วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พีมูฟชุมนุมทวงสัญญาปฏิรูปที่ดิน – คืนสัญชาติ

พีมูฟชุมนุมทวงสัญญาปฏิรูปที่ดิน – คืนสัญชาติ



ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) จากทั่วประเทศปักหลักชุมนุมหลังทำเนียบรัฐบาล  หน้ากระทรวงศึกษาธิการ เรียกร้องนายกฯ แก้ไขปัญหาที่ดิน สัญชาติ รอมติครม. และคำสั่งที่เป็นรูปธรรม จะเดินทางกลับ คาดชุมนุมนานเป็นเดือน

ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ P-move ซึ่งเป็นเครือข่ายของเกษตรกรรายย่อยและคนจนที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาประเทศที่ผิดพลาดในอดีต ประกอบด้วย  1) เครือข่ายปฏรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.)  2) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.)  3) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.)  4) สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.)   5) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.)  6) เครือข่ายสลัม 4 ภาค  7) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูน (สคจ.)  และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยด่วน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการสอบถามแกนนำเครือข่ายหลายๆคน ระบุตรงกันว่ามีจำนวนผู้ชุมนุมไม่ต่ำกว่า 2000 คน และโดยสารมาจากพื้นที่ต่างๆ ด้วยรถไฟฟรี โดยขนเสบียงอาหารมาจากท้องถิ่นของตนเอง และใช้เงินลงขันกันครัวเรือนละ 200 บาท ทั้งนี้เครือข่ายบ้านคลองโยน จังหวัดนครปฐมเป็นผู้ส่งเบียงหลัก เพราะอยู่ใกล้กรุงเทพมหานคร

เครือข่ายเทือกเขาบรรทัดปัญหาที่ดินทับซ้อนป่าอุทยาน

นางกัลยา มันกิติ เกษตรกรปลูกยาง สมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด จังหวัดตรัง อายุ 50 ปี เล่าว่าตนมีที่ดินทำกินอยู่ในบริเวณเทือกเขาบรรทัด จำนวน 30 ไร่ และถูกกล่าวหาว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า จังหวัดตรัง ทำให้เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ บุกลุกไล่ที่ทำกินของตน ทั้งๆที่ตนเองได้อาศัยทำกินอยู่ในพื้นที่บริเวณมาก่อนที่จะถูกประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อคดีโลกร้อน หลังจากตัดต้นยางหมดอายุอีกด้วย จึงต้องออกมาชุมชนเรียกร้องความเป็นธรรม ก่อนหน้านั้นรัฐบาลได้ขับเคลื่อนเรื่องโฉนดชุมชน แต่ก็เงียบหายไป

ในสมัยรัฐบาลชุดนี้มาชุมนุนกันเป็นครั้งที่ 4 แล้วทุกครั้งก็รับปากจะที่ตั้งคณะกรรมการแก้ไข หรือไม่ก็ประสานให้หน่วยงานในท้องที่ดูแล แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า ครั้งนี้เราจะชุมนุมรอจนกว่าจะมีมติครม.หรือมีคำสั่งใดๆเพื่อแก้ไขปัญหาของเรานางกัลยา กล่าว




เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ทวงสัญชาติไทย

นางรสิตา ซุยยัง ชาวไทยพลัดถิ่น แกนนำเครือข่ายการแก้ปัญหาคืนสัญชาติคนไทย จังหวัดระนอง – ประจวบ สมาชิกเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง อายุ 30 ปี เล่าว่าบรรพรุษของตนเป็นคนไทย อาศัยอยู่บนแผ่นดินไทย แต่เมื่อครั้งมีการขีดเส้นเขตแดนเมื่อปี พศ.2411 จึงทำให้ตนตกอยู่ในเขตประเทศพม่าไปโดยปริยาย อีกทั้งโดนทหารพม่าคิดว่าเป็นชนกลุ่มน้อย และถูกจับไปใช้แรงงานจึงตัดสินใจย้ายข้ามมาอยู่ฝั่งไทย เพราะมีญาติอาศัยอยู่ที่นี่อีกส่วนหนึ่ง

แต่พอย้ายมาอยู่ฝั่งไทย ก็ถูกมองว่าเป็นต่างด้าว เป็นคนหลบหนีเข้าเมืองเราพยามทำความเข้าใจกับเพื่อนบ้านด้วยกันได้ แต่ภาครัฐกลับมีทัศนคติในเชิงลบ ไม่ยอมทำเรื่องให้สัญชาติ ถึงแม้ว่าตอนนี้จะมีกฎหมายเรื่องนี้ออกม แต่ตนก็ถือบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน หรือบัตรเลขศูนย์อยู่ และอยู่ระหว่างรอพิสูจน์ความเป็นคนไทยพลัดถิ่นซึ่ง จนถึงตอนนี้ยังไม่มีความคืบหน้านางรสิตา กล่าว




สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เรียกร้องตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน

นายรังสรรค์ แสนสองแคว ประธานสหกรณ์โฉดนชุมชน จังหวัดลำพูน สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ อายุ 56 ปี บอกว่าตนและสมาชิกในเครือข่ายเข้าไปทำเกษรกรรมในที่ดินรกล้างซึ่งคิดว่าไม่มีเจ้าของ หลังจากนั้น 2 ปีผ่านไป ถูกเอกชนฟ้องร้องข้อหาบุกรุก ทั้งนี้เกษตรกรทั้งหมดเป็นคนยากจน ไม่มีที่ดินมากพอที่จะทำเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพจึงขอร้องให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนธนาคารที่ดิน เพื่อซื้อที่ดินกับเอกชนมาเป็นที่ทำกินแก่ชาวบ้าน แล้วเราก็มาผ่อนเงินกับรัฐบาล

ก่อนจะมาร่วมกับขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) ก็เคยอยู่ในกลุ่มสมัชชาคนจนมาก่อน ตอนนี้มีหลายกลุ่มหลายเครือข่ายเข้าร่วมกันมากขึ้น จึงรวมกันเป็นขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (พีมูฟ) เพื่อขับเคลื่อนให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาของชาวบ้านอย่างจริงจัง เรามาชุมนุมกันนับครั้งไม่ถ้วน ครั้งนี้ขอให้เป็นครั้งสุดท้าย และเราจะรอมติครม.ว่าจะแก้ไขปํญหาของเราอย่างไร แล้วจะเดินทางกลับ ซึ่งคาดว่าน่าจะต้องชุมนุมไม่ต่ำกว่า 1 เดือนนายรังสรรค์กล่าว



สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ พิพาทที่ดินกับเอกชน ถูกข่มขู ตายแล้ว 2

นายสุรพล สงฆ์รักษ์ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา จังหวัดสุราษธานี สมาชิกเกษตรกรภาคใต้ อายุ 61 ปี บอกว่าในชุมชนสันติพัฒนา อ.พระแสง จ.สุราษฎธานี ซึ่งตนอาศัยอยู่นี้ ถูกประกาศเป็นพื้นที่ นส.3และเอกชนได้สัมปทานให้ใช้พื้นที่ส่วนนี้ปลูกสวนปาล์ม ตนเห็นว่าไม่เป็นธรรม ชาวบ้านควรจะได้ใช้พื้นที่ นส.ในการทำเกษตรกรรมร่วมด้วย ไม่ใช่แต่เพียงเอกชนเท่านั้น จึงขอเรียกร้องให้มีการมีออกโฉนดชุมชนเพื่อให้ชาวบ้านได้มีพื้นที่ทำเกษตรกรรม เลี้ยงชีพ

รัฐบาลก็แปลก เห็นเราเป็นอะไร เราไม่ใช่คนเหมือนกันหรือ? ทำไมเลือกปฏบัติ หรือเพราะว่าเราเป็นคนจนเลยไม่มีใครอยากคุยด้วย ในพื้นที่เราถูกคุกคามข่มขู่สารพัด เพื่อนบ้านของเราถูกยิงตายไปแล้ว 2 คน ไม่ให้เข้าไปทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ความยุติธรรมมันไม่ได้ได้มาง่ายๆเลยนายสุรพลกล่าว

เครือข่ายสลัม ภาค  นโยบายบ้านมั่นคงทำพิษ สลัมไร้ทะเบียนบ้าน

นางประทิน เวคะวากยานนท์ ชาวพุทธมณฑล แกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาค อายุ 66 ปีเล่าว่ามีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยตามนโยบายบ้านมั่นคง ซึ่งนโยบายดังกล่าวไม่ได้นำมาปฏิบัติอย่างชัดเจน และโครงการนี้มีปัญหาอุปสรรคมากมายตั้งแต่เรื่องขอผัง แบบบ้าน รวมไปถึงเรื่องการออกใบอนุญาตก่อสร้าง ซึ่งตนได้รับผลกระทบจนกระทั่งไม่ได้ใบอนุญาตก่อสร้าง และทำให้ไม่มีทะเบียนบ้าน แต่บ้านของตนเองปลูกเสร็จมา 2 ปีแล้ว

ไม่มีทะเบียนบ้าน นี่ลำบากนะเพราะไม่สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้ บัตรประชาชนยังไม่ได้เลย สวัสดิ์การจากรัฐต่างๆก็ไม่ได้ ส่วนตัวเรียกร้องมา 2 ปี ตอนนี้ได้แล้วแต่ยังมีเพื่อนๆอีกหลายคนที่ยังไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องการย้ายคนออกจากพื้นที่สร้างรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ยังไม่รู้ว่าจะไปอยู่ที่ไหน ก็ออกมาชุนนุมกันในวันนี้ด้วยนางประทินกล่าว



สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูน ร้องทำประมงไม่ได้ เขื่อนปิดทางปลา

นางมาลี ตามศรีวัลย์ ทำประมงเลี้ยงชีพ อยู่ที่ อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี สมาชิกสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูน อายุ 45 ปี บอกว่าหลังจากมีการสร้างเขื่อนปากมูน ก็ไปปิดเส้นทางของปลาในแม่น้ำมูน ส่งผลกระทบต่อการทำประมง ซึ่งเป็นวิถีชีวิตดั่งเดิม

มีคนมาแนะนำให้ทำไม้กวาดขายแทนทำประมง ซึ่งยากลำบากกว่ามาก กว่าจะนำดอกหญ้ามาสานเป็นไม้กวาด ขายได้ในราคาด้ามละเพียง 9 บาทเท่านั้น รายได้ก็ต่างจากการทำประมงที่สามารถขายปลาได้กิโลกรัมละ 30 - 40 บาท มันกระทบทั้งวิถีชีวิตดั่งเดิม และรายได้ที่น้อยลงนางมาลีกล่าว

//////////////////////////////// Tanpisit Lerdbamringchai; The Nation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น