วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความพยายามของครูชายแดนใต้

ความพยายามของครูชายแดนใต้ 


(note: ท่ามกลางความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณครูยังคงทำหน้าที่สอนหนังสือ อย่างแน่วแน่ พวกเขาหวังว่าอย่างน้อยการศึกษาที่ทั่วถึง จะทำให้อะไรอะไร ดีขึ้น ผมมีโอกาสลงพื้นที่ทำข่าวใน 3 ชายแดนภาคใต้เป็นครั้งแรก ผมค่อนข้างจู้จี้กับแหล่งข่าวทั้งที่เป็นเด็กหรือครูในโรงเรียน แต่พวกเขาก็ยินดีครับ และนั่นก็ทำให้ผมรู้จักกับเด็กชายคนนึงที่ชื่ออับดุลละกีฟ เขาเป็นคนช่วยอาสาแบกขาตั้งกล้องให้ผมไปถ่ายทั่วโรงเรียน แล้วก็เป็นคนถ่ายเปิดหน้าให้ด้วย เรียกว่าเป็นลูกมือให้อย่างดีเลย การ Convergent ข่าวหนังสือพิมพ์กับทีวีในข่าวชิ้นนี้ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยครับ ถ้าไม่ได้เขาช่วย

          และผมก็รู้จักคุณครูของอับดุลละกีฟอีกหลายคนด้วยครับ คำถามบางคำถามไม่เกี่ยวกับข่าวหรอกครับ แต่เป็นเรื่องสารทุกข์สุขดิบมากกว่า ถามว่าครูท้อมั้ย ครูบอกเลยครับว่าท้อ แต่อีกประโยคที่ได้ยินต่อมาก็คือ "ก็เกิดเป็นครูอยู่ที่ไหนก็ได้ขอให้มีเด็กสอน" ผมนับถือในความเป็นครู ของคุณครูในชายแดนใต้จริงๆ ครับ)

เด็กชายอับดุลละกีพ ซาและ 

การศึกษาแบบ “ยะลาสไตล์” และ คาราโอเกะ ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอน   แก้ปัญหาเด็กอ่านภาษาไทยไม่คล่อง 

เด็กชายอับดุลละกีพ ซาและ อายุ 11 ปี นักเรียนโรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ชั้นประถมศึกษาปีที่ กำลังอ่าน “แบบฝึกทักษะอ่านคล่อง เขียนคล่อง” ซึ่งเป็นแบบฝึกหัดที่จัดพิมพ์เฉพาะสำหรับโรงเรียนที่อยู่ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1, 2 และ แม้ว่าอับดุลละกีพจะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แล้ว แต่ว่าเขายังคงอ่านหนังสือได้ไม่แตกฉาน เมื่อเจอคำยากจะหยุดสะกดอยู่นานและไม่สามารถอ่านต่อไปได้

นางวลัยภรณ์ เพชรดา ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) บอกว่า ตามปกติแล้วเด็กจะอ่านหนังสือและเขียนไทยได้ตอนเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่สำหรับเด็กในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้จะอ่านหนังสือและเขียนไทยได้ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาเหตุเป็นเพราะว่าเด็กๆเหล่านี้ใช้ภาษามาลายูสื่อสารกับที่บ้าน และจะมีโอกาสได้พูดภาษาไทยเมื่อตอนอยู่โรงเรียนเท่านั้น



ปัญหาเด็กอ่านไทยไม่ออกเขียนไทยไม่ได้ จึงกลายเป็นปัญหาการศึกษาของ 
จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีมาอย่างยาวนาน สาเหตุไม่ใช่เพียงเกิดจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ที่อาจทำให้เด็กขาดเรียนไปบ้างเท่านั้น แต่ว่าสาเหตุหลักมาจากคนในพื้นที่ที่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาลายูในการสื่อสารมากกว่า

นางวลัยภรณ์ เพชรดา ครูผู้สอนภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ใช้วิธีการให้การบ้านนักเรียนกลับไปอ่านที่บ้านแล้วให้ผู้ปกครองเซ็นกำกับมาว่า อ่านไปได้กี่คำ แต่ผู้ปกครองบางคนก็ไม่รู้ภาษาไทยเลย ก็จะให้พี่ช่วยเซ็น ทีนี้หากพี่ไม่รู้ภาษาไทยอีก ก็ต้องมาอ่านกับครู

ฝึกให้เด็กอ่านออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้อง ท่องจำสระ และมาตราตัวสะกดต่างๆด้วยการร้องเพลง เด็กจะจำได้ง่ายขึ้น ครูวลัยภรณ์บอก

ขณะที่ครูมัสนา มะลี ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านใหม่ (วันครู 2503) ใช้สื่อที่มีลักษณะคล้ายของเล่น แต่สอดแทรกด้วยวิธีการสะกดคำ เมื่อเลื่อนไปหนึ่งครั้งจะสามารถผสมคำได้หนึ่งคำ ทำให้เด็กสามารถฝึกหัดสะกด และอ่านได้อย่างสนุกสนาน

                                                       ครูมัสนา มะลี 

นอกจากนี้ครูมัสนา ยังรื้อฟื้นแบบเรียนมานะ นานี ที่ปัจจุบันไม่ได้นำมาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว นำมาเป็นแบบฝึกอ่านซ้อมเสริมให้กับนักเรียนด้วย ครูมัสนาเชื่อว่าการที่จะแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ต้องให้เด็กอ่านซ้ำๆ ทำแบบฝึกหัดเยอะๆ
แบบเรียนที่ใช้อยู่มันดีเกินไป ดีจนเด็กที่เรียนอ่อนตามไม่ทัน แบบเรียนมานะ มานีเป็นของเก่าแต่เมื่อนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ก็ปรากฎว่าได้ผลดี เด็กเข้าใจและอ่านหนังสือได้มากขึ้น ครูมัสนากล่าว

สำหรับโรงเรียนบ้านใหม่(วันครู 2503) ที่อับดุลละกีพเรียน อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต ตั้งอยู่ที่ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนรวมทั้งสิ้น 700 คน ทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม

ด้านนายเกียรติ มันนะรัตน์ ครูผู้สอนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านกาลูปัง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ตั้งข้อสังเกตว่าเด็กบางคนร้องเพลงได้ทั้งๆที่อ่านหนังสือไม่ออก และร้องถูกต้องทั้งคำร้องและทำนองตลอดจนจังหวะ เด็กร้องตามเนื้อร้องในคาราโอเกะได้พร้อมกับตัวอักษรที่วิ่งอยู่โดยที่ไม่รู้ว่าคำนั้นอ่านอย่างไร
“ถ้าเด็กอ่าน ท่อง หรือเรียนรู้โดยไม่รู้ตัวและมีความสุขกับการเรียน ไม่เบื่อหน่ายน่าจะประสบความสำเร็จในการเรียนรู้มากกว่า” ครูเกียรติกล่าว

วิธีที่ครูเกียรติใช้เรียกว่า “โปรแกรมคาราโอเกะ” วิธีการก็คืออันดับแรกสำรวจเพลงที่นักเรียนชอบหรือสนใจ ต่อมาให้นักเรียนอ่านแถบประโยคเนื้อเพลงที่ครูเตรียมมาสัก ท่อน เพื่อประเมินว่านักเรียนอ่านได้กี่คำ จากนั้นให้เด็กฟังเพลงก่อนหนึ่งเที่ยวพร้อมเสียงร้องก่อน แล้วครูค่อยเปิดโปรแกรมคาราโอเกะให้นักเรียนร้องคลอไปกับเสียงดนตรี
หลังจากนั้นครูชี้แนะ แก้ไข ข้อบ่งพร่องให้นักเรียนร้องใหม่จนคล่อง และจัดทำบัตรคำเนื้อร้องทั้งหมด/แถบประโยคเนื้อร้อง และนำบัตรคำมาใช้ในการเล่นเกม เช่น เล่นเกมวิ่งผลัดอ่านบัตรคำ เกมวงกลมส่งบัตรคำ เกมต่อบัตรคำตามเนื้อร้อง เกมเขียนตามคำบอก ผลก็คือคือนักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข โดยใช้เกมและเพลง และสามารถอ่านหนังสือออกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย ร้อยละ 65

ผศ.ไกรสร ศรีไตรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ จังหวัดยะลา ในฐานะประธานคณะกรรมการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้จังหวัดยะลา บอกถึงความจำเป็นที่เด็กๆต้องสื่อสารภาษาในไทยให้ได้ว่า เพราะภาษาไทยเปรียบเสมือนเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาอื่นๆด้วย

“การเอาเด็กปฐมวัยเป็นตัวจับ ก็เชื่อว่าจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างพ่อ แม่ มาทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับลูก สร้างความสัมพันธ์กัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน มาเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน เพราะหากเด็กได้เป็นเพื่อนกันตั้งแต่เล็กๆ ทัศนคติ และความรู้สึกการเป็นเพื่อนก็จะสามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมความหลากหลายนี้ได้” ผศ.ไกรสร กล่าว

ด้านผศ.ไกรสร บอกว่าเด็กที่ไปเรียนต่อในโรงเรียนปอเนาะ ส่วนใหญ่แล้วก็จะได้ทุนไปเรียนต่อที่ประเทศอียิปต์
“จริงๆแล้วที่อียิปต์ก็มีสาขาวิชาให้เลือกเรียนมากมายไม่เฉพาะเพียงการสอนศาสนาเท่านั้น แต่ว่าเมื่อเด็กเราพื้นฐานวิชาการไม่แน่น อันเกิดจากการเรียนเมื่อช่วงชั้นประถมและมัธยมที่ไม่สามารถเรียนรู้วิชาพื้นฐานได้อย่างเต็มที่เพราะอ่อนภาษาไทย ก็ไม่สามารถเรียนต่อในสาขาวิชาอื่นๆได้ เช่นแพทย์ วิศวะ เศรษฐศาสตร์เป็นต้น ก็ต้องเรียนเพียงแค่ศาสนาอย่างเดียว” ประธานคณะกรรมการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้จังหวัดยะลากล่าว

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการอ่านภาษาไทยไม่ออก เขียนภาาไทยไม่คล่อง ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ การทดสอบการศึกษาแห่งชาติ หรือโอเน็ต คะแนน  ระดับชั้นป.6  เมื่อปีการศึกษา 2555 ระบุว่าเขตพื้นที่การศึกษาที่ได้โอเน็ตต่ำสุดนั้น ส่วนใหญ่เป็นเขตพื้นที่การศึกษาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  โดยเฉพาะ ยะลา เขต 3 ค่าเฉลี่ย 36.51 คะแนน ต่ำกว่า แม่ฮ่องสอน เขต 2 ค่าเฉลี่ย 38.75 คะแนน และต่ำกว่าปัตตานี เขต 1 ค่าเฉลี่ย 37.34 คะแนน

นายเดชรัฐ สิมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลายอมรับว่าการจัดการศึกษาของจังหวัดยะลาหากวัดกันที่เรื่องคุณภาพก็คงไม่ต่างจากจังหวัดปัตตานี และนราธิวาสคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต่ำ เด็กยังคงอ่านหนังสือไม่ออก เขียนไม่ได้ คิดแก้ไขปัญหาไม่เป็น
การแก้ไขปัญหาเรื่องการศึกษาของจังหวัดยะลาหรือใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ใช่ว่าเกิดจากขาดแคลนบุคคลากรทางการศึกษา ไม่มีงบประมาณ แต่เกิดจากไม่รวมพลังกันต่างคนต่างทำ ทำให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างขาดๆเกินๆนายเดชรัฐกล่าว

ผู้ว่าราชการจังยะลาบอกว่าได้กำหนดเรื่องการศึกษาเป็นวาระจังหวัด จึงได้ทำการตรวจสอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพบว่ามีถึง 35 หน่วยงาน แต่ต่างคนต่างทำ ดังนั้นตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นมา ตนได้ตั้งคณะทำงานเพื่อพัฒนาการศึกษาและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน โดยมี 35 หน่วยงานมาร่วมเป็นคณะทำงานทั้งหมดเพื่อขับเคลื่อนพลังการศึกษา

นายเดชรัฐ สิมศิริบอกอีกว่า การแก้ไขจะต้องแก้ปัญหา 2 ส่วน คือ 1.แก้ความยากจนของพ่อ แม่ ด้วยการให้อาชีพ ให้งานทำ โดยท้องถิ่น อบจ เทศบาล อบต พม. รวมทั้งการพัฒนาชุมชน ฝ่ายปกครอง เพื่อให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น และ 2.เร่งปลูกจิตสำนึก เพราะนอกจากจะให้เงินแล้วต้องให้ความรู้ด้วย อีกทั้ง ส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวมีลูกค่อนข้างเยอะยิ่งเพิ่มความยากจน จึงต้องปลูกจิตสำนึกว่าถ้าจนแล้วไม่ให้ลูกเรียนจะยิ่งโคตรจน ถ้าจะหายจนต้องให้ลูกเรียนหนังสือ

///////////////////     TANPISIT LERDBUMRUNGCHAI 
THE NATION December 9, 2013 







EDUCATION

Thai language skills low in far South

By Tanpisit Lerdbumrungchai 
The Nation

In the southernmost province of Yala where most people speak Malayu, Thai language teachers are using fun and game or even a karaoke machine in classes to boost the pupils' Thai language proficiency.
The 11-year-old Abdullagip Salae from Betong district’s Ban Mai (Teacher’s Day 1960) School is looking up a reading practice book, which is part of the set published specially for schools under the Yala Primary Education Area 1, 2 and 3. Despite being in Prathom 6, Abdullagip had some difficulty so, from time to time he struggled and took quite a long time to get on. 
Prathom 3 Thai teacher, Walaiporn Petchrada, said other students learned read and write Thai at Prathom 1 but Deep South pupils learned at Prathom 3 because they use Malayu at home and only use Thai only in school. The region’s issue of pupils’ Thai illiteracy was long standing and was mainly because most Muslim residents there communicated in Malayu language, she said. “Teaching kids to read Thai and remember vowels and spelling rules is done via singing so they remember better,” she added.
Prathom 6 Thai teacher Masana Malee used a alphabet-shuffling toy to teach spelling so kids had fun mixing alphabets and vowels into words. She also revived the use of “Manee and Friends” books to let pupils practice reading, as she believed practice makes perfect. “The textbooks we are using now are too good and advance so some weaker kids couldn’t catch up, so the “Manee and Friends” helps solve the problem and yields a good result; kids understand and be able to read more,” she added.
Abdullagip’s school, with 700 all-Muslim pupils from kindergarten to Prathom 6, is under the Yala Primary Education Area 3. 
Thai teacher Kiat Mannarat for Prathom 4-6 at Muang district’s Ban Kalupang noticed that kids could sing Thai songs, though they couldn’t read Thai, thanked to karaoke. “If they could read, recite or learn happily, they would succeed in learning better,” he said. So he applied the “karaoke program”; he asked the kids to read a popular song’s lyric, line by line, to assess their reading skill, turned on the song, and allowed them to sing-along. He made suggestions until they could sing well, then he presented the lyric on cards, which were used in classroom game to boost kids’ reading skill. Such approach yielded happy pupils and they could read better by 65 per cent, he added.
Yala Rajabhat University president Kraisorn Sritrairat, as chair of the provincial committee for learning development, said the kids must be able to communicate in Thai language, as it was the tool to learn other subjects. Starting Thai learning activities since pre-schooling would also encourage exchange among kids and parents and such friendship could promote the region’s cultural diversity. He said that most kids at Pondok schools would mostly get scholarships to study in Egypt later but, if the kids’ academic foundation weren’t strong enough during Prathom and Mathayom levels due to their weakness in Thai language, they could not further education in other fields such as medicines, engineering, and economics so they could only learn the religion. 
The Thai language illiteracy also affected  Prathom’s Ordinary National Educational Test results – it was reported that last year the Deep South areas got lowest scores especially Yala Primary Education Area 3 got the score of 36.51, Kraisorn said.
Yala Governor Decharat Simsiri said Yala, Pattani and Narathaiwat had low academic achievements and kids were unable to read, write and problem-solving thinking skills. The Deep South education problem wasn’t from lacks of staff or budget but from a lack of agencies’ integration for effective problem-solving, he said. With education as the provincial agenda, he found 35 education-related agencies worked separately from each other. He thus this year set up a working team with representatives from the 35 agencies to boost education and create educational opportunities to the kids. They would solve the problem in two parts; tackling the parents’ poverty by providing job opportunities and promoting the pro-education value that education is the way out of poverty hence kids must be educated, according to him.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น