของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นเท่านั้น เมื่อมีของน้อย ความร้อนสะสมก็จะน้อยตามไปด้วย จึงทำให้ประหยัดพลังงาน

ในฐานะบริษัทชั้นนำของประเทศ SCG นำแนวคิดการออกแบบก่อสร้างสำนักงานที่คำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนขององค์กรและชุมชน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปเปอร์ บอกว่ารูปแบบอาคารประหยัดงานมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

อาคาร SCG 100 ปีนับเป็นอาคารแห่งที่สองในประเทศไทย ที่ได้รับรองมาตรฐานอาคารประหยัดพลังงานระดับสูงสุด LEED Platinum จากสภาอาคารเขียวสหรัฐอเมริกา ต่อจากอาคารเอ็นเนอจี้คอมเพล็ก ของกลุ่มปตท.ด้วย




วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เสียงที่แผ่วเบา: เสียงของคนรอบเหมืองทองคำ จ.เลย

เสียงที่แผ่วเบา: เสียงของคนรอบเหมืองทองคำ จ.เลย

ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่เกิดขึ้นรุนแรงกับชาวบ้านตำบลเขาหลวงอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยเกิดจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของบริษัททุ่งคำจำกัดเวลานี้ชาวบ้านที่นั่นตั้งคำถามถึงความคุ้มค่าระหว่างค่าภาคหลวงแร่ที่บริษัทจ่ายให้รัฐกับวิถีชาวชุมชนที่เปลี่ยนไปขณะเดียวกันอายุใบประทานบัตรของบริษัททุ่งคำก็มีอายุถึงปีพ.ศ.2570นั่นหมายความว่าปัญหาแร่เหมืองทองคำจังหวัดเลยจึงไม่อาจจะจบลงง่ายนัก (ชมคลิป)


บัวพัน มะโหรีชาวบ้านวังสะพุงบอกว่าจุดเริ่มต้นของปัญหาเกิดทั้งหมดเกิดจากความมักง่ายของผู้ประกอบการเหมืองแร่ที่หละหลวมในมาตรฐานการควบคุมสารพิษ


ที่บ่อกักเก็บกากแร่เราพบว่าบางจุดมีพลาสติกรองแต่บางจุดไม่มีทำให้สารพิษรั่วซึมผ่านชั้นดินออกมาประกอบกับที่ดินบริเวณนั้นเป็นแหล่งต้นน้ำทำให้สารพิษแพร่กระจายลงลำห้วยต่างๆ


เป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่ผลกระทบจากการเปิดเหมืองบนภูทับฟ้าและภูซำป่าบอนทำให้น้ำและป่าไม้ไม่ได้อยู่ในสภาพเดิมวิถีชีวิตของชาวบ้านต้องเปลี่ยนไปเริ่มจากงดใช้น้ำในลำห้วยต้องซื้อน้ำเข้ามากินไม่สามารถจับสัตว์น้ำเช่นหอยขมขึ้นมากินได้รวมทั้งพืชผักตามร่องน้ำล้วนตกอยู่ในสภาพปนเปื้อนโลหะหนักและสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เท่านั้นยังไม่พอกิจการเหมืองแร่ยังส่งผลกระทบไปถึงการทำเกษตรกรรมด้วยนายเลียงพรหมโสภาวัย 61 ปีชาวนาที่นี่บอกว่าก่อนมีเหมืองทำนาได้ข้าวถึง 30 –40 กระสอบแต่ตอนนี้ทำได้เพียง 9 กระสอบทำให้คนทั้งหมู่บ้านมีข้าวไม่พอกินไม่นานมานี้เครือข่ายเหมืองแร่โปแตสจ.อุดรธานีที่ประสบปัญหาเดียวกันต้องระดมข้าวมาช่วยเหลือชาวบ้านที่นี่


ในพื้นที่ตำบลเขาหลวงอำเภอวังสะพุงจังหวัดเลยเป็นพื้นที่ที่พบแร่ทองคำมากที่สุดปัจจุบันมีบริษัททุ่งคำจำกัดเป็นผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ในพื้นที่โดยได้รับใบประทานบัตรถึง 6 ใบคือที่ภูซำป่าบอน 1 ใบและภูทับฟ้า 5 ใบใบประทานบัตรทั้งหมดนี้มีอายุ 25 ปีนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2545 – 2570


ขณะเดียวกันข้อมูลจากฝ่ายอุตสหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่จังหวังเลยเมื่อปี 2553 พบว่ามีเหมืองที่เปิดทำการแล้วทั้งสิ้น 42 แปลงอยู่ระหว่างขอประทานบัตร 276 แปลงอยู่ระหว่างขอต่ออายุประทานบัตร 11 แปลงและพื้นที่ที่ขอทำการสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรอื่นๆอีกรวมเป็น 628 แปลงคิดเป็นพื้นที่ถึง 494,023 ไร่หรือ  7 เปอร์เซ็นของพื้นที่ทั้งจังหวัดเลยข้อมูลนี้สะท้อนให้เห็นว่าอนาคตจังหวัดเลยจะมีเหมืองแร่เกิดขึ้นอีกจำนวนมากและรัฐจะได้ค่าภาคหลวงแร่แบบตามอัตราก้าวหน้าจากผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ด้วย


หากนับจากภูซำป่าบอนและภูทับฟ้าที่ถูกขุดทำเหมืองแร่แล้วภูเหล็กที่อยู่ติดกับภูทับฟ้าเพียงแค่คูน้ำกั้นก็ถูกเล็งจากนายทุนว่าจะเอาไปทำเหมืองแร่ทองคำด้วยเหมือนกันแม้ที่ผ่านมาจะเกิดผลกระทบที่ทำให้คนทั้งหมู่บ้านเจ็บป่วยและวิถีชีวิตเปลี่ยนไปแล้วก็ตามชาวบ้านบอกว่าพวกเขา (บริษัททุ่งคำ) ไม่เคยเห็นหัวชาวบ้านเลย

 ภูเหล็กถือเป็นภูเขาลูกสุดท้ายในวังสะพุงที่ยังอุดมสมบูรณ์อยู่ชาวจึงลุกขึ้นมาปกป้องภูเหล็กอย่างถึงที่สุดเดือนธันวาคมปี 2555 บริษัททุ่งคำจำกัดพยายามจะขอประทานบัตรเปิดเหมืองทองคำที่ภูเหล็กตามกฎหมายจึงต้องจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน (Public Scoping)ก่อนแต่ก็มีการนำกำลังทหารและตำรวจกว่า 1200 นายปิดกั้นไม่ให้ชาวบ้านรอบเหมืองและกลุ่มคนรักษ์บ้านเกิดร่วมเวทีมีการเลือนเวทีฟังความคิดเห็นถึง 8 ครั้งและในที่สุดชาวบ้านก็คัดค้านการทำเหมืองที่ภูเหล็กได้สำเร็จ

ความคับแค้นใจความไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านที่นี่นับร่วมกันตั้งแต่บริษัททุ่งคำเข้ามาทำเหมืองก็ยาวนานนับสิบปีเป็นเวลาที่นานมากพอที่สอนให้ชาวบ้านต่อสู้และรู้จักกับสิทธิชุมชนสิทธิที่ชาวบ้านจะลุกขึ้นเพื่อปกป้องวิถีชีวิตดั่งเดิมมีระบุไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

ทั้งอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่, อุตสาหกรรมจังหวัดเลย, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย, ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรอำเภอวังสะพุงและสส.ในพื้นที่ต่างรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นอย่างดีเพราะชาวบ้านไปร้องขอความเป็นธรรมมาแล้วทั้งสิ้นแต่ดูเหมือนเสียงของชาวบ้านจะแผ่วเบาจนแทบไม่มีใครได้ยินการเยียวยาฟื้นฟูยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

ตอนนี้ชาวบ้านจึงตั้งถามกับรัฐถึงความคุ้มค่าระหว่างค่าภาคหลวงแร่กับวิถีชีวิตของชาวบ้านซึ่งความจริงที่เกิดขึ้นที่นี่ในวันนี้ก็คือกิจการเหมืองทองคำที่ดำเนินการไปแล้วบนภูทับฟ้าและภูซำป่าบอนเป็นสาเหตุให้ที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบต่อชุมชนจริงโดยยังไม่ได้รับการแก้ไขหมายความว่าถ้ามีการขยายพื้นที่และถ้ามีการต่ออายุประทานบัตรเหมืองแร่ต่อไปอาจไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับฐานทรัพยากรและวิถีชุมชนที่ต้องสูญเสียไปรวมทั้งแนวโน้มความรุนแรงที่เกิดขึ้นแล้วในพื้นที่


------------------------- Tanpisit Lerdbamrungchai / THE NATION -------------------------

วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

"ภูเขาทองคำ" กับ "ผ้าซิ้นแห่งความทรงจำ"

"ภูเขาทองคำ" กับ "ผ้าซิ้นแห่งความทรงจำ"



ผ้าซิ้นไหมมัดหมี่หลายสิบผืนของยายปันแก่งจำปาวัย 80 ปีชาวชุมชนบ้านกกสะท้อนต.เขาหลวงอ.วังสะพุงจ.เลยยังคงถูกเก็บไว้ในตู้ไม้เป็นอย่างดีมันทำหน้าที่สะท้อนความทรงจำเมื่อครั้งยายปันยังแข็งแรงเธอเป็นหญิงผู้หนึ่งที่เพื่อนๆรุ่นราวคราวเดียวกันยกให้เป็นผู้มีฝีมือในการทอผ้าซิ้นได้งดงามที่สุดในหมู่บ้านแต่ณวันนี้จะไม่มีผ้าซิ่นที่ทอด้วยมือของยายปันอีกต่อไปเพราะเธอเดินไม่ได้

“ตอนแรกมันมึนๆแขนขารู้สึกหนักๆนานเข้าตอนนี้เดินไม่ได้หมอบอกเป็นกระดูกทับเส้นแต่เขาก็ไม่ยอมเขียนให้ในใบรับรองแพทย์นะฉันว่าสารแร่มันต้องมีส่วนให้ฉันเป็นอย่างนี้แน่ๆ”นี่เป็นประโยคที่ยายปันใช้ตอบคำถามกับผู้มาเยื่อนคนแล้วคนเล่ามาโดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมาเธอเริ่มเดินไม่ได้เมื่อตอนอายุ 76 ปีชาวบ้านที่นี่เชื่อว่าอาการที่เกิดกับยายปันเป็นผลมาจากสารพิษไซยาไนด์ที่รั่วซึมจากบ่อทิ้งกากแร่บนภูทับฟ้าไหลผ่านลำห้วยฮวยที่ชาวบ้านใช้ดื่มกินเก็บสาหร่ายน้ำและจับหอยปูปลาแถบนั้นมาทำเป็นอาหารอยู่เป็นประจำ

ย้อนกลับไปเมื่อราวปี 2550 ดินจากที่ทำเหมืองไหลลงสู่ที่นาของชาวบ้านที่อยู่โดยรอบชาวบ้านเริ่มมีอาการผดผื่นแสบตาขี้ตาเยอะแน่นหน้าอกจนกระทั่งปี 2552 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเลยจึงประกาศเตือนประชาชนไม่ให้ใช้น้ำจากห้วยผุกห้วยเหล็กรวมทั้งน้ำประปาบาดาลไม่ควรนำมาประกอบอาหารเนื่องจากพบโลหะหนักปนเปื้อนตามผลตรวจของกรมควบคุมมลพิษ

ผลตรวจเลือดชาวบ้านตามโครงการศึกษาวิจัย “การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนผู้อาศัยรอบเหมืองทองคำต.เขาหลวงอ.วังสะพุงจ.เลยปีงบประมาณ 2552” เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2553 พบว่าใน 725 คนมีไซยาไนด์เกินค่ามาตรฐาน  124 คนใน 758 คนมีปรอทเกินค่ามาตรฐาน 50 คนต่อมาปี 2554 ชาวบ้านพบว่าปลาไก่สุนัขที่เลี้ยงไว้ทยอยตายโดยไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้สารไซยาไนด์ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการผสมโลหะการแยกแร่ทองคำและการทำโลหะให้บริสุทธิ์ไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางการหายใจทางการกินและซึมผ่านผิวหนังหากได้รับเข้าไปปริมาณมากอาจก่อให้เกิดพิษเรื้อรังมีอาการแขนขาอ่อนแรงปวดศีรษะและโรคของต่อมไทรอยด์จนถึงแก่ความตายได้

หากดูตามแผนที่ที่ผมวาดเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายๆก็จะพบชัดเจนว่าสภาพพื้นที่ของต.เขาหลวงอ.วังสะพุงจ.เลยเป็นป่าต้นน้ำมีลำห้วยสายไหลผ่านภูซำป่าบอนและภูทับฟ้าคือบริเวณที่บริษัททุ่งคำจำกัดได้ขุดทำเหมืองแร่ทองคำไปแล้วและพื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดคือภูทับฟ้าเนื่องจากเป็นที่ตั้งของบ่อกักเก็บกากแร่ที่มีสารไซยาไนด์และกินพื้นที่กว่าร้อยไร่ทำให้มีสุ่มเสี่ยงว่าสารไชยาไนด์จะรั่วซึมลงมายังลำห้วยดังรูป



สภาพห้วยเหล็กป่าต้นน้ำที่อยู่ตีนภูทับฟ้าในวันนี้เราสังเกตได้ว่าผิวน้ำมีความมันวาวคล้ายสนิมส่วนอีกจุดที่ชาวบ้านใช้ไม้เขี่ยโคลนให้เราดูก็มีลักษณะเป็นเศษเหลืองๆคล้ายคราบสนิมเช่นกันและผักกูดที่ขึ้นอยู่แถบนั้นก็มีลักษณะใบไหม้หยิกงอด้วย

หลายปีที่ผ่านมาชาวบ้านหมดเงินไปกับการซื้อกับข้าวซื้อน้ำเพื่อการบริโภคเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพที่ก่อตัวขึ้นแล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ชาวบ้านจึงคัดค้านการให้ใบประทานบัตรเหมือนแร่ที่อาจมีขึ้นกับภูเหล็กภูเขาลูกสุดท้ายที่เป็นแหล่งอาหารสำคัญของคนที่นี่จนกระทั่งทำให้บริษัททุ่งคำจำกัดไม่ได้รับใบประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่ภูเหล็กแต่ชาวบ้านก็ยังไม่วางใจ

ตอนนี้ชาวบ้านต้องการให้รัฐปิดเหมืองทองในชุมชนทั้งหมดจึงเป็นโจทก์ยื่นร้องศาลปกครองโดยมีรัฐเป็นจำเลยให้เพิกถอนใบประทานบัตรของบริษัททุ่งคำจำกัดและเข้าฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทันที


สมพรเพ็งคำนักวิชาการสถาบันวิจัยสังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นนักวิชาการที่ติดตามปัญหาเหมืองแร่ทองคำจ.เลยมาโดยตลอดตั้งข้องสังเกตว่าการทำงานของส่วนราชการที่แยกส่วนงานไม่บูรณาการร่วมกันทำให้กระบวนการฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นล่าช้า

“เราไม่ต้องมาเถียงกันในการพิสูจน์ว่าสิ่งที่มันเกิดขึ้นกับหมู่บ้านแห่งนี้มันมาจากเหมืองหรือเปล่าแต่เราเห็นข้อเท็จจริงในเชิงประจักษ์ว่ามีการปนเปื้อนสารพิษในน้ำเราตรวจเจอคนป่วยเราไม่ควรจะปัดภาระให้ชาวบ้านเป็นผู้พิสูจน์เรื่องเหล่านี้หน่วยงานที่ให้ใบอนุญาติก็ควรจะต้องขึ้นมาจัดการเคลียร์ปัญหาตรงนี้อีกเรื่องคือการปนเปื้อนในแหล่งน้ำก็ควรจะต้องมีการบำบัดและฟื้นฟูทันทีกรมควบคุมมลพิษจะต้องเข้ามาทำหน้าที่นี้เราไม่ควรทำแค่ว่ามีการเฝ้าระวังแล้วก็ตรวจแล้วก็รายงานค่าเคมีของน้ำไปแล้วจบตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันปนเปื้อนเราควรจะอยู่ในขั้นตอนฟื้นฟูให้สะอาดและปลอดภัยดังเดิม” สมพรกล่าว

หากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมเข้ามาจัดการหากกรมอุตสาหกรรมโรงงานและการเหมืองแร่ให้ใบอนุญาตแล้วกำกับพฤติกรรมของผู้ประกอบการให้มีธรรมภิบาลหากทุกภาคส่วนมีความพยายามที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบยายปันคงยังสามารถสอนคนรุ่นใหม่ให้ทอผ้าซิ้นต่อไปได้อีกความสงบง่ายและความงดงามของวิถีชีวิตคงไม่เหลือเพียงความทรงจำอย่างวันนี้

--------------------------------------------------------------------tanpisit lerdbamrungchai 2014
ENVIRONMENT

Villagers near mine hit by health woes

People in Loei fear a gold mine has contaminated local rivers with cyanide and heavy metals

Eight years after a gold mine opened in Loei's Wang Saphung district, people there continue to have grave concerns about the health and environmental threats posed by its operation. A prominent academic, meanwhile, has said that efforts to address these issues have only been partly successful. 

For years, residents from the six villages in Tambon Khao Luang have joined together to spearhead the Khon Rak Ban Kerd Group, an anti-mining collective, to protest against Thung Kham Ltd Co's mining and mineral surveying in the area. They claim that the company's activities create pollution and destroy ecosystems.

They allege that they can no longer eat home-grown produce and need to buy drinking water due to environmental damage wreaked by mining. 

With plentiful minerals, the northeast province of Loei has caught the attention of a host of investors looking to capitalise on its rich resources. This has led to disputes and even violence. In the latest disturbance on May 15, protesting residents claimed they were attacked by more than 100 armed and masked men. They say they are now living in fear due to the incident. 

Khan Jutano, 56, said her husband Suwat, 61, used to be a strong farmer who could single-handedly build a house. "We ate rice that we grew ourselves, ate local fish and drank creek water," she said, adding that such lifestyle continued after the mine existed until Suwat got sick, reportedly from cyanide contamination. "He developed muscle pain in 2007 and a Muang Loei Hospital doctor said it was a nerve disease," she added. 

Blood tests conducted by the provincial health office on residents near the mine found that Suwat's blood contained 0.55 microgram/milligram of cyanide, well beyond a safe level of 0.2 microgram. By 2013, Suwat had leg muscle atrophy and was unable to walk. Fortunately their rubber-taper son supported them. "Or else we would starve because everything needs to be bought, including drinking water," Khan said.

Animals dying mysteriously 

Ban Kok Sathon resident Pan Kaengjampa, 80, had dozens of beautiful silk skirts to remind her of her glorious past as the village's best weaver. 

Now she can't walk since her body weakened in 2012 as an alleged consequence of cyanide contamination. The villagers believe that cyanide leaked from a disposal pool into a natural creek from which villagers drank and caught fish, crabs or clams for meal. 

"The doctor told me I had a nerve disease, but refused to write it down," said Pan. "I personally believe the minerals contributed to my symptoms."

In 2007 local residents started to complain of rashes, eye irritation and chest tightness. 

Two years later, Loei health office warned residents not to use water from Huai Phuk, Huai Lhek or underground water due to heavy metal contamination. 

Blood tests conducted in 2010 showed that residents in six villages around the mine had high levels of cyanide, lead and mercury in their blood while fish, chicken and dogs kept dying mysteriously. In 2012, at least three people - including Pan - had symptoms of muscle weakness, atrophy, and nerve disorder.

There were also adverse affects to farming. Liang Phromsopa, 61, a farmer, claimed that 30-40 sacks of rice were once harvested from each rice field compared to the current total of nine sacks per field. 

Chulalongkorn University social academic Somporn Pengkham said water quality tests started finding cyanide in the creek water after the mine began operating. In 2006, the situation worsened with the soil found to be contaminated by chemicals and the discovery of cyanide, manganese and arsenic in the water. A team assigned by the provincial governor to investigate the issue could not decide what to do with the cyanide. Although some residents were by now being found to have these potentially lethal contaminants in their blood, the absence of a systematic approach to tackling the problem by state agencies meant that the problem remains. 

While refraining from saying that the cyanide came from the mine, Somporn said that it was essential that the facility should be studied. "What is important is that the villagers are sick," she said. "Therefore authorities must step in and take care of the people." 

Somporn also urged people in Loei not to ignore the issue. She reminded them that creeks such as Huai Lhek, Huai Din Dam and Huai Liang Kwai eventually reached the Loei and Mekong rivers. Therefore it was quite possible that cyanide and heavy metal contamination might have already moved beyond the six villages. 

Although the mine is now closed, pollution and sickness - for which the authorities have not held anyone responsible - may remain for a long time and require a lot of tax money to fix. 

Somporn concluded by saying that solutions to tackling the after effects of contamination would remain elusive as long as state agencies remain indifferent to the issue.