วันพุธที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2557

พาเด็กไปม็อบ ทำลายหรือสร้างสรรค์ ?

พาเด็กไปม็อบ ทำลายหรือสร้างสรรค์ ?


พ่อแม่หลายคนพาลูกมาร่วมการชุมนุมของกลุ่ม กปปส.โดยคาดหวังว่าเด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตย และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยในครั้งนี้ แต่จิตแพทย์มองว่าเด็กยังเล็กเกินกว่าจะเรียนรู้ในเรื่องที่ซับซ้อน ขณะที่สิ่งแวดล้อมในที่ชุมนุมก็ไม่เหมาะสำหรับเด็กเลยทั้งการใช้ภาษาในการปราศัย อารมณ์ความรู้สึกของผู้คน รวมถึงเสียงจากลำโพง และนกหวีดที่ดังจนอาจเป็นอันตรายได้


 “คุณปู่พรุ่งนี้หนูหยุดพาหนูมาชุมนุมหน่อย หลานอยากมาผมก็เลยพามา” ลุงบุญเสริม วงศ์ร่วมพิบูลย์ วัย 67 ปีพาหลานสาว 2 คน คนหนึ่งอายุ 5 ขวบอีกคนอายุ 9 ขวบมาร่วมชุมนุมกับกลุ่มกปปส.ที่แยกราชประสงค์ตามคำรบเร้าของหลานๆ ลุงบุญเสริม ยอมรับว่าการพาหลานมาร่วมชุมนุมมีความเสี่ยงอยู่บ้าง จึงเลือกพามาตอนกลางวัน และถ้าหากตอนเย็นมีคนเยอะมากขึ้นก็จะพากลับบ้านเพื่อความปลอดภัย

แม้จะไม่ได้คาดหวังอะไรจากการพาหลานมาร่วมชุมนุมเพราะหลานยังเด็ก แต่ลุงบุญเสริมเชื่อว่าเด็กจะสามารถซึมซับบรรยาการศการชุมนุมของมวลมหาประชาชนที่ออกมาต่อต้านคนโกงได้ เมื่อโตขึ้นเด็กๆจะได้เข้าใจว่าคนที่โกงชาติบ้านเมืองจะมีผู้ออกมาต่อต้านเป็นจำนวนมากอย่างนี้

“บนเวทีมีการปราศัยที่ใช้คำรุนแรงและล้อแหลมหยาบคายบ้าง แต่ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้หลานฟัง เลือกพาหลานมาตอนกลางวันส่วนหนึ่งเชื่อว่าการปราศัยบนเวทีจะไม่มีคำพูดที่รุนแรงเหมือนตอนดึกๆ เพราะส่วนใหญ่เป็นการขับร้องเล่นดนตรี” ชายวัย 67 ปีที่พาหลานมาด้วยกล่าว

เช่นเดียวกับนางพัชรวรรณ ปัดภัยที่พาลูกชายวัย 5 ขวบมาร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส.ที่แยกปทุมวัน เธอบอกว่าเลือกพาลูกมาในช่วงกลางวันที่มีคนน้อย ในตอนกลางคืนอาจจะมีคนเลิกงานมากันเยอะ ทำให้เธอดูแลลูกลำบากมากขึ้น

การชุมนุมปิดกรุงเทพของกลุ่ม กปปส. ที่นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณเริ่มขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม มีการปิดถนนและแยกการจราจรที่สำคัญทั้ง 7 จุด และยังมีทีท่าว่าจะดำเนินต่อไปเพื่อกดดันนส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ให้ลาออกจากต่ำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี และมีการปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง โดยการตั้งสภาประชาชน ที่ส่วนหนึ่งมาจากการคัดเลือกของกลุ่มกปปส.เอง

 “ อย่างน้อยเราก็ได้เป็นส่วนหนึ่งทีออกมาเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ อยากให้เขาเห็นว่าคนที่ทำไม่ถูกต้องก็จะไม่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ” มุมมองง่ายๆที่นายกรัฐมนตรีไม่ซื้อสัตย์ อันนี้เด็ก 5 ขวบก็เข้าใจ” พัชวรรณบอกอีกว่าวันนี้ลูกขอร้องให้ชวนมาร่วมการชุมนุมด้วยตนเอง  และเมื่อถามเด็กชายรวิกร ปัดภัย วัยทำไมถึงอยากร่วมการชุมนุมเด็กชาย 5 ขวบว่าตอบว่า “อยากมาช่วยถือธงกับมาเป่านกหวีด”

การเข้าใจของเด็กในเรื่องที่ซับซ้อน

สอดคล้องกับพญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตบอกว่าเด็กอนุบาล (1-6 ปี) โดยวัยแล้ว การเข้าใจในเรื่องเหตุผล เนื้อหา จะเป็นเรื่องที่ไม่ซับซ้อน การที่เด็กไปร่วมชุมนุมก็ได้แค่เพียงเห็นบรรยากาศ แต่ไม่เข้าใจเนื้อหา แต่สำหรับเด็กประถม (7 – 12 ปี ) อาจเริ่มเข้าใจในเหตุผลง่ายๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องอธิบายด้วยภาษาง่ายๆ

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ยกตัวอย่างการอธิบายเรื่องการเมืองให้ลูกฟังอย่างง่ายๆว่า เช่นเดียวกับเวลาที่หนูอยู่ที่โรงเรียนแล้วมีการเลือกหัวหน้าห้อง การเลือกตั้งก็เหมือนการเลือกหัวหน้าห้อง หัวหน้าห้องก็มีหน้าที่ดูแลสมาชิกในห้อง แต่ถ้าเขาทำหน้าไม่เหมาะสม เราควรมีวิธีอย่างไรที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีที่ไม่รุ่นแรง อันนี้เป็นตัวอย่างว่าเด็กจะเข้าใจมากขึ้น



“การยกตัวอย่างที่เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก สามารถเทียบเคียงกับเรื่องประการณ์โดยตรงของเด็ก จะทำให้เด็กสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ อย่างง่ายๆ ดีกว่าปล่อยให้เขาฟังไปเรื่อยๆ เพราะเด็กไม่สามารถสร้างวิธีการคิดแบบซับซ้อนได้” พญ.พรรณพิมลกล่าว

คำหยาบคายบนเวทีปราศัย

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต บอกอีกว่าผู้ปกครองมีความตั้งใจที่จะให้ลูกได้เรียนรู้ อยากให้เด็กได้เห็นสิ่งดีดีในที่ชุมนุม แต่ก็ต้องระวังเรื่องการเลียนแบบพฤติกรรม เพราะเป็นเรื่องปกติสำหรับเด็กเล็กและประถม ที่เห็นแล้วจะทำตามทันที เขาจะเข้าใจไปว่าอันนี้เป็นสิ่งที่แสดงออกได้ เพราะเขาเห็นคนอื่นทำ เช่นเรื่องการใช้คำพูดอาจจะหยิบเอาคำบางคำมาพูดเลย โดยไม่เข้าใจว่าคำพูดแบบนี้ควรใช้หรือไม่ควรใช้ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม พ่อแม่ก็ต้องอธิบายว่าในชีวิตประจำวันของเราจะไม่ใช้คำหยาบคาย แม้กระทั่งในครอบครัวเราก็จะไม่ใช้กัน

“แต่ถ้าคำบางคำมันยากกว่านั้นสำหรับเด็ก เช่นคำที่ไปละเมิดผู้อื่นที่มันซับซ้อนกว่านั้น ก็ต้องกลับไปที่ตัวอย่างเดิมว่าเราไม่ชอบหัวหน้าห้องคนนี้ เราก็ไปด่าว่าเขาแรงๆ อันนี้ไม่แน่จะใช่วิธีการที่จะสอนลูกของเรา สิ่งสำคัญที่ต้องระวังคือเรื่องการเลียนแบบ ความรุนแรง จากภาษา” พญ.พรรณพิมลกล่าว

รองอธิบดีกรมสุขภาพจิตย้ำว่าจริงๆแล้วเด็กควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับวัยของเขา เราต้องยอมรับความเป็นจริงว่าในที่ชุมนุมไม่ใช่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะกับเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็กยิ่งไม่ควรเลย 

“หมอเข้าใจว่าตอนนี้การชุมนุมส่วนใหญ่เป็นคนเมือง ก็ต้องเอาลูกไปชุมนุมด้วย ดังนั้นพ่อแม่ต้องตัดสินใจเลือกว่าจะเอาลูกอยู่ในที่ชุมนุมนานสักเท่าไหร่ นอกจากการไปมีส่วนร่วมทางการเมืองอาจจะต้องตัดสินใจว่า เรายังคงต้องให้การดูแลลูก เราอาจจะต้องออกจากการชุมนุมเป็นช่วงๆ บ้าง ให้เด็กได้เล่นแบบเด็กๆ คุณต้องรักษาส่วนนี้ไว้ด้วย แต่ถ้าบริหารให้ดีให้ลูกอยู่บ้านมีคนดูแลเหมาะกับเขามากว่าค่ะ”



สุขอนามัยและเรื่องเสียงดังในที่ชุมนุม

อีกเรื่องที่พญ.พรรณพิมล เตือนคือระดับความดังของเสียงมาตรฐานอยู่ที่ 50 เดซิเบล ถ้าดังกว่านั้น การอยู่บริเวณนั้นนานๆ อาจส่งผลกระทบต่อการได้ยินได้ อย่างเด็กเล็กความสามารถของเขาในการที่จะทนกับเสียงดังได้นานไม่เท่ากับผู้ใหญ่

“ใช้ตัวเราแบบง่ายๆก็ได้ ถ้าเรารู้สึกว่าเสียงดังจนเราไม่ไหว เพราะฉะนั้นลูกก็ไม่ไหวแน่นอน ลูกเนี่ยไปก่อนเรา ต้องออกจากพื้นที่เป็นระยะๆ อย่าอยู่จนไม่ไหว บางทีเราอยู่หน้าเวที จนอาจลืมว่ามีลูกเล็กๆอยู่ข้างๆเรา”

นอกจากการนี้พญ.พรรณพิมลยังเตือนเรื่องสุขอนามัยในที่ชุมนุม ความสะอาดของอาหารสำหรับเด็กเล็ก และในภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงช่วงนี้ผู้ใหญ่เองยังเป็นหวัด ที่ศูนย์เด็กเล็กเองก็มีเด็กติดหวัดกันงอมแงม ดังนั้นระวังเรื่องสุขภาพสำหรับเด็กด้วย ในที่ที่มีคนเยอะเราไม่รู้ว่าใครเป็นอะไรบ้าง

_____________________


BANGKOK SHUTDOWN

'Keep children out of protests'

Tanpisit Lerdbumrungchai
The Sunday Nation January 19, 2014 1:00 am
Children hold placards with protest messages at an anti-government rally site. Such image of adults bringing their kids to join the ongoing protest has become quite common but expert warn of negative impact.
Children hold placards with protest messages at an anti-government rally site. Such image of adults bringing their kids to join the ongoing protest has become quite common but expert warn of negative impact.

Experts warn the high noise levels, overcrowded conditions and bad language can have negative impact

Some parents have brought their children to join the anti-government protests in the hope that they might learn about democracy and be part of the historic events, but experts warn the experience could have a negative effect on children's mental and physical health due to the exposure to loud noise and over-crowded conditions. Children might also end up copying the bad behaviour of some protesters, they said.

"Grandpa, tomorrow is my day off, please take us with you to the protests," 67-year-old Boonserm Wong-ruampaiboon quoted his two granddaughters, aged 5 and 9, as saying. It was his reason for taking them to the rally site at Bangkok's Ratchaprasong intersection, he said. However, he added that as a precaution, he only took them during daytime and would return home before evening when the crowd began to get much larger.

Images of parents protesting or sitting with their children in front of the protest stages - listening to passionate speeches through booming speakers - is not uncommon.

Boonserm believes his granddaughters - although still very young - were able to absorb the atmosphere and understand that the protests were against corruption.

While he admitted that some of the speeches were coarse, he said that daytime speeches tended to be milder and there was a lot more musical entertainment. If rude remarks were made, Boonserm said he would try to distract his granddaughters' attention away from the rude remarks.

Another demonstrator, Patcharawan Padpai, who brought her five-year-old son to join the Pathumwan intersection rally, said she came during the daytime when there were not too many people. She said she would leave quickly if the situation began to deteriorate into violence.

She said she believed children should participate in the rally so that they could see the process of positive change, and so that they would learn that wrongdoers could not stand in the way of a peaceful society. Her son had also asked to join the rally, she added. Asked why he wanted to join the rally, the boy said he wanted to wave a flag and blow his whistle.

Dr Panpimol Wipulakorn, deputy director of the Department of Mental Health, said children aged 1-6 could only understand simple matters and that those who attended the rally with their parents would only be able to absorb the atmosphere. However, children aged 7-12 might understand more through simple explanations and parental guidance, she said.

Panpimol cited as an example a child's experience in choosing a fellow classmate to be "leader of the classroom". Children, she said, would be able to understand that the purpose of having a student as the leader was to take care of fellow classmates, but if that leader did something wrong, then that might lead to changes which could be peacefully adopted through discussion.

An explanation of this kind, which was relevant to the direct experience of a child, could help them to understand the protest situation more clearly, she said.

Panpimol also warned that children might pick up rude words and behaviour, and it was therefore important for parents to explain that some of the remarks made at the rallies were inappropriate in daily life.

She also urged parents to leave the rally sites from time to time, so that their children could take time off to relax and play. However, she added that taking very young children to the rallies was inappropriate, and that they should be left at home with a babysitter.

She also warned that prolonged exposure to loud noises beyond the safety level of 50 decibels might affect their hearing, while overcrowded conditions amid changing weather conditions could lead to them catching flu.

//////////////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI / THE NATION

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น