วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

พนังงานตัวเล็กๆในวันที่กรุงเทพถูกปิด !

พนังงานตัวเล็กๆในวันที่กรุงเทพถูกปิด ! 


ภารโรงหญิงประจำอาคารสำนักงานแห่งหนึ่ง ย่านแยกอโศกมนตรี วัย 51 ปีเล่าว่าทุกๆเช้าตนจะขึ้นรถเมล์มาจากอ่อนนุช แล้วมาลงที่อโศก เมื่อเช้าที่ผ่านมารถเมล์ยังคงวิ่งมาถึงที่แยกอโศกได้ แต่บ่ายนี้ผู้ชุมนุมเต็มพื้นที่หมดแล้ว ไม่มีรถเมล์วิ่งผ่านมาแล้ว ตนคงต้องเดินเท้าย้อนกลับไปที่พร้อมพงษ์ หรือเดินย้อนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเจอรถเมล์

ภารโรงหญิงวัย 51 ปีผู้นี้ปฏิเสธที่จะโดยสารด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส เธอแจกแจงให้ฟังว่าเพราะค่าโดยสารรถไฟฟ้านั้นมีราคาแพงโดย 1 เที่ยวจากอ่อนนุชถึงอโศกจะต้องเสียค่าโดยสาร 30 บาท หากรวมทั้งขาไปและกลับ วันหนึ่งต้องเสียถึง 60 บาท ในขณะที่เธอได้ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เงินจำนวนนี้เธอต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ค่าอาหาร และค่าโดยสารรถเมล์ถือว่าถูกที่สุด


"จะหยุดงานไม่ได้ ถ้าหยุดก็ไม่ได้เงิน ให้ลำบากแค่ไหนก็ต้องมา" หญิงวัย 51 ปีกล่าว

ภารโรงหญิงคนเดิมกล่าวต่อว่าหากวันต่อๆไปที่ยังมีการปิดถนนเธอต้องเดิน เดิน และเดินจนว่าจะเจอป้ายที่มีรถเมล์จอด เธออยากวิงวอนกับผู้ที่ดูแลการเดินรถเมล์ว่า อย่าหยุดวิ่ง

เช่นเดียวกับพนักงานรักษาความปลอดภัยประจำอาคารสำนักงานแห่งหนึ่งย่านแยกอโศกมนตรี กล่าวว่านั้งรถเมล์มาจากพระขโนงเมื่อตอน 7:00 น. ยังคงมีรถเมล์วิ่งอยู่

"ขากลับนี่น่ากลัวจะกลับไม่ได้ สงสัยต้องเดินไปจนกว่าจะเจอรถเมล์" รปภ.วัย 50 ปีกล่าว

หากยังคงมีการชุมนุมปิดถนนต่อไปเรื่อยๆ รปภ.คนเดิมบอกว่าตนไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้ ต้องดูวันต่อวัน แต่ที่รู้ๆคือตนต้องมาทำงานทุกวัน

ด้านพนักงานซักรีดชายในโรงแรมแห่งหนึ่งย่านแยกอโศกมนตรี วัย 40 ปีเล่าว่าขี่รถจักรยานยนต์จากบ้านย่านบางนามาทำงานในเวลา 6:00 น. เป็นปกติ เมื่อทราบข่าวว่ามีการปิดแยกอโศกมนตรี เช้านี้จึงออกเดินทางเร็วขึ้นโดยออกจากบ้านตั้งแต่เวลา 5:00 น. พบว่ายังมีผู้ชุมนุมมาปิดถนนไม่มากสามารถผ่านเข้าไปยังที่ทำงานได้ แต่เมื่อช่วงสายๆสังเกตุว่าผู้ชุมนุมเริ่มเยอะขึ้น จนปิดถนนแยกอโศกในที่สุด

"ถ้าคืนนี้ออกไปไม่ได้ก็คงต้องนอนในที่ทำงาน เสื้อผ้าก็ซักเอาที่นี่" พนักงานซักรีดชายวัย 40 ปีกล่าว

สำหรับวันต่อๆไปที่ยังคงมีการปิดแยกอโศกมนตรีอยู่ ชายวัย 40 ปีบอกว่าอย่างไรแล้วก็ต้องหาซอยลัดเลาะมาให้ได้ ถ้าขากลับวันนี้กลับบ้านได้ ก็จะสำรวจเส้นทางไปด้วย เพื่อวางแผนเดินทางมาทำงานในพรุ่งนี้

ขณะที่นางสุเพ็ญ พริ้งกระโทก พนังงานบริษัทแห่งหนึ่งย่านแยกอโศกมนตรีเล่าว่าตนขับรถมาจากบ้านย่านเพชรเกษม เมื่อเช้าออกเดินทางเช้าหน่อยมาตอน 6:00 น.สามารถเอารถมาจอดยังสำนักงานได้ แต่วันอื่นๆไม่แน่ใจ ถ้าการปิดถนนจากแยกอโศกขยายพื้นที่ต่อไปอีก เธอจะเอารถจอดในอาคารหรือห้างที่ใกล้ที่สุดแล้วนั้งมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้ามา หรือเดินเข้ามาทำงาน

อีกด้านหนึ่ง นายเลาเยีย แซ่วื้อ มอเตอร์ไซค์รับจ้างวินแยกอโศกมนตรี ยอมรับว่ามีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้ชุมนุมที่เข้ามาใช้บริการ เหมารถไปย่านนางเลิ้งเป็นส่วนมาก เขาคิดค่าบริการ 100 บาทต่อเที่ยว

ส่วนพนักงานทำความสะอาดกทม. หญิงวัย 33 ปี เล่าว่าตนขี่จักรยานยนต์ออกจากบ้านย่านคลองเตยเมื่อตอนตี 5 แม้ว่าบ้านจะไม่ได้อยู่ไกล้จากแยกอโศกมากนัก แต่การมีผู้ชุมนุมมากขึ้น ทำให้เธอต้องกวาดถนนวันละหลายๆรอบ

"ปกติจะกวาดวันละ 2 รอบ คือตอน 12:00 น. กับ 15:00 น. แล้วกลับบ้านตอน 17:00 น. ตอนนี้ต้องสังเกตุเอาตามความสกปรกมากน้อย ก็กวาดเก็บเลย เพราะถ้าผู้ใหญ่มาเห็นจะถูกตำหนิ และต้องอยู่เก็บกวาดไปจน 20:00 หรือจนกว่าผู้ชุมนุมจะซาลง" พนักงานทำความสะอาดกทม.กล่าว



ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแยกอโศกมนตรีมีผู้ชุมนุมจำนวนมากจับจองพื้นที่กลางสี่แยกทำให้ถนนถูกปิดไปโดยปริยาย รถเมล์มาถึงได้แค่สถานีบีทีเอสพร้อมพงษ์ รถเมล์สาย 38 48 มักวนรถกลับที่บีทีเอสอ่อนนุช ส่วนรถเมล์จากอีกด้านมาถึงได้แค่บีทีเอสนานา ส่วนเวทีของผู้ชุมนุมหันหน้าไปทางมศว. หน้าเวทีมีผู้ชุมนุมหนาแน่น ถนนหลังเวทียังถูกปิดไม่มากนัก ทั้งนี้ผู้ชุมนุมมีการหลีกทางเมื่อมีรถพยายาบาลวิ่งผ่านมาด้วย

///////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI / The Nation



PROTESTS

Skipping work not an option for some

Blockade makes life difficult for many, but some also finding opportunities

Many Commuters in Bangkok are struggling to find their way to work, no matter what protest is going on. 

"I can't skip work. If I don't report to work, I won't get my wages," a 51-year-old office cleaner said yesterday, as she watched the Bangkok shutdown spread into further areas across the capital. 

The woman's workplace was located at Asoke Intersection, but it was full of anti-government demonstrators as of press time. 

The office cleaner learnt that she may not be able to get a bus to and from the intersection, but she had no plans to stop coming to work. 

"No matter how difficult it is to get here, I will definitely come to work," she said. However, she ruled out the option of catching a ride on the BTS Skytrain, saying the service was too expensive for a low-income earner like her. 

She said a BTS ride from On Nut to Asoke could cost her Bt30 each way and she earned just Bt300 a day.

"I can't afford the transport cost of Bt60 a day because I have to save my wages for food and other expenses," she explained. 

The woman planned to stick to bus rides and walking. "I can walk till I find a bus," she said. 

A security guard working in the same area said he could not plan in advance how he would commute while the shutdown was on. "But what I know is I have to come to work every day," the 50-year-old said. 

A 40-year-old worker at a laundry shop looked on as the crowd grew bigger at Asoke. "If I can't go home, I will sleep here," he said. 

A number of office workers paid monthly wages said they would also continue to come to work despite the shutdown.

"I drive to work," Supen Pringkratoke said yesterday.

Asked what she would do now that Asoke was blocked, she said, "I may drive to a nearby location where I can park my car. Then, I can get a motorcycle taxi and walk to my office." 

Meanwhile, motorcycle taxi driver Laoyia sae Weu said he was doing okay as he had got more passengers than normal because many demonstrators wanted a ride. 

Elsewhere, a health official, aged 46, said she was able to get to her workplace in Nonthaburi faster yesterday, as the shutdown eased traffic congestion in many areas because a number of people did not go to work. Speaking on condition of anonymity, this official admitted, "Actually, I did not want to work . But when I saw my friends coming to work, I decided to report to work too." 

She was quick to add that she had no plan to join the protest rather than going to work. "I don't like both sides in the ongoing political conflict. I think it would be better for the country if they could talk together but now they don't," she said.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น