วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

น้ำท่วม: บทพิสูจน์ของคนบางคล้า

น้ำท่วม: บทพิสูจน์ของคนบางคล้า

เรื่องน้ำท่วมคงลงช้าไปแล้วในเวลานี้ เพราะคงไม่มีข่าวไหนกระแสดีเท่าข่าวต้านนิรโทษกรรมสุดซอย ซึ่งผมก็จะลองไปสัมผัสบรรยากาศดูด้วยเหมือน คงได้มีโอกาสเล่าสู่กันฟังในโอกาสต่อไป
คิดแล้ว..ประเทศไทยก็มีวิกฤตกันอยู่ไม่กี่เรื่อง ไม่วิกฤตการเมือง ก็วิกฤตน้ำท่วม 
หลายคนคงตั้งคำถามว่าทำไมปีนี้ภาคตะวันออกน้ำท่วมหนัก ท่วมนาน ผมเลือกไปดูที่อำเภอบางคล้าเพราะว่าดูจากแผนที่แล้ว น้ำสายสายมาบรรจบที่นี่ เขาว่ามีน้ำทะเลขึ้นลง ทำให้น้ำลดยาก วิถีชีวิตคนที่นี่ก็คงเปลี่ยนไปไม่น้อย 
ดูแล้วก็เหมือนจะหนักกว่ากรุงเทพน้ำท่วมเมื่อปี 2554 เสียอีก สำหรับน้ำท่วมที่ภาคตะวันออกในปีนี้ แต่ข่าวทีวีก็เสนอข่าวไม่คึกคักเท่า หรืออาจเป็นเพราะว่าชาวบ้านเขาอยู่กันได้ ...

19 ตุลาคม 2556
-1-
เราเดินทางมาถึงตลาดบางคล้าในช่วงเช้าของวันออกพรรษาครับ หน้าวัดแจ้งที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ถูกน้ำล้อมเอาไว้หมดแล้ว เว้นไว้แต่ศาลาการเปรียญที่น้ำยังท่วมไม่ถึง มีผู้คนมาทำบุญในวันออกพรรษากันอย่างบางตา
ชาวบ้านบอกว่าบางคล้าถูกน้ำท่วมมาตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม นับจากวันนั้นถึงวันนี้ก็ท่วมมาราว 2 สัปดาห์แล้ว
มันก็ไม่คงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่คนจะมาทำบุญกันน้อยในสถานการณ์น้ำท่วมอย่างนี้ เพราะชาวบ้านที่นี่คงสาละวนอยู่กับการจัดการกับชีวิตของตนเอง ในภาวะที่ต้องแช่อยู่กับน้ำเป็นเวลานาน อย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก
แต่สำหรับครอบครัววิไลเพชรสมบูรณ์ วันนี้ผู้เป็นย่าพาหลานชายมาทำบุญ ถึงแม้ว่าที่บ้านของตนเองก็ถูกน้ำท่วมเหมือนกับบ้านอื่นๆด้วยเหมือนกัน
ตั้งแต่น้ำท่วมก็ไม่ได้ทำบุญเลย วันนี้วันออกพรรษาก็เลยออกมาทำบุญ
ตั้งแต่อยู่มาก็เนี่ย เพิ่งจะเห็นครั้งนี้ท่วมหนักที่สุดสมส่วน วิไลเพชรสมบูรณ์ ผู้เป็นย่ากล่าว
พระมหาเคลิ้ม สุนฺทโร เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ในวันที่วัดถูกน้ำท่วม หลวงพ่อยังคงทำหน้าที่ของพระสงฆ์ในวันออกพรรษาดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา 
น้ำท่วมไม่นานเดี๋ยวลด ก็เหมือนกับหลายๆสิ่งที่มีขึ้นตั้งอยู่ดับไป แต่ว่าน้ำท่วมครั้งนี้ก็อาจจะทิ้งความสียหายเล็กๆน้อย ก็ตั้งใจต่อสู้ต่อไปหลวงบอกกับชาวบ้านที่กำลังมีความทุกข์จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นอยู่ในเวลานี้
การทำบุญในวันออกพรรษาที่เงียบเหงาที่สุดในรอบหลายปีสิ้นสุดลงแล้ว ชาวบ้านที่ลุยน้ำมาทำบุญในวันนี้ก็กำลังกลับบ้านไปเพื่อเผชิญกับภาวะน้ำท่วมที่ต่างคนก็ต้องทำใจกันต่อ ส่วนเราจะไปสำรวจผลกระทบด้านอื่นของชุมชนแห่งนี้ด้วย


-2-
โรงเรียน เป็นสถานที่ที่เราเลือกเข้าไปดูโชคดีที่ในเวลานี้อยู่ช่วงปิดเทอมของน้องๆ จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการเรียนมากนัก แต่ว่าน้ำที่ท่วมอย่างหนักและมีระดับสูงขนาดนี้ ย่อมทำให้ข้าวของเสียหาย ทำให้เราไม่มั่นใจว่าเมือถึงช่วงเปิดเรียนทุกอย่างจะกลับมาเป็นปกติ
ที่โรงเรียนวัดปากน้ำโจ้โล้ เราได้พบกับคุณครูกลุ่มนี้ ปกติแล้วช่วงปิดเทอมจะเวลาที่คุณครูจะต้องเตรียมแผนการสอนในเทอมต่อไป แต่วันนี้คุณครูต้องทำหน้าที่ยกของหนีน้ำ
ในห้องวิชาการที่ถูกน้ำท่วมสูง ผลงานของเด็กๆเสียหายจะความชื้นของน้ำ บางชิ้นจมน้ำไม่มีวันจะกลับคืนสภาพดั่งเดิม คุณครูยังคงอาลัยอาวอนกับผลงานของลูกศิษย์ที่ตั้งใจทำอย่างสุดฝีมือ
แต่ยังคงมีผลงานของนักเรียนบางส่วนที่ยังไม่เสีย คุณครูจึงรีบย้ายไปในที่สูงมากกว่าเดิม 

-3-
ภาระกิจเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อติดตามความเป็นอยู่ เป็นสิ่งที่คุณครูโรงเรียนวัดปากบ้านโจ้โล้ทำกันอยู่เป็นประจำในสถานการณ์ปกติ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมคุณครูจึงรู้พิกัดบ้านของลูกศิษย์เป็นอย่างดี ทำให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ในเชิงลึก อีกทั้งโรงเรียนซึ่งเป็นหน่วยงานราชการ ก็มีความสะดวกที่จะสามารถประสานเพื่อขอถุงยังชีพได้
คุณครูกลุ่มนี้คิดว่าสิ่งที่พวกเขาควรทำ และสามารถทำเพื่อลูกศิษย์ได้ในเวลานี้ ก็คือการนำสิ่งของไปให้ลูกศิษย์ที่ถูกน้ำท่วม
จริงๆแล้ว ความเป็นครู ก็คือครู เป็นคำที่มีความหมายมากกว่าผู้สอนในชั้นเรียน ในภาวะวิกฤตอย่างนี้คุณครูกำลังทำหน้าที่อย่างเมตตาต่อลูกศิษย์
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดปากน้ำโจ้โล้ที่มาเยี่ยมบ้านลูกศิษย์ในวันนี้บอกว่าหลังน้ำลดจะทอดผ้าป่าหนังสือ เพราะมีหนังสือเสียหลายเล่มหายจากน้ำท่วมรอบนี้เป็นจำนวนมาก และเขาได้ตัดสินใจแล้วว่าจะเลือนการเปิดเรียนจากเดิมวันที่ 28 ตุลาคม เป็นวันที่ 18 พฤศจิกายน

-4-
ที่บ้านหลังนี้ เราได้พบกับคุณป้าจวู เธอบอกว่าหลานสาวของเธอ ย้ายไปอยู่ที่กรุงเทพกับแม่หลังจากที่บ้านถูกน้ำท่วม แต่ตัวเธอเองไม่ขอย้ายไปอยู่ด้วย เธอขออยู่ที่บ้านหลังนี้ดีกว่า 
ในระหว่างที่เราคุยกับเธอ สังเกตุจากรอยยิ้มบนใบหน้า ทำให้เราเดาไม่ยากว่า เธอไม่ได้มีความทุกข์หรือวิตกกังวล จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ เรารู้สึกแปลกใจ และต้องการคำอธิบายจากเธอ
สิ่งที่ป้าจวูแสดงให้เราเห็นในวันนี้ ทำให้เราอดที่จะนึกไม่ได้ว่า ถ้าที่กรุงเทพถูกน้ำท่วม เราจะยังคงยิ้มได้อย่างเธอหรือไม่ และเราจะมีอะไรกินหรือเปล่า ดูเหมือนว่าความมั่นคงทางอาหารของคนต่างจังหวัดจะมีมากกว่าคนกรุงเทพเสียอีก ในภาวะน้ำท่วมอย่างนี้พวกเขายังคงสามารถเหวี่ยงแหจับปลา ทำมาหาเลี้ยงชีพได้ตามปกติ


-5-
ปีนี้นับว่าเป็นปีที่ภาคตะวันออกถูกน้ำท่วมหนักมากสุด โดยเฉพาะที่อำเภอบางคล้าน้ำจะท่วมนานกว่าพื้นที่อื่น 
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าบางคล้าที่จุดที่มวลน้ำทั้งจากแม่น้ำบางปะกง คลองท่าลาดและน้ำท่วมทุ่งมารวมกัน อีกทั้งได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้นน้ำลง น้ำทะเลหนุนทำให้น้ำที่ท่วมขังระบายลงอ่าวไทยได้ลำบาก และในช่วงที่น้ำลงน้ำที่บางก็ไม่ได้ลดลงตามไปด้วยเพราะมีน้ำก้อนใหม่ไหลเข้ามาเติมอยู่เรื่อยๆ
วันนี้คนในพื้นที่อยากเล่าเรื่องราวน้ำท่วมที่บ้านของตัวเองให้เราฟัง ลุงศักดา ทองประสิทธิ์ เคยเป็นผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการลุ่มน้ำบางปะกง เราจึงนัดเจอกันที่ริมแม่น้ำบางปะกง ลุงศักดาพกแผนที่มาเพื่อประกอบการเล่าเรื่องน้ำท่วมครั้งนี้กับเราด้วย เมื่อเริ่มต้นคุยกันได้ เราจึงถามและขอคำอธิบายจากลุงศักดาอีกหลายเรื่อง
... ทำไมปีนี้ภาคตะวันออกถึงท่วมหนัก
เพราะปีนี้ปริมาณน้ำฝนที่ตกในภาคตะวันออกมีมาก อีกทั้งน้ำที่มาจากเขาใหญ่ทับลานก็ไหลมารวมที่กบินทร์บุรี ซ้ำร้ายการบริหารจัดการน้ำที่มักไปอุดไปปิดไปขวางเมื่อน้ำมากเข้าก็ที่อุดที่ปิดไว้ก็พัง กลายเป็นเป็นน้ำท่วมทุ่งไหลอย่างไม่มีทิศทาง ไม่สามารถควบคุมได้



... ทำไมที่บางคล้าถึงต้องถูกท่วมอยู่เป็นเวลานานกว่าพื้นที่อื่นๆอย่างนี้
น้ำท่วมทุ่มจากบินทร์บุรีก็ไหลลงมาที่บางคล้า แล้วบางคล้าก็อยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกง น้ำในแม่น้ำก็เอ่อล้นอยู่แล้ว และยังมีน้ำที่ล้นออกมาจากอ่านเก็บน้ำระบมศรียัดที่ลาดล้นมาตามคลองท่าลาดอีก ซ้ำเติมด้วยน้ำทะเลหนุน น้ำขึ้นน้ำลง
... และโครงการจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงๆหรือ
ส่วนตัวคิดว่าไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก อยากขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำจะดีกว่าเพราะคนในพื้นที่ย่อมรู้ดีกว่าคนข้างบน คนพื้นที่รู้ว่าเมื่อเป็นอย่างนี้ จะต้องทำอย่างไร

//////////////////////////////////// TANPISIT LERDBAMRUNGCHAI; THE NATION

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น